Peter Wennink ซีอีโอ ASML เปิดเผยว่ารัฐบาลสหรัฐฯ บีบอุตสาหกรรมผลิตชิปจีนด้วยการแบนการส่งอะไหล่ไปยังจีนทำให้ ASML ไม่สามารถซ่อมบำรุงได้อย่างสมบูรณ์
Wennink ระบุว่ายังคงสามารถซ่อมบำรุงอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ขายให้ลูกค้าจีนไปแล้วได้ แต่กระทบลูกค้าบางส่วนที่ต้องการอะไหล่จากสหรัฐฯ
สหรัฐฯ บีบผู้ผลิตชิปจีนตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพิ่มจากการห้ามส่งออกเครื่องจักรเทคโนโลยี EUV ก่อน และ ตามมาด้วยการห้ามการส่งออกเทคโนโลยี DUV เมื่อต้นปี 2023
ที่มา - Reuters
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
เปิดทางให้จีน custom เครื่อง ASML ได้เลย เอาจริงๆถ้าเปลี่ยน light source ได้ก็ EUV ดีๆนี่เอง
จากการที่ยังผลิตได้ บ. เดียวในโลก
จนถึงป่านนี้จีนยังก็อปไม่ได้
ส่วนตัวเลยคิดว่า เครื่องนี้อาจจะไม่ได้ทำง่ายอย่างที่คิด
ค่อยๆทำไปครับ พึ่งพาตนเอง แข่งกับตัวเอง ทำได้เมื่อไหร่ก็สบายแล้ว
ใช่ครับ ต้องมีองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์บางอย่างที่คนอื่นยังไม่รู้หรือทำไม่ได้อยู่
แต่จะว่าไป การที่เครื่องนี้ผลิตได้โดยบริษัทเดียวในโลก ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลเหมือนกันนะครับ
เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งลุกลามใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ จนลามไปถึงการเกิดสงครามใหญ่ ผมว่า ASML นี่แหละที่จะโดนฝ่ายที่เพลี่ยงพล้ำโจมตีเป็นจุดแรกๆ
..: เรื่อยไป
ผมว่าต้องเอา ASML ไปอยู่ใน vault แล้วล่ะครับ
ก็คิดเล่นๆ สมมุติว่าโดนบึ้มหรืออะไรที่ทำให้หายไปนี่
ส่งสัยเทคโลกมนุษย์คงหยุดนิ่งไปพักนึงเลย 555
มโนเกินไปหน่อยนะเรื่องสงครามเนี้ย เวลาเค้าโจมตีกันเค้าโจมตีจุดยุทธศาสตร์ที่ทำให้ชนะสงครามไม่ใช่จุดที่ทำลายไปก็ไม่ได้ทำให้ส่งผลอะไรเลยกับสงครามชนะสงครามแล้วค่อยมายึดเอาทีหลังก็ได้พวกนี้จะมาโจมตีทำอะไรเวลาเค้าโจมตีหลักๆคือระบบnetworkการขนส่งคลังสเบียงคลังแสงคลังเชื้อเพลิงโรงงานผลิตอาวุธโรงงานไฟฟ้า
จากที่ฟังจากนายอาร์มปัญหาของเครื่องนี้ คือ ความเนี๊ยบ ของอุปกรณ์ครับ
ซึ่งนับได้ว่าเป็นของแสลง ของพี่จีน
เข้าใจว่ามันซับซ้อนกว่านั้นเยอะระดับ 1-3nano คงต้องใช้เลนส์สุดยอด+ตัวควบคุมการยิงที่แม่นยำสุดๆ
ไหนจะขั้นตอนน้ำยา ชะส่วนที่โดนยิงให้หลุดอีก
ถ้าส่วนโดนยิง ชะไม่หลุดออกไป ชิปก็เสีย
ถ้าส่วนไม่โดนยิง ชะหลุดออกไป ชิปก็เสีย
แค่ตัวที่ปล่อยแสงออกไปได้นั่นก็ความแม่นยำสูงจัดๆ แล้วนะ อาจจะยากกว่าส่วนเลนส์อีก 🥲
ปรากฎว่า Shuji Nakamura ไปจูนจนทำ LED ปล่อยความถี่นั้นได้ 😂
เลนส์และกระจก ผลิตโดย Carl Zeiss บ.เยอรมัน
EUV มันไม่ใช้เลนส์แล้วครับ มันใช้กระจกlight source EUV ก็ทำยากมาก มันมีความเข้มไม่มากพอ
จีน: ส่งยูนิคสายลับเข้าไปดึงพิมพ์เขียว ASML
พิมพ์เขียว คือ ในระดับออกแบบครับ เหมือนมีพิมพ์เขียวตึกสูง 1,000 ชั้น ก็ใช่ว่าจะสร้างได้ด้วยทุนระดับเดียวกันหรือ มีเอกสารโฟลโปรแกรมระดับเทพ แต่หาโปรแกรมเมอร์ที่ทำตามโฟลนั้นไม่ได้ก็.....
ทำให้คิดถึง Concorde vs TU-144 เลย
ได้พิมพ์เขียวไป แต่หาซัพพลายอื่นๆ มาประกอบมันไม่ได้มันก็เท่านั้น หลายๆ อย่างมันมีไม่กี่เจ้าที่ผลิต เผลอๆ บางชิ้นเป็นอุปกรณ์ควบคุมที่ผลิตในประเทศอเมริกา และพันธมิตรทางการค้าที่ไม่ถูกกับจีนอีก
ดีแล้ว ^_^
บางอย่างขโมยพิมพ์เขียว ไปก็ผลิตไม่ได้นะครับ ไม่ง่ายขนาดในหนังจารกรรมสมัยสงครามเย็นนะครับ
สมัยสงครามเย็นโซเวียตได้พิมพ์เขียว ได้เครื่องไปก็ผลิตไม่ค่อยได้ครับ
lewcpe.com , @wasonliw
สมัยสงครามเย็น สายลับโมซาดของยิวไปขโมยพิมพ์เขียว เครื่องบินรบของฝรั่งเศสมาได้ แต่ก็สร้างตามไม่ได้เหมือนกัน
เมกา ก็เก่งมากนะ สามารถบีบบริษัทอื่นๆ ให้ทำตามได้ เลย
เครื่องเนี่ย (จากหนังสือ Chip War) ผู้ลงทุนใหญ่สุดรายหนึ่งคือ Intel แล้วสามประเทศหลักไม่นับเนเธอร์แลนด์ ที่ทำให้สามารถผลิตเครื่องนี้ได้ คืออเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน
ก็ไม่น่าแปลก
เหมือนว่าสิทธิบัตรในการสร้างแสงที่ใช้ในเครื่อง euv เป็นของรัฐบาลเมกาครับเลยมีอำนาจในการควบคุมมากขนาดนี้
ที่ฟังจากคลิปนายอาร์ม เทคโนโลยีบางอย่างที่ใช้ในการผลิตชิป ได้ทุนวิจัยมาจากรัฐบาลอเมริกาครับ ทำให้ชื่อผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและสิทธิบัตรคือรัฐบาลฯ ไม่ใช่เอกชน รัฐบาลจึงมีสิทธิ์สั่งว่าให้ใครใช้หรือไม่ให้ใครใช้ได้ครับ
.
ในเคสนี้ คืออนุญาตให้ ASML ผลิตและส่งไปให้ลูกค้าในประเทศที่รัฐบาลฯ อนุญาตอย่างไต้หวันได้ แต่ไม่ให้ส่งไปจีน
ถ้าจดสิทแล้งแปลว่าต้องเปิดเผยวิธัการแล้วด้วยมั้ยนะครับ เหมือนจะต้องอยู่ในเอกสารจดสิทธิบัตร
ไม่จำเป็นครับ
EUV lithography กว่าจะมามีวันนี้ได้ เป็นเทคโนโลยี่ที่รัฐบาลสหรัฐให้ทุนวิจัยพัฒนา ใช้เวลาเป็นสิบๆปี (เหมือนๆกับ DARPA ที่ลงทุนในการวิจัยเทคโนโลยีพื้นฐาน) จริงๆมีเทคโนโลยีหลายตัวที่มีโอกาส แต่มีแค่ตัวนี้ที่ไปถึงฝั่งได้ แต่เข้าใจว่าท้ายที่สุด Intel กลับไม่ทำ เพราะตอนนั้นมองว่าต้องลงทุนสูงมากอาจจะไม่สร้างรายได้คุ้มค่าการลงทุน เลยมองหาพันธมิตรที่จะส่งต่อเทคโนโลยีได้ หวยเลยออกไปที่ ASML (แต่มันก็ไม่ใช่ turn-key ทาง ASML ก็ต้องพัฒนาในแง่วิศวกรรมอีกเยอะมาก กว่าจะเป็นเครื่องที่เรารู้กัน)
ASML บริษัทอยู่เนเธอร์แลนด์ แต่ก็อยู่ในตลาดหุ้นอเมริกา เทคโนโลยีหลายอย่างก็เกิดจากการร่วมทุนกับบริษัทอเมริกาหลายเจ้า มันก็ทำให้เลือกข้างไม่ยากนะ
บ.อื่นๆ ไม่ใช่แค่คิดได้ แล้วจะได้ทำออกมาขายได้
เพราะถ้าไอ้ที่คิดได้มันคือไปซ้ำรอยกับที่เค้าทำมาแล้ว ก็เอาไปใช้ไม่ได้ถือว่าละเมิดของเก่า แม้ว่าจะบังเอิญคิดได้แบบไม่เกี่ยวกันเลยก็ตาม
ผลลัพท์ไม่ใช่สิ่งความลับ แต่กระบวนการได้มาซึ่งผลลัพท์ต้องไม่ซ้ำกัน
นี่เป็นเคสคลาสสิกเลยครับ บางครั้งการลงทุนวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานที่คนไทยหลายคนบอกว่าวิจัยขึ้นหิ้งนั้น จริงๆมันแค่รอวันเบ่งบานออกดอกออกผลครับ วิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานมันต้องใช้เงินและเวลาครับ ไม่สามารถชี้นิ้วสั่ง ให้เงิน1-2 ปีแล้วต้องได้ผลแบบนั้นแบบนี้
ต้องใช้ ชิ้นส่วน zeiss ด้วย https://www.facebook.com/share/p/nxghZ8GTHd73LnLJ/?mibextid=WC7FNe
ขายของไปแล้วไม่ยอม support แบบนี้ อันตรายเนอะ
นึกถึงพวกอาวุธ เครื่องบิน เรือรบต่างๆเลย ถ้ามีเรื่องขึ้นมา แล้วเมกาไม่พอใจ ของที่ซื้อมาก็ซ่อมบำรุงไม่ได้ กลายเป็นขยะไปเลย ฮา
ก็ธรรมดาเป็นพันธมิตรหรือศัตรู
กับบางค่าย แม้จะไม่มีปัญหาอะไร ก็อาจจะหาอะไหล่ไม่ได้ เพราะเลิกผลิตหรือซ่อมบำรุงยาก
ดูเรื่องการซ่อมบำรุงของเครื่องบินรบจากค่ายรัสเซียที่ประเทศเพื่อนบ้านเราใช้ได้เลย ground เพียบเพราะซ่อมบำรุงไม่ได้ ทั้งๆที่ไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างรัฐใดๆทั้งสิ้น
อันนี้พูดถึงบริษัทจีนด้วยไหม?
คล้ายรถถัง Type 69-II ที่เราซื้อมาแล้วไม่มีอะไหล่ เลยปรับไปเป็นเรือดำน้ำแทน