กสทช. ลงมติรับทราบการควบรวมระหว่าง DTAC และ True พร้อมกับระบุมาตรฐานควบคุมหลังควบรวมแล้วให้ลดราคาค่าบริการโดยเฉลี่ยลง
การออกเสียงครั้งนี้ครั้งแรกออกเสียงเท่ากัน 2 ต่อ 2 โดยงดออกเสียงหนึ่งเสียง ทำให้ประธานกสทช. มีอำนาจออกเสียงชี้ขาดอีกรอบกลายเป็น 3 ต่อ 2
นอกจากการรับทราบแล้ว ทางกสทช. ก็ระบุเงื่อนไขต่างๆ หลังการควบรวม ได้แก่ การกำหนดค่าบริการที่ต้องต่ำลงโดยเฉลี่ย การควบคุมต้นทุนที่ต้องมีการตรวจสอบ โดยทั้งสองบริษัทต้องให้บริการแยกแบรนด์กันไปอีก 3 ปี นอกจากนี้ทั้งสองบริษัทจะต้องไม่ลดจำนวนเสาสัญญาณ
ที่มา - Brand Inside
Comments
เป็นไปตามคาด
I need healing.
"การออกเสียงครั้งนี้ครั้งแรกออกเสียงเท่ากัน 2 ต่อ 2 โดยงดออกเสียงหนึ่งเสียง ทำให้ประธานกสทช. มีอำนาจออกเสียงชี้ขาดอีกรอบกลายเป็น 3 ต่อ 2" เขียนเพิ่มหน่อยก็ดีนะครับว่า โหวตรอบแรก ประธานก็ออกเสียงโหวต เท่ากับว่าประธานออกเสียงสองรอบ แล้วมารยาทการโหวตทั่วไป ประธานก็ไม่ควรโหวตอยู่แล้ว แล้วพอเสียงในคณะกรรมการเท่ากัน ถึงจะค่อยโหวต
เห็นด้วยเลยครับ ถ้านับเป็นคนก็ยัง 2 คน ต่อ 2 คน
แต่พอนับเป็นเสียง กลายเป็น 3 เสียง ต่อ 2 เสียงซะยังงั้น
ยุคนี้มีให้เห็นทุกอย่างจริง ๆ
คำว่าค่าบริการต่ำลงมันมีช่องโหว่นะ เพราะต่ำลงด้วยราคาต่อ MB ก็ใช้ได้เหมือนกัน ว่าง่ายๆ อย่างปัจจุบัน แพ็คเก็จรายเดือน 199 บาท 500 MB หาไม่ได้แล้ว มันจะไป 399 บาท เลย โดยที่จะได้จำนวน GB ที่มากขึ้นมาแทน แต่ถ้าเป็นคนที่ส่วนมากพยายามจะต่อ wifi มากกว่า จะใช้ Cellular ก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆเท่านั้น อย่างผมนี่ล่ะ ไม่ได้เปลี่ยนแพ็คเก็จมานานแล้วเพราะใช้ที่ราคา 199 บาท 500 MB และสุดที่ 4G
ต่ำลงเอาอาจจะออกแพคเกจ 189 ให้ 10MB ก็ได้ ราคาต่ำลงกว่าที่ท่านใช้อยู่
+1
เป็นช่องโหว่ ที่เลี่ยงได้ไม่ยากเลยครับ และคิดว่าไม่มีผลในทางปฏิบัติด้วย
เว้นแต่จะมีคนรวมตัวไปปฟ้อง
แต่ถ้าขนาดควบรวมยังยอมให้ควบได้ คิดว่าไปฟ้องก็คงไม่ชนะคดี
เท่ากับว่าทางฝั่งผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนดราคาเหมือนเดิม
อีกอย่าง
ตอนนี้เค้าใช้วิธีออกโปร 500 แต่ให้ส่วนลด 50% เหลือ 250 บาท
เพื่อแข่งขัน
ถึงวันนั้นแค่บอกว่ายกเลิกโปร 50% แล้วมาขาย 500 ราคาเดิมก็จบละ
เพราะถือว่าราคาไม่ได้ต่ำลง
ที่กังวลอีกแบบนึงคือ กสทช จะไปตรวจสอบการเปิดให้บริการ"จริง"ไหม
ผู้ให้บริการอาจจะออกโปรถูกๆมาดึงค่าบริการเฉลี่ยลงแล้วเวลาขายจริงๆก็ไม่เน้น
เช่นอาจจะมีโปรถูก แต่หมกเอาไว้เป็นโปรลับ ในโฆษณาก็ไม่เอาใส่
ลูกค้า DTAC 15 ปีอย่างผม เตรียมกดย้ายค่ายละครับ :D
ย้ายไป true
ย้ายไปบริษัทที่รวมกันตั้งขึ้นมาใหม่ :P
ทน dtac มาได้ตั้ง 15 ปี แล้วอะไรคือเหตุผลที่จะทำให้ย้ายเหรอครับ
15 ปีที่ผ่านมา มันไม่มี true ใน dtac ไงครับ
อ้าว true โดน dtac ซื้อไปซะแล้วเหรอเนี่ย
เสือกระดาษ เก่งกับคนตัวเล็ก
ไม่ลดเสา ก็ไม่เพิ่มด้วยได้ซินะ
ลดค่าบริการโดยเฉลี่ยลง -> เฉลี่ยจากอะไร ถ้าออกโปรขยะถูกๆ ที่ใช้จริงๆแทบไม่ได้ออกมา จะเอาไปเฉลี่ยด้วยไหม
แยกแบรนด์ 3 ปี-> มีประโยชน์อะไร ก็เป็นเจ้าของเดียวกันแล้ว
ไม่ลดจำนวนเสาสัญญาณ -> ถ้าเอาที่เดิมออก แล้วเอาไปขยายที่อื่น ถือว่าลดไหม
อยากเห็นอะไรแบบว่า ช่วยให้เกิดเจ้าใหม่เข้ามาแข่ง เช่น บังคับให้ขายคลื่นคืน 20% หรือห้ามประมูลคลื่นที่มีอยู่แล้วเพิ่ม 3 ปี
รับทราบแปลว่าอะไรอ่ะ แปลว่าจะทำอะไรก็ทำไปหรอ
เอาจริงเรื่องรวมผมไม่ติดนะตอนแรกๆก็เฮโลตามไปด้วยจน
AIS มาค้าน แล้วเจ้าตัวก็ซื้อ JAS ทำให้ "???"เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนวันก่อนได้ฟังบทวิเคราะห์ของ กสิกร
ทำไม AIS ค้าน ทำไม AIS ซื้อ JAS
คำตอบสั้นๆประโยคเดียว "อยากมี/รักษาสถานะเบอร์ 1"
อย่างมือถือคือกินขาดทิ้งเบอร์ 2-3มากไป เลยไม่
อยากให้มาแข่ง เมื่อรวมกันแล้วฐานลูกค้าจะใกล้เคียงกันการย้ายค่ายอาจจะง่ายขึ้น เพราะ มี Economy of Scale
อาจจะดั๊มพ์ราคาแข่งกับ AIS ได้ก็ได้
(ต่อไปนี้เติมเองหมดนะครับ)
ส่วนเรื่อง JAS ง่ายมาก มีตังค์ รวย รวบสะมันจะกลายเป็ฯธุรกิจโทรมนาคมโดนรวบเหมือน คนขายไก่
สรุป AIS ค้านเพราะกลัวมีคู่แข่งสมน้ำสมเนื้อ แล้วทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงมากกว่าไม่ควบรวม
(สภาพปัจจุบันของT-D คือหนีตาย อยยากให้มีกระแสเงินนสดก็ต้องดั๊มพ์ราคา ทำให้ AIS ชอบ
เดาง่ายเล่นง่ายกองแบงค์ใครสูงกว่าก็ชนะ)
ปัญหาจริงๆคือการกำหนดแพ็คเกจมาตรฐาน
ยังจำโปรวิๆ กับโปรพื้นฐาน 100 นาที/500 Mb ได้ไหม
ที่จำได้ตอนนั้นบ่นกันขรม
ผมยังจำได้ มีของค่ายไหนไม่รู้ในพันทิพย์บ่นว่า
100 นาที 500 เม็ก บ้านเราแพงมากกกกกกก
ทางเอเจนท์ก็ขุดมาเลยผมจำได้แม่น
ญี่ปุ่นแพ็คนี้ 100 นาที 500 เม็กอยู่ที่ 1XXX เยน ไม่รวมภาษี
คิดเป็นเงินไทย 5XX เทียกับแพ็คไทย 399+7% ไม่แพงเลยคุณลูกค้าาาาาาา(ตรรกะเดียวกับค่า BTS บอกตะวันตกจ่ายค่าขึ้นประมาณ 5 ปอนด์ บ้าง 5 เหรียญบ้าง
รถไฟฟ้าบ้านเราก็ไม่แพงมากแต่ไม่พูดถึงค่าคอรงชีพ)
โปรวิๆก็ มีมาแบบว่า มันก็มีแค่วิโทรจริงๆ
อยากใช้เน็ทใช่มะ ซื้อเอา แบบ6000 วิ + 500 เม็ก แพงกว่า
100 นาที + 500 เม็ก (เศษวินับเป็นนาที)
แล้ว กสทช. ทำอะไรไหม....ก็ไม่
เห้ออ
ฟังแล้วท้อแท้
ข้อบังคับก็ เอิ่ม คิดได้ยังไง
จะให้รวมขนาดนี้ อย่างน้อยต้องดึงคลื่นมา สร้างเจ้าใหม่
อย่างน้อยก็ดีใจที่จบจริงซะทีส่วนผมอยู่ฝั่งเอียงให้ไปทางให้รวบรวมกันได้
OTCC ตั้งมาเฉยๆ แถมเปลี่ยนชื่อ TCCT อีก เปลืองภาษีฉิบ
มีหน่วยงานกำกับแบบนี้ ผมว่ายุบไปเลยแล้วเปิดใหัทำธุรกิจแบบ Free-For-All ไปเลยดีกว่าไหมครับ ทำได้เต็มที่ ไม่มีข้ออ้าง ไม่มีข้อจำกัด ถ้าจะตามใจได้แบบนี้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ว่าละต้องเป็นแบบนี้ เงินซื้อได้ทุกอย่าง กสทชก็ทำหน้าที่กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน แต่ไม่คุ้มครองประโยชน์ประชาชนซักอย่างเลย ตั้งแต่ราคาที่แพงขึ้นละ
ควรออกกฎแบบต้องคืนคลื่น 50-60% ของคลื่นที่ประมูลได้ แล้วห้ามประมูลคลื่นอีกเป็นอย่างน้อย 5-10 ปี หรือ 1 generation ของคลื่น
ซื้อหวยไม่เห็นถูกแบบนี้มั่ง ท้อแท้
คนงดออกเสียงเค้างดเพราะอะไรหรอครับ มี conflict หรือมีออะไรถึงไม่ออกเสียง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เป็นองค์กรที่ไม่รู้จะมีไปทำไมจริงๆ
เสียงแอนตี้ AIS + JAS น้อยกว่า True + Dtac พอสมควรเลยแฮะ
มันมีเรื่องการเมือง + ประวัติเจ้าของบริษัท อะไรแบบนี้ด้วยฮะ
คนไทยไม่ได้เกี่ยวกับความถูกต้อง เน้นความถูกใจล้วน ๆ แหละครับ ฮ่า ๆ
"ก็อั๊วจะเอา อั๊วก็ต้องได้" --- เจ้าสัวคนหนึ่ง...ไม่ได้กล่าว
ROP ep8
"หนึ่งอำนาจ สุดท้ายจะฉ้อฉล
สองคนจะแตกแยก
แต่แบ่งสามจะเกิดความสมดุล"
วันนี้จากสามจะรวมเหลือสอง
และวันหน้าสองจะปรองดองหรือเข่นฆ่ากันจนเหลือหนึ่ง
ผมว่าจงใจตั้งจำนวนคณะกรรมการเป็นเลขคู่ เผื่อกรณีเสมอจะได้ใช้อำนาจประธานฯ แต่ถ้าเป็นเลขคี่ อำนาจประธานไม่มีผลครับ
คณะกรรมการ 5 คนเป็นเลขคี่ครับแต่มีคนนึงงดออกเสียง เพื่อ?
แฮ๋ นึกว่ามีตั้ง 4 คนแต่แรก แล้วที่งดออกเสียงคือให้นับเป็นไม่เห็นด้วยครับ
ตั้งแต่ก่อตั้งมา องค์กรนี้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนบ้างรึยังนะ?
ทุกอย่างคือผลประโยชน์
ออกมาทรงนี้ดีแล้วครับ มันหมดยุคสมัยที่จะฝันว่าบ้านเราอู่ข้าวอู่น้ำ เศรษฐกิจดี คนเยอะที่ต่างชาติจะเอาเงินมาเปย์ลงทุน นี่คือกรรมของกสทช. คือสิ่งที่กสทช.ต้องยอมรับ และรับผิดชอบต่อไม่ทำอะไรเลยเสมอมา อยากจัดประมูลคลื่นความถี่ได้เงินเข้ารัฐสูง ๆ แต่ไม่เคยนำเงินประมูลมาส่งเสริมกิจการโทรคมนาคม ไม่เคยดูแล มีแต่นโยบายออกมา เช่น
เรากำลังอยู่ในยุคที่เบอร์ 1 มันแข็งแรงสุด ๆ เบอร์ 2 เหมือนจะแข็งแรง แต่ข้างในอ่อนแอ ต้องแบมือขอตังเพิ่มทุนเรื่อย ๆ เพราะขาดทุน เบอร์ 3 ที่สู้ไม่ไหว ไม่อยากจ่ายใบอนุญาตแพง ๆ มีเหตุผลในการลงทุน
เมื่อกิจการแข่งกันอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่แข่งกันไม่ไหวก็ต้องตายหายไปจากตลาด ประเด็นคือถ้ามันแข่งขันกันแล้วทุกคนอยู่ได้ สร้างกำไรดี เขาก็คงไม่ควบรวมกิจการกันหรอก แต่เมื่อเขาอยู่ไม่ได้แล้วต้องตายเขาก็ไม่อยากให้เวลาที่เสียไปมันสูญเปล่า เขาก็เลยเลือกการควบรวมกัน เพราะโครงสร้างมันเป็นแบบนี้ คำถามจากวันนี้คือ เงื่อนไขที่ออกมาในวันนี้ ผู้บริโภค และบริษัทที่ควบรวมกันได้อะไร?? และอนาคต กสทช. จะมีมาตราการอะไรออกมาส่งเสริมกิจการโทรคมนาคมอย่างไรต่อไป? ถ้าไม่จัดการอะไรแล้วปล่อยให้มันเป็นแบบนี้ต่อไป...เน็ตบ้านจะเป็นรายต่อไปครับ
แต่ถ้ากสทช. ห่วงแต่ผลประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด นักลงทุนช่างมัน เราเพิ่มแต่ระดับของการแข่งขันในตลาด ก็ดูอย่างสงครามสตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซเป็นตัวอย่าง แข่งกันจนเหลือผู้เล่น 2 รายใหญ่ ตอนนี้จะขึ้นค่าคอมฯ ยังไงก็ได้... ดังนั้นจะเลือกแบบไหนก็ลองคิดดูครับ อยากจะเป็นประเทศที่สุดท้ายมีบริษัทโทรคมนาคมใหญ่รายเดียวหรือ 2 ราย ประชาชนจ่ายค่าบริการไม่ถูกก็แพงไปเลย หรือเป็นประเทศที่มีบริษัทโทรคมนาคมมากรายที่แข็งแรง ประชาชนจ่ายค่าบริการกลาง ๆ ก็ลองคิดดูครับ
ป.ล. กิจการถ้าทำแล้วไม่ได้กำไร ก็ไปทำมูลนิธิดีกว่าไหมครับ?
ผมอยากเอาปุ่มงดออกเสียงไปซะในสภาด้วย ถ้างดออกเสียงจะมีอำนาจไปทำไม