Google ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อของ Android for Work และ Google Play for Work ซึ่งเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับการทำงานมากขึ้น โดยชื่อเหลือเพียงแค่ Android และ Google Play เท่านั้น หรือว่าง่าย ๆ คือรวมเป็นส่วนหนึ่งของ Android และ Google Play โดยไม่ใช้ชื่อแยก ซึ่ง Google ก็ได้ให้เหตุผลถึงการเปลี่ยนแปลงไว้ว่า การปรับแบรนด์ให้ง่ายขึ้นนั้นเพื่อเป็นการสะท้อนว่า API ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะถูกรวมเข้าไปยัง Android และ Google Play แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้แบรนด์แยกอีก
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ Box ผู้ให้บริการคลาวด์สตอเรจสำหรับองค์กร เปิดให้เซฟเอกสารที่สร้างด้วย Google Docs ไปไว้บน Box แทนที่จะเป็น Google Drive ได้แล้ว ช่วยให้องค์กรที่เก็บข้อมูลบนระบบของ Box มาใช้งาน Google Docs/Sheets/Slides ได้สะดวกขึ้น
กูเกิลจะมอง Box เป็นพื้นที่สตอเรจภายนอก (third party repository) ที่กูเกิลรับรอง เพื่อให้ลูกค้ามีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเลือกพื้นที่เก็บข้อมูล
นอกจากนี้ ระบบค้นหาข้อมูลในองค์กร Google Springboard ก็จะสามารถค้นหาข้อมูลที่เก็บไว้ใน Box ได้เช่นกัน
ที่มา - Google for Work , Box
ก่อนหน้านี้ กูเกิลวางขาย Chromebox for Meeting โซลูชันสำหรับการประชุมทางไกลแบบเห็นหน้า โดยใช้ฮาร์ดแวร์จาก ASUS และ Dell มาจัดชุดขายพร้อมไมโครโฟนและกล้องวิดีโอ กลุ่มเป้าหมายคือห้องประชุมขนาดใหญ่ไม่เกิน 20 คน
กูเกิลมีระบบล็อกอินบัญชีสำหรับลูกค้าองค์กรชื่อ Google Identity เดิมทีมันเอาไว้สำหรับลูกค้า Google Apps เท่านั้น แต่ภายหลังก็ขยายมาเป็นระบบยืนยันตัวตน (identity provider) ด้วยตัวมันเองด้วย ล่าสุดกูเกิลประกาศรองรับมาตรฐาน Security Assertion Markup Language (SAML) 2.0 เพื่อใช้บัญชี Google Apps ล็อกอินกับแอพพลิเคชันตัวอื่นแบบ Single Sign-On (SSO)
กูเกิลเปิดฉากสงครามราคาถล่มโซลูชันสำหรับตลาดองค์กรของคู่แข่ง โดยประกาศว่าถ้าหากอยากย้ายมาใช้ Google Apps แต่ยังติดสัญญากับเจ้าเดิม (enterprise agreement) กูเกิลจะเปิดให้ใช้งาน Google Apps ได้ฟรีๆ จนกว่าจะหมดสัญญาเดิม เรียกว่า "จ่ายเงินให้คู่แข่ง แต่ใช้บริการของกูเกิลแทน"
หลังจากหมดสัญญาเดิมแล้ว กูเกิลจะส่งสัญญาฉบับใหม่ให้ลูกค้าพิจารณา โดยกูเกิลระบุว่าอัตราค่าใช้งานจะถูกกว่าแน่นอน สำหรับลูกค้าบางรายสามารถประหยัดได้ถึง 70% เลยทีเดียว (กูเกิลไม่บอกชื่อคู่แข่งตรงๆ แต่เพื่อนร่วมวงการก็คือไมโครซอฟท์และไอบีเอ็ม)
โครงการนี้ยังรองรับเฉพาะลูกค้าในสหรัฐและแคนาดาเท่านั้น ส่วนลูกค้าในประเทศอื่นๆ ยังต้องรอต่อไปอีกสักพักครับ
กูเกิลขยายพันธมิตรร่วมโครงการ Android for Work ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี โดยเพิ่มพันธมิตรกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายเข้ามา สมาชิกเริ่มต้นกลุ่มนี้มี 8 รายคือ AT&T, Verizon, T-Mobile, Sprint, Rogers, Bell Canada, Telus Mobility, KT
นอกจากนี้กูเกิลยังเพิ่มบริษัท Silent Circle ผู้สร้าง สมาร์ทโฟนเพื่อความปลอดภัย Blackphone เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ด้วย กรณีของ Blackphone จะใกล้เคียงกับซัมซุงที่มีแพลตฟอร์ม KNOX ของตัวเอง ที่ผ่านการรับรองเพื่อใช้งานกับหน่วยงานรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้กูเกิลมีพันธมิตรร่วมสนับสนุน Android for Work เกิน 40 รายแล้ว รายชื่อดูได้ตามภาพ
เมื่อต้นปีที่แล้ว กูเกิลออกชุด Chromebox for Meetings โซลูชันสำหรับห้องประชุมทางไกล วันนี้กูเกิลอัพเดตฮาร์ดแวร์ของ Chromebox for Meetings เป็นครั้งแรก เพิ่มขีดความสามารถให้รองรับการประชุมพร้อมกันเป็น 20 คน (ของเดิม 8 คน)
ช่วงนี้ SAP จัดงานประจำปี SAPPHIRE NOW มีข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่าง ที่น่าสนใจคือ SAP ประกาศความร่วมมือกับกูเกิลชุดใหญ่ ดังนี้
หลัง Android for Work เปิดตัวอย่างเป็นทางการ มาได้สักพัก กูเกิลก็ส่งแอพ Android for Work ลง Play Store แล้ว
แอพ Android for Work ไม่สามารถทำงานได้ลำพัง เพราะมันเปรียบเสมือนมิดเดิลแวร์ที่มารันบนอุปกรณ์ Android เพื่อให้ทำงานร่วมกับ ซอฟต์แวร์บริหารอุปกรณ์พกพา (MDM) ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของกูเกิลอีกชั้นหนึ่ง ตัวอย่างพาร์ทเนอร์เหล่านี้ได้แก่ SAP, VMware Airwatch, SOTI, BlackBerry, Citrix, MobileIron เป็นต้น
กูเกิลออกแอพตัวใหม่ชื่อ Google PDF Viewer ให้ดาวน์โหลดบน Google Play Store
แอพ Google PDF Viewer มีความสามารถเทียบเท่าตัวอ่าน PDF ของแอพ Google Drive ทุกประการ แต่ในบางองค์กรที่จำกัดสิทธิพนักงานในการเข้าถึง Google Drive อาจทำให้ใช้งานแอพนี้ไม่ได้ กูเกิลจึงแยกออกมาเป็นแอพเฉพาะสำหรับผู้ใช้ Android for Work แต่ก็ยังเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปดาวน์โหลดได้เช่นกัน
ที่มา - Android Police
กูเกิลโชว์ต้นแบบ Android Work ที่งาน Google I/O กลางปีที่แล้ว วันนี้ได้เวลาเปิดตัว Android for Workอย่างเป็นทางการ
ฟีเจอร์ของ Android for Work แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
เดิมทีกูเกิลเป็นบริษัทที่ไม่สนใจตลาดลูกค้าองค์กรมากนัก ในช่วงแรกๆ สินค้าที่เจาะตลาดองค์กรมีแค่ระบบอีเมล Google Apps เท่านั้น แต่ภายหลังกูเกิลก็จริงจังกับตลาดนี้เพิ่มจากเดิมมาก ถึงขนาด เปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Google for Work เมื่อปีที่แล้ว
เว็บไซต์ Business Insider มีบทสัมภาษณ์ Amit Singh ประธานฝ่าย Google for Work (คนละคนกับ Amit Singhal ผู้บริหารอีกคนของกูเกิลที่ดูระบบค้นหา) ถึงมุมมองต่อลูกค้าองค์กรของกูเกิลว่ามีแนวทางอย่างไรบ้าง
ใจความสรุปมีดังนี้
ปีที่แล้วเราเห็นกูเกิลผลักดันผลิตภัณฑ์เวอร์ชันสำหรับองค์กรใต้แบรนด์ Google for Work หลายตัว เช่น Android Work และ Google Drive for Work
ดูเหมือนว่าผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดที่มีคำว่า Work ติดมาด้วยจะเป็น Chrome โดยกูเกิลเผลออัพโหลดแอพชื่อ Work Chromeขึ้นมาบน Play Store แล้วลบออกไปในภายหลัง ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Work Chrome มีความแตกต่างจาก Chrome รุ่นปกติอย่างไร (คาดว่าน่าจะเป็น Chrome เวอร์ชันพิเศษที่ให้องค์กรติดตั้งเพื่อให้บริหารจัดการจากระยะไกลได้ง่ายขึ้น)
งาน Google I/O ปีนี้เราเห็นการขยายสายพันธุ์ Android มากมาย ทั้ง Android One , Android Auto , Android Wear และ Android TV
ลูกหลาน Android ตัวสุดท้ายที่ถูกพูดถึงบนเวทีคือ Android Workมันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์แยกชัดเจน แต่เป็นการปรับฟีเจอร์ของตัวระบบปฏิบัติการ Android L ให้เหมาะกับการใช้งานในองค์กรมากขึ้น
กูเกิลออก Google Drive สำหรับภาคธุรกิจในชื่อ Google Drive for Workที่มีจุดเด่นตรงให้เนื้อที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด!
Google Drive for Work จะคิดราคาที่ 10 ดอลลาร์ต่อบัญชีต่อเดือน โดยให้เนื้อที่รวม (ของหน่วยงาน) ไม่จำกัด และให้เนื้อที่ต่อผู้ใช้หนึ่งคนสูงสุดที่ 5TB (กูเกิลบอกว่าไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องไหนในปัจจุบันที่มาพร้อมกับฮาร์ดดิสก์ใหญ่ถึง 5TB อยู่ดี)