จากงานแอปเปิลเมื่อคืนที่แอปเปิลนำเสนอว่า Apple Watch เป็นสินค้าตัวแรกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งทั้งสินค้าและกระบวนการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีผลต่อสินค้า Apple Watch ที่ออกแบบร่วมกับพาร์ตเนอร์ด้วยเช่นกัน
แอปเปิลประกาศความก้าวหน้า ของการลดปริมาณคาร์บอนในกระบวนการซัพพลายเชน โดยโรงงานทั้งหมดในสายการผลิตมากกว่า 300 แห่งทั่วโลก จะใช้พลังงานสะอาด 100% ในกระบวนการผลิตสินค้าภายในปี 2030 เพิ่มขึ้นจากจำนวนกว่า 50 ซัพพลายเออร์ที่เข้าร่วมโครงการก่อนหน้านี้
แอปเปิลยังประกาศความก้าวหน้าในการมุ่งสู่ความกลางเป็นทางคาร์บอน (carbon neutral) โดยยกตัวอย่าง Apple Watch ที่เปลี่ยนตั้งแต่วัสดุในการผลิต มาใช้วัสดุรีไซเคิลทั้งหมด พลังงานไฟฟ้าสะอาดในการผลิต รวมทั้งปรับขนาดแพ็คเกจสินค้าและวิธีการขนส่ง ทำให้มีปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนที่ลดลง
แอปเปิลออกรายงานประจำปีความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีตัวเลขที่สำคัญคือ 20% ของวัสดุที่ใช้ในผลิตภัณฑ์แอปเปิลที่วางขายในปี 2021 เป็นวัสดุที่มาจากการรีไซเคิล สูงที่สุดเท่าที่เคยทำได้
ข้อมูลแยกตามวัสดุ อะลูมิเนียมเป็นแบบรีไซเคิล 59% บางสินค้าใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% ในพื้นผิวภายนอก, มีการใช้พลาสติกเพียง 4% ของแพ็คเกจ, แรรเอิร์ธที่มาจากรีไซเคิล 45%, ดีบุกมาจากรีไซเคิล 30% และโคบอลท์รีไซเคิล 13% นอกจากนี้แอปเปิลยังเริ่มใช้ทองคำรีไซเคิลเป็นครั้งแรกในเมนบอร์ด และส่วนเชื่อมต่อกล้องหน้า-หลัง ของ iPhone 13 และ iPhone 13 Pro
ส่วนอัตราการปล่อยคาร์บอน ตัวเลขของแอปเปิลใกล้เคียงกับปี 2020 และสำนักงาน-ศูนย์ข้อมูล ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% มาตั้งแต่ปี 2018
Gomi ผู้ผลิตอุปกรณ์ชาร์จไฟจากอังกฤษ เปิดตัวสินค้าใหม่ลำโพงบลูทูธพกพา Gomi Speaker มีจุดขายคือใช้แบตเตอรี่ ที่ถอดออกมาจากจักรยานไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้ว นำมาผลิตซ้ำ โดยเป็นความร่วมมือกับ Lime แพลตฟอร์มแชร์จักรยาน ทำให้ลดการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้วัสดุภายนอกทั้งหมดก็ทำจากพลาสติกรีไซเคิลเช่นกัน
Gomi Speaker เป็นลำโพง 25W แบตเตอรี่อยู่ได้นาน 20 ชั่วโมง ชาร์จแบบ USB-C น้ำหนัก 800 กรัม สามารถนำลำโพงมาวางคู่กันเพื่อสร้างระบบเสียงสเตอริโอได้ มีตัวเลือกทั้งหมด 4 สี ได้แก่ ขาว-ดำ, น้ำเงินน้ำทะเล, เขียวมะนาว และสีเค้กวันเกิด
แอปเปิลฟ้องบริษัท GEEP Canada ผู้รับรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ หลังจากตรวจพบว่ามีอุปกรณ์ที่ส่งไปทำลายกว่าจำนวนหนึ่งกลับมาออนไลน์ได้
แอปเปิลส่งอุปกรณ์ทั้ง iPhone, iPad, และ Apple Watch ไปยัง GEEP กว่าห้าแสนชิ้นในช่วงเวลาสามปี จาก 2015 ถึง 2017 แต่พบว่าอุปกรณ์ที่รองรับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ส่งไปทำลายแล้ว กลับมาออนไลน์ถึง 18% โดยเป็น iPhone อย่างน้อย 103,845 เครื่อง และในบรรดาอุปกรณ์ที่ส่งไปทำลายยังมีอุปกรณ์จำนวนหนึ่งที่ไม่รองรับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทำให้อุปกรณ์ที่ถูกกลับนำมาขายน่าจะสูงกว่านี้มาก
ทาง GEEP แจ้งความพนักงาน 3 รายฐานขโมยอุปกรณ์เหล่านี้ไปจากบริษัท แต่ทางแอปเปิลไม่ยอมรับคำอธิบายนี้ ระบุว่าพนักงานทั้งสามคนเป็นผู้จัดการระดับสูง
คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว 2020 เปิดตัวเตียงนอนที่จะใช้ในหมู่บ้านนักกีฬา ซึ่งมีความน่าสนใจเพราะทำมาจากลังกระดาษแข็ง (Cardboard) โดยระบุว่าสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม มากกว่าน้ำหนักที่มากที่สุดของนักกีฬาซึ่งร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ที่รีโอเดจาเนโร
แนวทางของการจัดโอลิมปิกที่โตเกียวนั้นจะเน้นวัสดุหมุนเวียนให้มากที่สุด ซึ่งเตียงจำนวน 18,000 หลัง ที่ใช้รองรับนักกีฬา จะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นกระดาษหลังจบการแข่งขัน ส่วนผ้าห่มจะกลายเป็นเม็ดพลาสติก และอาคารที่พัก 21 ตึก จะจำหน่ายหรือเปิดให้เช่าพื้นที่ต่อไป
แอปเปิลเปิดเผยว่า iPhone รุ่นล่าสุดทั้ง iPhone 11 Pro และ iPhone 11 นั้น ส่วนของ Taptic Engine ที่ใช้ในการตอบสนองแรงกดบนหน้าจอ ผลิตขึ้นจากแร่ Rare earth ที่มาจากการรีไซเคิลทั้งหมด 100% ซึ่งเป็นการหมุนเวียนทรัพยากรที่ดีต่อโลก
ทั้งนี้ Rare Earth จากการรีไซเคิลส่วนของ Taptic Engine นั้น คิดเป็นปริมาณถึง 25% ของ Rare earth ทั้งหมดที่ใช้ใน iPhone หนึ่งเครื่อง
แอปเปิลให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แร่ Rare earth จากการรีไซเคิลที่นำมาใช้นั้น แอปเปิลซื้อจากซัพพลายเออร์ภายนอกอีกทีหนึ่ง ไม่ได้นำมาจาก iPhone เครื่องเก่าที่ถูกถอดแยกชิ้นส่วน และนำมาจากส่วนเหลือของการผลิตในอุตสาหกรรม
แอปเปิลออกรายงานประจำปีด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีประเด็นสำคัญเรื่องความก้าวหน้าของโครงการรีไซเคิลวัสดุ เพื่อลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแอปเปิลนำ iPhone ที่ลูกค้านำมาแลกเปลี่ยนในโครงการเทรดอิน ไปแยกชิ้นส่วนเพื่อหมุนเวียนวัสดุไปผลิตใหม่ โดย หุ่นยนต์ Daisy สามารถแยกชิ้นส่วน iPhone ที่แตกต่างกันถึง 15 รุ่น ได้ถึง 1.2 ล้านเครื่องต่อปี
พัฒนาการสำคัญที่แอปเปิลนำเสนอคือการนำแร่โคบอลต์ในแบตเตอรี่ มาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็นแบตเตอรี่ใหม่ได้ ทำให้ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้ตะกั่วในเมนบอร์ดของผลิตภัณฑ์แอปเปิลทั้งหมด ก็ใช้ตะกั่วจากการรีไซเคิล ส่วนอะลูมิเนียมที่ใช้ผลิตฝา MacBook Air ก็มาจากการรีไซเคิลทั้งหมดเช่นกัน
แอปเปิลเปิดตัวหุ่นยนต์รีไซเคิลชื่อว่า Daisy ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ ที่เกี่ยวข้องกับการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งแอปเปิล ผลักดัน มาตลอด โดยมีเป้าหมายให้แร่และวัสดุของผลิตภัณฑ์แอปเปิล สามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นอุปกรณ์ใหม่ได้แบบ closed-loope supply chain
หุ่นยนต์ Daisy มีหน้าที่แยกและคัดชิ้นส่วน iPhone ซึ่งเป็นเวอร์ชันปรับปรุงจากหุ่นยนต์ Liam รุ่นแรก ที่แอปเปิลเปิดตัวเมื่อปี 2016 ปัจจุบันหุ่นยนต์มีใช้งานใน 2 แห่ง คือที่ออสติน รัฐเท็กซัส อเมริกา และเมืองเบรดา เนเธอร์แลนด์ มีความสามารถจัดการกับ iPhone ได้ถึง 200 เครื่องต่อชั่วโมง พร้อมคัดชิ้นส่วนวัสดุที่มีมูลค่า ซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลต่อได้ โดยคงสภาพวัสดุไว้ได้ดี
ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล่าสุด โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (UNU), สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และ International Solid Waste Association (ISWA) พบว่าในปี 2016 นั้น มีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 45 ล้านตันทั่วโลก เทียบกับเมื่อปี 2014 ที่อยู่ที่ 41 ล้านตัน ทั้งนี้ UNU คาดว่าในปี 2021 ตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 52.2 ล้านตัน
ตัวเลขที่น่าตกใจกว่าคือในบรรดาขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีเพียง 20% ที่ถูกจัดเก็บและนำมารีไซเคิลอย่างถูกขั้นตอน ส่วนที่เหลือก็ถูกทิ้งไว้ตามพื้นที่ร้างสักแห่ง
รายงานบอกว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจากราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายที่ถูกลง และการซ่อมแซมนั้นก็เริ่มมีราคาสูงเมื่อเทียบกับซื้อใหม่ จึงส่งผลให้ปริมาณขยะนี้เพิ่มขึ้น
dtac จับมือกับ Tesco Lotus, กทม. และ กรมควบคุมมลพิษ ทำจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ก่อนนำไปรีไซเคิล ระยะแรกทำจุดรับที่ห้าง Tesco Lotus ใน 6 สาขาคือ บางแค ,พระราม 4 , บางนา ,ลาดพร้าว ,บางกะปิ ,สุขาภิบาล 1 และ dtac Hall อีก 49 สาขาทั่วประเทศ
ฝันร้ายเรื่องการระเบิดของโทรศัพท์ Samsung Galaxy Note 7 ผ่านพ้นไปแล้ว และโทรศัพท์รุ่นใหม่อย่าง Galaxy S8 ก็กำลังประสบความสำเร็จ ล่าสุดซัมซุงทำโทรศัพท์รุ่นจำนวนจำกัดออกมา เป็นเหมือนภาคต่อของ Galaxy Note 7 ตัวเครื่องผลิตด้วยชิ้นส่วนจาก Galaxy Note 7 มีแบตเตอรี่ขนาดเล็กกว่า
โทรศัพท์รุ่นใหม่ใช้ชื่อว่า Galaxy Note Fan Editionใช้แบตเตอรี่ 3,200 มิลลิแอมป์ วางขายในเกาหลีใต้วันที่ 7 กรกฎาคม ทำออกมา 4 แสนเครื่อง ราคาถูกกว่า Galaxy Note 7 ประมาณ 30%
อย่างไรก็ตาม ซัมซุงโดนกดดันโดยนักสิ่งแวดล้อมว่าควรจะรีไซเคิลหรือใช้ชิ้นส่วนจาก Galaxy Note 7 ที่เรียกคืนมา เพื่อลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์
Greenpeace ร่วมมือกับ iFixit บริษัทซ่อมบำรุงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก ตีพิมพ์รายงานด้านขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยทำการศึกษาเจาะจงไปที่สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต และแล็ปท็อป และจัดลำดับคะแนนอุปกรณ์ที่สามารถซ่อมแซมกลับไปใช้ใหม่ได้
โดยในรายงานนับเฉพาะอุปกรณ์ที่เปิดตัวช่วงปี 2015-2017 ในส่วนของสมาร์ทโฟนที่ได้คะแนนเต็มคือ Fairphone 2 ซึ่งเป็นโทรศัพท์แยกส่วนได้ อะไหล่แต่ละชิ้นสามารถเปลี่ยนหรือทดแทนใหม่ได้ ทำให้ไม่ต้องทิ้งทั้งตัวเครื่อง ด้านแท็บเล็ต HP Elite X2 ได้คะแนนสูงสุด รองลงมาเป็น Dell Latitude E5270 ส่วนแล็ปท็อป HP EliteBook 840 G3 ได้คะแนนสูงสุด
อุปกรณ์ที่ได้คะแนนต่ำ ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ถอดแบตเตอรี่ออกไม่ได้ เมื่อมีการเสื่อมสภาพจึงซ่อมแซมได้ยาก แบรนด์ที่ได้คะแนนต่ำคือ Apple, Samsung, Microsoft (คะแนนน้อยทั้งสามประเภทอุปกรณ์)
เว็บไซต์ Sortable ได้จัดทำ infographic เกี่ยวกับผลกระทบของ iPad ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลที่น่าสนใจหลักๆ ก็คือ iPad เครื่องหนึ่งนั้นจะปล่อยคาร์บอนเป็นปริมาณเทียบเท่าได้กับการขับรถเป็นระยะทาง 515 ไมล์ (หรือประมาณ 828 กิโลเมตร) โดย iPad รุ่นที่ 3 นั้นปล่อยคาร์บอนออกมามากที่สุด คิดเป็นปริมาณกว่า 180 กิโลกรัม ส่วน iPad รุ่นแรกและ iPad 2 ปล่อยคาร์บอนคิดเป็นปริมาณ 130 กิโลกรัมและ 105 กิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งเมื่อคิดปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยโดย iPad ทั้ง 55 ล้านเครื่องที่ถูกขายออกไปแล้วนั้น ก็จะอยู่ที่ 7,590,000 ตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณของคาร์บอนที่ถูกปล่อยโดยรถยนต์ 1,265,000 คันในหนึ่งปี
- Read more about iPad เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน?
- 45 comments
- Log in or register to post comments
ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความต้องการจากทุกสารทิศ ทำให้แรงผลิตเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปัญหาขยะตามมา ทางเดลล์จึงได้ตามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการรีไซเคิลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
ซึ่งผลการสำรวจพบว่าประเทศในกลุ่มสหราชอาณาจักรฯมีอัตราของผู้ที่ไม่นำอุปกรณ์ไปรีไซเคิลเกือบร้อยละ 50 ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับชาวเยอรมันแล้ว จะมากกว่าถึงร้อยละ 80
โดยในประเทศของกลุ่มสหราชอาณาจักรฯนั้น ประเทศที่มีอัตราสูงที่สุดคือแคว้นเวลส์ที่มีอัตราการไม่รีไซเคิลสูงถึงเกือบร้อยละ 20 และถ้าหากว่านำปริมาณขยะอิเล็กโทรนิกส์เหล่านี้มารวมกันจะพบว่ามีขนาดถึง 6 เท่าของสนามฟุตบอลเวมบลีย์
นอกจากที่เดลล์ทำการสำรวจแล้ว ทาง O2 ก็ได้สำรวจอุปกรณ์ที่ใช้ตามครัวเรือนโดยเฉลี่ยซึ่งมีรายงานดังนี้