ปัญหาสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถรองรับการเล่นไฟล์เพลงหรือภาพยนต์หลายประเภท แต่ตอนนี้ทาง Red Hat ก็ประกาศจะรองรับการเล่นไฟล์ MP3 ใน Fedora Workstation 25 แล้ว
สิทธิบัตร MP3 มีจำนวนมาก โดยมีหน่วยงานกลางอย่าง MPEG-LA เป็นผู้รวบรวมสิทธิบัตรเข้ามาเก็บค่าสิทธิบัตร
Tom Callaway จาก Red Hat ผู้ประกาศเรื่องนี้ระบุว่าทางบริษัทจะไม่แสดงความเห็นว่าสิทธิบัตรตัวใดหมดอายุจึงยอมรับไฟล์ MP3 ในครั้งนี้ แต่ OSNews เคยรวบรวมสิทธิบัตร ของ MP3 ระบุว่าสิทธิบัตรสุดท้ายที่มีการอ้างกันจะหมดอายุเดือนเมษายนปี 2017
ไมโครซอฟท์เผยฟีเจอร์อย่างละเอียดของ Internet Explorer 11 ที่มาพร้อมกับ Windows 8.1 (ยังไม่ชัดเจนว่า Windows รุ่นก่อนๆ จะได้อัพเกรดด้วยหรือไม่)
จากข่าว กูเกิลอ่วม MPEG LA ผนึกกำลัง 12 บริษัทเตรียมฟ้อง WebM ละเมิดสิทธิบัตร ล่าสุดกูเกิลสามารถยุติคดีกับ MPEG LA และบริษัทอื่นๆ ได้แล้ว
- Read more about กูเกิลยุติคดีกับ MPEG LA เรื่องสิทธิบัตร WebM
- 7 comments
- Log in or register to post comments
ITU ได้อนุมัติฟอร์มแมตวีดีโอ H.265 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก H.264 ที่เป็นฟอร์แมตมาตรฐานที่พวกเราส่วนใหญ่รู้จักกัน H.265 นั้นมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยมีเป้าหมายคือการลดแบนด์วิดท์ในการสตรีมมิงวีดีโอลงไปกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับฟอร์แมต H.264 ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4k ที่กำลังจะมาแรงในอนาคต และยังช่วยให้การสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ HD บนเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือที่มีข้อจำกัดเรื่องแบนด์วิดท์นั้นดีขึ้นด้วยครับ
ตัวแทนของบริษัทที่เป็นสมาชิกกลุ่ม MPEG ไปประชุมกันที่สวีเดนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมพัฒนามาตรฐานการบีบอัดวิดีโอตัวใหม่ High Efficiency Video Coding (HEVC) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือ H.265
HEVC เป็นพัฒนาการอีกขั้นของการเข้ารหัสแบบ Advanced Video Coding (AVC) หรือ H.264 ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยทางกลุ่ม MPEG คาดว่ามันจะบีบอัดข้อมูลได้มากกว่า H.264 ถึงสองเท่า
เจ้าภาพของงานนี้คือ Ericsson ซึ่งระบุว่า HEVC ถูกออกแบบมาสำหรับเล่นวิดีโอผ่าน mobile broadband ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป ดังนั้นประสิทธิภาพในการบีบอัด HEVC จึงต้องดีขึ้นกว่า AVC เพื่อส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมือถือได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ช่วงนี้กูเกิลเปิดแนวรบหลายด้านในเรื่องสิทธิบัตรซอฟต์แวร์
เมื่อครั้งที่กูเกิลออกฟอร์แมตวิดีโอ WebM ทางค่ายคู่แข่งคือ MPEG LA ก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะฟ้องกูเกิลให้จงได้ โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา MPEG LA เปิดพิจารณาสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง
ความเคลื่อนไหวล่าสุดคือตัวแทนของ MPEG LA เปิดเผยว่าได้รวบรวมบริษัท 12 รายที่มีสิทธิบัตรทับซ้อนกับตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP8 ที่ใช้ใน WebM โดยทาง MPEG LA ไม่บอกว่าบริษัทเหล่านี้ชื่ออะไรบ้าง
สงคราม codec ระหว่างค่าย MPEG LA และ WebM ยังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ความเคลื่อนไหวล่าสุดของฝั่ง MPEG LA คือสอบถามไปยังคู่ค้าของตนว่ามีสิทธิบัตรทางวิดีโอชิ้นใดบ้าง เพื่อสร้างชุดของสิทธิบัตร (patent pool) ไปไล่ฟ้องคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุนามแต่เข้าใจตรงกันหมดว่าหมายถึง VP8 และ WebM)
ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐลงมาสืบสวนเรื่องนี้ เพราะอาจเข้าข่ายเจ้าตลาด (H.264 และ MPEG LA) ใช้อิทธิพลกีดกันคู่แข่งหน้าใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด
นอกจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะตัวแทนรัฐบาลกลาง ทางสำนักงานอัยการของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เตรียมสืบสวนเรื่องนี้เช่นกัน
ที่มา - Wall Street Journal
ในช่วงหลังเราเริ่มได้ยินข่าวเกี่ยวกับ MPEG-LA มากขึ้นเรื่อยๆ จากความพยายามใส่วีดีโอลงไปในเว็บ จนหลายๆ คนน่าจะตั้งคำถามว่ามันไม่มีทางทำวีดีโอโดยไม่หนีไปจาก MPEG-LA ได้เลยหรืออย่างไร และในวันนี้บริษัท Nero AG ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีชื่อดัง ก็ยื่นฟ้องต่อ MPEG-LA ในข้อหาผูกขาดแล้ว
- Read more about Nero ฟ้อง MPEG-LA ข้อหาผูกขาด
- 16 comments
- Log in or register to post comments
ผ่านช่วงเวลาแห่งข่าวดีมาได้เพียงสองวันหลัง กูเกิลเปิดโครงการ WebM ทาง MPEG-LA ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างชัดเจนก็ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่าบริษัทกำลังเตรียมการออกขายใบอนุญาตในการใช้สิทธิบัตรจาก MPEG-LA เพื่อใช้งาน WebM
MPEG-LA เป็นการรวมตัวกันของบริษัทกว่า 20 บริษัทที่เอาสิทธิบัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาเทกองรวมกัน แล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้และผู้ผลิตเทคโนโลยีหลายๆ ตัวเช่น MPEG2, MPEG4 หรือกระทั่ง IEEE1394 ด้วยกองสิทธิบัตรที่ใหญ่มาก ทำให้ยากที่ VP8 จะรอดเงื้อมมือ MPEG-LA ไปได้ง่ายๆ หรืออย่างน้อยๆ กูเกิลก็อาจจะต้องสู้รบไปอีกหลายปี
ทั้งไมโครซอฟท์และแอปเปิลก็เป็นสมาชิกผู้อนุญาตให้ MPEG-LA ใช้งานสิทธิบัตรของตนด้วยเช่นกัน
MPEG LA ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในเทคโนโลยีตระกูล MPEG ทั้งหมด ได้ออกมาประกาศว่าเทคโนโลยี H.264 หรือชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ MPEG-4 Part 10 AVC ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของ MPEG LA จะยังไม่เก็บเงินจากผู้ที่นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับวิดีโอออนไลน์ จนกว่าจะถึงวันสิ้นปี 2015
ปัจจุบัน H.264 ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น ในภาพยนตร์ Blu-ray, เคเบิลทีวีแบบความละเอียดสูง, การแพร่สัญญาณทีวีแบบดิจิทัล และซอฟต์แวร์อีกเป็นจำนวนมาก (ซึ่งทั้งหมดต้องจ่ายเงินให้กับ MPEG LA)
- Read more about MPEG LA ประกาศ H.264 ใช้ฟรีจนถึงปี 2016
- 9 comments
- Log in or register to post comments