MakerBot ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติชื่อดัง ประกาศเอาท์ซอร์สการผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติทั้งหมดไปให้บริษัท Jabil บริษัทผู้รับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แทน
MakerBot ให้เหตุผลว่าการโอนถ่ายกระบวนการผลิตให้บริษัทภายนอก จะช่วยลดต้นทุนค่าผลิตลง ทำราคาสินค้าแข่งกับผู้เล่นรายอื่นในตลาดโลกได้ดีกว่าเดิม อีกทั้งยังสามารถปรับยอดการผลิตตามความต้องการได้สะดวกมากขึ้น เมื่อเทียบกับระบบเดิมที่ MakerBot มีโรงงานของตัวเองในนครนิวยอร์ก
การโอนงานให้ Jabil จะส่งผลให้โรงงานของ MakerBot ต้องปิดตัว และมีคนต้องตกงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งบริษัทไม่บอกจำนวนว่าเท่าไร
กระแส 3D printer ที่เคยบูมในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อาจเริ่มประสบปัญหาฟองสบู่บ้างแล้ว เมื่อบริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์รายใหญ่ทั้ง Stratasys และ 3D Systems เริ่มมีรายได้ต่อไตรมาสลดลง จนต้องประกาศลดจำนวนพนักงานแล้ว
ซีเอฟโอของ 3D Systems ยืนยันข่าวว่าจะลดจำนวนพนักงานลง และปิดโรงงานในรัฐแมสซาชูเซตส์ช่วงกลางปี 2016 เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร ส่วนบริษัท Stratasys ยอมรับว่าต้องปรับลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ MakerBot บริษัทลูกของ Stratasys ปลดพนักงานไปสองรอบแล้วในปีนี้
MakerBot ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติชื่อดัง กำลังตกเป็นจำเลยโดนฟ้องร้องฐานจงใจส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาการใช้งานให้แก่ลูกค้า
คำฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นการร่วมฟ้องของกลุ่มลูกค้าหลายคน ระบุว่าทาง MakerBot จงใจส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าชิ้นส่วนสำคัญอย่าง extruder ซึ่งทำหน้าที่หลอมละลายเส้นพลาสติกและฉีดมันออกมาเพื่อขึ้นรูปชิ้นงานตามคำสั่งพิมพ์นั้นมีปัญหาอุดตันอย่างรวดเร็วหลังผ่านการใช้งานไปเพียงไม่กี่ครั้ง (ผู้ใช้รายหนึ่งระบุว่าจากประสบการณ์ตรงของเขา ตัว extruder ของเครื่อง MakerBot นี้ใช้งานได้ไม่ถึง 10 ครั้งก็ตันแล้ว)
MakerBot บริษัทผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติชื่อดัง ประกาศปลดพนักงานออก 80 คน (ประมาณ 20%), ปิดร้านสาขา 3 แห่ง และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
ซีอีโอ David Reis ระบุว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (2012-2014) บริษัทเติบโตเร็วมากด้วยอัตรา 600% แต่เมื่อโตเร็วเกินไปก็มีปัญหาเรื่องโครงสร้างองค์กร จนต้องปรับตัวเพื่อที่จะก้าวต่อไป
เว็บไซต์ The Register อ้างข้อมูลวงในว่าช่วงหลังบริษัทเปลี่ยนพนักงานบ่อย ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเงินขาดมือจนเริ่มติดหนี้ไม่จ่ายเงินซัพพลายเออร์แล้ว
ที่มา - MakerBot , The Register
MakerBot ประกาศข่าวในงาน CES 2015 เปิดตัว วัสดุสังเคราะห์สำหรับงานพิมพ์ 3 มิติแบบใหม่ ที่จะให้สัมผัสคล้ายกับวัสดุธรรมชาติอย่างหินปูน, ไม้, เหล็ก และสำริด
เนื้อแท้ของวัสดุที่ว่านั้นยังคงเป็น PLA อย่างที่ MakerBot เลือกใช้มาโดยตลอด ทว่ามีการเพิ่มองค์ประกอบทางเคมีเข้าไปใน PLA เพื่อให้ได้เนื้อวัสดุที่ให้ความรู้สึกคล้ายวัสดุธรรมชาติหลากหลายชนิด โดยมีคุณสมบัติพิเศษเลียนแบบวัสดุเหล่านั้นด้วย
Makerbot ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติรายแรกๆ ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้ทั่วไป กำลังจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้วงการพิมพ์สามมิติอีกครั้ง หลังจากมีคนไปพบว่า Makerbot เพิ่งไปจดสิทธิบัตรใหม่ที่ทำให้สามารถพิมพ์วัตถุขนาดใหญ่กว่าปริมาตรการผลิตที่เครื่องพิมพ์รองรับได้แล้ว
ว่ากันด้วยเรื่องของปริมาตรการผลิต เครื่องพิมพ์สามมิติจะมีข้อจำกัดเรื่องนี้ มากน้อยกันไปตามขนาดของตัวเครื่อง เป็นเหตุผลที่ทำให้ยังไม่มีงานพิมพ์สามมิติขนาดใหญ่มากๆ จากเครื่องพิมพ์สามมิติที่ใช้กันตามบ้าน ที่โดยมากมักมีขนาดเล็ก
MakerBot เปิดเผยราคา Digitizerผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับงานพิมพ์ 3 มิติ ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมันคือเครื่องสแกนชิ้นงานต้นแบบสำหรับงานพิมพ์ 3 มิติ โดยในขณะนี้อยู่ในช่วงเปิดรับการสั่งจองสินค้า
Digitizer คือเครื่องสแกนแบบ 3 มิติ มีลักษณะเป็นแท่นวางชิ้นงานซึ่งหมุนได้ ตัวเซ็นเซอร์ที่ตรวจสอบรูปทรงที่แท้จริงของชิ้นงานคือหัวสแกนลำแสงเลเซอร์จำนวน 2 หัว ทั้งนี้น้ำหนักของชิ้นงานต้องไม่เกิน 3 กิโลกรัม โดย Digitizer จะใช้เวลาในการสแกนชิ้นงานราว 12 นาที และสิ่งที่ได้ก็คือโมเดลในคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติเหมือนชิ้นงานต้นแบบ ซึ่งสามารถนำไปสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้
ใกล้ส่งของชุดแรกเข้าไปทุกที เครื่องเกมราคาย่อมเยา OUYA ก็มีของเล่นให้คนซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดจับมือกับ MakerBot ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติ ให้ผู้ใช้สามารถผลิตเคสสำหรับ OUYA ได้เองที่บ้านกันเลย
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์ต้นแบบได้จากเว็บไซต์ Thingiverse โดยไฟล์ดังกล่าวถูกปรับแต่งมาสำหรับเครื่องพิมพ์รุ่น Replicator 2 โดยเฉพาะ แต่ก็สามารถใช้กับรุ่นสูงกว่าอย่าง Replicator 2X ได้เช่นกัน สำหรับวัสดุที่ใช้เป็นพลาสติก PLA หรือ ABS แบ่งตามรุ่นของเครื่องพิมพ์
- Read more about OUYA จับมือ MakerBot แจกไฟล์เคสให้ทำใช้กันเอง
- 17 comments
- Log in or register to post comments