Non-fungible token
RTFKT สตาร์ทอัปพัฒนา NFT สำหรับแสดงผลบนอุปกรณ์สวมใส่ ที่ Nike ซื้อกิจการ เมื่อปี 2021 ประกาศปิดกิจการ โดยโครงการที่พัฒนาทั้งหมดจะปิดตัวในเดือนมกราคม ยกเว้นโทเค็นบนเชน Ethereum ที่มีอยู่แล้วจะยังสามารถเข้าถึงได้ต่อไปตามปกติ
จุดเด่นของ RTFKT คือการพัฒนาโครงการ NFT ร่วมกับศิลปินและแบรนด์ต่าง ๆ โดยเฉพาะ CloneX ซึ่งเป็นระบบสร้างอวาตาร์ที่พัฒนากับ Takashi Murakami ศิลปินชื่อดังของญี่ปุ่น ทำให้ Nike ประกาศซื้อกิจการในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนงานของ John Donahoe อดีตซีอีโอ Nike ที่ถูกปลดออก เมื่อหลายเดือนก่อน
Starbucks ประกาศปิดตัวแพลตฟอร์ม Starbucks Odyssey Beta ที่เป็นโครงการ NFT สแตมป์สะสมสำหรับสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษ ทำงานบนเครือข่าย Polygon มีผลตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม เป็นต้นไป โดยจะทยอยปิดบางส่วนของบริการตั้งแต่วันนี้ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ส่วนตัวสแตมป์ที่เป็น NFT ยังสามารถเข้าถึงได้ต่อไปผ่าน Nifty Gateway
ในหน้า FAQs Starbucks บอกว่าจะพิจารณาโครงการสิทธิประโยชน์อื่นในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีโครงการ Starbucks Rewards อยู่แล้ว
Starbucks Odyssey เปิดตัวเมื่อปี 2022 โดยเป็นโครงการส่วนขยายของสมาชิก Starbucks Reward ให้ทำภารกิจเพื่อสะสมสแตมป์ NFT เพื่อปลดล็อกสิทธิพิเศษต่าง ๆ ซึ่งมีสถานะทดสอบกลุ่มจำกัดเป็นเบต้ามาตลอด จนกระทั่ง Starbucks ประกาศยุติโครงการ
ร้านขายเกม GameStop ปิดธุรกิจซื้อขาย NFT ของตัวเองแล้ว นับตั้งแต่เปิดบริการในเดือนกรกฎาคม 2022 โดยให้เหตุผลว่าสภาพการกำกับดูแลในตลาดคริปโตเปลี่ยนไปจากเดิม ลูกค้าจะไม่สามารถซื้อ ขาย สร้าง NFT ได้อีกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2024 เป็นต้นไป ส่วนตัวโทเคน NFT ยังอยู่บนบล็อคเชนและสามารถนำไปซื้อขายบนแพลตฟอร์มอื่นได้
ทิศทางของ GameStop ยังถอนตัวจากตลาดคริปโตอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่งประกาศปิดบริการกระเป๋าเงินคริปโตไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2023
ที่มา - VGC
- Read more about สิ้นยุคสมัย ร้าน GameStop ปิดบริการซื้อขาย NFT แล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
TechCrunch พบว่า Twitter/X ถอดฟีเจอร์การใช้ภาพ NFT เป็นภาพโพรไฟล์ออกไปอย่างเงียบๆ หลัง เปิดตัวตั้งแต่ต้นปี 2022
ตอนนี้ฟีเจอร์ NFT จำกัดเฉพาะผู้ใช้ Twitter Blue แบบเสียเงินเท่านั้น ซึ่งล่าสุดในเว็บเพจของ X Premium ชื่อใหม่ของ Twitter Blue ได้ถอดข้อความเกี่ยวกับภาพ NFT ในโพรไฟล์ออกทั้งหมดแล้ว
การถอดฟีเจอร์ NFT ออกไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะคู่แข่งวงการโซเชียลอย่าง Meta ปิดการใช้งาน NFT บน Facebook/Instagram ไปตั้งแต่เดือนมีนาคม 2023 หรือก่อนหน้านี้เกือบปีแล้ว
LINE NEXT บริษัทในเครือ LINE ที่โฟกัสการพัฒนาระบบนิเวศ NFT ประกาศรับเงินลงทุน 140 ล้านดอลลาร์ จาก Crescendo Equity Partners บริษัทการลงทุนของ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal และ Palantir
LINE กล่าวว่าการลงทุนนี้เป็นจำนวนเงินมากที่สุดในอุตสาหกรรมบล็อกเชน Web3 ภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเงินลงทุนนี้ LINE NEXT จะใช้เปิดตัว DOSI แพลตฟอร์ม NFT ในเดือนมกราคม 2024 หลังจากทดสอบเบต้าแล้วในหลายประเทศ รวมทั้งเชื่อมต่อกับ LINE NFT ในญี่ปุ่น นอกจากนี้จะนำเงินลงทุนมาขยายบริการใหม่ ๆ บน Web3
LINE NEXT จะสร้างบริการต่าง ๆ บนบล็อกเชนพับลิก Finschia รวมถึงเข้าร่วม Finschia Foundation ในฐานะสมาชิกด้วย
ที่มา: LINE
OpenSea ประกาศปลดอีกประมาณ 50% ของพนักงานทั้งหมด หลังจาก ปลดพนักงาน ไปก่อนหน้านี้ 20% เมื่อปีที่แล้ว
Devin Finzer ซีอีโอ OpenSea กล่าวว่า การปลดพนักงานรอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องมาร์เกตเพลสใหม่ในชื่อ OpenSea 2.0 เพื่อให้บริษัทออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เร็วและมีคุณภาพ จึงเป็นสาเหตุที่ลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้สามารถทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากขึ้น
ทั้งนี้ Finzer ยังไม่ได้ให้รายละเอียดว่า OpenSea 2.0 จะมีอะไรที่แตกต่างออกไปจากปัจจุบัน
ที่มา: CoinDesk
Yuga Labs บริษัทผู้สร้างโครงการ NFT ลิงชื่อดัง Bored Ape Yacht Club (BAYC) ประกาศปรับโครงสร้างบริษัทและปลดพนักงาน
ซีอีโอ Daniel Alegre (ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อ 6 เดือนก่อน) ประกาศว่าบริษัทมีโครงการต่างๆ มากเกินไป จนสูญเสียโฟกัสหลักของบริษัทไป โดยเฉพาะโครงการเกี่ยวกับเกมที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตอนนี้บริษัทเรียนรู้แล้วว่าไม่ควรทำทุกอย่างเองทั้งหมด จึงต้องปรับโครงสร้างภายในใหม่ หันมาโฟกัสที่โครงการสำคัญๆ เช่น BAYC, CryptoPunks ส่วนโครงการอื่นๆ จะถูกลดความสำคัญลงหรือปิดตัว พร้อมปลดพนักงานออกจำนวนหนึ่งแต่ไม่เปิดเผยตัวเลข
Peter Molyneux เกมดีไซเนอร์ชื่อดังเจ้าของผลงาน Populous, Theme Park, Black & White, Fable กำลังมีผลงานเกมใหม่ออกในเร็วๆ นี้ชื่อว่า Legacy
Legacy เป็นเกมจำลองการสร้างธุรกิจ ผู้เล่นต้องหาที่ดินทำธุรกิจ ออกแบบและผลิตสินค้าเพื่อนำไปขาย แล้วนำเงินมาขยายธุรกิจให้เติบโตกลายเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ใช้กราฟิกสไตล์การ์ตูนน่ารักสดใส
สิ่งที่แตกต่างจากเกมจำลอง (sim) เกมก่อนๆ ของ Molyneux คือเกมนี้จัดจำหน่ายโดย Gala Games บริษัทเกม Web3/blockchain/NFT ทำให้ Legacy มีระบบซื้อที่ดินในรูปแบบ NFT และสกุลเงินคริปโต LegacyCoin ของตัวเองด้วย (เกมนิยามตัวเองว่าเป็น Blockchain Business Sim)
ก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) ตั้งข้อหากับบริษัท Impact Theory LLC ที่ขาย NFT ในช่วงปลายปี 2021 ว่าเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์โดยไม่ได้จดทะเบียน
Impact Theory ขาย NFT ที่ชื่อว่า Founders' Key แต่กลับผูกผลตอบแทนของ Founders' Key เข้ากับความสำเร็จของบริษัทเอง ทำให้มีลักษณะเป็นสัญญาการลงทุน และการซื้อขายก็กลายเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์
ทางบริษัทยอมทำตามคำสั่งหยุดของ SEC โดยจ่ายค่าปรับ 6.1 ล้านดอลลาร์, เตรียมคืนเงินนักลงทุนทั้งหมด และทำลาย Founders' Key ที่ยังอยู่ก้บตัว รวมถึงยกเลิกการรับผลประโยชน์เมื่อมีการซื้อขาย Founders' Key
ที่มา - SEC.gov
OpenSea ผู้ให้บริการมาร์เกตเพลส NFT รายใหญ่ ประกาศการเปลี่ยนแปลงสำคัญ โดยจะยกเลิกระบบที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สามารถกำหนดให้มีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายผลงานต่อ (Operator Filter) แล้วเปลี่ยนมาเป็นระบบที่ผู้ซื้อผลงานแล้วขายต่อ สามารถกำหนดได้เองว่าจะให้มีการจ่ายส่วนแบ่งการขาย กลับไปหาผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือไม่ จากเดิมที่ OpenSea กำหนดให้มีการจ่ายส่วนแบ่งกลับเสมอเมื่อเกิดการขายต่อ ตอนนี้สามารถเลือกไม่จ่ายก็ได้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลตั้งแต่ 31 สิงหาคม 2023 เป็นต้นไป คาดว่าสาเหตุที่ OpenSea ตัดสินใจเช่นนี้ เนื่องจากคู่แข่ง Blur ซึ่งตั้งค่าธรรมเนียมซื้อขาย NFT ต่ำมาก เข้ามาแย่งส่วนตลาดจนขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทน OpenSea มาระยะหนึ่งแล้ว
Bloomberg รายงานสภาพตลาด NFT ในช่วงหลังว่าซบเซาลงมาก และนักวาดเจ้าของภาพได้รับส่วนแบ่งน้อยลง เพราะแพลตฟอร์มซื้อขายรายใหญ่ทั้ง OpenSea และ Blur ต่างปรับนโยบายจ่ายส่วนแบ่งรายได้
ข้อมูลจากบริษัทเก็บสถิติ Token Terminal ระบุว่าตลาด NFT พุ่งสูงสุดในเดือนมกราคม 2022 โดยนักวาดภาพได้รับค่าตอบแทนจากแพลตฟอร์มถึง 269 ล้านดอลลาร์ แต่ในเดือนกรกฎาคม 2023 ที่เพิ่งผ่านมา ตัวเลขนี้เหลือเพียง 4.3 ล้านดอลลาร์ หรือหายไปถึง 98%
เดิมทีแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT เคยจ่ายค่าตอบแทนการเปลี่ยนมือเจ้าของ (ownership change) ในอัตรา 5% ของราคาชิ้นงาน แต่ตอนนี้ลดลงมาเหลือ 0.3% เท่านั้น
เมื่อวานนี้ Google ได้ประกาศปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยอนุญาตให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถใส่สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น NFT ลงในแอปพลิเคชันและเกมของตนภายใน Google Play ได้ พร้อมกำหนดให้นักพัฒนาต้องระบุให้ชัดเจนว่า แอปดังกล่าวมีองค์ประกอบของบล็อคเชน
เมื่อสัปดาห์ก่อนเพิ่งมีข่าว Sega ประกาศไม่ทำเกมแนว Play-to-Earn ไป มาในวันนี้เหมือนจะกลับลำเล็กน้อย เพราะล่าสุด LINE Nextได้ลงนามร่วมมือกับ Segaในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาเกมสำหรับแพลตฟอร์มบล็อคเชนของ Game Dosi
LINE Next เป็นหนึ่งในแผนกของบริษัท LINE แอปแชทที่คุ้นเคยกันดีในเกาหลีใต้ ที่ทำหน้าที่พัฒนาระบบนิเวศของ NFT โดยภายใต้ข้อตกลงนี้ LINE Next จะได้รับใบอนุญาตให้ใช้หนึ่งใน IP เกมของ Sega ที่ “ได้รับความนิยมอย่างมาก” มาพัฒนาเป็นเกม Web3 ในแพลตฟอร์มของ Game Dosi โดยจะรองรับ NFT, การชำระเงินแบบดิจิทัล และกิจกรรมทางการตลาด
เมื่อปีที่แล้ว Sega ออกมายอมรับว่าถ้าบริษัทประกาศทำ NFT และ Play-to-Earn จะโดนกระแสด้านลบ แต่ก็แสดงทีท่าว่าอยากทดลองกับ NFT ล่าสุด Sega ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นนี้อีกครั้ง โดยการประกาศระงับการใช้งาน IP ใหญ่ ๆ ของค่าย เช่น Sonic the Hedgehog ในการทำเกมแบบบล็อคเชนจากเหล่านักพัฒนาเกมบุคคลที่ 3
คุณ Shuji Utsumi รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการร่วม (Co-COO) ของ Sega ออกมาให้สัมภาษณ์แบบทาง Bloomberg อีกว่า เกมบล็อคเชนนั้นน่าเบื่อ
นอกจาก Sega จะหยุดโครงการเกมบล็อคเชนของตัวเองชั่วคราวแล้ว ยังเริ่มลังเลเกี่ยวกับการใช้เทคโลยี Web3 ในชุด Super Game ที่เคยประกาศความร่วมมือกับ Microsoft Azure เมื่อปี 2021
Square Enix ออกชุดการ์ดสะสม Final Fantasy VII โดยขายเป็นซอง ซองละ 440 เยน (ประมาณ 115 บาท) ได้การ์ด 6 ใบ และการ์ดดิจิทัล 1 ใบที่นำไปแลกเป็นการ์ดเวอร์ชัน NFT ได้บนเว็บ (ในชุดมีการ์ดทั้งหมด 207 ใบ)
Square Enix ระบุว่าใช้ ระบบ Efinity ของบริษัท Enjin (รันอยู่บนเชน Polkadot อีกที) การใช้งานจำเป็นต้องมีบัญชีและแอพวอลเล็ตของ Enjin ด้วย อย่างไรก็ตาม NFT ชุดนี้ไม่สามารถนำไปขายต่อได้ และหากระบบของ Enjin หยุดให้บริการในอนาคต ก็มีความเสี่ยงที่จะเข้าไปดูการ์ด NFT ไม่ได้อีก
Stephane Kasriel หัวหน้าฝ่ายฟินเทคและธุรกิจการค้าของ Meta โพสต์ข้อความในทวิตเตอร์ บอกว่าบริษัทเตรียมปิดการทำงานฟีเจอร์แสดงผลงานสะสมดิจิทัล อย่างเช่น NFT ทั้งใน Instagram และ Facebook "ในตอนนี้" (for now) โดยบอกว่าจะปรับโฟกัสการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มาสนับสนุนครีเอเตอร์ ผู้ใช้งาน และภาคธุรกิจในรูปแบบอื่นต่อไป
Instagram เริ่ม ทดสอบการแสดงภาพ NFT มาตั้งแต่พฤษภาคมปีที่แล้ว จากนั้นเพิ่มการ ทดสอบไปยัง Facebook และ Instagram ก็ขยายการรองรับ NFT ไปยังครีเอเตอร์กว่า 100 ประเทศ ใน เดือนสิงหาคม
Spotify ได้ทดสอบระบบเพลย์ลิสต์แบบใหม่ ซึ่งฟังได้เฉพาะผู้ที่ถือโทเค็นที่กำหนดเท่านั้น เบื้องต้นทดสอบเฉพาะบน Android กับผู้ใช้งานในบางประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ ส่วน iOS ไม่รองรับเนื่องจากข้อกำหนดเกี่ยวกับ NFT ของแอปเปิล
เบื้องต้น Spotify ทดสอบระบบดังกล่าวกับผู้ออก NFT เช่น Kingship หรือ Overlord โดยเมื่อผู้ใช้งานกดเข้าฟังเพลย์ลิสต์ ระบบจะให้เชื่อมต่อวอลเลตเพื่อยืนยันข้อมูลการถือครอง เช่น MetaMask หรือ Ledger เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนก็จะเข้าฟังเพลย์ลิสต์นั้นได้
ที่ผ่านมา Spotify มีแนวทางรองรับการใช้งานร่วมกับ NFT อยู่แล้ว เมื่อปีที่แล้วก็ทดสอบให้ ศิลปินสามารถแสดงผลงาน NFT ในหน้าโปรไฟล์ได้
OpenSea ตลาดซื้อขาย NFT รายใหญ่ ประกาศปรับนโยบายสำคัญ 2 ข้อ อย่างแรกคือยกเลิกค่าธรรมเนียมซื้อขายชั่วคราว (ไม่บอกว่านานแค่ไหน) เพื่อกระตุ้นธุรกรรมการซื้อขาย NFT หลังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่ไม่มีค่าธรรมเนียมอย่าง Blur จนทำให้ยอดธุรกรรมของ OpenSea ลดลง
อย่างที่สองคือเปลี่ยนเงื่อนไขส่วนแบ่งรายได้ในการขายต่อ (creator earning) ที่ผู้สร้างชิ้นงานจะได้ส่วนแบ่งด้วยหาก NFT ชิ้นนั้นขายต่อได้ (สูงสุดไม่เกิน 10%) ของเดิม OpenSea กำหนดเงื่อนไขนี้เป็นค่าดีฟอลต์ แต่รอบนี้เปลี่ยนเป็นให้เลือกเองได้ (optional) แทน
ลีกฟุตบอล Premier League ของอังกฤษ เซ็นสัญญากับ Sorare บริษัทเกมกีฬา web3/blockchain เป็นระยะเวลานาน 4 ปี ให้อนุญาตนำข้อมูลนักเตะและการแข่งขันไปขายเป็นการ์ดดิจิทัลได้
เกมของ Sorare เหมือนกับเกมจัดตัวนักเตะจำพวก Fantasy Football ทั่วไป ที่นำนักเตะมาจัดทีมและคิดคะแนนตามผลการแข่งขันจริง จุดต่างสำคัญคือ Sorare ขายเป็นการ์ดนักเตะที่ใช้เทคโนโลยี NFT ยืนยันการเป็นเจ้าของการ์ด เพื่อให้ซื้อขายเปลี่ยนมือการ์ดกันได้ ผู้ชนะการแข่งขันจะได้รางวัลเป็นการ์ดรุ่นพิเศษ หรืออาจเป็นเหรียญ ETH ก็ได้เช่นกัน
Devin Finzer ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง OpenSea ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ถึงอนาคตของวงการ NFT ที่ช่วงหลังซบเซาลงมากเพราะตลาดคริปโตขาลงในปี 2022
Finzer มองว่าแม้ตลาดคริปโตขาลง แต่ NFT ยังมีอนาคต เพราะลูกค้ายังสามารถซื้อ NFT ด้วยเงินจริง เพื่อนำไปเป็นของสะสม จัดแสดงทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้อยู่ดี เขาบอกว่าไม่จำเป็นที่ต้องซื้อ NFT ด้วยเงินคริปโตเสมอไป รูปแบบการใช้งานจะกว้างขวางขึ้นกว่าวงการคริปโต
ก่อนหน้านี้ มีบริษัทวิจัยบล็อกเชน ประเมินว่ามูลค่าธุรกรรมของ OpenSea ลดลงถึง 99% นับจากจุดสูงสุด และ OpenSea เองก็ต้องปลดพนักงานออก 20% เมื่อกลางปีนี้
เทคโนโลยี nonfungible token (NFT) ที่เก็บตัว token บนบล็อกเชน อาจเก็บรักษา token ได้ตลอดไป (ตราบเท่าที่เชนยังรันอยู่) แต่ตัวไฟล์ภาพหรือสื่อที่ผูกกับ token นั้นๆ ไม่ได้ถูกเก็บลงบล็อกเชนด้วย ซึ่งมีโอกาสสูญหายได้
ล่าสุดมีคนไปพบว่าไฟล์ภาพ NFT ที่ถูกสร้างและโฮสต์ไว้กับเซิร์ฟเวอร์ของ FTX (ตัว token อยู่บนบล็อกเชน Solana) กลายเป็นภาพว่างๆ ไปซะแล้ว ( ลิงก์ตัวอย่าง ) เพราะโดเมนเนม ftx.us ถูกเปลี่ยนหน้าเว็บ redirect ไปยัง หน้าข้อมูลของการล้มละลาย แทน และยังไม่ชัดเจนว่าจะตามกลับมาได้หรือไม่
พรรคเพื่อไทย นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย แถลงนโยบายหาเสียงเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 โดยมีส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายด้านดิจิทัล-เทคโนโลยีดังนี้
- ใช้ NFT มาช่วยในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
- สร้าง Blockchain ของประเทศไทยเอง เพื่อใช้ซื้อขายสินค้าเกษตร และสินค้าที่เกิดจากนโยบาย softpower ของพรรค
- ผลักดันการใช้เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency หรือ CBDC) เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชัน
- ผลักดันนโยบายรัฐบาลดิจิทัลเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบงบประมาณได้
การแถลงนโยบายรอบนี้ยังไม่มีการลงรายละเอียดของแต่ละนโยบายแต่ละข้อมากนัก ยังเป็นการเปิดตัวว่ามีนโยบายอะไรบ้างเท่านั้น
Coinbase ประกาศว่าต้องปิดฟีเจอร์ NFT ในแอพเวอร์ชัน iOS หลังได้รับแจ้งจากแอปเปิลว่าต้องจ่ายส่วนแบ่ง 30% ด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่ยอมให้แอพขึ้น App Store
ข้อมูลของ Coinbase บอกว่าแอปเปิลบังคับให้การจ่ายค่าแก๊สเพื่อโอน NFT จำเป็นต้องจ่ายผ่าน In-App Purchase (IAP) ของ App Store ด้วย ซึ่ง Coinbase บอกว่าไม่สามารถทำได้เพราะ IAP ของแอปเปิลยังไม่รองรับการจ่ายด้วยเงินคริปโต ดังนั้น Coinbase จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องถอดฟีเจอร์นี้ออกชั่วคราว
Meta เตรียมจะเปิดให้ครีเอเตอร์สร้างสรรค์และขายผลงาน NFT ผ่านทาง Instagram ได้โดยตรงทั้งภายในแอปเองและลิ้งก์ออกไปนอกแอป แม้ว่ามูลค่าการซื้อขายผลงาน NFT จะตกลงถึง 90% ในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมกราคมที่กำลังได้รับความนิยมสูงสุด
นอกจากนี้ ยังเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ให้แฟนคลับสามารถสนับสนุนครีเอเตอร์ได้ผ่านการสมัครสมาชิกรายเดือนเพื่อชมคอนเทนต์พิเศษ รวมทั้งเพิ่มฟีเจอร์ “stars” และ “gifts” ที่ผู้ใช้สามารถกดซื้อเพื่อให้ครีเอเตอร์ได้รับรายได้
Meta กำลังมองหาช่องทางการเพิ่มรายได้ใหม่หลังจากที่รายได้จากการโฆษณาลดลง รวมถึงต้องแข่งขันกับแอปอย่าง TikTok โดยมองว่าการให้ขายผลงาน NFT บน Instagram จะทำให้ครีเอเตอร์และแฟนคลับเข้ามาใช้แอปมากขึ้น
Will Wright บิดาผู้ให้กำเนิดเกม Sim City และ The Sims ( ลาออกจาก Maxis เมื่อปี 2009 ) ล่าสุดประกาศทำเกมใหม่ชื่อ VoxVerse ที่ระบุว่าเป็นเกมบนบล็อกเชน
หลัง Wright ลาออกจาก Maxis เขาเงียบหายไปพักใหญ่ๆ ก่อนกลับมาในปี 2018 เปิดตัวสตูดิโออินดี้ชื่อ Gallium Studios (ร่วมกับ Lauren Elliott อดีตเพื่อนร่วมงาน และผู้สร้างเกม Where in the World is Carmen Sandiego) พัฒนาเกมซิมูเลชันบนมือถือชื่อ Proxi ที่จนบัดนี้ก็ยังพัฒนาไม่เสร็จ