เมื่อเดือนที่แล้ว Elon Musk ได้เสนอให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่นักกิจกรรมในประเทศอิหร่านหลังจากเกิดเหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่จนรัฐบาลอิหร่านพยายามปิดกั้นการสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
แผนงานของ Musk ก็ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลสหรัฐฯ แต่หลังจากออนไลน์ระบบก็เจอปัญหาว่าจำนวน terminal ที่สามารถรับสัญญาณได้ในอิหร่านนั้นมีน้อยเกินไป ซึ่ง Musk ระบุว่าอาจต้องมีการตั้ง terminal แบบพิเศษเพื่อให้การใช้งานอินเทอร์เน็ต Starlink ในอิหร่านสามารถดำเนินการได้ตามที่ตั้งใจไว้
กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอิหร่านที่ใช้ชื่อว่า Edalat-e Ali (Ali’s Justice) แฮ็กช่องข่าวของรัฐบาลขณะกำลังเผยแพร่วิดีโอ Ali Khamanei ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน
ระหว่างเผยแพร่ภาพ สัญญาณถูกตัดเข้าสู่รูปของ Ali Khamenei พร้อมกับตัวอักษรเขียนว่า “The Blood of Our Youths Is on Your Hands” (เลือดของลูกหลานเราเปื้อนบนมือคุณ) พร้อมกับรูปของ Mahsa Amini ผู้หญิงที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมโทษฐานไม่สวมฮิญาบ ก่อนจะเข้ารักษาด้วยอาการโคม่าและเสียชีวิตในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา รวมทั้งรูปของหญิงวัยรุ่นอีก 3 รายที่เสียชีวิตจากการประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิงในอิหร่าน
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นาย Alireza Peyman Pak รัฐมนตรีการค้าของอิหร่านได้เปิดเผยผ่านบัญชีทวิตเตอร์ว่าอิหร่านได้สั่งซื้อสินค้านำเข้าด้วยเหรียญคริปโตมูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้วในสัปดาห์นี้ และมีแผนว่าจะจ่ายเงินด้วยวิธีนี้กับประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ด้วยภายในสิ้นเดือนกันยายนโดยยังไม่ได้ระบุว่าจะใช้เหรียญอะไร ใช้กับประเทศไหนบ้างและจะใช้ในการซื้อสินค้าประเภทใด
การหันไปใช้คริปโตเป็นสกุลเงินเพื่อการซื้อขายของอิหร่านถือว่าเข้าใจได้ จากการเจอมาตรการคว่ำบาตร ทำให้หลายประเทศใหญ่ๆ ที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐ ไม่สามารถทำธุรกิจและธุรกรรมใดๆ กับอิหร่านได้ ขณะที่คริปโตมีการควบคุมแตกต่างจากสกุลเงิน fiat ทำให้กลายเป็นช่องว่างสำหรับประเทศที่ถูกคว่ำบาตร
สำนักข่าว BBC รายงานว่า อดีตพนักงานดูแลคอนเทนท์ภาษาเปอร์เซียของ Telus International ที่มีหน้าที่ดูแลคอนเทนท์บน Instagram ในอิหร่านเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัฐบาลอิหร่านได้เสนอมอบสินบนให้กับพนักงานหลายคนเพื่อแลกกับการลบแอคเคาท์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอิหร่าน
เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของรัฐบาลอิหร่านถูกกล่าวหาว่าได้เสนอเงินจำนวน 5,000 - 10,000 ยูโร สำหรับการลบแอคเคาท์ของเหล่าบรรดานักข่าวและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ลงคอนเทนท์ไปในทิศทางวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล
นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยอีกว่า พนักงานดูแลคอนเทนท์จำนวนหนึ่งที่มีอุดมการณ์สนับสนุนรัฐบาลอิหร่านก็ได้ปฏิบัติตาม “คำสั่ง” ของเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอีกด้วย
ทีม Threat Analysis Group (TAG) ของกูเกิล เผยว่าได้ส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้งานกว่า 50,000 ราย ผู้ซึ่งตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ด้วยวิธีฟิชชิ่งและฝังมัลแวร์
กูเกิลระบุว่าคนที่ได้รับคำเตือน ไม่ได้หมายความว่าบัญชีถูกแฮ็กไปแล้ว เพราะกูเกิลได้จัดการเพื่อหยุดการโจมตีบางอย่างไปแล้ว แต่เป็นการส่งคำเตือนให้รู้ว่าผู้ใช้งานนั้นๆ กำลังตกเป็นเป้าหมาย
โดยตัวเลขเป้าหมายโจมตีในปีนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเกือบ 33% ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มแฮกเกอร์ส่วนใหญ่มาจากรัสเซีย อย่างเช่นกลุ่ม Fancy Bear แต่ล่าสุดไม่ใช่แค่รัสเซีย แต่มีถึงราวๆ 50 ประเทศที่มีกลุ่มแฮกเกอร์ทำงานกันในแต่ละวัน
Facebook เผยว่ามีเครือข่ายแฮกเกอร์จากอิหร่าน ใช้ชื่อว่า Tortoiseshell พยายามใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่มัลแวร์ โดยเจาะจงเป้าหมายที่บุคลากรในกองทัพสหรัฐฯ และบางส่วนที่อังกฤษและบางประเทศในยุโรป
GitHub ประกาศว่าได้รับอนุญาตจากสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างชาติ (Office of Foreign Assets Control - OFAC) เพื่อให้บริการแก่นักพัฒนาในอิหร่านได้อีกครั้ง หลังจากต้องแบนนักพัฒนาที่เคยใช้ไอพีอิหร่านทั้งหมดตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 เป็นต้นมา
ทาง GitHub แบนนักพัฒนาจากหลายชาติ โดยที่มีข่าวก่อนหน้านี้ ได้แก่ อิหร่าน, เกาหลีเหนือ, คิวบา, ซีเรีย, และคาบสมุทรไครเมีย ส่งผลให้นักพัฒนาที่เคยใช้ไอพีชาติเหล่านี้เข้าถึง private repository แม้แต่ครั้งเดียวก็ถูกบล็อค
- Read more about สหรัฐฯ อนุญาตให้ GitHub ให้บริการในอิหร่านอีกครั้ง
- 1 comment
- Log in or register to post comments
หากยังพอจำกันได้ ประเด็นความขัดแย้งระหว่าง Huawei และตะวันตกแรก ๆ คือกรณีที่ Huawei ถูกกล่าวหาว่าละเมิดการ sanction และกฎหมายระหว่างประเทศในการขายของให้อิหร่าน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ CFO ลูกสาวของ Ren Zhengfei ผู้ก่อตั้งถูกจับ
ประเด็นนี้กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งเมื่อ The New York Times รายงานอ้างอิงข้อมูลจาก Li Hongyuan และ Zeng Meng อดีตพนักงาน Huawei 2 คนที่ระบุว่าตัวพวกเขาและเพื่อนรวมกันเป็น 5 คน ถูกตำรวจเสิ่นเจิ้นจับตั้งแต่ธันวาคม 2018 (หลัง CFO Huawei ถูกจับในแคนาดาไม่นาน) โดย Zeng ถูกจับในไทย หลังพวกเขาได้พูดคุยในประเด็น Huawei ขายของให้ อิหร่านผ่านทาง WeChat โดย Li อ้างว่ามีหลักฐานด้วยว่า Huawei ขายให้จริง
Facebook ยอมรับกับ CNN ว่า Instagram ได้ลบโพสต์และบัญชีที่ยกย่องสรรเสริญนายพล Qassem Soleimani ของอิหร่าน ที่กองทัพสหรัฐฯสังหารไป ถือเป็นการยอมทำตามนโยบายคว่ำบาตรของสหรัฐฯ
สื่ออิหร่านรายงานว่า รัฐบาลอิหร่านเรียกร้องให้ดำเนินการทางกฎหมายทั่วประเทศเพื่อต่อต้าน Instagram ทำแม้กระทั่งสร้างพอร์ทัลเพื่อให้ผู้ใช้งานส่งตัวอย่างโพสต์ที่ Instagram ลบออกไป
เมื่อช่วงเช้ามืดวันนี้ตามเวลาประเทศไทย ฐานทัพอเมริกันสองแห่งในประเทศอิรักถูกถล่มด้วยจรวดมิสไซล์ และกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Islamic Revolutionary Guard Corps) ก็เข้ามาอ้างความรับผิดชอบทันที ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกองทัพสหรัฐฯ ก็ยืนยันแล้วว่ามิสไซล์ดังกล่าวถูกยิงจากอิหร่าน
ภายหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว Saeed Jalili ที่ปรึกษาของ Ali Khamenei ผู้นำสูงสุดอิหร่าน ได้ทวีตภาพธงชาติอิหร่านเยาะเย้ยประธานาธิบดี Donald Trump เพราะ Trump ได้ทวีตภาพธงชาติสหรัฐอเมริกาหลังการสังหาร Qasem Soleimani ผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพอิหร่านเมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา
ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา ( War Powers Resolution of 1973 ) ประธานาธิบดีสหรัฐจะสามารถส่งทหารเข้าร่วมรบในต่างประเทศ ก็ต่อเมื่อได้อำนาจจากรัฐสภา (สภาคองเกรส) ในการ "ประกาศสงคราม" อย่างเป็นทางการ (กฎหมายระบุว่าประธานาธิบดีมีสิทธิสั่งปฏิบัติการทางทหารได้ก่อน แต่ต้องแจ้งรัฐสภาภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งสภามีสิทธิโหวตประกาศสงครามหรือไม่ก็ได้ เป็นการคานอำนาจระหว่างประธานาธิบดีกับสภา)
จากเหตุการณ์ สหรัฐอเมริกาสังหารผู้บัญชาการทหารอิหร่านด้วยโดรน ก็เกิดคำถามตามมาว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องแจ้งเรื่องการโจมตีครั้งนี้ต่อสภาหรือไม่
ข่าวใหญ่ด้านต่างประเทศรอบวันนี้คือ สหรัฐอเมริกาจู่โจมทางอากาศสังหาร Qasem Soleimani ผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพอิหร่าน เสียชีวิตที่สนามบินในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก
สิ่งที่น่าสนใจคือกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ยืนยันกับ CNN ว่าปฏิบัติการจู่โจมครั้งนี้ใช้ "โดรน" เพียงตัวเดียว (a drone) ตอนนี้ยังมีรายละเอียดของปฏิบัติการทางทหารไม่เยอะนัก รู้แค่ว่าสหรัฐใช้โดรนโจมตีรถยนต์ที่ Soleimani นั่งมาด้วย และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ภาพจากสำนักข่าวของทางการอิรักแสดงให้เห็นรถยนต์ที่ไฟลุกไหม้ แต่ไม่มีรายละเอียดอย่างอื่น
อิหร่านตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเกือบทั้งประเทศ หลังประชาชนประท้วงเป็นวงกว้างเนื่องจากขึ้นราคาน้ำมัน จนเกิดเหตุวุ่นวายมีผู้ร่วมชุมนุมถูกจับกุมนับพัน
เว็บไซต์ Internet Intelligence ของออราเคิลแสดงข้อมูลว่าอัตราการ traceroute ในอิหร่านสำเร็จต่ำลงอย่างมาก การประกาศเส้นทาง BGP หายไปอย่างมีนัยสำคัญ และเส้นทางไปยังเน็ตเวิร์คจำนวนมากไม่เสถียร
อินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ จากผู้ให้บริการเช่น MCI, Ringtel, และ IranCell ไม่สามารถเชื่อมต่อได้แล้ว
ที่มา - IT News
ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่านที่เริ่มต้นขึ้นจากอิหร่านยิงโดรนของสหรัฐอเมริกาตกนั้น เริ่มแผ่ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ นอกจากข่าวลือเรื่อง การตอบโต้ด้วยปฏิบัติการไซเบอร์แล้ว ยังลามไปถึงวงการเกมอีกด้วย เพราะในขณะนี้ League of Legends เกม MOBA ชื่อดังได้ถูกบล็อกโดยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาให้ไม่สามารถเล่นได้ในอิหร่านและซีเรียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อผู้เล่นที่อยู่ในประเทศดังกล่าวล็อกอินเข้าเกมจะพบกับข้อความว่า “เนื่องด้วยกฏหมายและมาตรการของสหรัฐอเมริกา ผู้เล่นในประเทศของคุณจะไม่สามารถเข้าเชื่อมต่อกับ League of Legends ได้ในขณะนี้” แต่ผู้เล่นยังสามารถเข้าเกมผ่าน VPN ได้
ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่านกลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง หลังอิหร่านยิงโดรนของสหรัฐอเมริกาตก ล่าสุดหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานข่าวในแวดวงว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้อนุมัติให้กองกำลังไซเบอร์ของสหรัฐ เริ่มปฏิบัติการสงครามไซเบอร์โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ของอิหร่านที่ควบคุมขีปนาวุธแล้ว
ตามข่าวบอกว่า ปฏิบัติการไซเบอร์เริ่มขึ้นเมื่อคืนวันพฤหัสที่ผ่านมา (ตามเวลาสหรัฐ) โดยทีมงานของ U.S. Cyber Command เพื่อทำให้ระบบควบคุมขีปนาวุธของอิหร่านใช้งานไม่ได้
จากกรณี Wanzhou Meng รองประธานและซีเอฟโอของ Huawei โดนจับในแคนาดา จากคำขอของรัฐบาลสหรัฐ ตอนแรกเราไม่รู้รายละเอียดว่าโดนจับเพราะอะไร แต่ ภายหลังเมื่อคดีเข้าสู่ชั้นศาลในแคนาดา ก็มีรายละเอียดจากการไต่สวนออกมา
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะต้นเรื่อง ก็เปิดเผยรายละเอียดของคำฟ้องออกมาแล้ว จำเลยมี 4 รายได้แก่ บริษัทแม่ Huawei Technologies Co. Ltd. ในจีน, Huawei Device USA Inc. บริษัทลูกในสหรัฐ, Skycom Tech Co. Ltd. บริษัทลูกที่เป็นปัญหา และตัวของ Wanzhou Meng โดยมีความผิดรวมกัน 13 ข้อหา
จำเลยแต่ละรายมีความผิดแตกต่างกันไป
จาก เหตุการณ์จับกุม Meng Wanzhou รองประธานและซีเอฟโอของ Huawei ในประเทศแคนาดา ที่ ยังขาดรายละเอียดของคดี ในช่วงแรกๆ วันนี้เริ่มมีรายละเอียดออกมาเพราะเธอถูกส่งขึ้นศาลแคนาดาแล้ว
John Gibb-Carsley อัยการของรัฐบาลแคนาดา (ซึ่งเป็นผู้ยื่นฟ้อง Meng ต่อศาล) ให้ข้อมูลว่า Meng มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมในอิหร่าน โดยใช้บริษัทลูก Skycom Tech ในฮ่องกงของ Huawei หลอกให้สถาบันการเงินบางแห่งในสหรัฐทำธุรกิจกับประเทศอิหร่าน (ซึ่งถูกสหรัฐคว่ำบาตรและห้ามทำธุรกิจด้วย)
Yahoo! News รายงานถึงเหตุการณ์ที่สายลับของ CIA ถูกจับและประหารไปกว่า 30 คนในช่วงปี 2009-2013 เนื่องจากเว็บที่ใช้ติดต่อกับตัวสายลับมีช่องโหว่ ทำให้หน่วยต่อต้านข่าวกรองสามารถตามเว็บเหล่านี้และไล่ตามจับสายลับได้ โดย Yahoo!News อ้างว่าได้รับข่าวจากเจ้าหน้าที่และอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองที่ไม่ระบุชื่อ 11 ราย
ข่าวระบุว่าอิหร่านเป็นชาติแรกที่เริ่มพบช่องโหว่ของระบบนี้ เนื่องจากสามารถวางตัวสายลับสองหน้าเข้าไปใน CIA ได้สำเร็จ และสายลับคนนั้นแจ้งอิหร่านว่าติดต่อกับ CIA ช่องทางใด จากนั้นหน่วยต่อต้านข่าวกรองของอิหร่านจึงสร้างคำค้นสำหรับกูเกิลเพื่อหาเว็บแบบเดียวกันที่ CIA วางไว้ติดต่อสายลับคนอื่นๆ ได้สำเร็จ โดยในปี 2011 ทางการอิหร่านออกข่าวว่าจับสายลับสหรัฐฯ ได้กว่า 30 ราย
สำนักข่าว Islamic Republic News Agency ในอิหร่านรายงานว่า ศาลในอิหร่านสั่งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศบล็อก Telegram แล้ว
ปัจจุบัน อิหร่านมีผู้ใช้งาน Telegram โดยประมาณ 40 ล้านคน คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งก่อนที่จะมีคำสั่งแบน Telegram ทั้งประเทศนั้น พนักงานของรัฐก็ถูกสั่งให้เลิกใช้แอพมาแล้ว และรัฐบาลอิหร่านก็เปิดตัวแอพแชทของตัวเองคือ Soroush เพื่อใช้งานภายในประเทศ
ธนาคารกลางของอิหร่าน (ประมาณธนาคารแห่งประเทศไทย) ประกาศแบนไม่ให้ธนาคาร สถาบันการเงินและร้านรับแลกเปลี่ยนเงิน ยุ่งเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโตทุกชนิด เพราะห่วงเรื่องการฟอกเงิน
IRNA (Islamic Republic News Agency) สำนักข่าวของรัฐบาลอิหร่านระบุว่า ธนาคารกลางสั่งห้ามไม่เพียงการซื้อขายเท่านั้น แต่ยังห้ามยุ่งเกี่ยวหรือโปรโมทสกุลเงินคริปโตใดๆ ทั้งสิ้นด้วย โดยกฎหมายนี้ออกมาเสริมกับกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินที่ผ่านเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
ที่มา - Reuters
รัฐบาลอิหร่านได้สั่งบล็อกแอพ Telegram และ Instagram ในช่วงระหว่างการชุมนุมประท้วง โดยผู้มีอำนาจให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคม โดยสื่อหลายแห่งรายงานว่าแอพทั้งสองถูกใช้เพื่อการปรึกษาหารือวางแผน และแชร์ภาพหรือวิดีโอเกี่ยวกับการประท้วง
Telegram โดยซีอีโอ Pavel Durov ได้ทวีตถึงเรื่องการบล็อก Telegram โดยเขากล่าวว่าการบล็อกเกิดขึ้นหลังจากที่ทาง Telegram ปฏิเสธจะปิดช่อง t.me/edaiemardom รวมถึงช่องอื่น ๆ ที่ใช้เพื่อการประท้วงโดยสันติ (ก่อนหน้านี้ Telegram เคยปิดช่องเกี่ยวกับความรุนแรงตามคำขอของรัฐบาลมาแล้ว )
ส่วนฝั่ง Instagram ยังไม่ได้ให้ความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
Telegram เป็นแอพที่ได้รับความนิยมสูงในฝั่งอิหร่าน จึงทำให้เป็นช่องทางสื่อสารหลักของผู้ประท้วงในประเทศด้วยเช่นกัน ล่าสุด Channel ของ Amadnews ในอิหร่านก็ถูกทาง Telegram สั่งบล็อกแล้ว หลังจากที่ทำการปลุกใจผู้รับสารโดยใช้ภาพระเบิดขวด
Mohammad-Javad Azari Jahromi รัฐมนตรีว่าารกระทรวงโทรคมนาคมของอิหร่านได้แจ้งไปยัง Telegram โดยเมนชั่นหาซีอีโอ Pavel Durov ผ่านทาง Twitter @durov ซึ่งซีอีโอก็จัดการบล็อกให้และ รายงาน ว่าช่องดังกล่าวได้ทำผิดกฎ “ห้ามใช้เพื่อความรุนแรง” ของ Telegram ซึ่งการใช้ภาพระเบิดขวดเพื่อปลุกในผู้กระท้วงให้กระทำกับเจ้าหน้าที่รัฐนั้นถือว่าผิดข้อตกลง
กระทรวงยุติธรรมอิหร่านออกคำสั่งแบนเกม Clash of Clans หลังคณะกรรมการพิจารณาเนื้อหาอาชญากรรม (Committee for Determining Instances of Criminal Content) ได้ยื่นเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาล
คณะกรรมการได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมา เนื่องจากได้รับรายงานของจิตแพทย์ที่ชี้ว่าเกมนี้ส่งเสริมความรุนแรง สงครามระหว่างเผ่า (tribal war) และทำให้ผู้เล่นติดเกมอย่างหนัก (extremely addictive) โดยผลสำรวจจาก Venturebeat ชี้ว่าชาวอิหร่านที่เล่นเกมโมบายล์กว่า 64% เล่น Clash of Clans
อย่างที่ทราบกันว่าอิหร่านเป็นประเทศที่พยายามตัดขาดตนเองจากโลกตะวันตก ทั้งสังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี โดยสื่อโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ก็ล้วนถูกแบนในอิหร่าน ล่าสุด Supreme Council of Cyberspace ได้ออกกฎหมายใหม่ที่บังคับให้บริษัทที่ให้บริการแอพส่งข้อความของต่างชาติ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ชาวอิหร่านไว้ภายในประเทศ โดยกำหนดเส้นตายหลังจากนี้ 1 ปี
ทาง Reuters ระบุว่า แอพเป้าหมายสำคัญของกฎหมายนี้น่าจะเป็น Telegram ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูงในอิหร่าน โดยผู้ใช้ Telegram ชาวอิหร่านบางคนระบุว่าจะเลิกใช้ Telegram หากข้อมูลทั้งหมดถูกย้ายมาเก็บไว้ในประเทศ เพราะพวกเขาจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป
ที่กรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่านตอนนี้มีหนึ่งแอพกำลังฮิต ชื่อว่า "Gershad" ที่ให้ผู้ใช้ร่วมกันบอกและแจ้งเตือนตำแหน่งของ Gesht-e Ershad หรือตำรวจศาสนา ผู้ดูแลความประพฤติ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ผู้คอยดูแลผู้คนให้ปฏิบัติตามหลักการศาสนาอย่างเคร่งครัด เช่น การแต่งหน้ามากเกินไป หรือใช้ฮิญาบผิดประเภท ก็อาจถูกปรับและลงโทษได้
แอพแนว crowdsourcing แอพนี้ถูกดาวน์โหลดแล้วกว่า 16,000 ครั้งหลังจากเปิดตัวไปเมื่อสัปดาห์ก่อนบน Play Store (ยังไม่มีบน iOS) และมีคนเข้าไปรายงานแล้วกว่า 1,500 ครั้งครับ
ที่มา - The Verge