ต่อจากข่าว อาสาสมัคร Wikipedia เสนอให้หยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโต มีคนโหวตเห็นด้วย 71% ทางมูลนิธิ Wikimedia Foundation ประกาศหยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโตตามข้อเสนอแล้ว โดยจะปิดบัญชี Bitpay ทำให้ไม่สามารถรับเงินเป็นคริปโตได้อีก
ข้อเสนอของเหล่าอาสาสมัครให้เหตุผลหลัก 3 ข้อที่ควรเลิกรับคริปโตคือ การรับบริจาคเงินคริปโตเป็นการส่งสัญญาณว่ามูลนิธิสนับสนุนการใช้เงินคริปโต, เงินคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของมูลนิธิ, ตัวองค์กรเสียชื่อเสียงจากการรับเงินคริปโต
เมื่อต้นปีนี้ Mozilla Foundation ก็หยุดรับบริจาคเป็นเงินคริปโต ด้วยเหตุผลเรื่องสิ่งแวดล้อม
- Read more about Wikimedia Foundation ประกาศหยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโตแล้ว
- Log in or register to post comments
กลุ่มอาสาสมัคร Wikipedia ระดับ editor จำนวนประมาณเกือบ 400 ร่วมกันโหวตข้อเสนอให้มูลนิธิ Wikimedia Foundation ที่ดูแล Wikipedia หยุดรับเงินบริจาคเป็นคริปโต
ข้อเสนอนี้มีเหตุผลหลัก 3 ข้อคือ การรับบริจาคเงินคริปโตเป็นการส่งสัญญาณว่ามูลนิธิสนับสนุนการใช้เงินคริปโต, เงินคริปโตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งขัดแย้งกับเป้าหมายของมูลนิธิ, ตัวองค์กรเสียชื่อเสียงจากการรับเงินคริปโต โดยยก กรณีของ Mozilla ที่ตัดสินใจหยุดรับเงินคริปโต
รัสเซียขู่จะบล็อคเว็บไซต์ WIkipedia ภาษารัสเซียเนื่องจากบทความเรื่อง รัสเซียบุกยูเครนปี 2022 โดยทางการรัสเซียอ้างว่าบทความดังกล่าวเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมาย
สำหรับเหตุผลที่รัสเซียไม่พอใจบทความนี้ เนื่องมาจากในบทความมีรายงานเกี่ยวกับจำนวนคนตายของเจ้าหน้าที่รัฐฝั่งรัสเซียและประชาชนและเด็กชาวยูเครน โดย Roskomnadzor หน่วยงานควบคุมด้านการสื่อสารของรัสเซียต้องการให้นำข้อมูลนี้ออกจากบทความ
ตอนนี้บทความดังกล่าวถูกป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนแก้ไข และผู้ที่จะแก้ไขได้จะต้องมีสถานะเป็นบรรณาธิการของ Wikipedia เท่านั้น
Wikimedia Foundation เปิดตัวบริการใหม่ Wikipedia Enterprise โดยจับกลุ่มบริษัทที่ต้องการใช้ข้อมูลจาก Wikipedia ให้บริการ clean up ข้อมูลเบื้องต้นก่อนนำไปใช้งาน
ตอนนี้ Wikimedia ยังไม่ได้กำหนดว่า Wikipedia Enterprise จะทำอะไรได้บ้าง แต่รายละเอียดคร่าว ๆ คือจะเป็น API เวอร์ชันพรีเมียมสำหรับผู้ใช้องค์กรที่ต้องการนำข้อมูลจาก Wikipedia ไปใช้งาน โดยตัว API จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการนำข้อมูลบน Wikipedia ไปใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่แสดงจะเป็นข้อมูลที่ผ่านการแก้จากชุมชนมาแล้วเป็นระยะเวลาหนึ่ง แทนที่จะแสดงข้อมูลล่าสุด (ซึ่งอาจจะเพิ่งโดนแก้ให้ผิดไปในระยะเวลาไม่นานนัก)
Wikimedia Foundation หน่วยงานแม่ของ Wikipedia และโครงการอื่นๆ ในเครือ เปิดตัว Wikimedia Enterpriseเป็นบริการ API เพื่อเข้าถึงข้อมูลของโครงการในสังกัด แบบคิดเงินสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร
ตัวโครงการของ Wikimedia ทั้งหมดจะยังเป็นเนื้อหาฟรีเช่นเดิม แต่สำหรับองค์กรที่อยากดึงข้อมูลจำนวนมากแบบเรียลไทม์ (bulk and realtime) ต้องมาจ่ายเงินเพื่อใช้ API ตัวนี้แทน (ตอนนี้ยังไม่เสร็จ ยังไม่มีราคา คาดว่าจะออกเวอร์ชันแรกในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2021)
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ร่วมกับ Wikimedia Foundation เจ้าของวิกิพีเดีย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ COVID-19 สามารถใช้งานอินโฟกราฟิก, ข้อมูลตัวอักษร, ภาพและวิดีโอ ออกไปได้ไม่ติดลิขสิทธิ์ เพราะอยู่ภายใต้เงื่อนไข Creative Commons Attribution-ShareAlike
Wikipedia ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี 2001 โดยใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ที่เขียนขึ้นในยุคนั้น ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายส่วนที่เริ่มล้าสมัยแล้ว
มูลนิธิ Wikimedia Foundation ในฐานะผู้ดูแลโครงการ Wikipedia จึงพยายาม "ยกเครื่อง" ซอฟต์แวร์ MediaWiki ให้ทันสมัยขึ้น หนึ่งในแผนการคือเปลี่ยนมาใช้เฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ตัวใหม่ๆ แทน jQuery ที่ใช้มานาน และ เฟรมเวิร์คของตัวเองที่ชื่อ OOUI
คณะทำงานมีเกณฑ์การคัดเลือกเฟรมเวิร์คหลายข้อ เช่น ต้องนิยาม UI แบบ declarative, ตัว UI ต้องอัพเดตแบบ reactive (ตามการป้อนข้อมูลของผู้ใช้), เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่มีชุมชนเหนียวแน่น, ประสิทธิภาพสูง, ยืดหยุ่นต่อการใช้งานหลายสถานการณ์
กระทรวงเทคโนโลยีและไอทีของอินเดีย เสนอกฎหมายที่ระบุว่า แอปพลิเคชั่นตัวกลาง หรือผู้ให้บริการออนไลน์ใดๆ ที่มีผู้ใช้ 5 ล้านรายขึ้นไป ต้องจัดตั้งสำนักงานท้องถิ่นและมีผู้บริหารระดับสูงในประเทศที่สามารถรับผิดชอบต่อปัญหาทางกฎหมายได้ วัตถุประสงค์ของกฎหมายคือ ให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ปลอดภัย จึงต้องการคนกลางในการปิดการเข้าถึงเนื้อหาอันตราย ผิดกฎหมาย
ส่งผลให้วิกิมีเดียผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียแสดงความกังวลว่าจะกระทบต่อเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร Amanda Keton ที่ปรึกษาทั่วไปของมูลนิธิวิกิมีเดียบอกว่า กฎหมายอินเดียที่เสนอมานี้อาจสร้างภาระทางการเงินสำหรับองค์กรวิกิมีเดียที่ไม่แสวงหาผลกำไร และปิดกั้นสิทธิการแสดงออกอย่างอิสระสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอินเดีย การเสนอกฎใหม่ของอินเดียยังสร้างความกังวลให้บริษัทไอทีอื่นด้วย เช่น Mozilla, GitHub
Wikimedia Foundation องค์กรผู้ดูแลเว็บไซต์สารานุกรมเสรี Wikipedia ได้ระบุถึงการนำ machine learning มาใช้เพื่อประโยชน์ในการทำระบบการอ้างอิงของ Wikipedia
Wikimedia ระบุว่า กลไกสำคัญที่ทำให้ Wikipedia รักษาคุณภาพระดับสูงเอาไว้ได้นั่นก็คือ inline citation หรือการอ้างอิงในเนื้อหา ซึ่งการอ้างอิงเหล่านี้จะทำให้ผู้อ้างและผู้แก้ไขมั่นใจว่าข้อความในบทความนั้น ๆ สะท้อนแหล่งข้อความอย่างเที่ยงตรง ส่วนเนื้อหาอะไรที่ไม่มีแหล่งข้อมูลชัดเจน จะต้องถูกลบหรือมีการแปะว่า “ต้องการอ้างอิง”
Wikimedia Foundation เจ้าของวิกิพีเดีย ประกาศความร่วมมือกับ Google ให้ผู้ใช้งาน, คนทำเนื้อหา สามารถแปลบทความในวิกิพีเดียโดยใช้ Google Translate ได้โดยตรง
Wikimedia บอกว่าปัจจุบันภาษาที่ใช้ในวิกิพีเดียคิดเป็นสัดส่วน 3% ของภาษาทั้งหมดที่ใช้กันในโลก ซึ่งมีถึงราวกว่า 7,000 ภาษา เป้าหมายของวิกิพีเดียคือการให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ฟรีๆ นั้นยังอยู่อีกไกล Wikimedia จึงร่วมกับ Google นำ Google Translate เข้ามาใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการแปลให้แก่คนทำเนื้อหา โดยผนวกเอาเครื่องมือเข้ามาบนวิกิพีเดียโดยตรง ตามภาพด้านล่าง
Wikimedia Foundation ประกาศว่า Facebook ได้ร่วมบริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์ ให้กองทุน Wikimedia Endowment ที่รับผิดชอบโครงการของ Wikipedia
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia กล่าวว่ารู้สึกยินดี และถือเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือกับ Facebook ในระยะยาวเพื่ออนาคตของ Wikipedia เพื่อการเป็นแหล่งความรู้ฟรีสำหรับทุกคน
ก่อนหน้านี้ผู้บริหาร Wikimedia เคยออกมาเรียกร้องให้บริษัทไอทีรายใหญ่ช่วยกันบริจาคสนับสนุน Wikipedia และก็มี Amazon ที่ประกาศ บริจาค 1 ล้านดอลลาร์ ไปเมื่อเดือนกันยายน
ที่มา: Wikimedia
Wikipedia เพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับเว็บไซต์บนเดสก์ท็อป คือการพรีวิวหน้าเว็บเมื่อชี้ไปที่ลิงก์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่สนใจได้ก่อนที่จะคลิกลิงก์
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกำลังเข้าไปที่หน้า Andromeda Galaxy ซึ่งอาจจะเจอคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยอย่าง spiral galaxy ซึ่งผู้ใช้อาจจะต้องคลิกลิงก์เพื่อให้เข้าไปยังหน้า Wikipedia ที่อธิบายเรื่องนั้นโดยตรง แต่ด้วยฟีเจอร์ใหม่นี้ ผู้ใช้เพียงเอาเมาส์ชี้ไปที่ลิงก์ก็จะแสดงประโยคคร่าว ๆ พร้อมภาพประกอบ ซึ่งถ้าผู้ใช้สนใจเนื้อหานั้น ๆ สามารถคลิกเข้าไปอ่านต่อได้
Wikimedia Foundation มูลนิธิที่ดูแลโครงการ Wikipedia ออกแถลงการณ์หลังซีอีโอ YouTube บอกว่า จะแสดงลิงก์ Wikipedia ควบคู่กับวิดีโอแสดงทฤษฎีสมคบคิดทั้งหลาย โดย Wikipedia บอกว่า YouTube ไม่เคยแจ้งให้ทราบเรื่องนี้มาก่อน ฉะนั้นการแสดงลิงก์นี้จึงไม่ใช่ความร่วมมือใดๆ อย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม Wikipedia บอกว่ารู้สึกยินดีที่องค์กรต่างๆ ให้คุณค่ากับ Wikipedia ในแง่ศูนย์รวมข้อมูลความรู้ ที่อยู่ได้โดยการรับเงินบริจาคจากคนกว่า 6 ล้านคน และมีผู้ร่วมเขียนเนื้อหาจำนวนมาก โดยมีชุมชนตรวจสอบให้เนื้อหามีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
หลังจากที่ Wikimedia Foundation มูลนิธิหลักที่ดูแล Wikipedia เปิดให้บริการ Wikipedia Zero บริการเข้าถึง Wikipedia สารานุกรมออนไลน์ฟรีโดยไม่คิดค่าอินเทอร์เน็ตผ่านความร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่าย (แบบเดียวกับ Free Basics ของ Internet.org ซึ่งประเทศไทยมีเครือข่ายอย่าง DTAC เข้าร่วม ) มาตั้งแต่ปี 2012 ล่าสุด มูลนิธิออกมาประกาศเลิกโครงการดังกล่าวแล้ว
Lila Tretikov ผู้อำนวยการของมูลนิธิ Wikimedia Foundation องค์กรแม่ของ Wikipedia และเว็บในเครือ ยื่นจดหมายลาออกแล้ว ด้วยเหตุผลเรื่องความไม่โปร่งใสของ โครงการพัฒนาระบบค้นหา Knowledge Engine
เรื่องเดิมคือ Wikimedia Foundation รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิ Knight Foundation จำนวน 250,000 ดอลลาร์ เพื่อพัฒนา search engine แข่งกับบริษัทอื่นๆ แนวทางนี้ถูกคัดค้านจากชุมชนผู้ใช้งานบางกลุ่มที่มองว่า Wikipedia ควรเป็นแค่สารานุกรมดังเดิม ความขัดแย้งนี้ทำให้ Wikimedia Foundation พยายามหลบซ่อนไม่เปิดเผยว่าได้รับเงินก้อนนี้ (รับเงิน ก.ย. 2015 แต่มาเปิดเผยเดือน ก.พ. 2016)
มูลนิธิ Wikimedia Foundation หน่วยงานแม่ของ Wikipedia เปิดเผยว่าได้รับทุนจากมูลนิธิ Knight Foundation จำนวน 250,000 ดอลลาร์ เป็นเงินลงทุนตั้งต้นสำหรับโครงการ Knowledge Engine ที่จะพัฒนา Wikipedia จากสารานุกรม ไปเป็นเครื่องมือค้นหาในท้ายที่สุด
Wikimedia Foundation ได้รับเงินก้อนนี้มาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว แต่เพิ่งมาเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตัวโครงการมีนิยามว่าเป็นระบบค้นหาข้อมูล (a system for discovering information) ที่น่าเชื่อถือบนอินเทอร์เน็ต โดยอิงเนื้อหาและข้อมูลจาก Wikipedia และโครงการอื่นในเครือ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ม.ค.) สารานุกรม Wikipedia ฉลองอายุครบ 15 ปี ซึ่งชุมชนผู้เขียน Wikipedia ในแต่ละประเทศก็มีกิจกรรมแตกต่างกันไป รายละเอียดของการฉลองดูได้จากเว็บเฉพาะกิจ Wikipedia 15
ส่วนองค์กรแม่ Wikimedia Foundation ก็ประกาศโครงการ Wikimedia Endowment เพื่อระดมทุนสนับสนุน การันตีว่า Wikipedia จะมีเงินสนับสนุนต่อเนื่องในอนาคต เป้าหมายเบื้องต้นคือต้องการระดมทุน 100 ล้านดอลลาร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ที่มา - Wikimedia Foundation
- Read more about Wikipedia อายุครบ 15 ปีแล้ว
- 3 comments
- Log in or register to post comments
Wikimedia Foundation มูลนิธิผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia เปิดตัวเว็บ Wikimedia Public Policy ประกาศแนวทางของทาง Wikimedia ต่อนโยบายสาธารณะ มี 5 ประเด็นหลักที่ทางมูลนิธิแสดงท่าทีชัดเจน ได้แก่ การเข้าถึง (access), การปิดกั้นเนื้อหา (censorship), ลิขสิทธิ์ (copyright), การปกป้องตัวกลาง (intermediary protection), และความเป็นส่วนตัว (privacy)
Wikimedia Foundation ผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia และเว็บอื่นๆ ในเครือจำนวนมากประกาศว่าตอนนี้ การย้ายเว็บทั้งหมดไปใช้ HTTPS ตั้งแต่ปี 2013 เริ่มเข้ามาถึงช่วงสุดท้าย
นอกจากการเปิด HTTPS แล้ว ทาง Wikimedia จะเปิดใช้ HSTS เพื่อบังคับให้เบราว์เซอร์เข้าเว็บแบบ HTTPS ตลอด
ทาง Wikimedia คาดว่าจะใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์เพื่อให้เว็บทั้งหมดบังคับใช้ HTTPS ตอนที่เขียนอยู่นี้ผมทดสอบ th.wikipedia.org พบว่ายังไม่บังคับ แต่ en.wikipedia.org บังคับแล้ว ตอนนี้ถ้าใครเข้าเว็บภาษาอังกฤษก็จะพบว่าเบราว์เซอร์ไม่ส่งข้อมูลที่ไม่เข้ารหัสออกจากเบราว์เซอร์แล้ว
Wikimedia Foundation องค์กรผู้ดูแล Wikipedia และเว็บอื่นในเครือ ยื่นฟ้อง National Security Agency (NSA) และกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ (DOJ) ในประเด็นว่า NSA สอดส่องประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกรณี 'upstream surveillance' หรือการเจาะเข้าไปในโครงข่ายหลักของอินเทอร์เน็ตเพื่อดักข้อมูลระดับ ISP
เป้าหมายของ Wikimedia คือใช้กระบวนการทางศาลสั่งให้ NSA ยุติโครงการสอดส่องนี้ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ใช้งานทั่วโลก ส่วน Jimmy Wales ผู้ก่อตั้ง Wikipedia แถลงว่าการสอดส่องทำลายคุณประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในเรื่องพื้นที่เปิดที่ทุกคนมีเสรีภาพและไม่ต้องกลัวใคร
หลังจากที่มีประเด็นที่ ศาล EU สั่ง Google ลบผลการค้นหาตามคำร้องขอ เพราะ "คนเรามีสิทธิ์ที่จะถูกลืม" ที่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์หลาย ๆ เว็บ ซึ่งรวมไปถึง Wikipedia ด้วย
ข่าวลิขสิทธิ์ภาพเซลฟี่ลิงกลายเป็นประเด็นสำคัญทั่วโลก แต่ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นข่าวขึ้นมาได้เพราะทาง Wikimedia หน่วยงานผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia และเว็บในเครือได้เปิดรายงานความโปร่งใส (transparency report) ออกมาต่อสาธารณะ
รายงานมีหัวข้อสำคัญคือการขอข้อมูลผู้ใช้ ปรากฎว่า Wikipedia มีการข้อข้อมูลผู้ใช้น้อยมากเมื่อเทียบกับกูเกิลหรือเฟซบุ๊ก และตั้งแต่กลางปี 2012 จนถึงตอนนี้ทาง Wikimedia เคยให้ข้อมูลเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับคดีแพ่งและอาญาเพียง 8 กรณีในสหรัฐฯ เท่านั้น ที่เหลือถูกปฎิเสธทั้งหมด
ที่เป็นประเด็นคือกรณีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากการร้องขอของผู้เกี่ยวข้อง นอกจากกรณี ภาพเซลฟี่ของลิง แล้ว ยังมีกรณีอื่นๆ
- Read more about ข้อมูลอื่นๆ จากรายงานความโปร่งใสของ Wikimedia
- 3 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อวานนี้ทาง Wikimedia Foundation ได้ประกาศผ่านบล็อกว่าเปิดรับเงินบริจาคในรูปแบบ Bitcoin แล้ว
Wikimedia Foundation ระบุว่าได้รับคำร้องขอจากทางสมาชิกในการรับเงินบริจาคเป็นสกุลเงินดิจิทัล ภายหลังจากศึกษาเรื่องทางเทคนิคและทางกฎหมาย ก็พร้อมรับเงินบริจาคในรูปแบบของ Bitcoin แล้ว โดยจะทำการแลกเปลี่ยนผ่านทาง Coinbase เช่นเดียวกับ Dell แต่จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมเนื่องจากเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ปัจจุบัน Wikimedia Foundation รองรับการบริจาคกว่า 13 รูปแบบจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก ใครสนใจจะบริจาคเชิญได้ที่ หน้ารับบริจาคของ Wikimedia ครับ
- Read more about Wikimedia รับการบริจาคด้วย Bitcoin แล้ว
- Log in or register to post comments
หอจดหมายเหตุสหรัฐฯ (US National Archives and Record Administration - NARA) เตรียมอัพโหลดข้อมูลทั้งหมดขึ้นไปยัง Wiki Commons ที่ดูแลโดย Wikimedia มูลนิธิผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Open Government Plan โดยตั้งเป้าว่าจะอัพโหลดข้อมูลทั้งหมดจากเดิมที่ตอนนี้มีข้อมูลของ NARA บางส่วน ได้แก่ เอกสารทางการของรัฐบาลใน Wikisource, และภาพจากหอสมุดมากกว่าหนึ่งแสนภาพอยู่บน Wiki Commons อยู่แล้ว
กระบวนการอัพโหลดครั้งนี้ต้องอาศัยบอตอัตโนมัติเพื่อไล่ดูดข้อมูลจาก NARA แล้วอัพโหลดขึ้นไปยัง Commons โดยคงข้อมูลให้ครบ สำหรับตัวบอตเองก็ เปิดซอร์สอยู่ที่ GitHub ให้เข้าไปช่วยกันแก้ปัญหาได้
- Read more about หอจดหมายเหตุสหรัฐฯ ส่งข้อมูลทั้งหมดขึ้น Wikimedia
- 3 comments
- Log in or register to post comments
ข่าวนี้ต่อเนื่องจาก Wikipedia ลงดาบกว่า 250 บัญชีผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินเพื่อสร้างบทความ ที่มีบริษัทชื่อ Wiki-PR รับเงินมาสร้างบัญชีปลอมจำนวนมากในการแก้เนื้อหาใน Wikipedia ให้เป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ (ศัพท์เทคนิคเรียก sockpuppetry หรือ meatpuppetry)
ล่าสุด Wikimedia Foundation ในฐานะองค์กรแม่ของ Wikipedia ก็ส่งจดหมายแจ้งเตือนให้หยุดการกระทำ (cease and desist letter) ไปยังบริษัท Wiki-PR แล้ว โดยอ้างเหตุผลว่าการกระทำของ Wiki-PR นั้นผิดเงื่อนไขการใช้งานของ Wikipedia
Wikimedia Foundation บอกว่าจะจับตาดูสถานการณ์ต่อไปว่าจะได้ผลแค่ไหน ถ้ายังไม่ได้ผลอีกก็จะขยับไปใช้มาตรการอื่นๆ ต่อไป