International Telecommunication Union
International Telecommunication Union (ITU) หรือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติ กำลังจะดำเนินการสรรหาผู้ทำหน้าที่เลขาธิการคนใหม่ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้บริหารสูงสุดของ ITU โดยตอนนี้มีตัวแทนจากสหรัฐอเมริกาและรัสเซียฝ่ายละคนเป็นตัวเลือก 2 คนสุดท้ายที่จะได้รับโอกาสทำงานนี้
ตัวแทนจากสหรัฐฯ นั้นคือ Doreen Bogdan-Martin ซึ่งปัจจุบันดูแลงานสำนักพัฒนาโทรคมนาคมของ ITU มาตั้งแต่ปี 2018 โดยเธอเริ่มทำงานด้านนี้ในสำนักงานโทรคมนาคมและสารสนเทศแห่งชาติอันเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เมื่อปี 1989
International Telecommunication Union (ITU) หรือสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หน่วยงานในสังกัดสหประชาชาติ สำรวจความพร้อมของประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่าพร้อมรับมือปัญหา cybersecurity มากแค่ไหน โดยให้คะแนนในด้านต่างๆ แล้วจัดทำเป็นดัชนี Global Cybersecurity Index (GCI)
คะแนนแบ่งเป็น 5 หมวดคือ กฎหมาย (legal) เทคนิค (technical) องค์กร (organizational) การพัฒนาศักยภาพ (capacity building) และความร่วมมือ (cooperation)
ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรกคือสิงคโปร์ (0.92 จากเต็ม 1 คะแนน) ตามด้วยสหรัฐอเมริกา (0.91) มาเลเซีย (0.89) โอมาน (0.87) เอสโตเนีย (0.84)
มาตรฐาน 2G, 3G, และ 4G ที่เราเรียกกันทุกวันนี้ ที่จริงแล้วเป็นสเปคของเทคโนโลยีที่กำหนดโดย International Telcommunication Union (ITU) จากนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะออกมาตรฐานรุ่นต่อไปของตัวเองมาล้อกับสเปคเหล่านี้อีกครั้ง หลายครั้งเทคโนโลยีก็ตกตรงกลางระหว่างรุ่น ทำให้เราเห็นคนพยายามเรียก 3.5G 4.5G 4.9G กันบ้าง ตอนนี้มาตรฐาน 5G หรือ IMT-2020 ก็เปิดร่างสเปคออกมาแล้ว
ITU หรือสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจกำหนดมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับโทรคมนาคม ได้ข้อสรุปจากที่ประชุม ณ เมือง San Diego ว่าเทคโนโลยี 5G นั้นต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 20Gbps ตามทฤษฎี ในขณะที่มาตรฐานของ 4G ถูกกำหนดไว้เพียง 1Gbps เท่านั้น โดยที่เมื่อนำมาใช้จริง ผู้ใช้ควรจะใช้ได้ที่ความเร็วระหว่าง 100-1000Mbps (ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง) เหตุผลที่ ITU กำหนดมาตรฐานไว้สูงก็เพราะคาดการณ์ไว้ว่าในอนาคตจะมีการสตรีมวิดีโอ 4K ผ่านเครือข่ายมือถือกันมากขึ้นนั่นเอง
มาตรฐานที่ออกมา ยังครอบคลุมไปถึง Internet of Things (IoT) ด้วย คือเครือข่ายจะต้องสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 100Mbps ไปยังอุปกรณ์ IoT จำนวนหนึ่งล้านชิ้น ภายในรัศมี 1 ตร.กม.
สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU(ย่อมาจาก International Telecommunication Union) ได้ออกรายงาน MIS: Measuring the Information Society ประจำปี 2014 ซึ่งรายงานนี้มีเป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2009 เนื้อหาของรายงานว่าด้วยสภาพความเป็นไปของแวดวงโทรคมนาคมทั่วโลกผ่านการนำเสนอประกอบข้อมูลเชิงสถิติ และในฐานะที่ประเทศไทยเราก็เป็นส่วนหนึ่งของสหภาพแห่งนี้ จึงน่าสนใจว่าความเป็นอยู่ในด้านโทรคมนาคมของบ้านเรานั้นอยู่ ณ จุดไหนเมื่อเทียบกับประชาคมโลก
- Read more about สำรวจประเทศไทยจากรายงานประจำปี 2014 ของ ITU
- 10 comments
- Log in or register to post comments
ITU เผยข้อมูลสถิติว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้น 6.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น
ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาชี้ให้เห็นว่าจำนวนประชากรที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศพัฒนาแล้วนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากที่มีคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ไม่ถึง 50% ของจำนวนคนทั้งหมด มาในปีนี้กลับกลายเป็นว่าผู้คนเกือบ 80% ในประเทศพัฒนาแล้วเหล่านี้มีอินเทอร์เน็ตใช้งาน ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยในประเทศกำลังพัฒนามีสัดส่วนผู้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำกว่า 10% มาจนสูงกว่า 30% ในปัจจุบัน ส่วนประชากรในกลุ่มประเทศล้าหลังนั้นขยับจาก 0% เมื่อ 9 ปีก่อน ขึ้นมาอยู่ที่ 5% ของจำนวนประชากรเท่านั้น
ITU รายงานว่าภายในปีนี้จำนวนประชากรทั่วโลกที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มมากขึ้นจนเกือบถึง 3 พันล้านคน ซึ่งเป็นราว 40% ของจำนวนประชากรทั้งหมดบนโลก
ITU ยังระบุเพิ่มเติมว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้คนที่มีอินเทอร์เน็ตใช้งานนั้นอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา โดยทั้งหมดนี้เป็นการคาดการณ์จากตัวเลขจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วง 3 เดือนล่าสุด ยังไม่พูดถึงจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
รายงานข่าวจากเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ The New York Times ระบุว่า บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยในประเทศเยอรมนีตรวจพบช่องโหว่ในการเข้ารหัสของซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือที่ใช้การเข้ารหัสแบบ D.E.S. (Data Encryption Standard) ที่ใช้มาตั้งแต่ช่วงปี 1970 ซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถดึงเอารหัสดิจิตอลของซิมการ์ดจำนวน 56 หลักออกมา และสามารถใช้ซิมการ์ดนั้นเสมือนว่าเป็นของตนเองได้ทันที
ITU ได้อนุมัติฟอร์มแมตวีดีโอ H.265 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก H.264 ที่เป็นฟอร์แมตมาตรฐานที่พวกเราส่วนใหญ่รู้จักกัน H.265 นั้นมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยมีเป้าหมายคือการลดแบนด์วิดท์ในการสตรีมมิงวีดีโอลงไปกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับฟอร์แมต H.264 ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4k ที่กำลังจะมาแรงในอนาคต และยังช่วยให้การสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ HD บนเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือที่มีข้อจำกัดเรื่องแบนด์วิดท์นั้นดีขึ้นด้วยครับ
บทความโดยจันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์บางฉบับวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาอนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมให้แก่บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปในทางที่ว่า กสทช. อนุมัติใบอนุญาตให้แก่บริษัทไทยคมฯ โดยไม่ได้มีการประมูลคลื่นความถี่ ทั้งมิได้ประมูลวงโคจรให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 แต่ประการใด
ที่การประชุม WCIT มาถึงช่วงสุดท้าย แต่ประเด็นหลักของงานคือการสร้างข้อตกลง ITU-R ฉบับใหม่ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยผู้แทนที่เปิดเผยตัวว่าจะไม่ยอมลงนามแล้วได้แก่ สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, และประเทศอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง ประกาศว่าจะไม่ยอมลงนามหากไม่มีการแก้ไขร่างสนธิสัญญากันใหม่
นอกจากประเทศที่ระบุว่าจะไม่ยอมลงนามแล้ว ยังมีประเทศจำนวนหนึ่งสงวนสิทธิ์ไว้โดยจะนำร่างไปปรึกษารัฐบาลของตนเสียก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะลงนามหรือไม่ในวันสุดท้าย เช่น ญี่ปุ่น, ลัตเวีย, และเอสโตเนีย โดยการประชุม WCIT มีกำหนดการว่าจะลงนามกันตอนสองทุ่มครึ่งวันนี้ตามเวลาไทย
งานประชุม WCIT-12 ที่จัดโดย ITU เริ่มขึ้นวันนี้ (3 ธ.ค.) ที่ดูไบ งานนี้มีความสำคัญคือแก้ไข "ข้อบังคับโทรคมนาคมระหว่างประเทศ" หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ITR (รายละเอียดดูใน ข่าวเก่า )
กูเกิลเป็นหนึ่งในองค์กรที่ออกมาคัดค้านความพยายามของ ITU ในการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และล่าสุดก็เปิดแคมเปญ Free and Open (แท็ก #freeandopen) เพื่อรวบรวมเสียงจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกแล้วพล็อตเป็นแผนที่ เรียกร้องให้อินเทอร์เน็ตยังเป็นเครือข่ายเสรีสำหรับทุกคนต่อไป
ผู้สนใจก็เข้าไปร่วมลงชื่อได้ที่หน้า Take Action
ที่มา - Google Official Blog
- Read more about กูเกิลเปิดแคมเปญ #freeandopen ต้านการประชุม WCIT-12
- 8 comments
- Log in or register to post comments
สมาชิกสภายุโรปหลายรายคัดค้านกฎเน็ตจาก ITU ซึ่งเป็นข้อตกลงในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลสำคัญคือ เป็นการปิดกั้นเสรีภาพด้านข้อมูลและทำให้นวัตกรรมถดถอย
กฏเน็ตของ ITU หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ITR: International Telecommunications Regulationsซึ่งครอบคลุมเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดในการให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยกลุ่มสมาชิกของ ITU ก่อให้เกิดประเด็นโต้เถียงกันมาโดยตลอดในเรื่องความเหมาะสมในการให้อำนาจ ITU เข้ามาควบคุมระบบมากจนเกินไป โดยเฉพาะเรื่องการเซ็นเซอร์ข้อมูลและการคิดค่าบริการในการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต
- Read more about สมาชิกสภายุโรปคัดค้านกฎเน็ต ITU
- 5 comments
- Log in or register to post comments
ผู้อ่าน Blognone คงเคยได้ยินชื่อของ ITU หรือชื่อเต็มๆ คือ International Telecommunication Unionกันมาบ้าง เพียงแต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหน่วยงานนี้ตั้งขึ้นมาทำไม และมีเป้าหมายอย่างไร
ช่วงนี้เราเห็นข่าวเรื่อง "ข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศ" (ITR) กันพอสมควร เนื่องจากใกล้งานประชุมเพื่อแก้ไข ITR ในเดือนธันวาคมเข้ามาเรื่อยๆ และตัวร่างของ ITR ที่เสนอเข้ามาก็มีประเด็นขัดแย้งหลายจุด (ข่าวเก่า สหรัฐฯ ประกาศคว่ำข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศฉบับใหม่ และ สรุปประเด็นเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของ ITU )
เพื่อความเข้าใจอันดี บทความชิ้นนี้จะแนะนำประวัติความเป็นมาและบทบาทหน้าที่ของ ITU ในเบื้องต้นก่อน จากนั้นเราจะเข้าสู่รายละเอียดของ ITR ในบทความตอนต่อไปครับ
หมายเหตุ: บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Mozilla Foundation เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อตกลง ITR แก่ชุมชนผู้ใช้ไอทีในประเทศไทย
ข่าวนี้เกี่ยวข้องกับข่าว [สหรัฐฯ ประกาศคว่ำข้อตกลงการสื่อสารระหว่างประเทศฉบับใหม่](http://www.blognone.com/node/37402) นะครับ ใครยังไม่ได้อ่านควรย้อนไปอ่านข่าวเก่าเสียก่อน
วันนี้ (25 ตุลาคม 2555) กสทช. ได้จัดงานเสวนาในประเด็นข้างต้น (แต่ครอบคลุมหัวข้อกว้างกว่า) ในชื่องานว่า "NBTC Public Forum 9: ITU จะกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ไทยควรมีท่าทีอย่างไร"
ผมได้ไปร่วมงานนี้มาด้วย เลยสรุปประเด็นที่น่าสนใจของวิทยากรบางท่านมาลง Blognone ครับ
### สรุปประเด็นแบบสั้นๆ
- Read more about สรุปประเด็นเรื่องการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของ ITU
- 20 comments
- Log in or register to post comments
ข่าวนี้เป็นข่าวที่ตกจาก Blognone ไปนานสักหน่อย คือมีการเสนอข้อตกลงระหว่างประเทศในการโทรคมนาคม (International Telecommunications Rules - ITRs) ฉบับใหม่หลังจากที่ฉบับเดิมลงนามกันไปตั้งแต่ปี 1988 โดยกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายในสหภาพยุโรป (European Telecommunications Network Operators' Association - ETNO) ที่เสนอให้มีการเข้ามาควบคุมอินเทอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ โดยมีเหตุผลหลักคือความไม่พอใจของผู้ให้บริการเครือข่ายที่ทำกำไรมหาศาลจากเครือข่าย
กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเดียวกับในสหรัฐฯ ที่ผู้ให้บริการไม่พอใจที่ YouTube กินแบนด์วิดท์อย่างมาก แต่คนได้กำไรเป็นกูเกิล ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องแบกรับค่าบริการโดยไม่กล้าที่จะส่งต่อค่าใช้จ่ายนี้ไปเป็นค่าบริการกับผู้บริโภคเพราะการแข่งขันที่สูง
สำนักงาน Consumer Electronics Association หรือ CEA และ International Telecommunication Union หรือ ITU ประกาศลงมติใช้ชื่อใหม่ของความคมชัดระดับ 4K และ 8K ว่า "Ultra High-Definition" หรือ Ultra HD ซึ่งชื่อนี้สอดคล้องกับที่ สถานีโทรทัศน์ NHK ของญี่ปุ่นยื่นมาตรฐานใหม่ของการบันทึกและการแสดงผลวิดีโอให้กับทาง ITU และโทรทัศน์ที่รองรับระบบ UHD นั้นจะใช้ชื่อ "UHDTV" ตามที่ ITU อนุมัติ
ITU เชิญตัวแทนจากบริษัทชั้นนำในวงการไอทีเข้ารวมประชุมเพื่อหาแนวทางในการทำธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงปัญหาคดีสิทธิบัตร ณ สำนักงานใหญ่ของ ITU ในนครเจนีวา ซึ่งที่มาของการหารือในครั้งนี้ก็มาจากคดีระหว่าง Apple และ Samsung ที่ก่อให้เกิดความตื่นตัวเรื่องสงครามสิทธิบัตรนั่นเอง
งานนี้มีตัวแทนจากบริษัทใหญ่ๆ ตบเท้าเข้ากันพรึ่บ ทั้ง Google, Apple, Microsoft, Samsung, Research in Motion, Intel, Qualcomm, Philips, Huawei, Sony, Cisco, Nokia, HP ฯลฯ
สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) เผยข้อมูลล่าสุดว่าผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือรวมกันทั้งโลกมีจำนวนมากกว่า 6 พันล้านคนแล้ว (ตัวเลขวัดถึงปลายปี 2011 แต่เพิ่งเปิดเผยเมื่อวาน) โดยจีนและอินเดียมีประมาณประเทศละ 1 พันล้านคน
ITU ยังระบุว่าการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายหรือ mobile broadband ก็เติบโตด้วยอัตรา 78% ต่อปีสำหรับประเทศกำลังพัฒนา และ 40% ต่อปีสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว ตอนนี้สัดส่วนของผู้ใช้เน็ตไร้สายต่อมีสายคือ 2:1
ที่มา - ITU via Ars Technica
- Read more about ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือทั่วโลกแตะ 6 พันล้านคนแล้ว
- Log in or register to post comments
หลังจากมาตรฐาน 1080p เริ่มใช้งานเป็นที่แพร่หลาย และมาตรฐานตัวต่อไปคือ 4K เริ่มได้รับการยอมรับจากอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ ทางฝั่งญี่ปุ่นโดย NHK ก็พัฒนามาตรฐานวิดีโอสำหรับอนาคตมาโดยตลอด และข้อเสนอของ NHK สำหรับวิดีโอในยุคต่อไป คือ Super Hi-Vision (SHV) ที่เป็นชื่อเรียกของทาง NHK ก็ได้เข้าเป็นมาตรฐานคำแนะนำของ ITU ในชื่อว่า UHDTV เรียบร้อยแล้ว โดยขนาดภาพมีขนาด 4320x7680 ทำให้เราอาจเรียกมาตรฐานนี้ว่า 8K แบบเดียวกับที่เราเรียกมาตรฐาน 4K
มาตรฐานนี้รองรับอัตราการเล่นกลับถึง 120 เฟรมต่อวินาที และขยาย color gamut (พื้นที่สีที่รองรับได้) ให้กว้างขึ้นไปอีก ทำให้จอภาพคุณภาพสูงสามารถแสดงเนื้อสีได้ตรงความเป็นจริงมากขึ้น
- Read more about ITU รับข้อเสนอ NHK มาตรฐาน 8K ตัวแรกผ่านแล้ว
- 25 comments
- Log in or register to post comments
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เปิดเผยว่า องค์กรจะจัดงานประชุม Patent Roundtable ในวันที่ 10 ต.ค. นี้ เพื่อให้ผู้ผลิตมือถือรายหลัก หน่วยงานของรัฐ และผู้ดูแลมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยและแก้ปัญหาคดีความเกี่ยวกับสิทธิบัตรและปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมที่มีอยู่
Hamadoun Touré เลขาธิการของ ITU เปิดเผยว่า ปัญหานี้จะต้องได้รับการพูดคุยเพื่อแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสิทธิบัตรก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ไม่ใช่เพื่อการทำลายล้าง หากมีการยอมรับในความต้องการของผู้ถือครองสิทธิบัตร ผู้ใช้งาน และตลาด จะทำให้เกิดกฎหมายที่สร้างความเท่าเทียมกันในอุตสาหกรรมได้
เอกสารหลุดจาก ITU หรือสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติอ้างว่า ITU เตรียมที่จะเก็บภาษีพิเศษเฉพาะบริการที่ใช้แบนด์วิธสูงอย่าง Facebook และ Netflix โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบนด์วิธที่เกิดขึ้นนอกสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มที่พยายามผลักดันภาษีดังกล่าวได้แก่นักล็อบบี้ยิสต์ต่าง ๆ ที่ทำให้กับบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ยักษ์หลายรายของยุโรป ซึ่งกลุ่มนี้คือกลุ่มเดียวกันที่เชื่อว่ากูเกิล และผู้ให้บริการทางด้านเนื้อหาต่าง ๆ ก็ควรจะรับภาระรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากบริการเหล่านี้ด้วย
สหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) ฝ่ายการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ITU-R) ออกมาตรฐาน "ทีวีความละเอียดสูงมาก" (Ultra High Definition Television หรือ UHDTV) ที่เหนือกว่า HDTV ในปัจจุบันแล้ว
มาตรฐาน UHDTV รุ่นแรกแบ่งความละเอียดออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
- 4K (3840 x 2160) รวมจำนวนเม็ดสีได้ 8 ล้านพิกเซล
- 8K (7680 x 4320) รวมจำนวนเม็ดสีได้ 32 ล้านพิกเซล
ลำดับต่อไปทางผู้บริหารของ ITU จะต้องเซ็นรับรองมาตรฐานนี้ (ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีใครเห็นรายละเอียด เลยยังไม่มีข้อมูลทางเทคนิคอื่นๆ เช่น ความถี่หรือปริมาณสีที่ใช้) แต่ตอนนี้เราคงพอรู้กันบ้างแล้วว่าทีวีในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะนำประเด็นไหนมาโฆษณา
แต่เดิมนั้นหากยึดตามสเปคที่กำหนดโดย ITU (องค์การโทรคมนาคมนานาชาติ) แล้ว มาตรฐานที่จะใช้คำว่า 4G นั้นมีเพียงสองตัว คือ LTE Advanced และ WiMAX2 (802.16m) เท่านั้น ส่วนคำว่า 4G ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันเป็นเพียง "ชื่อทางโฆษณา" เท่านั้น ถ้ายึดตามหลักแล้วมันนับเป็นแค่ 3.9G (ดู 10 คำถามกับ 3G ฉบับ Blognone )
แต่จากการสัมมนาล่าสุดที่กรุงเจนิวา ITU ได้ออกมารับว่า คำว่า 4G สามารถใช้ได้กับมาตรฐานที่มีมาก่อนหน้านี้ อันได้แก่ LTE, WiMAX และเทคโนโลยี 3G อื่น ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ได้รับการปรับปรุงด้านประสิทธิภาพและความสามารถเมื่อเทียบกับมาตรฐานในยุค 3G ตั้งต้น
แม้หลายยี่ห้อจะอ้างว่าสินค้าของตัวเองใช้เทคโนโลยี 4G แล้วก็ตามแต่มาตรฐาน 4G จากทาง ITU ซึ่งเป็นหน่วยงานกำหนดมาตรฐานการสื่อสารระหว่างประเทศนั้นยังไม่เคยออกมาก่อนหน้านี้ และวันนี้ทาง ITU ก็ได้ประกาศให้เทคโนโลยี LTE-Advanced และ WirelessMAN-Advanced เป็นเทคโนโลยี 4G อย่างเป็นทางการ
เทคโนโลยี LTE นั้นเราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ตัว LTE-Advanced โดยมันคือเทคโนโลยีที่บ้านเราเคยได้ยินกันในชื่อ 3.9G เมื่อครั้งที่เรากำลังจะประมูลคลื่นความถี่ 2100MHz และถูกระงับไป ส่วน WirelessMAN-Advanced นั้นคือ WiMAX2 นั่นเอง
ชื่ออย่างเป็นทางการของ 4G นั้นคือ IMT-Advanced ซึ่งถ้าใครเคยอ่าน ประกาศกทช. บ้านเราก็จะเห็นว่ามีการเรียกว่า IMT
- Read more about ITU ประกาศเทคโนโลยี 4G แล้ว
- 36 comments
- Log in or register to post comments