ก่อนหน้านี้ Reddit ประกาศว่าจะบล็อกการดูดข้อมูลจากเว็บไซต์ ซึ่งคาดว่าเป็นประเด็นการนำข้อมูลไปเทรน AI โดยบริษัทได้ทำข้อตกลงกับผู้ให้บริการบางรายไปแล้วเช่น กูเกิล ซึ่งมี รายงานตัวเลข คือ 60 ล้านดอลลาร์ต่อปี อย่างไรก็ตามหลายบริษัทก็ไม่ได้ทำข้อตกลงนี้จึงเข้าถึงข้อมูลไม่ได้
โดยมีการค้นพบว่าบริการเสิร์ชรายอื่น เช่น Bing ไม่มีผลลัพธ์การค้นหาที่เป็นเว็บไซต์ Reddit เลย หากฟิลเตอร์ผลลัพธ์เป็นช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (site:reddit.com) เช่นเดียวกับ DuckDuckGo ก็ไม่มีผลลัพธ์แสดงเช่นกัน ขณะที่กูเกิลยังแสดงผลลัพธ์ล่าสุดได้ตามปกติ
DuckDuckGo บริการเสิร์ชที่มีจุดขายเรื่องความเป็นส่วนตัว เปิดตัวบริการใหม่ DuckDuckGo AI Chat แชทบอตปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเลือกใช้งานได้หลายโมเดล ทั้ง GPT 3.5 Turbo ของ OpenAI, Claude 3 Haiku ของ Anthropic, Llama 3 ของ Meta และ Mixtral 8x7B ของ Mistral
จุดขายของ DuckDuckGo AI Chat ยังคงแนวทางเดิมคือบทสนทนาเป็นส่วนตัว, ถูกกำหนดไว้แบบนิรนาม (anonymous), ปลายทางไม่สามารถระบุตัวตนได้, IP ที่ส่งไปเป็นถูกแก้ไขเป็น IP ของ DuckDuckGo, และแชททั้งหมดไม่ถูกนำไปใช้เทรนโมเดล AI ต่อ
DuckDuckGo อ้างรายงานของ Pew ที่สำรวจคนอเมริกาที่คุ้นเคยกับการใช้แชทบอต AI ซึ่ง 81% มองว่าบริษัทเหล่านี้เก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งาน แม้มองว่า AI ช่วยในหลายอย่าง แต่ก็กังวลเรื่องนี้อยู่ดี
มีรายงานปัญหา Bing เสิร์ชเอ็นจินของไมโครซอฟท์ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และส่งผลกระทบกับ API ทำให้บริการที่เชื่อมต่อบริการเสิร์ชกับ Bing เช่น DuckDuckGo พบปัญหาในการใช้งานด้วย นอกจากนี้ Microsoft Copilot ก็ไม่สามารถโหลดหน้าใช้งานได้ตามปกติส่วนที่เป็นการค้นหาข้อมูลเว็บ
เว็บไซต์ Downdetector รายงานปัญหานี้ทั้งของ Bing และ DuckDuckGo โดยพบปัญหาจำนวนมากตั้งแต่เวลาประมาณ 13:20น. ตามเวลาในไทย จนถึงตอนนี้ยังคงมีปัญหาอยู่
DuckDuckGo เปิดตัวบริการ Subscription เป็นครั้งแรก โดยบอกว่าปกติ Subscription ก็จะได้แค่หนึ่งอย่าง แต่อันนี้ให้ถึงสามได้แก่ VPN แบบนิรนาม (anonymous) สูงสุด 5 อุปกรณ์, บริการตามลบข้อมูลส่วนบุคคลที่พบตามเว็บไซต์, บริการตามกู้คืนบัญชีที่ถูกขโมย
บริการนี้เรียกรวมว่า Privacy Pro คิดราคา 9.99 ดอลลาร์ต่อเดือน อย่างไรก็ตามบริการนี้ยังจำกัดให้เฉพาะผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดย DuckDuckGo มีแผนขยายตลาดเพิ่มเติมในอนาคต
ที่มา: DuckDuckGo
DuckDuckGo เบราว์เซอร์ที่ชูจุดขายเรื่องความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งาน ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Sync & Backup ที่ผู้ใช้งานสามารถซิงก์ข้อมูลบุ๊กมาร์ก, รหัสผ่านที่จดจำ ตลอดจนการตั้งค่าอีเมล ระหว่างเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อป สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต
การออกแบบระบบซิงก์ของ DuckDuckGo นั้นบอกว่ารักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน จึงไม่ต้องสร้างบัญชีสำหรับการซิงก์ข้อมูล และ DuckDuckGo ก็ไม่สามารถดูข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วย วิธีการก็คือ DuckDuckGo จะสร้างคิวอาร์โค้ด สำหรับใช้ในการตั้งค่าเบราว์เซอร์ใหม่ หรือรับข้อมูลเป็นชุดตัวเลข-อักษร ทำให้ไม่ต้องใช้การล็อกอินหรือสร้างบัญชีเพื่อซิงก์ข้อมูลนั่นเอง
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องระบุว่า แอปเปิลเคยเจรจากับ DuckDuckGo ผู้ให้บริการเสิร์ชที่ชูจุดขายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน โดยแอปเปิลมีแผนนำ DuckDuckGo มาใส่เป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้น (default) สำหรับการใช้งานโหมด Private ใน Safari
อย่างไรก็ตามการเจรจานี้ไม่บรรลุผล และแอปเปิลก็เลือกใช้ Google Search ของกูเกิลเป็นเสิร์ชค่าเริ่มต้นต่อไป
DuckDuckGo ออกเบราว์เซอร์เดสก์ท็อปเวอร์ชัน Windows แบบ public beta ให้คนทั่วไปดาวน์โหลดใช้งาน
เบราว์เซอร์ DuckDuckGo ใช้วิธีเรียกเอนจินแสดงผลเว็บของระบบปฏิบัติการ ในกรณีของ Windows คือใช้ WebView2 ตัวเดียวกับใน Microsoft Edge แล้วเขียนฟีเจอร์ของ DuckDuckGo เพิ่มเองอีกที ตัวอย่างฟีเจอร์เด่นได้แก่
DuckDuckGo ประกาศเพิ่มคุณสมบัติ AI สร้างเนื้อหาหรือ Generative AI มีชื่อบริการว่า DuckAssistโดยเป็นส่วนหนึ่งในบริการ Instant Answer ของเสิร์ช DuckDuckGo
DuckAssist จะทำงานเมื่อมีการป้อนคำถามลงไปในเสิร์ช และคำถามนั้นสามารถค้นหาคำตอบจาก Wikipedia ได้ โดย DuckAssist จะใช้ AI ทำหน้าที่เรียบเรียงคำตอบจากข้อมูลในนั้น พร้อมระบุแหล่งข้อมูลต้นทาง ด้วยกระบวนการดังกล่าว DuckDuckGo จึงบอกว่าคำถามที่จะให้คำตอบได้ต้องมีความตรงไปตรงมา ไม่ใช่คำถามเปรียบเทียบ ฉะนั้นการรองรับคำถามจึงยังจำกัดอยู่ตอนนี้ โดยจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาในอนาคต
ทั้งนี้บริการ DuckAssist เป็นความร่วมมือกับ OpenAI และ Anthropic
DuckDuckGo เปิดบริการ Email Protection ให้กับผู้ใช้ทุกคน ทำให้สามารถสร้างที่อยู่อีเมลเพื่อใช้งานกับบริการอะไรก็ได้ โดยที่อยู่อีเมลจะเป็นโดเมน @duck.com
บริการนี้มีสองส่วน คือ บริการที่อยู่อีเมลแบบตั้งเอง ใช้เป็นชื่อบัญชีของเรา อีเมลนี้อาจจะไม่ได้ป้องกันความเป็นส่วนตัวโดยตรง แต่อีเมลทุกฉบับที่ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของ DuckDuckGo จะถูกเปลี่ยนลิงก์เพื่อตัดตัวติดตามต่างๆ ที่อาจจะพยายามยืนยันว่าเราเปิดอ่านและคลิกลิงก์จากอีเมล
เบราว์เซอร์ DuckDuckGo ที่เคยถูกวิจารณ์ว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง" ชูภาพเรื่องความเป็นส่วนตัว แต่สุดท้ายยอมให้สคริปต์ตามรอยของไมโครซอฟท์ทำงาน เพราะมีสัญญาเชิงการค้าระหว่างกัน ออกมาประกาศว่าปรับนโยบายใหม่ ตอนนี้ระบบ 3rd-Party Tracker Loading Protection บล็อคสคริปต์ตามรอยของไมโครซอฟท์เพิ่มแล้ว หลังเคลียร์เรื่องเงื่อนไขในสัญญากับไมโครซอฟท์ได้
ตอนนี้เบราว์เซอร์ของ DuckDuckGo บล็อคสคริปต์การตามรอยของบริษัทใหญ่ๆ ได้แก่ Google, Facebook, Amazon, Microsoft การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลในเบราว์เซอร์ DuckDuckGo บน Android/iOS และส่วนขยายของเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อป
Zach Edwards นักวิจัยความปลอดภัย ค้นพบว่าเบราว์เซอร์ของ DuckDuckGo ที่โฆษณาว่าไม่เก็บข้อมูลใดๆ ของผู้ใช้งาน โดยบล็อคการตามรอย (tracker) ของเว็บไซต์ต่างๆ ให้ด้วย กลับอนุญาตให้ตัวตามรอยของไมโครซอฟท์ทำงานได้ตามปกติ
Edwards ทดสอบกับเบราว์เซอร์ DuckDuckGo ทั้งบน iOS/Android พบว่ามันบล็อคตัวตามรอยของ Google/Facebook ได้จริงๆ แต่ไม่บล็อคตัวตามรอยของ Bing หรือ LinkedIn ที่ปัจจุบันอยู่ในเครือไมโครซอฟท์
DuckDuckGo เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวได้ถอดเว็บไซต์ปล่อยคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงเว็บไซต์ดาวน์โหลดวิดีโอจาก YouTube หลายเว็บออกจากผลการค้นหา
TorrentFreak รายงานว่า เว็บไซต์ที่ถูกถอดจากผลการค้นหา DuckDuckGo มีทั้ง The Pirate Bay, 1337x, Fmovies และ youtube-mp3 โดยทางเว็บไซต์ระบุว่า DuckDuckGo ถอดเว็บเหล่านี้ออกจากผลการค้นหาทุกประเทศ
นอกจาก DuckDuckGo แล้ว Google เองก็ต้องลบผลการค้นหาเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน (แต่กรณี Google เป็นแค่บางประเทศ) และคาดกันว่า DuckDuckGo น่าจะโดนแจ้งเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์จึงทำให้ต้องนำเว็บไซต์กลุ่มนี้ออกจากผลการค้นหา
Gabriel Weinberg ซีอีโอและผู้ก่อตั้งเสิร์ชเอนจินที่เน้นความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งาน DuckDuckGo เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ว่า ระบบเสิร์ชจะลดอันดับเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลไม่ถูกต้องของรัสเซีย
เมื่อต้นเดือน DuckDuckGo ก็ประกาศว่าได้ระงับความร่วมมือกับ Yandex เสิร์ชเอนจินรายใหญ่ของรัสเซียชั่วคราว
ที่ผ่านมาทิศทางของ DuckDuckGo ไม่เคยเพิ่มเงื่อนไขเฉพาะในการจัดอันดับผลลัพธ์การค้นหามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ หรือวัคซีนโควิด 19 ขณะที่กูเกิลหรือแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ จะมีตัวคัดกรองเนื้อหานี้
ที่มา: Engadget
DuckDuckGo บริการเสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวประกาศสถิติประจำปี 2021 โดยระบุว่าปีนี้มียอดค้นหาแล้วกว่า 100 ล้านครั้ง (สถิตินี้ทำได้ครั้งแรกตอน ต้นปี ) ส่วนยอดการค้นหาทั้งหมดเติบโตขึ้นกว่า 46.4% นับเป็นยอดการค้นหาทั้งปีอยู่ที่ราว 3.46 หมื่นล้านครั้ง
จุดเด่นของ DuckDuckGo คือเป็นเสิร์ชเอนจินแบบเน้นความเป็นส่วนตัว ซึ่งในช่วงหลังก็เริ่มขยายไปทำบริการอื่น ๆ เช่น Email Protection ระบบลบ email tracker ก่อนจะส่งเข้าไปยังอีเมลจริง และ เบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อป ที่ใช้เอนจินหลักของ OS
บริการค้นหา DuckDuckGo มี แอพเบราว์เซอร์บนมือถือมาตั้งแต่ปี 2018 โดยชูว่าเป็น Privacy Browser ที่มีฟีเจอร์ด้านความเป็นส่วนตัวมากมาย
ล่าสุด DuckDuckGo ประกาศทำเบราว์เซอร์สำหรับเดสก์ท็อปแล้ว โดยตั้งเป้าเป็น Privacy Browser ที่ทุกอย่างพร้อมใช้งานทันที ไม่ต้องมาตั้งค่าใดๆ ไม่ต้องเลือก "ระดับความเป็นส่วนตัว" แบบที่เบราว์เซอร์กระแสหลักทำกัน
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวเปิดทดสอบ Email Protection ตัวช่วยลบการตามรอยบนอีเมลหรือ email tracker โดยระบบจะลบให้ก่อนส่งเข้าไปยังอีเมลจริง วิธีการทำงานคือ เลือกใช้ที่อยู่อีเมล @duck.com ระบบจะลบตัวติดตามที่ซ่อนอยู่ออกจากอีเมลขาเข้า จากนั้นจะส่งต่อไปยังกล่องจดหมายปกติไม่ว่าจะใช้งาน Gmail, Yahoo เพื่อการอ่านที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
กูเกิลออกฟีเจอร์ทำป้ายกำกับใน App Store ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของร้านค้าแอป เปิดเผยให้ผู้ใช้งานรู้ว่า ข้อมูลอะไรบ้างที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้งาน และมีข้อมูลใดที่ถูกใช้โดยบุคคลที่สาม และพบว่า มีข้อมูลหลากหลายส่วนที่ถูกนำไปใช้งาน
ล่าสุด DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวเอาข้อมูลดังกล่าวมาแซะกูเกิล โดยบอกว่าในที่สุด กูเกิลก็ยอมเปิดเผยว่าเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง และไม่น่าแปลกใจที่กูเกิลพยายามปกปิดมันก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ DuckDuckGo ยังเปิดหน้าป้ายกำกับของตัวเองเทียบกับกูเกิล และ Google Chrome ให้ดูด้วยว่าไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้งานเลย
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินที่ชูจุดเด่นเรื่องความเป็นส่วนตัว ประกาศสถิติสำคัญ โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีการใช้งานค้นหามากกว่า 100 ล้านครั้ง ภายในหนึ่งวัน สถิตินี้สะท้อนการเติบโตที่มากขึ้น โดยเมื่อเดือนสิงหาคม DuckDuckGo มีการใช้งานมากกว่า 2 พันล้านครั้งต่อเดือน
ความนิยมของ DuckDuckGo ส่วนหนึ่งมาจากการเป็นตัวเลือกเสิร์ชพื้นฐานทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ตลอดจนมีผู้ใช้งานลงแอปและส่วนเสริมมากกว่า 4 ล้านคน เมื่อเดือนกันยายน 2020
ที่มา: ZDNet
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเน้นความเป็นส่วนตัวเปิดตัว Tracker Radar สำหรับให้ข้อมูลเกี่ยวกับแทร็กเกอร์ที่คอยตามเก็บข้อมูลผู้ใช้บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ DuckDuckGo เก็บพร้อมประมวลผลเอง
สำหรับรายชื่อใน Tracker List นี้ มีโดเมนทั้งหมด 5,326 โดเมนที่บริษัทกว่า 1,727 แห่งใช้เพื่อตามเก็บข้อมูลผู้ใช้บนโลกออนไลน์ แทร็กเกอร์เหล่านี้พบได้ทั่วไป เน้นเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Tracker Radar จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแทร็กเกอร์แต่ละตัวด้วย เช่น พฤติกรรมการเก็บข้อมูล, เจ้าของ, นโยบายความเป็นส่วนตัว และอื่น ๆ
กูเกิลประกาศผลผู้ชนะการประมูล เพื่อให้แสดงผลสำหรับเป็นตัวเลือกเสิร์ชเอนจินค่าเริ่มต้น (default) ใน Android ที่เปิดใช้งานในยุโรป เพื่อแก้ปัญหาหลัง ถูกตัดสิน จากสหภาพยุโรปว่าผูกขาดที่กำหนดกูเกิลเป็นเสิร์ชพื้นฐาน กูเกิลจึงต้อง แก้เกมโดยหารายได้ทางนี้ เสียเลย
DuckDuckGo เสนอร่างกฎหมาย Do Not Track บังคับให้เว็บไซต์ต้องเชื่อการตั้งค่า Do Not Track (DNT) จากเบราว์เซอร์ หลังจากที่ฟีเจอร์นี้มีในเบราว์เซอร์มานานถึง 7 ปี แต่เว็บไซต์ใหญ่ๆ กลับไม่เคารพการประกาศ แม้ว่าจะมีผู้ใช้ถึง 25% ที่เปิดการประกาศตัวไว้ก็ตาม
ร่างกฎหมายนี้จะบังคับให้เว็บไซต์ ให้ลดการติดตามผู้ใช้เหลือเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะต้องปิดการติดตามจากบุคคลที่สาม (ผ่านสคริปต์และปุ่มต่างๆ เช่น ปุ่ม Like) แม้แต่ในบริษัทเดียวกันเองก็ต้องปรับการใช้ข้อมูลเหลือเท่าที่จำเป็น
เมื่อวาน Chrome เพิ่งจะปล่อย เวอร์ชัน 73 โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือรองรับปุ่มควบคุมสื่อบนคีย์บอร์ด แต่มีรายงานว่ารอบนี้ Google ได้เพิ่ม DuckDuckGo เข้าเป็นเสิร์ชเอนจินแบบเงียบ ๆ ให้ผู้ใช้ใน 60 ประเทศ (ยังไม่มีไทย) เพื่อเป็นทางเลือกเสิร์ชเอนจินให้ผู้ใช้อีกรายหนึ่ง
การที่ Google เพิ่ม DuckDuckGo เป็นเสิร์ชเอนจินครั้งนี้ ก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าเนื่องจากช่วงหลัง Google โดนเพ่งเล็งในเรื่องการผูกขาดตลาดเสิร์ชเอนจินจากรัฐบาลหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่แค่ DuckDuckGo แต่มี Qwant เสิร์ชเอนจินฝรั่งเศสเข้ามาด้วยเช่นกัน (แต่ก็มีเฉพาะในฝรั่งเศส)
DuckDuckGo เสิร์ชเอนจินเพื่อความเป็นส่วนตัวออกผลสำรวจเรื่องการใช้ฟีเจอร์ Do Not Track หรือ “อย่าตามรอย” เพื่อติดตามการใช้งานฟีเจอร์นี้ โดยทำการสำรวจผู้ใช้สหรัฐฯ 503 คนในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
Do Not Track เป็นฟีเจอร์ที่เบราว์เซอร์จะส่งสัญญาณเพื่อ ขอความร่วมมือเว็บไซต์และเว็บเซอร์วิสที่ผู้ใช้กำลังเข้าใช้งานว่าผู้ใช้ไม่ต้องการให้ตามรอย แต่เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือ ดังนั้น เว็บไซต์จะทำหรือไม่ก็ได้ปัจจุบันเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ก็มีฟีเจอร์นี้ทั้งนั้น
DuckDuckGo ประกาศการใช้งาน MapKit JS ของแอปเปิลเพื่อนำเฟรมเวิร์คของ Apple Maps มาใช้แสดงผลการค้นหา ทั้งการอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งของผลการค้นหาและการแสดงแผนที่ใหญ่ โดย DuckDuckGo ให้เหตุผลด้านความเป็นส่วนตัวผู้ใช้
DuckDuck Go เองก็เป็นเสิร์ชเอนจินที่เน้นและให้ความสำคัญเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้มาตลอด ขณะที่การใช้งาน MapKit ของแอปเปิล ทาง DuckDuckGo ยืนยันว่าไม่มีการส่งข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ อาทิ หมายเลข IP ไปให้แอปเปิลหรือ third party แน่นอน ส่วนเรื่องการระบุตำแหน่งที่ตั้ง DuckDuckGo ผ่าน GEO::IP และเมื่อเซิร์ฟเวอร์ได้ IP จากเบราว์เซอร์ผู้ใช้แล้ว จะไม่มีการเก็บข้อมูลหรือเรียกขอข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม
ก่อนหน้านี้ DuckDuckGo บริการเสิร์ชเอนจินแบบเน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้ออกมาโวยว่า Google จดโดเมน Duck.com และส่งต่อไปที่หน้าหลักของ Google ซึ่งทำให้ผู้ใช้สับสน แต่ภายหลัง Google ก็ชี้แจงว่า Duck.com ได้มาจากการซื้อกิจการบริษัทอื่น ซึ่งซีอีโอ DuckDuckGo ก็ถามว่าสนใจจะขาย Duck.com หรือไม่
ล่าสุดมีรายงานว่า DuckDuckGo ได้โดเมน Duck.com มาใช้งานตามที่ปรารถนาแล้ว โดยซีอีโอ Gabrial Weinberg ได้ยืนยันว่าตอนนี้ Duck.com ได้ส่งต่อจาก Google มาให้ DuckDuckGo เป็นที่เรียบร้อย ซึ่ง Gabriel ก็กล่าวขอบคุณที่ Google ปล่อยโดเมนนี้มาให้ พร้อมระบุว่าการมี Duck.com จะช่วยให้ผู้ใช้งาน DuckDuckGo เข้าใช้เสิร์ชเอนจินได้สะดวกกว่าเดิม