มีรายงานจากคอลัมนิสต์ทางเทคโนโลยี Tim Culpan บอกว่า โรงงาน TSMC ในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มผลิตชิป SiP S9 สำหรับสินค้าของแอปเปิลแล้วที่ Fab 21 ทำให้เป็นชิปสำหรับสินค้าแอปเปิลตัวที่สอง ที่ผลิตจากโรงงาน TSMC ในอเมริกา
ชิปตัวแรกที่ผลิตจากโรงงาน TSMC แห่งนี้คือ A16 Bionic ที่จะใช้ใน iPhone 15 และ iPhone 15 Plus เทคโนโลยี 4 นาโนเมตร ซึ่งกระบวนการผลิตของ S9 ก็ใช้รูปแบบเดียวกัน
ผลจากการสนับสนุนการสร้างโรงงานผลิตชิปในญี่ปุ่น ทำให้ไต้หวันต้องส่งคนไปดูแลโรงงานเหล่านั้นเพิ่มเติม ตอนนี้ในญี่ปุ่นก็มีการปรับตัวเพิ่มเติมในการรับเด็กไต้หวันที่เป็นลูกหลานของเจ้าหน้าที่โรงงานชิปเหล่านี้
เมืองคูมาโมโตะระบุว่า 9 เดือนหลังของปี 2024 ที่ TMSC เตรียมการเปิดโรงงานแห่งแรก มีเด็กไต้หวันเข้าเรียนในโรงเรียนของเมือง 20 คน นับว่าเพิ่มเร็วมาก เพราะเดิมมีนักเรียนไต้หวันเพิ่มขึ้นปีละ 2-3 คนเท่านั้น และประชากรไต้หวันก็เพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว
TSMC เปิดเผยว่าได้เริ่มเดินสายการผลิตหลัก (Mass Production) ในโรงงานผลิตชิปแห่งแรกของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Kumamoto แล้ว
โรงงาน TSMC แห่งนี้ ประกาศโครงการ ในปี 2021 โดยได้รับเงินสนับสนุนการลงทุน จากรัฐบาลญี่ปุ่น ตามแนวทางเพิ่มความแข็งแกร่งให้ซัพพลายเชนอุตสาหกรรมสำคัญของญี่ปุ่นที่มีชิปเป็นส่วนประกอบ
โรงงานนี้ผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 12-28 นาโนเมตร ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าหลักทั้งผู้ผลิตรถยนต์ และเซ็นเซอร์กล้องถ่ายรูป
TSMC ยังมีแผนเปิดโรงงานแห่งที่สองใน Kumamoto เช่นกัน เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง 6 นาโนเมตร คาดว่าเริ่มการผลิตได้ในปี 2027
กลุ่มผู้ประกอบการเซมิคอนดักเตอร์ในเกาหลีใต้ ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลเกาหลีใต้ก่อตั้ง "KSMC" (Korea Semiconductor Manufacturing Company) บริษัทเจ้าของโรงงานรับจ้างผลิตเซมิคอนดักเตอร์ตามสั่ง ลักษณะเดียวกับ TSMC ของไต้หวัน
ข้อเสนอนี้ระบุว่ารัฐบาลเกาหลีใต้ควรลงทุน 20 ล้านล้านวอน (ประมาณ 5 แสนล้านบาท) เพื่อก่อตั้ง KSMC ซึ่งจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว 300 ล้านล้านวอน (7 ล้านล้านบาท) ในปี 2045
รัฐบาล Biden ประกาศว่ากระทรวงการค้าสหรัฐมีข้อสรุปในการให้เงินสนับสนุนตามกฎหมาย CHIPS Act เพื่อส่งเสริมการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศแก่สองบริษัทคือ ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ และ Texas Instruments ซึ่งเคยประกาศตัวเลขเบื้องต้นก่อนหน้านี้
ซัมซุงจะได้เงินสนับสนุน 4,745 ล้านดอลลาร์ ตามแผนการลงทุนโรงงานผลิตชิปในรัฐเท็กซัส ที่ซัมซุงมีแผนเป็นระยะเวลาหลายปีมูลค่ารวมกว่า 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเป็นโรงงานสองแห่ง และศูนย์วิจัยพัฒนาในเมืองเทย์เลอร์ และการขยายโรงงานในเมืองออสติน
กระทรวงการค้าสหรัฐประกาศข้อสรุปในการให้เงินสนับสนุน SK Hynix เป็นเงิน 458 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างโรงงานแพ็คเกจจิ้งชิปขั้นสูง และศูนย์วิจัยพัฒนาด้าน AI ในรัฐอินดีแอนา ตามกฎหมาย CHIPS Act เพื่อส่งเสริมการสร้างโรงงานผลิตชิปในสหรัฐอเมริกา
เมื่อเดือนเมษายน SK Hynix ได้ ประกาศ แผนลงทุนสร้างโรงงานในเมือง West Lafayette เป็นเงิน 3,870 ล้านดอลลาร์ เพื่อประกอบชิปหน่วยความจำ HBM ขั้นสูงที่ใช้กับงานประมวลผล AI
ในการสนับสนุนนี้ยังมีแผนให้เงินกู้อีก 500 ล้านดอลลาร์ สำหรับโครงการต่าง ๆ ของ SK Hynix หากสามารถทำได้ตามแผน ภาพรวมของการสร้างโรงงานและศูนย์วิจัยพัฒนานี้คาดว่าจะสร้างงานได้ประมาณ 1,000 ตำแหน่ง
หัวข้อหนึ่งที่มีการพูดถึงหลังอินเทล ปลด Pat Gelsinger ออกจากตำแหน่งซีอีโอ คืออินเทลจะยังเดินหน้า แผนแยกบริษัทส่วนที่เป็นโรงงานผลิตชิป ออกไปหรือไม่ (ข่าวก่อนหน้านี้บอก Gelsinger ไม่เห็นด้วย )
กระทรวงการค้าสหรัฐประกาศข้อสรุปในการให้เงินอุดหนุน Micron ในการสร้างโรงงานในสหรัฐอเมริกา เป็นเงินรวมมากกว่า 6.1 พันล้านดอลลาร์ ภายใต้กฎหมาย CHIPS Act ต่อจากแผนเบื้องต้นที่ ประกาศเมื่อเดือนเมษายน
Micron จะนำเงินสนับสนุนนี้ไปใช้ในการก่อสร้างโรงงานที่เมือง Clay รัฐนิวยอร์ก และเมือง Boise รัฐไอดาโฮ จากแผนเงินลงทุนรวม 1.25 แสนล้านดอลลาร์ ในระยะเวลามากกว่า 10 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสร้างงานได้มากกว่า 2 หมื่นตำแหน่ง
กระทรวงการค้าสหรัฐยังมีข้อตกลงเบื้องต้น ให้เงิน Micron อีก 275 ล้านดอลลาร์ สำหรับการขยายโรงงานในเมือง Manassas รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนสำหรับการทหาร ยานยนต์ และส่วนเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของประเทศ
อินเทลประกาศแต่งตั้งกรรมการเข้าร่วมบอร์ดบริษัทเพิ่ม 2 คน เพื่อร่วมในกระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่ แทน Pat Gelsinger ซึ่งอินเทลบอกว่าทั้งสองคนมีพื้นฐานมาจากธุรกิจการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ตามที่ David Zinsner ซีอีโอรักษาการณ์ของอินเทล เพิ่งให้สัมภาษณ์ไป ก่อนหน้านี้
กรรมการคนแรกคือ Eric Meurice อดีตซีอีโอและประธาน ASML ผู้ผลิตเครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการผลิตชิป ส่วนอีกคนคือ Steve Sanghi ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานและรักษาการณ์ซีอีโอที่ Microchip Technology โดยตำแหน่งของทั้งสองคนที่อินเทลมีผลทันที
หลังจากอินเทลได้ตัดสินใจ ปลดซีอีโอ Pat Gelsinger ออกจากตำแหน่ง ประเด็นหนึ่งที่หลายคนกังวลคือซีอีโอคนใหม่ อาจเน้นไปที่การตลาดหรือการเงิน แตกต่างจาก Gelsinger ที่มีพื้นฐานจากสายวิศวกรรม (Bob Swan ซีอีโอคนก่อนหน้า Gelsinger มาจากสายการเงิน) อย่างไรก็ตามอินเทลก็ดูจะทราบความกังวลนี้
David Zinsner ซึ่งตอนนี้เป็นซีอีโอรักษาการณ์ร่วมของอินเทล กล่าวในงานสัมมนาของ UBS ว่ากลยุทธ์หลักของอินเทลจะยังดำเนินต่อไป และซีอีโอคนใหม่ต้องมีทั้งความเข้าใจในกระบวนการผลิตชิป ขณะเดียวก็ต้องเข้าใจฝั่งธุรกิจที่นำสินค้าออกไปจำหน่ายด้วยเช่นกัน
Jim Keller วิศวกรออกแบบชิปในตำนาน ที่เคยทำงานมาแล้วกับทั้ง Apple, AMD, Tesla, Intel ประกาศย้ายไปทำงานกับบริษัทสตาร์ตอัพชื่อ Tenstorrent ในปี 2021 แล้วหายไปพักใหญ่ๆ
ล่าสุด Tenstorrent ประกาศรับเงินลงทุน Series D มูลค่า 693 ล้านดอลลาร์ มีนักลงทุนหลักคือ Samsung Securities และ AFW Partners แต่ที่ไม่ธรรมดาคือมีบริษัทลงทุน Bezos Expeditions ของ Jeff Bezos มาร่วมลงทุนด้วย
บริษัทรายอื่นที่มาลงทุนในรอบนี้ยังมี LG และ Hyundai (มากันหมดเกาหลีแล้วกระมัง) และกองทุนใหญ่อย่าง Fidelity ด้วย
กระทรวงการค้าสหรัฐประกาศให้เงินอุดหนุนอินเทลภายใต้กฎหมาย CHIPS Act เพื่อส่งเสริมการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศเป็นเงิน 7,865 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากตัวเลขที่เคย ประกาศเบื้องต้นเมื่อต้นปี ซึ่งอยู่ที่ 8,500 ล้านดอลลาร์
อินเทลบอกว่าเงินสนับสนุนนี้จะนำมาใช้กับโรงงานและศูนย์วิจัยใน Arizona, New Mexico, Ohio และ Oregon
Pat Gelsinger ซีอีโออินเทลบอกว่าเทคโนโลยี Intel 3 อยู่ในกำลังการผลิตที่สูง ส่วน Intel 18A จะเริ่มการผลิตในปีหน้า ซึ่งจะทำให้อินเทลเป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของอเมริกาที่ผลิตในอเมริกาแท้จริง
เดิมอินเทลมีแผนรับเงินกู้เพิ่มอีก 11,000 ล้านดอลลาร์ แต่บริษัทมีข้อสรุปไม่รับเงินกู้ส่วนนี้ โดยจะขอรับเครดิตภาษีแทน
กระทรวงการค้าสหรัฐประกาศได้ข้อสรุปในการให้เงินอุดหนุน 6,600 ล้านดอลลาร์ กับ TSMC ภายใต้กฎหมายสนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศ CHIPS Act หลังจาก ทำข้อตกลงเบื้องต้นไปเมื่อเดือนเมษายน
เงินสนับสนุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างโรงงานผลิตชิปแห่งที่ 3 ของ TSMC ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา มูลค่าการลงทุนรวม 65,000 ล้านดอลลาร์ กำหนดเริ่มการผลิตในปี 2030 เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงระดับ 2 นาโนเมตร
นอกจากเงินสนับสนุน 6,600 ล้านดอลลาร์แล้ว สำนักงานที่ดูแลกฎหมาย CHIPS จะให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำกับ TSMC วงเงินรวม 5,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติม
สมัชชาแห่งชาติเวียดนามกำลังพิจารณาลดขั้นตอนการลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุน
Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่า จะเปลี่ยนวิธีคิดจากตรวจสอบก่อน (pre-screening) เป็นการตรวจสอบหลัง (post-screening) สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค
บริษัทชิปจีนเตรียมรับแรงกระแทกแล้ว เร่งนำเข้าอุปกรณ์ผลิตชิป ตีซี้พันธมิตรอเมริกาที่อาจถูกทรัมป์ละเลย
South China Morning Post รายงานว่า ตอนนี้แวดวงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จีนกำลังเตรียมรับมืออเมริกาในยุคของทรัมป์สมัยที่ 2 โดยกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่บริษัทชิปจีนจะนำมาใช้ ได้แก่ การเร่งนำเข้าอุปกรณ์ผลิตชิป การเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง การว่าจ้างแรงงานทักษะสูงจากภายนอก และการสานสัมพันธ์กับประเทศที่อาจถูกทรัมป์ละเลยด้วยนโยบายปกป้องทางการค้า อ้างอิงจากสิ่งพิมพ์และงานวิจัยในอุตสาหกรรมกว่า 30 ชิ้น
J.W. Kuo รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของไต้หวันบอกว่า ไต้หวันมีกฎหมายเพื่อปกป้องเทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้นในตอนนี้ TSMC จะไม่สามารถผลิตชิปเทคโนโลยี 2 นาโนเมตรในโรงงานอื่นที่อยู่นอกไต้หวันได้
กฎหมายของไต้หวันจำกัดให้ผู้ผลิตชิป สามารถผลิตชิปในโรงงานนอกไต้หวันได้ ด้วยเทคโนโลยีที่น้อยกว่ารุ่นล่าสุดอย่างน้อยหนึ่งรุ่น ดังนั้นหากเป็นไปตามแผนงานของ TSMC สินค้าเทคโนโลยี 2 นาโนเมตรหรือ N2 จะเริ่มผลิตเต็มรูปแบบครึ่งหลังปี 2025 ตามด้วยรุ่นถัดไป A16 หลังจากเวลานั้นจึงเริ่มผลิตชิป 2 นาโนเมตรนอกไต้หวันได้
TSMC มีแผนผลิตชิปเทคโนโลยี 2 นาโนเมตร ที่โรงงานในรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกาภายในปี 2028
The Register รายงานว่า TSMC บริษัทรับผลิตชิปรายใหญ่ ได้แจ้งลูกค้าในประเทศจีนว่าจะหยุดส่งชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 7 นาโนเมตรหรือเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า ที่จะนำไปใช้พัฒนาส่วนประมวลผล AI หรือจีพียู เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมการส่งออกสินค้าของสหรัฐ มีผลตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน เป็นต้นไป
การแจ้งยกเลิกนี้ไม่มีผลสำหรับการสั่งซื้อชิป 7 นาโนเมตรกับ TSMC ที่นำไปใช้กับงานอื่นเช่น อุปกรณ์สื่อสาร หรือสมาร์ทโฟน ในภาพรวมผลกระทบกับ TSMC มีค่อนข้างจำกัด
ตัวแทนของ TSMC ไม่ได้ยืนยันหรือปฏิเสธข่าวนี้โดยบอกว่าบริษัทจะไม่แสดงความเห็นต่อข่าวลือ บริษัทได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายที่กำกับดูแลและควบคุมการส่งออกอยู่แล้ว
เว็บข่าว Semafor อ้างแหล่งข่าวว่านักการเมืองสหรัฐอเมริกา เริ่มกังวลต่อ ปัญหาการเงินของอินเทล และเริ่มหารือกันว่าอาจมีมาตรการช่วยเหลือ เพื่ออุ้มบริษัทเซมิคอนดักเตอร์สัญชาติอเมริกันเอาไว้
อินเทลได้เงินสนับสนุน 8.5 พันล้านดอลลาร์จากกฎหมาย CHIPS Act ที่ส่งเสริมให้สร้างโรงงานผลิตชิปบนแผ่นดินสหรัฐ แต่จนถึงปัจจุบัน การเบิกจ่ายมีความล่าช้า และอินเทลยังไม่ได้รับเงินแม้แต่ดอลลาร์เดียว ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นเพราะเหตุใด
สำนักข่าว CNA ของไต้หวันรายงานว่า NVIDIA จองกำลังแพ็กเกจชิปแบบ TSMC CoWoS (Chip on Wafer on Substrate) ไว้ 50% ของกำลังผลิตปี 2025 เรียบร้อยแล้ว แม้ว่าทาง TSMC จะเพิ่มกำลังผลิตขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา
CoWoS เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมชิปหลายตัวบนแผ่นซิลิกอนที่โรงงานผลิตสมัยใหม่สามารถทำได้หลายแห่งรวมถึงอินเทลที่ มีเทคโนโลยี EMIB และ Foveros ของตัวเอง ที่ผ่านมา NVIDIA นั้นใช้โรงงานผลิตของ TSMC เป็นหลัก โดยรายได้จากธุรกิจแพ็กเกจชิปของ TSMC นั้นคิดเป็น 7-9% ของรายได้บริษัท
Globes เว็บข่าวธุรกิจจากอิสราเอล รายงานว่าอินเทลปลดพนักงานในศูนย์วิจัยที่อิสราเอลจำนวน "หลายร้อยคน" (several hundreds) เพื่อลดค่าใช้จ่าย
อินเทลประกาศแผนปลดพนักงาน 15% ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ซึ่งการปลดพนักงานในอิสราเอลเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการปลดพนักงานครั้งนี้ด้วย โดยอินเทลมีทั้งศูนย์วิจัยและโรงงานผลิตชิปในอิสราเอล มีพนักงานรวม 11,000 คน การปลดพนักงานครั้งนี้เกิดที่ฝั่งศูนย์วิจัย (มีพนักงานประมาณ 7,000 คน) เป็นหลัก โดย Globes รายงานว่าพนักงานกลุ่มนี้รับแพ็กเกจชดเชยของอินเทลแล้วไปหางานใหม่กันแล้ว
มีรายงานว่า Rick Cassidy ประธานส่วนธุรกิจของ TSMC ในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานตัวเลขของการผลิตชิปที่ โรงงานในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยมีอัตราผลผลิตหรือ Yield สูงกว่าโรงงานที่ไต้หวัน 4 จุดร้อยละ (percentage points) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่โรงงานในอเมริกามี Yield สูงกว่าไต้หวัน
อย่างไรก็ตามตัวแทนของ TSMC ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้ แต่อ้างอิงคำพูดของซีอีโอ C.C. Wei ที่กล่าวกับนักลงทุนในช่วงแถลงผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมาว่า โรงงานในสหรัฐอเมริกาแห่งแรก ได้เริ่มการผลิต 4 นาโนเมตรเมื่อเดือนเมษายน และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาน่าพึงพอใจมาก มี Yield ที่ดี ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของ TSMC และลูกค้า
C.C. Wei ซีอีโอของ TSMC ตอบคำถามใน งานแถลงผลประกอบการประจำไตรมาส 3/2024 ในประเด็นว่า คู่แข่ง Intel ประสบปัญหาการเงิน และอาจต้องขายโรงงานผลิตชิป แล้ว TSMC สนใจซื้อโรงงานเหล่านี้หรือไม่ คำตอบของ Wei คือ "ไม่สนใจเลย" (The answer is no, OK? No, not at all.)
- Read more about ซีอีโอ TSMC พูดชัด ไม่สนใจซื้อโรงงานผลิตชิปของ Intel
- Log in or register to post comments
สมาคมความปลอดภัยไซเบอร์ของจีน (Chinese Cyber Security Association) ออกคำเตือนให้ทำการตรวจสอบสินค้าของบริษัทอินเทล ว่ามีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยหรือไม่ ด้วยเหตุผลเรื่องความมั่นคงสำหรับผู้ใช้งานในประเทศ
ทั้งนี้สมาคมดังกล่าวไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ คำเตือนนี้จึงไม่มีผลทางกฎหมายให้มีการตรวจสอบสินค้าของอินเทลจริง แต่อาจเป็นการส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของจีน (Cyberspace Administration of China - CAC) ให้ออกคำเตือนได้ในอนาคต
เมื่อปีที่แล้ว CAC ได้ ตรวจสอบ Micron เรื่องความมั่นคงและนำมาสู่ คำสั่งแบน สินค้าในเวลาต่อมา
ASML ออกรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ประจำปี 2024 แม้ผลประกอบการยังคงแข็งแกร่ง ยอดขาย 7.5 พันล้านยูโร กำไรสุทธิถึง 2.1 พันล้านยูโร แต่ยอดจองรายไตรมาสกลับเหลือ 2.6 พันล้านยูโรเท่านั้นเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่ยอดจองถึง 5.5 พันล้านยูโร ทำให้ต้องลดประมาณการรายได้ปี 2025 จากเดิมเคยอยู่ในช่วง 35-40 พันล้านยูโร ลงมาเหลือ 30-35 พันล้านยูโร
แม้ว่ายอดจองล่าสุดจะลดลงแต่บริษัทก็ยังคาดว่าไตรมาสสี่ของปีนี้จะยังมียอดขายเติบโตต่อไป อยู่ระหว่าง 8.8-9.2 พันล้านยูโร แต่กระแสเงินสดอาจจะลดลงบ้างเพราะเงินดาวน์เข้ามาน้อยลง
Wu Cheng-wen รัฐมนตรีสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไต้หวัน เปิดเผยว่า TSMC มีแผนสร้างโรงงานเพิ่มเติมในยุโรป จาก แผนเดิมที่จะก่อสร้างโรงงานในเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี ซึ่งตอนนี้การก่อสร้างกำลังดำเนินอยู่
อย่างไรก็ตามตัวแทนของ TSMC บอกว่ายังไม่มีกำหนดเรื่องการขยายโรงงานเพิ่มเติมในยุโรป ตอนนี้บริษัทยังดำเนินการไปตามแผนที่เคยประกาศไว้ และยังไม่มีโครงการใหม่เพิ่มเติม
โรงงานของ TSMC ในเดรสเดน มีแผนเริ่มเดินสายการผลิตในปี 2027 ซึ่งจะเป็นโรงงาน TSMC แห่งแรกในภูมิภาคยุโรปด้วย โรงงานนี้เป็นการร่วมทุนกับบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของยุโรปอีก 3 รายได้แก่ Bosch, Infineon และ NXP โดย TSMC ถือหุ้น 70% และบริษัทที่เหลือถือรายละ 10%