ศิลปินชื่อ Kris Kashtanova เปิดเผยผ่านบัญชี Instagram ส่วนตัวว่าผลงานหนังสือนิยายประกอบภาพที่มีภาพที่สร้างจาก AI ของเขาได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในสหรัฐฯ ในวันที่ 15 กันยายน
หนังสือนิยายมีชื่อว่า Zarya of the Dawn ซึ่ง Kashtanova สร้างภาพประกอบโดยใช้ Midjourney โดยได้ยื่นต่อสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ ว่าใช้ AI เพื่อช่วยสร้างภาพประกอบ (ไม่ได้สร้างภาพทั้งหมดด้วย AI) เขาเขียนเรื่องราวและสร้างสรรค์การจัดวางรูปแบบหนังสือด้วยตนเอง
คำถามว่าผลงานที่สร้างขึ้นจาก AI ควรจะสามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ได้หรือไม่เป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีรูปภาพจาก AI ชนะการประกวด ทำให้เกิดข้อโต้แย้งซึ่งศิลปินบางส่วนก็มองว่าควรให้คุณค่ากับศิลปะที่มนุษย์สร้างมากกว่า นำไปสู่ การแบนภาพวาด AI ของชุมชนศิลปะ รวมถึง Getty Images ก็เพิ่งจะประกาศว่าจะ งดรับภาพจาก AI
ที่มา: Ars Technica
Comments
ให้ AI สร้างภาพ, แต่งเติมด้วยมือ, จดในนามตัวเอง
ลวดลายบนทุ่งหญ้าซึ่งไม่ใช่การสร้างสรรค์ของมนุษย์น่ะไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าถ่ายภาพลวดลายนั้น หรือวาด หรือนำไปผลิตด้วยวิธีใดก็ตามที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ผลงานนั้นมีลิขสิทธิ์ได้ครับ
สิทธิบัตร != ลิขสิทธิ์
หัวข่าวน่าจะเขียนผิดรึป่าว เป็นลิขสิทธิ์
เราคิดว่า น่าจะจดได้นะ เหมือนใช้ Tools แล้วจบด้วยฝีมือคนแต่ใครจะยอมรับ เป็นอีกเรื่อง อีกปัญหาที่ตามมาคือ ถ้า AI สร้างภาพคล้ายๆกันมา ทำให้นำไปสู่การฟ้องร้องวุ่นวายแน่นอน
อยากได้ ai ที่แปลง นิยาย, หนังสือการ์ตูน เป็นแอนิเมชั่น อะครับ
ยังอีกหลายเเคส Ai วาดภาพจากภาพถ่ายในอินเตอร์เน็ต
ต่อไปต้องมีเคส ฟ้อง Ai จากเจ้าของภาพก็ได้
ที่นี้ก็พิสูจน์กันอีก
ปกติแล้ว ผลงานจะนับว่ามีลิขสิทธิ์หรือไม่มันก็ดูที่ว่าผู้สร้างลงแรงไปมากน้อยเท่าไหร่นั่นแหละ ถึงจะเป็นภาพจาก AI แต่ถ้าผู้สร้างต้องลงแรงประมาณนึงมันก็พอที่จะถูกประเมิณได้ว่าเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์ได้อยู่ เพราะมันก็พูดได้ว่าเป็นภาพที่มนุษย์สร้างเหมือนกัน (แค่สร้างด้วยเครื่องมืออื่นๆเท่านั้นเอง)
แต่จะนับว่าภาพที่สร้างสรรค์จาก AI เป็นศิลปะประเภทเดียวกับภาพวาดที่สร้างสรรค์ด้วยคนอย่างเดียวหรือไม่อันนั้นก็อีกเรื่องนึง (ส่วนตัวผมมองว่ามันเป็นผลงานคนละประเภทกัน ทำนองเดียวกับภาพถ่ายและภาพวาดที่สร้างด้วยเครื่องมือคนละประเภทกันเท่านั้นแหละ)
มันก็เหมือนการ์ตูนที่ใช้โมเดลฟรีจากโปรแกรม 3D มาเป็นฉากหลังอะก็แค่ใช้ช่วยส่วนหนึ่ง