เกิดดราม่าเรื่องลิขสิทธิ์นิยายขึ้น เมื่อ กศน.อำเภอ และ กศน.จังหวัด ผู้ดูแลห้องสมุดประชาชนออนไลน์สแกนไฟล์นิยายขึ้นเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนออนไลน์ให้อ่านฟรี ระบุเป็นเจตนาดีเพื่อให้ประชาชนได้อ่านหนังสือฟรีในยุคโควิด จนนักเขียนนิยายเตรียมดำเนินการทางกฎหมายข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์
ล่าสุด ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ให้สัมภาษณ์ว่าได้สั่งให้ลบไฟล์ดังกล่าวแล้ว ชี้เป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ภาพจากหน้าเว็บไซต์ E-Library
ดร.วรัท บอกว่าเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมาที่มีตัวแทนสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย มาเข้าพบเพื่อแจ้งว่ากศน.ได้ละเมิดลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์ สแกนหนังสือของสำนักพิมพ์ขึ้นเว็บไซต์ของห้องสมุดประชาชนออนไลน์ ทันทีที่ทราบเรื่องก็ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ถึงผู้อำนวยการสำนักงานกศน.จังหวัดทุกจังหวัดให้ลบออก แต่หนังสือสั่งการยังไปไม่ถึงระดับปฏิบัติ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 จึงทำหนังสือย้ำอีกครั้ง พร้อมเปิดทางให้สำนักงานกศน.จังหวัดจัดซื้ออีบุ๊กที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและประชาชนได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
อย่างไรก็ตาม มีหนังสือบางเล่มที่ไม่ได้สังกัดสำนักพิมพ์ยังคงถูกเผยแพร่ ดร.วรัท บอกว่าจะกำชับอีกครั้ง
ที่มา - มติชน
Comments
ส่งด้วยนกพิราบก็ไม่น่าจะช้าขนาดนั้นนะ ?
Jusci - Google Plus - Twitter
หาทำจริง ๆ
ด่วนที่สุด 24 มิย 11 สิงหายังไม่ถึงมือคนทำงาน อ่อม
เปิดทางให้ซื้ออีบุค โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าอีบุคเค้าไม่ได้ให้ลิขสิทธ์ไว้เผยแพร่ มันก็ผิดอยู่ดีรึเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจว่าจะเข้าใจกันมั้ย
นี่ขนาดด่วนที่สุด ถ้าหนังสือแจ้งเฉยๆจะขนาดไหน กินเที่ยงบ้างเถอะ
สงสัยติดต่อไปหลายระดับเหลือเกิน แล้วคนระดับ C สูง ๆ คงคิดว่าไม่สำคัญมาก ถ้าหากไม่ด่าก็คงไม่เร่ง
Coder | Designer | Thinker | Blogger
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ ไม่มีจิตสำนึก กันแน่นะ
ติดยศขนาดนั้น มีหรือจะมารู้เท่าไม่ถึงการณ์กับเรื่องแค่นี้ คงจะไม่มีจิตสำนึกเรื่องลิขสิทธิ์อยู่แล้วตามสไตล์คนไทยอ่ะครับ ใครจะว่าเหมารวมก็ว่าไป ประเทศเรามีมุมมองเรื่องลิขสิทธิ์แย่มาก
ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับหัวข้อข่าวรึเปล่านะครับ ผมเคยทำงานเป็นครูที่ กศน. ทั้งที่สภาพแวดล้อมการทำงานกับเหล่าผู้อยู่มาก่อน ไม่ได้ดีเท่าไหร่ (บ้างก็ถึงขั้นแย่) และกรอบงานที่ทำก็ไม่เหมาะกับตัวเอง แต่ก็อุตส่าห์อดทนทำมาถึงสามปีกว่า ๆ จนได้งานใหม่ อย่างไรก็ตามผมชื่นชมในระบบ กศน. ที่เก็บและปั้นคนที่ตกหล่นจากการศึกษาในระบบ แม้ว่าคนในบางส่วนจะลดคุณค่าองค์กรของตัวเองก็ตาม
ส่งด่วนที่สุดนี่ก็รีบ line แจกเข้าไปในกลุ่มก็ได้ ตัวจริงค่อยตามไปทีหลัง หรือไม่ก็ออกเป็นคำสั่งเลยก็ได้ จะได้ไม่ต้องเวียนให้เหนื่อย แหม่
I need healing.
เหมือนกับว่าต้องรอแต่ละจังหวัดสั่งลบ
แปลว่าแต่ละจังหวัดต่างคนต่างเก็บข้อมูล แยกกันหมดเลย?
ส่วนกลางไม่สามารถเข้าถึง,แก้ไข,จัดการได้เลย?
ยุค internet ของอยู่บน online แต่ยังต้องสั่งการแต่ละจังหวัดลบ?
ราชการชัดๆ อารมณ์เหมือน web เปิดเวลาราชการเลย
เขามีเว็บหน่วยงานแยกไปแต่ละส่วนเปล่าครับ เจอบางทีศุนย์ ตจว. ก็มีเว็บ PR เป็นของตัวเองหมดเลย
จากที่เคยรับงานกับองค์กรแนว ๆ นี้นะครับจะเจอปัญหาว่าเว็บหลักส่วนกลางขององค์กร จะมีจนท. ดูแลอยู่คน แล้วเวลาสาขาหรือศูนย์ต่างจังหวัดจะทำอะไรก็จะต้องทำหนังสือวุ่นวาย และต่อให้ผู้บริหารอนุมัติแล้ว ก็ยังต้องรอให้จนท.ที่ดูแลดำเนินการให้
เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ไปดูนิทรรศการ อะไรเนี่ย ในแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์ประจำจังหวัด และมีเว็บส่วนกลางให้แต่ละจังหวัดได้เข้าไปใช้งานแต่ทีนี้เวลาจังหวัดไหนจะจัดงานอะไร จะแก้ไขเว็บอย่างไร มันจะไม่สะดวกเพราะติดที่ข้อจำกัดโน่นนี่เยอะไปหมด โดยเฉพาะ จัดการเกี่ยวกับโดเมน ขอ subdomain อะไรพวกนี้รอเป็นเดือน เผลอ ๆ หนังสือหายต้องส่งเรื่องใหม่
สุดท้ายศูนย์ต่างจังหวัดก็เลยจดโดเมนเอง เช่าโฮสเอง ทำเว็บเองแบบที่ไม่ยุ่งเกี่ยวอะไรกับส่วนกลางอีกเลย(นอกจากใช้ชื่อหน่วยงานเดียวกัน)
เพราะงั้น กศน.แต่ละจังหวัด ก็จะเป็นแบบเดียวกัน มีเว็บของตัวเองแยกเป็นเอกเทศเลย
หนักสุด ตณะในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งหนึ่งก็มีโดเมนมีเว็บของตนเองแยกออกมาจากวิทยาเขตด้วยเหมือนกัน
ล่าสุดเหตุเกิดวันนี้ ศูนย์ตจว.แห่งหนึ่งติดต่อให้ผมหาวิธีเข้าไปจัดการ web ของศูนย์ให้ เพราะจนท.ที่ดูแล(ซึ่งมีคนเดียว)ติดโควิดอยู่ในใน ICU ซึ่งจนท.คนอื่นที่เหลือไม่มีใครรู้เรื่องหรือจัดการเว็บเป็นเลย
ทำดี แต่นักเขียนแ..่นะ
น่าจะจ่าย นักเขียนไปบ้างน่ะ Win-Win ถ้าไม่เยอะมากกะรวยก็น่าจะไหวนะ
เห็นด้วยเลย คุยกับนักเขียน จ่ายเป็นรายเดือน / Pay per viewtime หรืออะไรสักอย่างก็ว่าไปจังหวะนี้ช่วยกันทำมาหากินก็ไม่เลวนะ
ด่วนนี่ scan เอกสารแล้วอีเมล์หรือโทรศัพท์ , Fax ไปเลยไหมมมม แป๊ปเดียวเอง
มันมีกี่ระดับอะ หนังสือแจ้ง ด่วน ด่วนที่สุด ด่วนที่ซู้ดดดด งี้ปะ
นี่โลกมนุษย์นะครับ นักเขียนเขาไม่ได้อิ่มทิพย์
องค์กรภาครัฐประเทศนี้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์มั่งเนี่ย -*-
Google ชนะคดีการสแกนหนังสือขึ้นบนระบบออนไลน์ ศาลชี้ว่าเป็นการใช้งานอย่างชอบธรรม
เหมือนตอน Google Books จะเป็นการเอาหนังสือที่หมดลิขสิทธ์แล้ว มา scan แจกฟรีนะครับ
ผมแปะเสริมเป็นข้อมูลให้ถกกันน่ะครับ
แล้วก็เท่าที่จำได้ มีลิขสิทธ์ก็เคย scan หมดนะครับแค่ไม่เปิดให้อ่าน ค้นหาได้อ่านรอบๆ ที่ค้นหาได้ ตอนหลังไม่รู้ปรับไปยังไงบ้าง
กรณี Google คือเอาหนังสือที่สิ้นสุดระยะเวลาลิขสิทธิ์มาสแกน แต่ในกรณี กศน. คือเจ้าของนิยายฟ้องเอง เพราะตัวผลงานยังมีลิขสิทธิ์อยู่
ึเรื่องการใช้งานอย่างเป็นธรรม (fair use) นี่เข้าใจว่าของไทยไม่ได้เขียนไว้ในตัวพรบ. เหมือนสหรัฐฯ (คุ้นๆ ว่ามี guideline ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา)
แต่ระดับของ fair use นี่ก็ต่างกันตามประเทศครับ ในกรณีของ Google นี่เขาบอกว่าไม่ได้แสดงทั้งหมด แค่แสดงแค่บางส่วนที่ตรงกับคำค้นเพื่อบอกว่าข้อมูลหนังสือนี้มีข้อความนี้เท่านั้น
อันนี้คนละเรื่องกับหนังสือหมดอายุลิขสิทธิ์ที่ทำได้แน่ๆ
lewcpe.com , @wasonliw
ขอบคุณครับ
เรื่องจิตสำนึก กฎหมายลิขสิทธิ์ ควรจะสอนกันตั้งแต่ ประถม นะ
(นอกเรื่องนิดหน่อย) แล้วแบบนี้ พวกหนังสือเสียงที่ลง youtube ก็เสี่ยงผิดลิขสิทธิ์เหมือนกันนะสิ?
(Not legal advice) อันนั้นเอาจริงก็ผิดนะครับ เพราะต่อให้เป็น fair use ก็กระทบการแสงหากำไรเจ้าลิขสิทธิ์อยู่ดี คิดว่าคงไม่คุ้มฟ้องไรงี้มากกว่า
แต่ถ้าเป็นกรณีหนังสือคนตาบอด มาตรา 32/4 อนุมาตรา 2 ยกเว้นไว้อยู่
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
สุดยอด ด่วนยังไงให้ดูไม่ด่วน
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
สักพัก กศน. ทำลิงก์ ให้ไปดูใน youtube scan แทน (ฟ้องกูเกิ้ลกันเอาเอง)
(ชี้โพรงให้งูหลาม) นึกถึงพวกนำการ์ตูนเล่มมาแปะบน youtube แล้วพากย์(อ่าน)เลย
ฟ้องคน promote link ไม่ได้หรอครับพรบ. คอมเรื่องลิขสิทธิ์ แบบเตือนแล้วยังไม่เลิกน่ะครับ พอดีหามาตราไม่เจอไม่รู้ว่าไม่มีหรือหาไม่เจอ
อ่านดราม่าเรื่องนี้ในFB อยู่ ตัวนักเขียนติดต่อศูนย์ตจว.ลำบากมาก ไม่ยอมขอโทษ มีท้าให้ฟ้องอีกตะหาก แถมฟ้องยาก เพราะเป็นหน่วยงานรัฐต้องฟ้องส่วนกลาง ต้องแต่งตั้งตัวแทนฯ แต่เหมือนแต่ละศูนย์ก็scanหนังสือกันเองตามคำสั่งส่วนกลาง เลยต้องติดต่อทีละศูนย์หาหลักฐานกันเอาเอง
ดราม่าตรงไม่ขอโทษแถมท้าทายให้ฟ้อง
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4560399327327758&set=pcb.4560213200679704
สงสัยว่าราชการเค้าด่วนกันยังไง เลยไปหาข้อมูลดู
เอามาจาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/test/index.php/topic/show/823
กำลังคิดว่าหนังสือน่ะด่วนที่สุด แต่การเดินทางของหนังสือจนกว่าถึงเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำมันไม่ด่วนตาม คิดดีสุดๆแล้วนะ
ทำได้ แต่ต้องมีการตกลงเรือ่งการยืมหนังสือ
แต่ด้วยความที่ ebook ยังไม่ใช่ NFT ก็คงอีกนาน แต่สุดท้ายฉันเองก็คงทำไรไม่ได้ซื้อหนังสือใน MEB กับ OOKBEE ต่อไปแต่
Park อะไรซักอย่างเขาทำหนังสือยืมอ่านนะ