โปรแกรม Kaspersky Internet Security และ Kaspersky Anti-Virus ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่พัฒนาโดยบริษัท แคสเปอร์สกีแล็บ สัญชาติรัสเซีย โดยมีบริษัท ไอคอม เทค เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายแคสเปอร์สกีในประเทศไทย ประกาศออกเวอร์ชันใหม่ 2016 รองรับ Windows 10 อย่างเป็นทางการแล้ว
Kaspersky ปล่อยแอพสำหรับใช้งานบนอุปกรณ์พกพาทั้งระบบ iOS และ Android เป็นแอพชื่อ Kaspersky QR Scanner ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถสแกน QR code ได้เพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถช่วยตรวจสอบได้ว่าลิงก์ใน QR code นั้นจะพาไปยังเว็บที่ปลอดภัยหรือไม่
ผู้ที่สนใจใช้งาน Kaspersky QR Scanner สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store และ Google Play
Symantec ตรวจพบมัลแวร์ที่อาจจะมีความซับซ้อนมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยเจอ โดยมัลแวร์ตัวนี้ชื่อว่า Regin เชื่อว่าถูกใช้ในการสอดแนมมาตั้งแต่ปี 2008 โดยพบมากในองค์กรเอกชนและรัฐบาล
โดยตัวของมันเองนั้นออกแบบมาเพื่อดักจับข้อมูอย่างครบวงจร มีความสามารถในการซ่อนตัว ดักพาสเวิร์ด ควบคุมเมาส์ของเครื่องที่ติดเชื้อ บันทึกภาพหน้าจอ เปิดประตูหลัง หรือแม้กระทั่งกู้คืนไฟล์ที่ถูกลบ
งานเก่ายังไม่ทันเคลียร์ งานใหม่ก็เข้า NSA อีกแล้ว เมื่อ Glenn Greenwald นักข่าวเจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์เปิดเผยข้อมูลในหนังสือเล่มใหม่ของตนที่ชื่อ 'No Place to Hide ซึ่งเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ Edward Snoden และการสอดแนมข้อมูลของ NSA ว่าทาง NSA ได้แอบฝังอุปกรณ์เล็กๆ สำหรับดักและตรวจจับข้อมูลลงในไปอุปกรณ์เน็ตเวิร์คเช่น เราท์เตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ
สิ่งที่ผมกังวลว่ามันจะเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นแล้ว นั่นคือการนอนเฉยไม่ investigate ถึงที่มาอย่างจริงของสิ่งที่ผมเคยอ้างในข่าวเก่าว่าเป็น worm forex-price (ตั้งชื่อเล่นมันอย่างนี้เลยแล้วกันนะครับ) จนตอนนี้ worm ตัวดังกล่าวได้พัฒนาต่อจนถึงจุดที่จัดการหรือสังเกตได้ยากแล้ว ทว่ามันยังคงทำงานอยู่ และเป็นสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจ เพราะมันอาจทำให้คุณสูญเสียทรัพย์สิน, สูญเสีย account ในการใช้งานเว็บต่างๆ, รวมถึงอาจส่งผลกระทบถึงธุรกิจของคุณได้ (และการที่มันผ่านไปเป็นเดือนแต่ปัญหายังไม่ถูกแก้ไขสะท้อนให้เห็นว่า คุณหวังพึ่งผู้ให้บริการ internet (ISP) ให้จัดการเรื่องนี้ไม่ได้ซะแล้ว)
สวัสดีครับ ผมมีข่าวด่วนที่มีเนื้อหาไม่มากมานำเสนอเล็กน้อย ได้ขึ้นหน้า 1 หรือไม่ ไม่สำคัญ แต่ฝาก share ต่อด้วยนะครับ
ช่วงไม่กี่วันนี้ หลายคนคงได้พบว่าตัวเองเข้า website บางเว็บอยู่ดีๆ หน้าเว็บนั้นก็เปลี่ยนเป็นเว็บ forex-prices.com ซะงั้น (ยกตัวอย่างเช่นหน้านี้ครับ http://sourceforge.net/projects/hjt/ ) บางคนคงคิดว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองโดน virus/malware เข้าให้ซะแล้ว แต่ความจริงแล้วมันแย่ยิ่งกว่านั้นมาก เราไปดูกันนะครับว่าเกิดอะไรขึ้น
เอาเข้าจริงๆ แล้ว ผมต้องขอสารภาพว่า ผมก็ไม่รู้รายละเอียดอย่างแท้จริงว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรนะครับ แต่ผมจะเล่าเรื่องและแสดงหลักฐาน ซึ่งนำไปสู่ข้อสันนิษฐานท้ายสุดของผมนะครับ (ซึ่งสิ่งที่ผมรู้ก็ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรมากมายนักหรอก)
- Read more about ข่าวย่อยๆ: worm ในระบบเครือข่าย (forex-prices.com)
- 18 comments
- Log in or register to post comments
ข่าวส่วนใหญ่มักจะให้ข้อมูลในเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว แต่มีข่าวส่วนหนึ่งเล่าเรื่องราวของอนาคต
ข่าวที่ผมกำลังเขียนเป็นเรื่องว่าด้วยอนาคตของ Internet ประเทศไทย มัน ไม่ใช่อนาคตที่ กำลังจะเกิดขึ้น แต่เป็นอนาคตที่ เราช่วยกันทำให้มันเกิดขึ้นได้
การเมืองบ้านเรานั้นมีการคดโกงกันหลายส่วน ซึ่งเป็นปัญหาที่เราควรช่วยกันแก้ไข วงการสื่อสารบ้านเรานั้นก็มีการหมกเม็ดนั่นนิดนี่หน่อยเช่นกัน
วันนี้ผมอยากเขียนถึงผู้ให้บริการ Internet (หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์เทคนิคว่า ISP) เจ้าหนึ่งครับ เราจะไปดูและรู้ทันกลเม็ดลูกไม้ต่างๆที่เขานำมาใช้กัน แต่ก่อนหน้านั้นผมขอเกริ่นนำพอเป็นพิธีก่อนนะครับ
ผลการศึกษาคู่รักวัยรุ่นอเมริกันในปี 2011 ระบุว่ามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตวัยรุ่นจำนวนถึง 30% ที่แชร์รหัสผ่านของตัวเองให้กับคู่รักหรือเพื่อนสนิท โดยถ้าแบ่งแยกตามเพศแล้ว ผู้หญิงจะมีสัดส่วนการแชร์มากกว่าผู้ชายที่ 38% และ 23% ตามลำดับ
นักวิชาการระบุว่าการแชร์รหัสผ่านกันและกันในคู่รักนี้มีเหตุผลมาจากต้องการสร้างความเชื่อใจและเพิ่มระดับความใกล้ชิด เช่นเดียวกับการมีเพศสัมพันธ์
นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า ในบางครั้งวัยรุ่นก็เอารหัสผ่าน Facebook ตัวเอง "ฝาก" ไว้กับเพื่อนสนิทหรือคู่รัก จนกว่าจะสอบเสร็จถึงจะมาขอคืน เพื่อบังคับตัวเองให้มีสมาธิกับการเรียน
กลุ่มตัวอย่างการศึกษานี้ทำกับวัยรุ่นอายุ 12-17 ปี จำนวน 770 คน
จากรายงานของบริษัทด้านความปลอดภัยรายหนึ่งได้ประกาศแจ้งเตือน scareware ที่มีชื่อว่า LizaMoon โดยปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาลวงๆ โดย redirect จากเว็บไซต์ที่เราต้องการไปยังไซต์อันตรายเหล่านี้ เช่น แอนติไวรัส หรือแสดง Windows Stability Center ขึ้นมาเพื่อหลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดโปรแกรมลงไปและหลอกล่อให้จ่ายเงิน
ในการแพร่กระจายนี้ โดเมน LizaMoon เป็นตัวแรกที่ถูกพบเมื่อ 29 มีนาคมที่ผ่านมา โดยเริ่มทำการโจมตีด้วยวิธีการ SQL injection ไปยังเครื่องที่ติดตั้ง MS SQL Server แล้วฝังสคริปต์ลงไปในเซิฟเวอร์ของเหยื่อ และในตอนนี้น่าจะพบการระบาดได้ใน SQL Server 2003 และ 2005 และพบการแพร่ระบาดมากกว่า 1.5 ล้านเว็บไซต์แล้ว
- Read more about เตือนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตระวัง LizaMoon
- 13 comments
- Log in or register to post comments
Joe Sullivan หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของ Facebook เปิดเผยว่าในช่วงที่มี การประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ของประเทศตูนิเซียเมื่อปลายปีที่แล้ว ทีมรักษาความปลอดภัยของเขาพบว่ารัฐบาลตูนิเซียกำลังดักจับรหัสผ่านเข้า Facebook ของคนทั้งประเทศผ่าน ISP และไล่ลบบัญชีผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการประท้วง เนื่องจาก Facebook เป็นเครื่องมือสำคัญของชาวตูนิเซียเพื่อสนับสนุนการประท้วง ทั้งการส่งข่าวในกลุ่มผู้ประท้วง การนัดหมายชุมนุม แ
ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ในประเทศเกาหลีใต้ มีข้อกำหนดทางกฎหมายว่าต้องมีการเข้ารหัสแบบ SEED ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นโดยเกาหลีใต้เอง ทำให้เว็บซื้อขายทั้งหลายรวมทั้งธนาคารออนไลน์ที่ต้องการระบุตัวตนของผู้ใช้ จำเป็นต้องบังคับให้ผู้ใช้ลงปลั๊กอิน ActiveX เพื่อจัดการส่วนนี้ เนื่องจากในปี 1999 ตอนที่กฏหมายนี้ผ่านออกมา ไม่มีเว็บบราวเซอร์ไหนสนับสนุนการเข้ารหัสแบบ SEED (Firefox เพิ่งสนับสนุนความสามารถนี้ในเวอร์ชัน 3.5.6) ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ Internet Explorer ครองแชมป์สัดส่วนการใช้งานเว็บเบราเซอร์ในเกาหลีใต้แบบไร้คู่แข่ง (เพราะยี่ห้ออื่นลง ActiveX ไม่ได้)
ENISA ได้ออกรายงานถึงผลสำรวจจากบริษัทที่ให้บริการอีเมลกว่า 100 แห่งใน 30 ประเทศในยุโรป ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่า 80 ล้านราย พบว่าอีเมลที่ถูกส่งกันในระบบมีเพียงไม่ถึง 5% ที่ไปถึงมือผู้รับ นอกนั้นถูกจัดเป็นสแปมเมล์ทั้งหมด
นอกจากนี้จากผลสำรวจยังพบว่า ผู้ให้บริการอีเมลต้องต่อสู้กับสแปมด้วยวิธีต่างๆ มากมาย ซึี่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการป้องกัน โดยหนึ่งในสามของผู้ให้บริการรายใหญ่ใช้งบประมาณกว่า 1 ล้านยูโรต่อปีเพื่อจัดการกับสแปมเมลโดยเฉพาะ และวิธีที่ถูกใช้บ่อยที่สุดคือการทำแบล็กลิสผู้ใช้
ว่าแต่เบื่อยาลดน้ำหนักหรือทำงานที่บ้านกันแล้วรึยัง
ที่มา - Net Security
- Read more about 95% ของอีเมลเป็นสแปม
- 33 comments
- Log in or register to post comments