Andrew Ng เขียนบทความแสดงความเห็นว่า อาชีพ AI Product Manager จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ในยุคที่ใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ในราคาถูกกว่าเดิมมาก
Andrew บอกว่างานพัฒนาซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยตำแหน่ง Product Manager หรือ PM ที่ตัดสินใจว่าจะสร้างฟีเจอร์ไหน และ Software Developer ที่ทำงานเขียนโค้ดจริงๆ โดยปกติแล้ว สัดส่วน Engineer:PM อยู่ราว 6:1 แต่ก็อาจปรับเปลี่ยนได้ตามแต่ละบริษัท (เช่น 4:1 ไปจนถึง 10:1)
GitHub โชว์การใช้ GitHub Copilot ช่วยแก้ปัญหาโค้ดเก่าๆ (legacy) ที่เขียนไว้นานมากแล้ว ไม่มีใครรู้จักโค้ดชุดนั้นเหลืออยู่ในองค์กรแล้ว หากเป็นมนุษย์ทั่วไปอาจต้องใช้เวลาอย่างมากในการทำความเข้าใจโค้ดเก่าเหล่านี้ แต่เมื่อเป็น Copilot จะเป็นโค้ดเก่าหรือใหม่ ล้วนมองเหมือนกัน
วิธีการใช้งานสามารถใช้ Copilot Chat สั่งให้อธิบายโค้ดเก่าๆ ได้เหมือนกับโค้ดเขียนใหม่เลย ตัวอย่างในคลิปสั่งให้ Copilot Chat อ่านโค้ดภาษา COBOL แล้วแปลงมาเป็นภาษา Python ที่โปรแกรมเมอร์คนนั้นๆ คุ้นเคยและเข้าใจได้ง่ายกว่า ใช้พร้อมท์แค่ “Explain this code to me like I’m a Python developer.” เท่านั้น
Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ประกาศว่า GitHub Copilot Workspace เครื่องช่วยนักพัฒนาจัดการงานในทุกขั้นตอนด้วยพลัง Copilot ซึ่งเปิดตัวไปตั้งแต่เมษายนปีที่แล้ว ตอนนี้เปิดให้นักพัฒนาบน GitHub ทุกคนสามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ จากก่อนหน้านี้เป็นระบบ waitlist
GitHub Copilot Workspace เป็น environment สำหรับนักพัฒนาที่ทำงานบน GitHub Copilot เช่น ระบบแนะนำโค้ด, เครื่องมือดีบั๊ก ตลอดจนเครื่องมือช่วยการทำงานร่วมกันระหว่างโครงการโดยมี AI ผู้ช่วยหรือ Agentic AI เป็นตัวดำเนินการ
ที่มา: Visual Studio Magazine
Fish Shell ซอฟต์แวร์ shell กลุ่มเดียวกับ Bash และ PowerShell ออกเวอร์ชั่น 4.0 Beta 1 เป็นเวอร์ชั่นแรกที่พอร์ตฟังก์ชั่นแกนกลางไปยังภาษา Rust นับเป็นความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในเวอร์ชั่นหลักครั้งนี้ ฟีเจอร์เดียวแก้ไข 126 ไฟล์ มีการ commit ใน pull request ถึง 50 รายการ รวมเวอร์ชั่น 4.0 มีการแก้ไขไฟล์ 1155 ไฟล์ เพิ่ม 110,247 บรรทัด ลบ 88,941 บรรทัด
ridiculousfish หนึ่งในนักพัฒนาหลักของ Fish เสนอแนวทางนี้เมื่อต้นปี 2023 ระบุเหตุผลว่า "ไม่มีใครชอบ C++ หรือ CMake จริงๆ หรอก" เพราะกระบวนการเซ็ตอัพยุ่งยาก การใช้ C++ ทำให้นักพัฒนาใหม่ๆ เข้าร่วมได้ยาก และ Rust ยังเปิดทางให้สามารถรันงานแบบ concurrent ได้อย่างปลอดภัยขึ้นในอนาคต
Bret Taylor อดีตซีอีโอร่วมของ Salesforce และประธานบอร์ด OpenAI (ปัจจุบันกำลังทำบริษัทใหม่ชื่อ Sierra เป็น enterprise AI) โพสต์ลงบล็อกส่วนตัว ชวนคิดว่าวงการโปรแกรมมิ่งกำลังจะเข้าสู่ยุคอัตโนมัติ (Autonomous Era) จึงต้องเปลี่ยนวิธีคิดอย่างมากมาย เพราะพื้นฐานมันแตกต่างจากยุคผู้ช่วยกึ่งอัตโนมัติ (Autopilot Era) ในปัจจุบัน
Meta รายงานถึงความคืบหน้าในการย้ายโค้ด Android จาก Java ไปเป็น Kotlin หลังจากเปลี่ยนแนวทางมาใช้ Kotlin เป็นหลักตั้งแต่ปี 2020 แต่ก็ยังมีโค้ด Java จำนวนมาก แต่ในช่วงหลังก็สามารถเร่งความเร็วในการแปลงโค้ดได้จากการทำงานร่วมกับ JetBrains ผู้สร้าง IntelliJ
ก่อนหน้านี้ Meta แปลง Java เป็น Kotlin โดยอาศัยฟีเจอร์แปลงโค้ดของ IntelliJ เป็นหลัก การแปลงแต่ละครั้งอาศัยนักพัฒนาคลิก IDE ทีละไฟล์เอง กระบวนการนี้ทำให้การแปลงโค้ดช้ามาก ทาง Meta เข้าไปช่วย IntelliJ พัฒนา J2K ที่เป็นเอนจินแปลงโค้ดภายใน IntelliJ ให้สามารถรันได้โดยไม่ต้องการ IntelliJ
หลังจากนั้น Meta พัฒนาเครื่องมือภายใน ชื่อว่า Kotlinator ที่ใช้ J2K เป็นแกน แต่มีฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มเติม
- Read more about Meta ย้ายโค้ด Java ไป Kotlin ครึ่งทางแล้ว
- 9 comments
- Log in or register to post comments
GitHub ประกาศเปิดบริการ GitHub Copilot Free ให้ผู้ใช้ทุกคนใช้งาน AI ช่วยเขียนโค้ดฟรีใน Visual Studio Code โดยมีข้อจำกัดดังนี้
- บริการช่วยเติมโค้ด (code completion) 2,000 ครั้งต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ 80 ครั้ง
- บริการแชทคุยกับ AI จำนวน 50 ข้อความต่อเดือน
บริการฟรีสามารถเลือกได้ทั้งโมเดล Claude 3.5 Sonnet หรือ GPT-4o โดยช่วงปีใหม่จะเพิ่มโมเดล GPT-4 o1 และ Gemini เข้ามาด้วย
วิธีใช้งานเพียงต้องล็อกอินบัญชี GitHub และเปิดฟีเจอร์นี้ ข้อมูลจากในเอกสารของ VS Code
Flutter ประกาศเข้าสู่ยุค Production Era มีนักพัฒนาเกิน 1 ล้านคน, แอพใหม่บน iOS 30% เขียนด้วย Flutter
ทีมพัฒนา Flutter ประกาศว่าโครงการเข้าสู่ยุค "Production Era" พร้อมต่อการใช้งานจริงในระดับโปรดักชันแล้ว
Flutter เริ่มพัฒนาครั้งแรกในปี 2014 ตอนนั้นใช้โค้ดเนมว่า "Sky" ถือเป็นยุคแรกแห่งการทดลอง (Experimental Era) แล้ว เมื่อออกเวอร์ชัน 1.0 ในปี 2018 เข้าสู่ยุคเติบโต (Growth Era) ขยายมา รองรับการเขียนแอพบนเดสก์ท็อปในเวอร์ชัน 3.0 และตอนนี้เข้าสู่ยุค Production Era เรียบร้อยแล้ว มีองค์กรใหญ่ๆ อย่าง Toyota, Scandinavian Airlines, Universal Studios, LG นำไปใช้งานในแอพของตัวเองบนแพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น รถยนต์หรือสมาร์ททีวี
กูเกิลอัพเกรดความสามารถของ Gemini Code Assist บริการ AI ช่วยแนะนำโค้ดที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2024
อย่างแรกคือการปรับมาใช้ โมเดล Gemini 2.0 Flash ตัวใหม่ ให้คำตอบมีคุณภาพสูงขึ้น และระยะเวลาการตอบสั้นลง
Prisma โครงการ ORM ยอดนิยมประกาศแนวทางกรทำงานร่วมกับชุมชนเป็นชุดนโยบายหลายด้าน ตั้งแต่การประกาศฐานข้อมูลที่ีรองรับเป็นลำดับแรก, แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชน, และการออกเวอร์ชั่นใหม่ที่จะคาดเดาได้ง่ายขึ้น แต่ประเด็นหนึ่งที่ระบุด้วยคือการถอดโค้ด Rust ออกจากโครงการหลัก
โครงการ Prisma ใช้ Rust ใน prisma-engine สำหรับการอ่านคิวรี, ตรวจสอบความถูกต้อง, และรันคิวรี ปัญหาคือชุมชนผู้พัฒนาใน Prisma ส่วนใหญ่เขียนภาษา TypeScript ทำให้เมื่อต้องการแก้ไขฟีเจอร์ส่วนนี้ ทีมงานของ Prisma ต้องแก้ไขเองเป็นส่วนใหญ่ คนนอกมีส่วนร่วมได้ยาก ทาง Prisma จึงมองว่าหากย้ายโค้ดไป TypeScript นักพัฒนาก็จะเข้ามาช่วยแก้ไขได้มากขึ้น
ที่มา - Prisma
การเกิดขึ้นของภาษา Rust ที่เป็น memory-safety ทำให้เราค่อยๆ เห็น กระบวนการเปลี่ยนผ่านไลบรารีหรือเครื่องมือพื้นฐานที่เดิมเขียนด้วย C/C++ มาเป็น Rust ซึ่งเหนือกว่าด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และบางครั้งอาจมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย
Sergey Davidoff หรือ Shnatsel นักพัฒนาภาษา Rust ได้ทดสอบไลบรารีถอดรหัสไฟล์ภาพ PNG แบบดั้งเดิม (libpng, spng, stb_image) กับไลบรารียุคใหม่ที่เขียนด้วย Rust (png ในชุด image-rs, zune-png, wuffs) พบว่าไลบรารียุคใหม่มีประสิทธิภาพดีกว่ายุคก่อนถึง 1.8 เท่า (x86) และ 1.5 เท่า (Arm)
Mozilla องค์กรที่ทำเกือบทุกอย่างยกเว้นเว็บเบราว์เซอร์ จัดเทศกาล JavaScriptmas ออกโจทย์เขียนโปรแกรมภาษา JavaScript วันละ 1 โจทย์ ระหว่างวันที่ 1-24 ธันวาคม
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมทำโจทย์ได้บน แพลตฟอร์มเขียนโค้ดออนไลน์ Scrimba โดยผู้โชคดี 2 รายที่ทำโจทย์ถูกอย่างน้อย 1 ข้อ จะได้รับรางวัลเป็น MacBook Air M3 และของที่ระลึกจาก Mozilla Developer Network (MDN) กับ Scrimba
ตัวอย่างโจทย์มีหลากหลาย ทั้งทำ DOM manipulation, UI design, CSS, accessibility, cyber security เป็นต้น
ที่มา - Mozilla
React เฟรมเวิร์ตพัฒนาเว็บ front-end ออกเวอร์ชั่น 19 โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ด้านการจัดการฟอร์มหลายตัว ทำให้โค้ดจัดการเมื่อผู้ใช้ submit ข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น
การจัดการฟอร์มนั้นเพิ่ม hook ใหม่ คือ useActionState
คืนค่าทั้งผลสุดท้ายของการประมวลผลฟอร์ม และหากกำลังประมวลผลก็จะมีค่า pending
ให้ ใน react-dom
เพิ่ม prop action
และ formAction
ใน <form>
, <input>
, และ <button>
hook useFormStatus
สำหรับดูสถานะของการ submit ว่าเรียบร้อยหรือไม่ ขณะที่ useOptimistic
ใช้สำหรับแสดงค่าในกรณีที่ฟอร์มกำลังอยู่ระหว่างการอัพเดตข้อมูล
โครงการ Tailwind เฟรมเวิร์ค CSS ยอดนิยมออกรุ่น 4.0 Beta 1 เบต้าแรกที่น่าจะแสดงให้เห็นว่าตัวจริงมีฟีเจอร์อะไรบ้าง โดยความเปลี่ยนแปลงมี 4 ด้านหลัก ได้แก่
GitHub ออกรายงานสำรวจประสิทธิภาพของโปรแกรมเมอร์เมื่อใช้ GitHub Copilot ช่วยทำงาน พบว่าโดยรวมแล้วการมี Copilot ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโค้ดถูกต้องมากขึ้น โค้ดมีคุณภาพสูงขึ้น บั๊กน้อยลง
การวิจัยนี้นำโปรแกรมเมอร์ที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปีจำนวน 202 คนมาแบ่งกลุ่มแบบสุ่ม มีกลุ่มได้ใช้ Copilot 104 คน และกลุ่มไม่ได้ใช้ 98 คน ให้เขียน Web API ตามคำสั่ง จากนั้นสำรวจโค้ดทั้งความถูกต้องด้วยการรันชุดทดสอบ, และสำรวจคุณภาพโต้ด
อัตราการเขียนโค้ดให้ผ่านชุดทดสอบโดยไม่ใช้ Copilot มีเพียง 39.2% แต่กลุ่มที่ใช้ Copilot เขียนผ่านถึง 60.8% แสดงให้เห็นว่า Copilot ช่วยให้โค้ดทำงานตามสเปคได้ดีขึ้นมาก
TIOBE รายงานอันดับภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมประจำเดือนพฤศจิกายน 2024 ซึ่งวัดจากจำนวนการค้นหาผ่านช่องทางต่าง ๆ ไฮไลท์ของผลการจัดอันดับเดือนนี้คือ Go ที่มีแนวโน้มความนิยมเพิ่มขึ้นมาระยะหนึ่ง อันดับขยับขึ้นมาเป็นที่ 7 สูงสุดที่เคยทำได้
เมื่อ เดือนที่แล้ว TIOBE บอกว่า Rust เป็นภาษาที่ความนิยมเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งแนวโน้มยังเป็นเหมือนเดิมโดยเดือนพฤศจิกายนอยู่ในอันดับที่ 14
ส่วน 3 อันดับแรกยังเหมือนเดิมคือ Python, C++ และ Java
ที่มา: TIOBE
Thomas Kurtz นักคณิตศาสตร์ผู้บุกเบิกวงการคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน และเป็นผู้ร่วมสร้างภาษา BASIC เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมาด้วยวัย 96 ปี
Kurtz ทำงานสร้างคอมพิวเตอร์ Dartmouth Timesharing System (DTSS) ในช่วงปี 1960 ขณะที่เขาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย Dartmouth และต้องการภาษาโปรแกรมที่ง่ายพอสำหรับนักเรียนระดับปริญญาตรี จึงสร้างภาษา BASIC ขึ้นมา ร่วมกับ John Kemeny
DTSS เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ GE-225 มีหน้าจอ 20 หน้าจอให้ใช้งานทั่ววิทยาเขต หลังจากนั้นก็ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง ซอฟต์แวร์ตัวแรกของไมโครซอฟท์ คือ Microsoft BASIC บนเครื่อง Altair 8800 วางตลาดเมื่อปี 1975 ตัว Kurtz เองยังช่วยผลักดันมาตรฐานภาษา BASIC โดยทำงานเป็นประธาน ANSI BASIC ในช่วงปี 1974-1985
ภาษา Go ฉลองครบรอบ 15 ปี หลัง เปิดตัวครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2009
ในช่วงหลัง ภาษา Go ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวเลขของ Go เองบอกว่ามีผู้ใช้เพิ่มขึ้น 3 เท่าในรอบ 5 ปีหลัง ส่วนอันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยมของ TIOBE Index ตอนนี้อยู่อันดับ 7 และยังมีแนวโน้มในขาขึ้นเรื่อยๆ
ไมโครซอฟท์ออก .NET 9 รุ่นเสถียร หลังจาก เริ่มทดสอบรุ่น Preview มาตั้งแต่ต้นปี 2024
หลัง ไมโครซอฟท์รวมร่าง .NET เสร็จใน .NET 7 ยุคหลังจากนั้นเป็นการพัฒนา .NET ในฐานะแพลตฟอร์มเดียวสำหรับพัฒนาทุกอย่าง (a unified platform) ไม่ว่าจะเป็นเว็บ เซิร์ฟเวอร์ เดสก์ท็อป มือถือ ไปถึงงานใหม่ๆ อย่าง AI
มาถึง .NET 9 มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยทุกชิ้นส่วนสำคัญของ .NET ล้วนแต่ได้รับการอัพเดตถ้วนหน้า
โครงการ GNU Compiler Collection หรือ GCC เปิดตัว คอมไพเลอร์ภาษา Rust (gccrs) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากคอมไพเลอร์หลักของโครงการ Rust โดยตรง ( rustc )
แนวทางของ GCC ต้องการเป็นชุดคอมไพเลอร์สำหรับภาษาโปรแกรมแบบครบวงจร และสร้างคอมไพเลอร์สำหรับภาษาต่างๆ ในชุดอยู่แล้ว (เช่น gccgo) กรณีของ gccrs ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2014 ก่อน Rust ออกเวอร์ชัน 1.0 ด้วยซ้ำ แต่ถูกทอดทิ้งไประยะหนึ่ง ก่อนมีนักพัฒนารายอื่นมารับช่วงโครงการต่อในปี 2019 แล้วพัฒนาต่อเรื่อยมา
GitHub ออกรายงาน Octoverse โดยมีการระบุความนิยมของภาษา Python ที่ปีนี้ขึ้นมาแซงหน้า JavaScript เป็นอันดับ 1 แล้ว หลังจากแซง Java มาอยู่อันดับ 2 ตั้งแต่ 2019 ส่วนอันดับ 3-5 ได้แก่ TypeScript, Java และ C# ซึ่งการลดอันดับของ JavaScript ก็มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเติบโตของ TypeScript ที่เป็น JavaScript เวอร์ชันปรับปรุงนั่นเอง
GitHub ระบุว่าการเติบโตของความนิยมของ Python สอดคล้องกับการเติบโตของ Jupyter Notebooks โดยปัจจุบันมี Repos ที่มี Jupyter กว่า 1.5 ล้าน Repos ซึ่งเติบโตจากปี 2022 ถึง 170%
ที่มา - GitHub
Svelte เฟรมเวิร์ค frontend ที่มาแรงในช่วงหลัง ออกเวอร์ชั่น 5 ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลายอย่างตามที่ ประกาศไว้ตั้งแต่ระหว่างพัฒนา รายละเอียดความเปลี่ยนแปลงได้แก่
TIOBE รายงานอันดับความนิยมภาษาเขียนโปรแกรมประจำเดือนตุลาคม 2024 โดยวัดจากจำนวนการค้นหาผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่ง 3 อันดับแรกเป็น Python, C++ และ Java เหมือนกับเดือนกันยายน (Java แซง C มาเป็นอันดับ 3 ตั้งแต่เดือนที่แล้ว)
Paul Jansen ซีอีโอ TIOBE ให้ความเห็นจากอันดับที่ออกมา สะท้อนว่านักพัฒนาเริ่มมองหาภาษาอื่นมาแทน Python บนเงื่อนไข เรียนรู้ได้ง่าย ปลอดภัย และทำงานได้เร็ว โดยเขามองว่ามีภาษาที่สามารถแทนที่ได้เช่น Rust หรือ Mojo
อันดับของ Rust ในเดือนนี้อยู่ที่อันดับ 13 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และมีโอกาสติด Top 10 เร็ว ๆ นี้ ส่วน Mojo เป็นภาษาที่เพิ่งออกมาใหม่ อันดับล่าสุดอยู่ที่ 49
Deno รันไทม์ JavaScript/TypeScript ออกเวอร์ชั่น 2.0 หลังออกเวอร์ชั่นแรกมาสี่ปี
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือการทำงานร่วมกันได้กับ Node.js เต็มตัว สามารถอ่านไฟล์ package.json
และโฟลเดอร์ node_modules
ได้
สำหรับ Deno เองที่จริงมีระบบจัดการแพ็กเกจผ่านไฟล์ deno.json
ของตัวเอง และตอนนี้ก็ยังสามารถใช้งานอ้างอิงแพ็กเกจ npm ได้เหมือนกัน แนวทางการเข้ากันได้กับ Node.js ทำให้ตอนนี้สามารถใช้งานเฟรมเวิร์คยอดนิยมได้แทบทั้งหมด เช่น Next.js, Astro, Remix, Angular, SevelteKit
Python 3.13 ออกรุ่นจริงหลังจากถูกเลื่อนมาเล็กน้อยเนื่องจากพบปัญหาประสิทธิภาพในเบต้าสุดท้าย จุดสำคัญที่สุดคือเวอร์ชั่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ เพิ่มออปชั่นปิด Global Interpreter Lock (GIL) ที่น่าจะใช้เวลารวมถึง 5 ปีกว่าจะปิดได้หมดจริงๆ
สำหรับฟีเจอร์อื่นๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนมาก และน่าจะได้ใช้งานกันก่อนปิด GIL เสียอีก เช่น