จากข่าวก่อนหน้าที่ Qualcomm ประกาศ ต่อสัญญา จัดส่งชิปโมเด็ม 5G ให้กับแอปเปิลต่อไปอีก 3 ปี ทำให้ความพยายามของแอปเปิลที่จะยกเลิกการพึ่งพาชิปโมเด็มของ Qualcomm ยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้จะมีข่าวว่าแอปเปิล ตั้งทีมพัฒนา ชิปโมเด็มภายในมาหลายปี
The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษถึงปัญหาภายในของแอปเปิล ที่ทำให้การพัฒนาชิปโมเด็มขึ้นเองยังไม่สำเร็จ ซึ่งตามแผนงานแรกต้องการนำมาใช้กับ iPhone รุ่นปีนี้หรือปีหน้า แต่ผลทดสอบเมื่อปลายปีที่แล้วพบว่านอกจากความเร็วรับส่งจะไม่ดี ชิปยังร้อนมากด้วย แผงวงจรที่ต้องใช้ก็มีขนาดใหญ่เกินไป กินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของ iPhone ทำให้ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ แหล่งข่าวบอกว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นแอปเปิลยังห่างจากชิปล่าสุดของ Qualcomm ถึง 3 ปี
แรงผลักดันของแอปเปิลให้พัฒนาชิปโมเด็มมีสองเรื่อง เรื่องแรกคือต้องการต่อยอดความสำเร็จจากการพัฒนาชิปใช้เองใน iPhone ทำให้บริษัทมีจุดเด่นทั้งประสิทธิภาพเฉพาะตัว และต้นทุนที่ถูกลงในระยะยาว เรื่องที่สองก็คือปัญหาการฟ้องร้องกับ Qualcomm ที่เริ่มมาตั้งแต่ ปี 2017 ในประเด็นผูกขาดชิปโมเด็ม แต่แอปเปิลตัดสินใจยอมความ ในปี 2019 เพราะชิปที่มีไม่เพียงพอในการผลิต จึงต้องการสั่งซื้อชิปจาก Qualcomm ด้วย เรื่องที่เกิดขึ้นจึงทำให้แอปเปิลก็ต้องการลดการพึ่งพา Qualcomm ให้ได้ในระยะยาว
แผนการพัฒนาชิปโมเด็มภายในแอปเปิลเริ่มมาตั้งแต่ปี 2018 มีโค้ดเนมของโครงการภายในว่า Sinope โดยโครงการนี้ดูแลโดย Tim Cook ซีอีโอ และ Johny Srouji หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ที่ดูแลโครงการพัฒนาชิปตั้งแต่ iPhone จนถึง Mac
ความจริงจังของแอปเปิลมีทั้ง การพยายามดึงตัววิศวกรจาก Qualcomm โดยลงทุนตั้งสำนักงานวิจัยที่เมืองซานดิเอโก ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Qualcomm, ซื้อกิจการ ชิปโมเด็มจากอินเทลในปี 2019 ตั้งเป้าหมายเวลานั้นว่าชิปโมเด็มแรกจะใช้กับ iPhone ปี 2023
อดีตผู้บริหาร Qualcomm ให้ความเห็นว่า การพัฒนาชิปโมเด็มสำหรับรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้น ซับซ้อนกว่าการทำชิปประมวลผลที่ติดต่อเฉพาะในอุปกรณ์มาก เพราะต้องรองรับการทำงานของคลื่นตามมาตรฐานแต่ละประเทศทั่วโลก แค่รองรับ 5G รุ่นล่าสุดนั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องรองรับถอยไปจนถึง 2G 3G 4G สำหรับบางประเทศ สิ่งที่กินเวลามากคือกระบวนการทดสอบ ที่ต้องทำกับเครือข่ายมือถือแต่ละแห่ง ไทม์ไลน์ที่แอปเปิลวางไว้จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
ถึงแม้ทุกอย่างจะไม่เป็นตามแผน แต่รายงานก็ยืนยันว่าแอปเปิลยังคงเดินหน้าพัฒนาชิปโมเด็มใช้เองให้สำเร็จ เพราะเป้าหมายหลักก็คือต้องเลิกพึ่งพา Qualcomm ให้ได้นั่นเอง
ที่มา: The Wall Street Journal
Comments
นอกจากเรื่อง r/d ที่ยังตามไม่ทันน่าจะมีปัญหาสิทธิบัตรด้วยมั้งครับ Qualcomm ถือสิทธิบัตรสื่อสารไว้เยอะมากจะพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารที่ไม่ใช้สิทธิบัตรของ Qualcomm เลยน่าจะยากสุดๆ
ดีแล้วที่ศาลไม่ตัดสินว่าผูกขาด ซึ่งมันตลกมากนะถ้าเกิดว่าศาลตีความว่าผูกขาด เพราะทุกอย่างมันมีต้นทุนไม่ได้ดีดนิ้วแล้วมันออกมาแล้วได้เลย คนเรามักจะมองเห็นตอนผลลัพธ์มันออกมาแล้ว แต่กว่าจะได้มันมาส่วนมากไม่มีใครนึกถึงว่าเขาลงทุนไปเท่าไหร่ เสียเวลาไปเท่าไหร่กว่าจะได้เทคโนโลยีพวกนั้นมา สนใจแต่สิ่งที่มันอยู่ต่อหน้า อยากได้อยากครอบครองแต่ไม่ได้สนใจสิ่งที่เขาต้องเสียไปกว่าจะมีทุกวันนี้ บางอย่างคนคิดเลือดตาแทบกระเด็น
เรื่องผูกขาดหรือไม่มองยากมากครับ เพราะต่อถ้าบริษัทหนึ่งสู้มาจากศูนย์จนมาสู่ความเป็นอันดับหนึ่งได้ แต่ในตลาดมีบริษัทนั้นครองตลาดจนทำให้สภาวะการแข่งขันไม่มีหรือเป็นไปได้ยาก บริษัทนั้นก็มองได้ว่าผูกขาดเช่นกัน
มองแต่ในมุมส่วนตัวของบริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่ได้ ต้องมองสภาพตลาดด้วยว่ามีการแข่งขันกันแค่ไหน
กฎหมายป้องกันการผูกขาดในหลายๆประเทศจะครอบคลุมแค่ "พฤติกรรมผูกขาด" ไม่ได้รวม "สถานะผูกขาด" ครับ
หรือก็คือ ถ้าเป็นแบบที่คุณว่าคือดำเนินธุรกิจปกติจนกลายเป็นเจ้าเดียวในตลาดหรืออยู่ในสถานะผูกขาด แต่ตราบเท่าที่ไม่มีพฤติกรรมผูกขาดก็จะไม่โดนฟ้อง (แต่โดนจับตามองพฤติกรรมสุดๆ)
ในทางตรงกันข้าม ต่อให้ตลาดยังคงมีหลายเจ้าและตัวเองไม่ใช่เจ้าที่ใหญ่ที่สุดแต่ถ้ามีพฤติกรรมผูกขาด ก็อาจจะโดนฟ้องได้ครับ
กรณีของ Qualcomm เอง ที่ฟ้องกันก็ไม่ได้ฟ้องเพียงเพราะแค่มีเจ้าเดียวอย่างเดียว แต่ฟ้องเพราะมีเรื่องของพฤติกรรมผูกขาด (ห้ามใช้เจ้าอื่นกับไม่ขายให้คู่แข่ง) และหาผลประโยชน์จากการผูกขาด (เก็บแพงเกินจริง) ด้วยครับ
ปล. ผมแค่เอาคดีมาเล่าให้ฟังเฉยๆนะครับว่าฟ้องเพราะอะไร ไม่ได้แปลว่าผมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยว่า Qualcomm ผูกขาดนะครับ
cpu ที่ทำได้ดีก็เพราะ arm กับ tsmc ด้วยแหละ ให้ทำใหม่ มาคงทำไม่ได้เหมือนกัน ไม่งั้นมันคงมีบริษัททำเยอะไปแล้ว แต่รวยอย่าง apple ไงก็ทำได้ละ
คิดคล้ายๆกันเลยครับ
..: เรื่อยไป
ชิป 5G ที่ Apple คิดว่าสำเร็จแล้วนี่คือ ทำได้เจ้าอื่นคือสำเร็จ หรือต้องดีกว่านะ
ต้องไป6gแล่วนะ
อย่าง qualcomm บอกครับ ต้อง support ย้อนหลังด้วย ไม่งั้นขายประเทศอื่นไม้ได้ ตลาดจะแคบมากครับ
นึกว่าซื้อของ intel ไปจะทำให้เร็วขึ้นซะอีก
เพราะมีตัวที่ intel เตรียมขายแต่ยกเลิกก่อนว่่าแต่เคยมี iphone 11 ใช้ modem intel ชอบหวงเสาจับเสาเดิมอยู่ได้ขนาดเหลือขีดเดียว
ทางเทคนิค ไม่น่ายากกว่า cpu มั้ง , สงสัยวิจัย กันมาหลายปี ยังไม่เจอ ท่าไหนที่ ไม่ไปทับไลน์ สิทธิบัตร คนอื่นเค้า
ผมว่ายากกว่านะ
CPU ทำเอง เทสเอง ไม่ดีก็แก้ ทำใหม่ เทสใหม่ จบในบริษัทตัวเอง
Modem ทำเอง เทสเอง ส่งให้คนอื่นเทสๆๆๆๆๆๆ(เพราะหลายที่ หลาย Operator) ถ้ามีปัญหาก็วน Loop แถมยังต้องรองรับของเก่าอีก ไม่เหมือน CPU ของตัวเอง อยากตัดอะไรก็ตัด Dev ไปแก้กันเอาเอง
ตอนนี้ ยังทำไมได้ เดี่ยวตอ่ไปก็ ทำได้เองแหละ แล้ว จะมีแต่ของตัวเอง ทำอะไรก็ง่ายๆละ
ลงทุนขนาดนี้แล้วไม่กลับลำหรอก แต่แค่ขอใช้เวลา 2,200 คนเลยนะ =0= ทำชิพ ไม่รอดก็ให้มันรู้ไป
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ถ้ายังทำไม่สำเร็จ ซื้อ Qualcomm ครับ
FTC และสหภาพยุโรปไม่ถูกใจสิ่งนี้แน่นอนครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ยิ่งกว่า Microsoft ซื้อ activision blizzard ไปเยอะมาก ำำ ไม่น่าจะผ่านแน่ๆ
ยิ่งความผูกขาดของ Apple ไม่เป็นสองรองใคร
เดาว่าเพราะชิปโมเด็มไม่ใช่ระบบปิด แบบชิปประมวลในอุปกรณ์ที่ Apple ควบคุมทุกอย่างได้น่าจะเป็นของแสลงสำหรับ Apple ที่ถนัดทำอะไรแบบควบคุมเบ็ดเสร็จมาตลอด
14nm ของ Intel พอลดกว่านี้ไม่ได้ หลายๆปีเข้า ก็ตัดใจเลย
น่าจะจริง สร้างชิบโมเด็มไม่ง่าย
ขนาด Intel ยังต้องยอมถอย เลิกทำ Atom ต่อ จน Zenfone เคว้ง
แล้วขายธุรกิจส่วนนี้ให้ Apple
จริง ๆ อยากให้ยกเลิกการแบนกันมาก ๆ เลย
ไม่รู้ว่า huawei ทำเองหรือเปล่า แต่การจับสัญญาณของ huawei
มันดีมาก ๆ จริง ๆ ถ้าเกิดทุกเช้าไปใช้ตัวเดียวกับ huawei คือจะดีสุด ๆ
แบบ samsung ไม่มัคลื่น iPhone เลือก 1-2 ขีด แต่ huawei ขึ้นเต็มงี้