Securities and Exchange Commission
Terraform Labs ผู้สร้างโทเค็น Luna ยอมความกับก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) จ่ายค่าเสียหายรวม 4.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นการคืนผลประโยชน์จากการทำความผิด (disgorgement) 4.05 พันล้านดอลลาร์ และค่าปรับอาญา 420 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดีน่าจะไม่มีการโอนเงินจริงเท่าที่ตกลงกันเพราะ Terraform Labs นั้นล้มละลายไปแล้ว
ตัว Do Kwon ผู้ก่อตั้ง Terraform Labs เองถูกสั่งปรับ 80 ล้านดอลลาร์และสั่งให้โอนเงิน 204.3 ล้านดอลลาร์เข้าไปยังกองทุน
ก.ล.ต. สหรัฐ หรือ SEC ได้อนุมัติเอกสารไฟลิ่งที่เกี่ยวข้องกับการขอจัดตั้งกองทุน ETF ที่อิงกับราคาของ Ethereum (ETH) แล้ว โดยมีกองทุนที่ได้รับอนุมัติ 8 แห่ง ได้แก่ BlackRock, Fidelity, Grayscale, VanEck, Franklin Templeton, Ark/21Shares, Invesco/Galaxy และ Bitwise
อย่างไรก็ตาม SEC อนุมัติเอกสาร 19b-4 สำหรับการจัดตั้งกองทุนเท่านั้น แต่ยังไม่ได้อนุมัติเอกสาร S-1 ซึ่งเป็นการขอนำสินทรัพย์นี้ให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ในตลาด แต่ถือเป็นสัญญาณแรกว่า ETH น่าจะถูกซื้อขายในรูปแบบ ETF เร็ว ๆ นี้
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ชี้แจงผลการสอบสวนจาก เหตุการณ์ ที่บัญชี X @SECGov โพสต์ข้อความว่าได้อนุมัติ Bitcoin ETF และต่อมาข้อความดังกล่าวถูกลบไป โดยบอกว่าบัญชีถูกแฮค (แล้ววันถัดมาก็ ประกาศอนุมัติ จริง ๆ)
โดย SEC บอกว่าจากการตรวจสอบร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ พบว่ามีการ เข้าถึงหมายเลขโทรศัพท์ ที่ผูกกับบัญชีของ SEC ผ่านบริการ 3rd party ด้วยการสลับอุปกรณ์ที่ใช้หมายเลขโทรศัพท์ (SIM swap) และเนื่องจากบัญชีนี้ไม่ได้เปิด 2FA หรือการยืนยันตัวตนสองขั้นตอน จึงทำให้เข้าถึงบัญชีได้เลยผ่าน SMS ของโทรศัพท์มือถือ
คณะกรรมการของ SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ได้ลงมติเมื่อคืนที่ผ่านมา อนุมัติให้นักลงทุนสามารถซื้อขายสินทรัพย์แลกเปลี่ยนที่อ้างอิงราคา Bitcoin ได้บนกระดานซื้อขายสินทรัพย์ทั่วไปแล้ว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ลงทุน Bitcoin รอคอยผลกันมาหลายสัปดาห์
ตอนนี้มีกองทุนที่ยื่นขอรอจัดตั้ง ETF ที่อ้างอิงราคา Bitcoin แล้ว 11 ราย ซึ่งมีทั้งกองทุนของ BlackRock, Fidelity Investments, ARK Investment, Invesco, WisdomTree และ Grayscale โดยทั้งหมดน่าจะเริ่มซื้อขายกองทุนผ่านกระดานซื้อขายหลักได้เร็วที่สุดในวันพรุ่งนี้
X ออก แถลงการณ์ จากประเด็นที่บัญชีของ ก.ล.ต. สหรัฐ หรือ SEC ( @SECGov ) โพสต์ข้อความการอนุมัติให้ตั้ง Bitcoin ETF ได้ และต่อมาโพสต์ถูกลบ พร้อมกับ บอกว่าบัญชีถูกแฮค
โดย X ยืนยันว่าบัญชี SEC ถูกแฮคจริงจากการสอบสวนเบื้องต้น แต่ไม่ได้เกิดจากช่องโหว่ใด ๆ ในแพลตฟอร์มของ X เอง ปัญหานี้เกิดจากการเชื่อมต่อบัญชีของ @SECGov เข้ากับข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ ผ่านแอปภายนอก รวมทั้งบัญชี @SECGov ก็ไม่ได้เปิดการใช้งานยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (2FA) ในขณะที่ถูกแฮค จากกรณีดังกล่าว X จึงแนะนำให้ผู้ใช้งานทุกคนเปิด 2FA เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน
ประเด็นสำคัญของผู้ลงทุนใน Bitcoin สัปดาห์นี้ คือ SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ จะพิจารณาอนุมัติให้มีสินค้าใหม่ Bitcoin ETF ซึ่งสามารถซื้อขายได้ในกระดานหลักทรัพย์ทั่วไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ก็มีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นจนได้
บัญชี X หรือ Twitter เดิมของ SEC ( @SECGov ) ได้โพสต์ข้อความ SEC อนุมัติให้สามารถจัดตั้งกองทุน ETF บนสินทรัพย์อ้างอิง Bitcoin ได้แล้ว ต่อมา 30 นาที ข้อความดังกล่าวถูกลบไป และ Gary Gensler ประธาน SEC ก็ โพสต์ข้อความ ใน X ว่า บัญชีของ SEC ถูกแฮค และมีการโพสต์ข้อความที่ไม่ถูกต้อง โดยบอกว่าตอนนี้ SEC ยังไม่ได้อนุมัติการออก Bitcoin ETF แต่อย่างใด
ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) ประกาศตั้งข้อหาแก่บริษัท SolarWinds และ Timothy G. Brown CISO ของบริษัท จากเหตุการณ์ที่บริษัทถูก แฮกฝังโค้ดในซอฟต์แวร์ ส่งผลต่อเนื่องให้ องค์กรลูกค้าถูกแฮกตามไปด้วย
SEC ระบุว่าวิศวกรของบริษัทเตือน Brown แล้วว่าเครือข่ายของบริษัทปล่อยให้มีการเข้าถึงอย่างไม่ปลอดภัยนัก และหากคนร้ายเจาะเข้ามาได้ก็ตรวจจับได้ยาก แม้ Brown จะได้รับรายงานแต่ก็ไม่แก้ไขหรือแจ้งเรื่องต่อภายในบริษัทให้มีการแก้ไข
คณะกรรมการหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) ยื่นฟ้อง Elon Musk เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา เพื่อบังคับให้ Musk เป็นพยานในการสอบสวนกรณีซื้อหุ้นของ Twitter ที่ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น X
SEC บอกว่าเป็นการสอบสวนเพื่อหาว่ามีใครเข้าข่ายทำผิดกฎหมาย ในกระบวนการที่ Musk ซื้อหุ้น Twitter ที่มูลค่า 44,000 ล้านดอลลาร์ หรือไม่
SEC ได้ส่งเอกสารยื่นฟ้องโดยระบุใจความว่า ก่อนหน้านี้ Musk ปฏิเสธที่ปฎิบัติตามหมายเรียกจาก SEC ทำให้เกิดความล่าช้าในการสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาว่ามีการละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์เกิดขึ้นหรือไม่ จึงขอให้ศาลบังคับให้ Musk ปรากฏตัวเพื่อเป็นพยานในการสอบสวน
ก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) ตั้งข้อหากับบริษัท Impact Theory LLC ที่ขาย NFT ในช่วงปลายปี 2021 ว่าเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่ได้จดทะเบียน
Impact Theory ขาย NFT ที่ชื่อว่า Founders' Key แต่กลับผูกผลตอบแทนของ Founders' Key เข้ากับความสำเร็จของบริษัทเอง ทำให้มีลักษณะเป็นสัญญาการลงทุน และการซื้อขายก็กลายเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์
ทางบริษัทยอมทำตามคำสั่งหยุดของ SEC โดยจ่ายค่าปรับ 6.1 ล้านดอลลาร์, เตรียมคืนเงินนักลงทุนทั้งหมด และทำลาย Founders' Key ที่ยังอยู่ก้บตัว รวมถึงยกเลิกการรับผลประโยชน์เมื่อมีการซื้อขาย Founders' Key
ที่มา - SEC.gov
ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) สั่งปรับธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งในข้อหาเดียวกัน คือ ไม่เก็บบันทึกการสื่อสารตามที่กฎหมายกำหนด โดยพนักงานของบริษัทเหล่านี้ ใช้แชตส่วนตัวจากบริการ เช่น iMessage, WhatsApp, และ Signal คุยงาน
กฎหมายการซื้อขายหลักทรัพย์สหรัฐฯ บังคับให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องเก็บรักษาข้อมูลการสื่อสารตามระยะเวลาที่กำหนด
ในบริษัทกลุ่มที่ถูกปรับนี้ กลุ่ม Well Fargo ถูกปรับหนักที่สุด 125 ล้านดอลลาร์ บริษัทอื่นๆ ถูกปรับ 9-35 ล้านดอลลาร์ต่อบริษัท รวม 289 ล้านดอลลาร์หรือกว่าหมื่นล้านบาท และต้องปรับปรุงกระบวนการทำงานไม่ให้ผิดพลาดเช่นนี้อีก
ที่มา - SEC
เว็บไซต์ข่าว The Information รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า Changpeng Zhao หรือ CZ ผู้ก่อตั้ง Binance เคยพยายามปิดหรือขายธุรกิจสาขาสหรัฐ Binance.US เพื่อเลี่ยงการโดนคดีความจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐ ( สุดท้ายโดนไปรวมกัน 13 ข้อหา )
ตามข่าวบอกว่าบอร์ดของ Binance.US ซึ่ง CZ เป็นประธาน เคยโหวตลงมติว่าจะเลิกกิจการและชำระบัญชี (liquidate) บริษัทหรือไม่ แต่สุดท้ายไม่ได้มติเอกฉันท์ เพราะ Brian Shroder ซีอีโอของ Binance.US คัดค้าน ซึ่งเหตุผลของเขาคือการเลิกกิจการจะทำให้ลูกค้าตื่นตระหนก และโอนถ่ายหรือขายสินทรัพย์คริปโตของตัวเอง
ตัวแทนของ Binance ปฏิเสธไม่แสดงความเห็นต่อข่าวนี้
หลังจาก SEC เพิ่งเอาผิด Binance บริษัทคริปโตรายใหญ่ของโลก ไปหมาดๆ เมื่อคืนนี้ เพียงแค่ข้ามวัน SEC ก็ประกาศตั้งข้อหาบริษัทคริปโตรายใหญ่อีกแห่งคือ Coinbase ด้วยข้อหาแบบเดียวกันอย่างต่อเนื่อง
Coinbase โดนข้อหาไม่จดทะเบียนเป็นตลาดซื้อขาย (exchange) นายหน้า (broker) และผู้ให้บริการเคลียริ่ง (clearing agency) ซึ่งผิดกฎหมายหลักทรัพย์สหรัฐที่กำหนดให้หน่วยงานเหล่านี้ต้องมาจดทะเบียนกับ SEC
อีกข้อหาที่โดนคือนำเสนอสินทรัพย์คริปโตโดยไม่ขออนุญาต โดยเป็นเคสของโปรแกรม Staking-as-a-Service ที่รับฝากสินทรัพย์คริปโตเพื่อไปลงทุนต่อ (staking)
SEC ได้ยื่นฟ้องต่อศาลเขตนิวยอร์กใต้เพื่อดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ตั้งข้อหา Binance และบริษัทในเครือ เช่น Binance.US, BAM Trading Services รวมถึงตัวผู้ก่อตั้ง Changpeng Zhao หรือที่รู้จักกันในชื่อ CZ ในข้อหาทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์สหรัฐ จำนวนรวม 13 ข้อหา
สิ่งที่ SEC ประกาศเอาผิด Binance ได้แก่
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ตั้งข้อหา Justin Sun นักลงทุนคริปโตชื่อดัง รวมทั้ง 3 บริษัทที่เขาเป็นเจ้าของคือ Tron Foundation, BitTorrent Foundation และ Rainberry ในคดีฉ้อโกงหลักทรัพย์ (Securities Fraud) โดยระบุว่าบริษัทได้สร้างการซื้อขายเหรียญ TRX และ BTT ขึ้นมา โดยการซื้อขายเหล่านั้นไม่มีการโอนเปลี่ยนเจ้าของจริง แต่ทำเพื่อให้เห็นว่าเหรียญมีความเคลื่อนไหวตลอด
SEC ยังตั้งข้อหา ดารา-บุคคลมีชื่อเสียง รวม 8 คน ข้อหาไม่เปิดเผยว่าได้รับการสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์ทำการตลาด TRX และ BTT ผ่านช่องทางโซเชียล ซึ่งใน 8 คนนี้มี Lindsay Lohan, Jake Paul และ Ne-Yo รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ Soulja Boy และ Austin Mahone ซึ่งอยู่ในรายชื่อดังกล่าว ได้เจรจาขอยุติคดีและจ่ายค่าปรับ 4 แสนดอลลาร์แล้ว
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ตั้งข้อหาบริษัท Terraform Labs และซีอีโอ Do Hyeong Kwon ว่าฉ้อโกงเกี่ยวกับหลักทรัพย์ (securities fraud) จากกรณีเหรียญ Luna และ Terra (UST)
ข้อกล่าวหาของ SEC ระบุว่า Terraform และ Kwon โฆษณาสินทรัพย์ดิจิทัลต่อนักลงทุนว่า token ที่ขายจะมีมูลค่าสูงขึ้น โดยให้ดอกเบี้ย/ผลตอบแทนสูงสุดถึง 20% รวมถึงหลอกลวงว่ามีบริษัทระบบจ่ายเงินรายใหญ่ของเกาหลีใต้ใช้บล็อกเชน Terra เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและปั่นราคาเหรียญด้วย พฤติกรรมเหล่านี้ถือว่าผิดกฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐ
ในขั้นตอนถัดจากนี้ SEC ยื่นฟ้องต่อศาลเขตนิวยอร์กใต้ เพื่อเข้ากระบวนการยุติธรรมต่อไป
Securities and Exchange Commission (SEC) หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ สั่งปรับบริษัทคริปโต Kraken ในข้อหาไม่จดทะเบียนการขายหลักทรัพย์ จากบริการรับฝากเหรียญแบบมีผลตอบแทน (staking-as-a-service) ซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายสหรัฐ
Kraken เริ่มนำเสนอบริการ staking มาตั้งแต่ปี 2019 โดยรับฝากเหรียญคริปโตจากนักลงทุน แล้วนำเหรียญไปวางค้ำประกันตามแนวทาง proof-of-stake เพื่อรับผลตอบแทนจากเครือข่ายบล็อกเชน แล้วนำเหรียญที่ได้มาแบ่งกำไรกัน ซึ่ง SEC บอกว่า Kraken พยายามโฆษณาว่าเป็นวิธีทำเงินแบบง่ายๆ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน
Kraken ยอมยุติคดีนี้ โดยหยุดให้บริการ staking กับลูกค้าในสหรัฐทันที และจ่ายเงินค่ายุติคดี 30 ล้านดอลลาร์ แลกกับการที่ SEC ยังไม่ตัดสินว่า Kraken มีความผิดเต็มรูปแบบ
Caroline Ellison CEO ของ Alameda Research และ Gary Wang CTO ของ FTX Trading ถูกตั้งข้อหาฉ้อโกง และทั้งสองให้การรับสารภาพ พร้อมกันนี้ FBI ประกาศว่าได้ตัว Sam Bankman-Fried (SBF) ผู้ก่อตั้ง FTX แล้ว และกำลังนำตัวกลับสหรัฐฯ
อัยการสหรัฐฯ ระบุว่าคดี FTX ยังเดินหน้าต่อไป และหากใครรู้เบาะแสของคดีก็ขอให้ออกมาให้ข้อมูล
Ellison และ Wang ยังถูกตั้งข้อหาเพิ่มเติมในคดีฉ้อโกงนักลงทุนที่ SBF ถูกตั้งข้อหาไปก่อนหน้าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่มา - SEC
ก.ล.ต.สหรัฐฯ ประกาศตั้งข้อหาผู้ใช้ทวิตเตอร์ 8 ราย ที่เป็นคนดังแต่ละคนมีผู้ติดตามนับแสนราย โดยระบุว่าผู้ต้องหาทวีตล่อให้ผู้ติดตามเข้าใจว่าพวกเขากำลังไล่เก็บหุ้นบางตัวอยู่ และเมื่อมีคนซื้อตามจนราคาขึ้นจริงๆ ก็แอบขายหุ้นของตัวเองออกมาโดยไม่บอกผู้ติดตาม ทำให้ทั้ง 8 คนได้กำไรรวม 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3,500 ล้านบาท
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั้ง 8 รายได้แก่ @PJ_Matlock, @MrZackMorris, @ohheytommy, @notoriousalerts, @Hugh_Henne, @LadeBackk, และ @Ultra_Calls นอกจากนี้ยังตั้งข้อหากับ Daniel Knight ผู้จัดรายการ podcast ที่เชิญแขกมาแนะนำหุ้นชวนให้คนซื้อตาม โดยก.ล.ต. สหรัฐฯ ระบุว่า Knight ก็ขายหุ้นสวนทำกำไรแบบเดียวก้นด้วย
ก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) ตั้งข้อหากับ Samuel Bankman-Fried (SBF) ฐานฉ้อโกง (defrauding) ผู้ลงทุนใน FTX Trading ที่ลงทุนกับ FTX ไปแล้วกว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ลงทุนมากกว่า 90 คนรวมมูลค่าลงทุนประมาณ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
คดีนี้ยังไม่ใช่คดีฉ้อโกงลูกค้าของ FTX ที่บริษัทเอาเงินของลูกค้าไปลงทุนกับ Alameda Research โดยตรง แต่ก็เกี่ยวข้องกันเนื่องจากคดีระบุถึง SBF ที่นำเสนอกับผู้ลงทุนในบริษัทว่า FTX เป็นตลาดซื้อขายคริปโตที่น่าเชื่อถือและมีความปลอดภัย โดยไม่ได้เปิดเผยกับผู้ลงทุนว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Alameda Research อย่างไรบ้าง รวมถึงไม่เปิดเผยว่าทรัพย์ของบริษัทที่เป็นโทเค็น FTT นั้นมีความเสี่ยงเพียงใด
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ สั่งปรับดาราสาวชื่อดัง Kim Kardashian ในข้อหาทำผิดกฎหมายการลงทุน โพสต์เชิญชวนให้ซื้อเหรียญ EthereumMax (EMAX) ผ่านช่องทางโซเชียลของเธอที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก โดยไม่เปิดเผยว่าเธอได้รับเงินจาก EthereumMax มาเชียร์เหรียญ
Kim Kardashian ตกลงยอมความกับ SEC จ่ายค่าปรับรวม 1.26 ล้านดอลลาร์เพื่อยุติคดีกับ SEC และสัญญาไม่โปรโมทคริปโตนาน 3 ปี โดย Gary Gensler ประธาน SEC ให้สัมภาษณ์ว่าถือเป็นกรณีตัวอย่างที่คนดัง อินฟลูเอนเซอร์ ควรประกาศข้อมูลให้ครบถ้วนเวลาโพสต์เชิญชวนคนมาลงทุน
SEC หรือสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐ ประกาศตั้งหน่วยงานใหม่ในสังกัด 2 แห่ง อยู่ภายใต้ฝ่าย Division of Corporation Finance ได้แก่
- Office of Crypto Assetsรับผิดชอบงานเกี่ยวกับสินทรัพย์คริปโตโดยเฉพาะ ในอนาคตงานเอกสารด้านการจดทะเบียนและขอใบอนุญาตเกี่ยวกับคริปโต จะต้องผ่านสำนักงานนี้
- Office of Industrial Applications and Servicesรับผิดชอบการขอใบอนุญาตด้านอุตสาหกรรม ที่ไม่เกี่ยวกับสายงานด้านยาและไบโอเทค ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น เพื่อให้แยกจากงานของ Office of Life Sciences ที่มีอยู่แล้ว
ก.ล.ต. สหรัฐมีหน่วยงานเฉพาะอุตสาหกรรมอยู่แล้ว 7 แห่ง ซึ่งจะช่วยรับผิดชอบงานสาขาต่างๆ ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ
- Read more about ก.ล.ต.สหรัฐ เตรียมตั้งแผนกจัดการสินทรัพย์คริปโตแยกต่างหาก
- Log in or register to post comments
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน 3 ราย ระบวุ่า SEC หรือก.ล.ต.สหรัฐฯ กำลังสอบสวนว่า Coinbase ให้บริการกระดานซื้อขายสินทรัพย์ที่เข้าข่ายว่าเป็นหลักทรัพย์และต้องขออนุญาตล่วงหน้าหรือไม่
การสอบสวนนี้ต่อเนื่องมาจากการจับกุม Ishan Wahi ที่ใช้ข้อมูลภายในซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลล่วงหน้าก่อนประกาศเข้าซื้อขายในกระดานของ Coinbase โดยการดำเนินคดีกับ Ishan แสดงให้เห็นว่า SEC มองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลในคดีนี้ 9 ตัวเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้อำนาจของ SEC และใน 9 ตัวนี้มี 7 ตัวที่ซื้อขายอยู่ในกระดานของ Coinbase
สำนักข่าว Bloomberg อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่า ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) กำลังสอบสวนว่า การที่ Binance ออกโทเค็น BNB ระดมทุนเมื่อปี 2017 นั้นจริงๆ แล้ว BNB เป็นหลักทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนก่อนตามกฎหมายหลักทรัพย์สหรัฐฯ หรือไม่ และยังสอบสวนประเด็นอื่นๆ อีกหลายประเด็น
Binance เปิดตัว BNB ครั้งแรกโดยระบุว่าจะนำกำไรจากกิจการตลาดคริปโต 20% มาซื้อ BNB เผาทิ้ง ซึ่งจะทำให้ BNB กลายเป็นหลักทรัพย์อย่างชัดเจน แต่ภายหลังก็เปลี่ยนแนวทางไปเป็นการใช้ สูตร BNB Auto-Burn แทน
SEC หรือ ก.ล.ต. สหรัฐ ประกาศว่า NVIDIA ตกลงที่จะจ่ายเงิน 5.5 ล้านดอลลาร์ จากข้อกล่าวหาที่ SEC บอกว่าบริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญในการดำเนินงาน เกี่ยวกับยอดขายการ์ดจอในตลาดเหมืองคริปโต
ทั้งนี้ข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ได้พูดถึงสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อ้างไปถึงช่วงปี 2017-2018 ซึ่งความต้องการการ์ดจอเพื่อทำเหมืองคริปโตเพิ่มสูงมากจนเป็นรายได้ที่มีนัยยะสำคัญ แต่ NVIDIA ที่รับทราบเหตุการณ์นี้ กลับไม่ได้ลงรายละเอียดในรายงานผลประกอบการ และบอกว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้น เป็นการเติบโตจากกลุ่มตลาดเกมมิ่ง ซึ่ง SEC มองว่าจะทำให้ผู้ลงทุนใน NVIDIA เกิดความเข้าใจผิดได้
BlockFi บริการกระดานซื้อขายเงินคริปโต เจรจายอมความกับก.ล.ต. สหรัฐฯ ในฐานที่เปิดบริการให้กู้ยืมเงินคริปโตโดยไม่ได้รับอนุญาต แบ่งค่าปรับ 50 ล้านให้กับก.ล.ต.ของรัฐบาลกลาง และอีก 50 ล้านให้กับรัฐบาลอีก 32 รัฐที่ BlockFi ทำผิดกฎหมาย
BlockFi ให้บริการกู้ยืมเงินผ่านบริษัทลูกชื่อว่า BlockFi Lending LLC เป็นตัวกลางรับฝากและให้กู้ในชื่อบริการ BlockFi Interest Account (BIA) โดย BlockFi กินส่วนต่างดอกเบี้ยสองฝั่ง บริการนี้เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2019
หลังจากนี้ BlockFi จะหยุดให้บริการ BIA ในสหรัฐฯ ไปก่อน และเตรียมจะจดทะเบียนให้บริการตามกฎหมายต่อไป
ที่มา - SEC