AMD ได้รับการยกย่องอย่างมากเรื่องการซัพพอร์ตซ็อคเก็ตซีพียูแบบเดิมเป็นเวลานาน ผู้ใช้สามารถนำบอร์ดรุ่นเดิมมาใช้กับซีพียูรุ่นใหม่ได้ และถึงแม้ AMD เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ซ็อคเก็ต AM5 เมื่อต้นปี 2022 (พร้อม Ryzen 7000) แต่ซ็อคเก็ต AM4 ก็ยังใช้งานต่อไป โดย AMD ยังออกซีพียูกลุ่ม Ryzen 5000X3D ออกมาให้เรื่อยๆ ด้วย
ASUS เปิดตัวสินค้ากลุ่มเมนบอร์ดและการ์ดจอซีรีส์ BTF (Back-to-The-Future) ที่เสนอแนวทางดีไซน์แบบใหม่ ไม่มีสายเคเบิลมาให้เห็นเกะกะภายในเคสพีซี (hidden-connector)
แนวทางของ BTF ไม่ใช่ตัดสายเคเบิลทิ้งไปทั้งหมด แต่ปรับให้พอร์ตเชื่อมต่อสายไฟไปอยู่ตำแหน่งใต้บอร์ดแทน (ดูภาพประกอบ) เพื่อให้สายเคเบิลไม่พันเกะกะทับกับชิ้นส่วนการ์ดจอต่างๆ ที่เสียบลงด้านหน้าบอร์ด
บอร์ดตระกูล BTF สองรุ่นแรกที่เปิดตัวและวางขายคือ ROG Maximus Z790 Hero BTF ที่ใช้ดีไซน์สะอาดตาแต่ก็ยังดูโฉบเฉี่ยว กับ TUF Gaming Z790-BTF WiFi ที่เน้นโทนสีขาว สว่าง สะอาด บอร์ดทั้งสองรุ่นใช้ชิปเซ็ต Z790 ของอินเทล และรองรับ Wi-Fi 7 ในตัว
ASRock ผู้ผลิตเมนบอร์ดแบรนด์ดัง เปิดตัวเมนบอร์ดรุ่น Taichi Lite มีจุดเด่นที่แตกต่างจากบอร์ด Taichi รุ่นปกติตรงที่มีไฟ RGB น้อยลง
บอร์ด Taichi Lite ที่เปิดตัวมีทั้งชิปเซ็ต Z790 (Intel) และ B650E (AMD) โดยสเปกต่างๆ เหมือนกับบอร์ดรุ่นเดียวกันแบรนด์ Taichi ที่วางขายอยู่ก่อนแล้วทุกประการ จุดต่างมีแค่ดีไซน์ภายนอกที่เรียบร้อยขึ้น ใช้สีน้อยลง และจำนวนไฟ RGB บนบอร์ดเท่านั้น
ASRock ระบุว่าบอร์ดรุ่น Lite จะขายถูกกว่าบอร์ดรุ่นปกติ เพราะต้นทุนน้อยลง แต่ยังไม่เปิดเผยราคาในตอนนี้
ASRock ไม่ใช่ผู้ผลิตเมนบอร์ดรายแรกที่หันมาออกสินค้าดีไซน์เรียบง่าย ไฟซิ่งน้อยลง เพราะก่อนหน้านี้เคยมีบอร์ดยี่ห้ออื่นๆ เช่น MSI ที่ออกบอร์ดรุ่น Unify เน้นสไตล์เรียบหรู ไฟน้อยมาก่อนแล้ว
ช่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน วงการฮาร์ดแวร์พีซีพบปัญหาซีพียู AMD Ryzen 7000 ร้อนจนไหม้กันไปหลายเครื่อง หลังสอบสวนหาสาเหตุกันไปมาพบว่าศักย์ไฟฟ้าของซีพียูตอนโหลดสูงๆ พุ่งไปถึง 1.4V ทำให้เกิดปัญหาความร้อนจนไหม้ ทำให้ AMD ต้องออกแพตช์ควบคุมปริมาณศักย์ไฟฟ้าของชิปไม่ให้เกิน 1.3V และทยอยอัพเดตผ่านเฟิร์มแวร์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดยี่ห้อต่างๆ ซึ่งดูเหมือนเคลียร์กันจบแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหากลับซับซ้อนขึ้นไปอีก เพราะมีคนพบว่า ASUS ออกเฟิร์มแวร์ BIOS รุ่นใหม่ที่ยังมีสถานะเป็น Beta กลับไม่ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น ไม่จำกัดศักย์ไฟฟ้าชิปที่ 1.3V และเมื่อซีพียูโหลดสูงๆ วัดค่าศักย์ไฟฟ้าได้ 1.34V แถมการใช้เฟิร์มแวร์ Beta ยังมีผลต่อการรับประกันสินค้าด้วย
Gigabyte และ MSI สองยักษ์ใหญ่ในธุรกิจชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ต่างนัดกันเปิดตัวเมนบอร์ดรูปแบบใหม่ที่สามารถซ่อนสายไฟ และสายเชื่อมต่อต่าง ๆ ไว้ด้านหลังเครื่อง ทำให้เมื่อมองจากด้านที่โชว์เมนบอร์ดจะเห็นแค่การ์ดจอ, แรม, และชุดระบายความร้อนด้วยของเหลว หรืออากาศของตัวเครื่องเท่านั้น
เริ่มต้นกับ Gigabyte ที่ร่วมมือกับ Maingear เปิดตัว AORUS Project Stealth ชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยเมนบอร์ด, การ์ดจอ และเคสคอมพิวเตอร์ โดดเด่นเรื่องการเก็บสายไฟ และสายเชื่อมต่อ แก้ปัญหาคอมประกอบสเปกสูงที่มักจะมีสายเกะกะ และไม่ถูกใจเจ้าของที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บสายไฟอย่างเรียบร้อย
AMD เปิดตัวซ็อคเก็ตใหม่ AM5 อย่างเป็นทางการ ถือเป็นจุดสิ้นสุดของซ็อคเก็ต AM4 ที่ใช้กันมายาวนาน
ซ็อคเก็ต AM5 เป็นแบบ 1718 พิน, รองรับค่า TDP สูงสุด 170W, แรม DD5 แบบดูอัลแชนเนล, สล็อต PCIe 5.0 สูงสุด 24 เลน, รองรับ SuperSpeed USB สูงสุด 14 พอร์ต, HDMI 2.1 และ DisplayPort 2 รวมสูงสุด 4 พอร์ต, Wi-Fi 6E และ Bluetooth LE 5.2
AMD โชว์ Ryzen 7000 สถาปัตยกรรม Zen 4 เทคโนโลยีการผลิต 5nm เตรียมวางขายภายในครึ่งหลังของปี 2022 นี้
การอัพเดตครั้งนี้ทาง AMD เตรียมเปลี่ยนซ็อกเก็ตเป็น AM5 ที่รองรับ PCIe 5.0 และแรมแบบ DDR5 ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางของซีพียูรุ่นหลังๆ ที่รองรับ DDR5 ทั้งหมด
เอเอ็มดีเปิดตัว AM4 มาตั้งแต่ปี 2016 และ เคยสัญญาว่าจะใช้งานจนถึงปี 2020 ซึ่งก็ทำได้จริง และในงาน CES นี้เองก็ยังเปิดตัวซีพียูซ็อกเก็ต AM4 มาให้อัพเกรดกัน
ที่มา - AMD
Asus เริ่มออกอัพเดต BIOS ให้กับบนเมนบอร์ดเวอร์ชั่นต่างๆ เพื่อรองรับ Windows 11 และเปิดใช้งานชิป TPM (Trusted Platform Module) เช่น PTT ของฝั่ง Intel และ PSP fTPM ของฝั่ง AMD โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถดูรายการเมนบอร์ดที่รองรับ TPM สำหรับ Windows 11 แบบเต็มได้ ที่ลิงก์นี้
Windows 11 ต้องการชิป TPM ขั้นต่ำ (hard floor) เวอร์ชัน 1.2 แต่แนะนำ (soft floor) เป็นเวอร์ชัน 2.0 แปลว่าซีพียูที่ไม่มี TPM จะไม่สามารถใช้งาน Windows 11 ได้ แต่ซีพียูส่วนใหญ่ที่มีอายุ 5-7 ปี จะมีชิป TPM มาด้วยอยู่แล้ว แค่อาจต้องเปิดใช้งานใน BIOS ด้วยตัวเองเท่านั้น
ASUS เปิดตัว H370 Mining Master เมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับการขุดเหมืองโดยเฉพาะ รองรับ GPU พร้อมกันได้สูงสุด 20 ตัว เชื่อมต่อผ่านพอร์ท PCIe-over-USB พร้อมอินเทอร์เฟสสำหรับตรวจสอบสถานะของแต่ละพอร์ทด้วยว่าทำงานอยู่หรือไม่
H370 เป็นเมนบอร์ดแบบ ATX ซ็อกเก็ต LGA 1151 แรม DDR4 สูงสุด 2133 MHz PCIe 16 สล็อต 1 พอร์ท SATA III 2 พอร์ท ยังไม่ประกาศราคา เริ่มวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือไตรมาสสาม
ที่มา - ASUS
ตอนนี้เรามาถึงจุดที่ซื้อเมนบอร์ดแล้วบังคับให้พีซีเครื่องนั้นต้องลงชุดน้ำแล้ว เพราะเมนบอร์ด Maximus IX Extreme (M9E) จาก ASUS จะมากับบล็อกระบายความร้อนด้วยน้ำยึดมากับตัวบอร์ด ที่จะช่วยระบายความร้อนซีพียู ภาคจ่ายไฟ และ SSD แบบการ์ดสล็อต M.2 ซึ่งให้ Bitspower ช่วยออกแบบ ข้อดีคือบล็อกนี้จะไม่ได้ระบายความร้อนแค่ซีพียูเหมือนระบบทั่วไป และต่อท่อน้ำเข้าออกแค่ช่องเดียวจบ
เมนบอร์ดรุ่นนี้ใช้ชิปเซ็ต Z270 ใช้งานกับชิปอินเทลซ็อกเก็ต LGA1151 รองรับแรม DDR4 ได้ถึง 4,133MHz พร้อม Thunderbolt 3, USB3.1, SLI, CrossFireX และมีออปชั่นด้านการโอเวอร์คล็อกตามสไตล์เมนบอร์ดตระกูล ROG ราคา 629 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 21,800 บาท)
MSI ประกาศอัพเกรดไลน์เกมมิงโน้ตบุ๊คหลายรุ่นให้รองรับซีพียู Kaby Lake ของ Intel พร้อมการ์ดจอซีรีส์ GTX 10 ได้แก่รุ่น GT83VR, GT73VR, GT72VR, GT62VR, GS73VR, GS63VR, GS43VR, GE72VR, GE62VR, GP62VR, GP72VR, GP62MVR, GP72/GP62และ GL72/GL62รวมถึงเปิดตัว Nahimic VR ระบบเสียงสำหรับการเล่นเกมผ่าน VR ไปพร้อมกันด้วย
หลังจากเปิดตัวข้อมูลของชิป AMD Ryzen ไป ล่าสุดมีข่าวทางการถึงชิปเซ็ตที่ใช้งานร่วมกันกับซีพียูซ็อกเก็ต AM4 คือชิปเซ็ต X370 เจาะกลุ่มเน้นประสิทธิภาพ พอร์ตเชื่อมต่อหลากหลาย ใช้กราฟิกการ์ดคู่ และ X300 เน้นขนาดเล็กบนเมนบอร์ดไซส์ mini-ITX
ซึ่งทั้งคู่รองรับการใช้งานแรม DDR4 แบบแชนแนลคู่, ใช้สตอเรจแบบ NVMe, M.2 SATA, USB3.1 และ PCI-Express 3.0 ทั้งนี้แบ่งอีกหลายรุ่นย่อยแล้วแต่ผู้ผลิตเมนบอร์ด ทั้ง ASUS, ASRock, Biostar, Gigabyte, MSI ต่างก็เข็นออกมาโชว์ตัวในงาน CES 2017 แล้ว ตลอดจนแบรนด์พีซีประกอบ และแบรนด์ระบบระบายความร้อนอย่าง Noctua, EKWB ก็ออกชุดฮีตซิงค์และระบบน้ำมารองรับซ็อกเก็ต AM4 แล้ว ทั้งหมดจะพร้อมจำหน่ายในไตรมาสแรกของปี 2017 นี้ครับ
วันนี้โลกเทคโนโลยีฝั่งฮาร์ดแวร์ก็มีของใหม่ไม่แพ้กัน MSI เปิดตัวเมนบอร์ด The One ที่ให้ผู้ใช้สามารถถอดเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ด้วยตัวเอง ทั้งส่วนที่ติดตั้งซีพียูก็เลือกได้ว่าจะใช้กับ AMD หรือ Intel ส่วนของเมมโมรีก็เลือกติดตั้งสล็อตแรมได้ ฯลฯ รอบๆ บอร์ดมี LED เรืองแสงออกจากโมดูลที่ติดตั้งเข้าไปบอกสถานะของแต่ละชิ้นส่วนได้ด้วย กันน้ำระดับ IP68 แนวคิดเดียวกับสมาร์ทโฟน Project Ara นั่นเอง เปิดให้พรีออเดอร์วันนี้วันเดียวเท่านั้น
ที่มา - MSI
หลัง อินเทลเปิดตัวพอร์ต Thunderbolt 2 ตอนนี้ก็เริ่มมีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ขายเมนบอร์ดที่รองรับ Thunderbolt 2 กันแล้ว
เมนบอร์ดรายแรกที่ผ่านการรับรองจากอินเทลคือ ASUS ที่เปิดตัวบอร์ด Z87-Deluxe/Quad สเปกคร่าวๆ ได้แก่
- USB 2.0 จำนวน 8 พอร์ต
- USB 3.0 จำนวน 8 พอร์ต
- SATA 6Gbps จำนวน 10 พอร์ต
- PCIe 3.0/2.0 แบบ 16 สล็อต จำนวน 3 พอร์ต
- HDMI 1 พอร์ต
- Thunderbolt 2 จำนวน 2 พอร์ต
ตอนนี้ยังไม่เผยวันวางขายและราคาครับ
ที่มา - AnandTech
- Read more about ASUS เปิดตัวเมนบอร์ดที่มีพอร์ต Thunderbolt 2
- 20 comments
- Log in or register to post comments
"หนูทำได้" ทีมวิศวกรของ DFI คงอยากบอกประโยคนี้ หลังโชว์เทคโนโลยีที่ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คือเมนบอร์ดที่สามารถใช้ระบบของแพลตฟอร์ม LGA 775 และ ION ได้ในบอร์ดเดียวกัน หลายท่านคงบอกว่าแค่นี้ไม่ตื่นเต้นเท่าไหร่ เพราะในอดีตเราเคยเห็น เมนบอร์ดที่ใช้ซีพียูอินเทลและเอเอ็มดีด้วยกันได้ มาก่อนแล้ว แต่ถ้าผมบอกว่ามันสามารถใช้ทั้งสองระบบได้พร้อมๆ กันล่ะ?
- Read more about DFI โชว์เมนบอร์ดไฮบริด P45 + ION
- 8 comments
- Log in or register to post comments
หนึ่งในผู้ผลิตชิปเซ็ตอิสระอย่าง VIA ได้ประกาศยกเลิกสายการผลิตอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ หลังจากทนแรงกดดันจากการที่ผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่อย่างเอเอ็มดีและอินเทลล้วนมีชิปเซ็ตเป็นของตัวเอง และสามารถพัฒนาได้เร็วกว่าไม่ไหว
ทาง VIA ระบุว่าได้มีการวางแผนเรื่องนี้มานานแล้ว โดยการที่ VIA เข้ามาลงทุนพัฒนาซีพียูเองก็เพราะเล็งเห็นว่าตลาดชิปเซ็ตอิสระนั้นอาจจะมีอนาคตไปไม่ไกลนัก จึงเตรียมการที่จะขยับตัวเองมาเป็นผู้ผลิตแพลตฟอร์ม x86 แบบเต็มรูปแบบ
หลังๆ มานี้ผู้ผลิตอีกรายคือ NVIDIA ก็มีปากเสียงกับอินเทลเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าจะลงเอยกันแบบไหน
ที่มา - Custom PC
- Read more about VIA ยกเลิกสายการผลิตชิปเซ็ตสำหรับ AMD และ Intel
- 10 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากที่รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้เกี่ยวกับการจับเอาระบบปฏิบัติการทั้งอัน ใส่ลงไปใน Motherboard เป็นครั้งแรก ในเดือนตุลาคม 2007 ที่ผ่านมา วันนี้ บริษัท DeviceVM ผู้พัฒนา Linux distribution ที่มีชื่อว่า Splashtop ได้ประกาศว่า Asus ผู้ผลิต Motherboard รายใหญ่ ได้ตัดสินใจจับเอา Splashtop ลงใน Motherboard ทุกรุ่น โดยใช้ชื่อเทคโนโลยีนี้ว่า "Express Gate"
ซึ่ง Splashtop นี้จะเป็นทางเลือกในการบูตระบบ โดยผู้ใช้สามารถเลือกที่จะบูตเข้าสู่ Splashtop ซึ่งใช้เวลาไม่กี่วินาที ก็จะเริ่มใช้งาน Internet applications อย่าง Firefox หรือ Skype ได้ทันที
- Read more about Asus จับ Linux ลง Motherboard ตามคำเรียกร้อง
- 32 comments
- Log in or register to post comments