วันที่ 19 เมษายน 1965 กอร์ดอน มัวร์ ที่ยังเป็นพนักงานของบริษัท FairChild เขียนบทความลงในวารสาร Electronics ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์ในไอซีจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกๆ หนึ่งปี นับเป็นจุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์นับแต่วันนั้น ต่อมาในปี 1975 เขาปรับการคาดการณ์ไว้ว่าจำนวนอุปกรณ์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ สองปี และจนวันนี้ กฎนี้จะคงใช้คาดการณ์ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนสูงได้อย่างต่อเนื่อง
สามปีหลังตีพิมพ์บทความนี้ตีพิมพ์ มัวร์ก็ร่วมกับ Robert Noyce และ Andrew Grove ก่อตั้งบริษัทอินเทล
กฎของมัวร์เคยถูกทำนายว่าจะไม่สามารถทำนายจำนวนอุปกรณ์ในไอซีได้อีกต่อไปเพราะข้อจำกัดทางเทคโนโลยีที่เราไม่สามารถทำไอซีด้วยเทคโนโลยีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ หรือไม่สามารถทนต่อความร้อนที่เกตจำนวนมากถูกวางต่อกันอย่างหนาแน่นจะทนได้ แต่จนวันนี้หลังการทำนายไปนับสิบปี กฎของมัวร์ก็ยังคงค่อนข้างแม่นยำอย่างมาก กฎของมัวร์กลายเป็นหลักชัยให้กับวงการซีพียูที่มุ่งจะวิจัยพัฒนากันให้ไปถึงเส้นที่กฎนี้กำหนดไว้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีครั้งนี้ กอร์ดอน มัวร์ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ระลึกความหลังถึงการคาดการณ์ในครั้งนั้น และที่มาของชื่อกฎที่เพื่อนของเขาคนหนึ่งเป็นคนเรียก (วิดีโออยู่ท้ายข่าว)
Comments
ผมว่ามันน่าจะเอากฏมาเป็นการผลักดันบริษัทมากกว่าเหมือน ติกตอก เพราะกฏนี้ใช้ไม่ได้กับบางบริษัท
อันนี้ไม่จริงเท่าไหร่ครับ แต่ละบริษัทมีรอบออกซีพียูไม่เท่ากัน (อินเทลจะถี่หน่อยเพราะยอดขายเยอะ) แต่จริงๆ แล้วซีพียูระดับสูง อย่างพวก SPARC, POWER หรือ Opteron เอง ก็ยังเกาะๆ เส้น Moore's Law กันอยู่
lewcpe.com , @wasonliw
ก้ => ก็
กอร์ดอน มัวร์ ที่ยังเป็นพนักงานของบริษัท FairChild 'เขียนเขียน'บทความ
แอบเสริม ผมว่า "ค่อนข้าง" หรือว่า "แม่นยำมาก" นี่คำเดียวก็พออะครับ ความหมายมันขัดกันด้วยซ้ำ
ผมแอบสงสัยเล็กๆ นะว่ากฎมัวรแม่นจริงหรือการขาย/เปิดตัวเทคโนโลยีนั้นทำตามกฎมัวร์
มันเหมือนความพยายามให้เป็นโดยบังเอิญซะมากกว่า เทคโนโลยีนาโนพัฒนาไปได้ไกลเทียบเคียงกับกฏมัวร์ เลยทำให้นักพัฒนายัดทรานซิสเตอร์ได้มากเท่าที่มันมากได้
และแน่นอนเทคโนโลยีไปไกลแล้ว ผู้ผลิตจะเดินแซงกฏมัวร์ก็ได้ แต่ที่ไม่ทำ เพราะเหตุผลเรื่องธุรกิจ สินค้าใหม่ที่เราใช้ใช่ว่าเพิ่งจะพัฒนาได้ในปีนี้ ความจริงแล้วอาจทำได้เมื่อหลายปีที่แล้ว ยกตัวอย่าง maxwell ของ nvidia ใครจะคิดเมื่อ 4-5ปีที่แล้ว มันจะทำได้ตาม roadmap ทั้งๆที่ตอนนั้นการ์ดจอซดไฟเพิ่มทุกปี แสดงให้เห็นว่ามีของดีอยู่ในมือคิดว่าทำได้แน่ แค่รอให้ถึงเวลาที่พร้อมเท่านั้น
มันก็ไม่ได้ถูกเสมอไปหรอกครับ เวลาผลิตอะไรมันก็ต้องมีตัว prototype ก่อนอยู่แล้วแต่ 4-5ปีที่แล้วกระบวนการผลิตที่ 28nm ยังไม่ค่อยดีนักต้นทุนการผลิตสูงมาก
ตอนนี้ผู้ผลิตชิบส่วนใหญ่ไม่มีโรงงานของตัวเองตัวเองแค่ทำหน้าที่ออกแบบเท่านั้นแล้วจ้างโรงงานผลิตมีไม่กี่เจ้าที่มีโรงงานของตัวเอง จริงๆแล้วที่ออกมาช้าเหตุผลหลักไม่ใช่แค่ธุรกิจที่กั๊กไว้แต่โรงงานผลิตจะต้องพร้อมที่จะผลิตในแบบ mass production ด้วยซึ่งสองอย่างนี้ไปควบคู่กัน ชิบนั้นออกแบบไว้ล่วงหน้านานแล้วแต่ปัญหาคือโรงงานที่ผลิตต่างหาก
ถ้า TSMC ทำได้ตาม roadmap เราก็ไม่เห็ 28nm ยาวนานกันแบบนี้หรอกครับ
แล้วก็ Maxwell ไม่ได้ทำได้ตาม roadmap นะครับถูกเลื่อนอีกต่างหาก
ในปีนี้หลายเจ้าเลยที่โโนเลื่อนแม้กระทั่งยักษ์ใหญ่จาก Intel ซึ่งต้องออก broadwell มาตั้งแต่ปีที่แล้วสุดท้ายต้องมาออกปีนี้พร้อมๆกับ Skylake เพราะปัญหาความไม่พร้อมของโรงงานผลิตล้วนๆเลยครับ
ตอนนี้ข่าวล่าสุดคาดว่าในปลายปีจะได้เห็น 14nm กันเยอะในขณะที่ TSMC ยังค้างๆคากับ 16nm จน Nvidia เตรียมย้ายไปใช้บริการเจ้าอื่นแล้ว
จริงครับ ปัญหามันอยู่ที่การผลิต ระดับ Mass มากกว่า จริงๆๆผมว่าดีไม่ดี CPU ที่ intel จะขายให้ปี 2020 นี้ intel อาจจะออกแบบเสร๊จแล้ว กำลังทดสอบอยู่ และ พัฒนา เทคนิคการผลิตแบบ mass อยู่แล้วด้วยซ้ำไปนะครับ
เขาทำได้ดีกว่ากฏของมัวร์ แต่ที่ทำตามกฏ เพราะคงต้องเก็บไว้เป็นแรงกระตุ้นให้วิจัย พัฒนา แต่การที่ไม่เอาสิ่งที่วิจัยเสร็จใหม่ๆ มาขายเพราะ ของเก่า เทคโนโลยีที่วิจัยเก่าๆ ยังขายได้ จะรีบเอาของใหม่มาขายให้เสียของทำไม งบวิจัยเสียไปเยอะอยู่นะครับ ในเมื่อยังเป็นผู้นำตลาด ก็ไม่ต้องห่วงอะไรมาก
นอกเสียจากไม่มีเทคโนโลยีในสต็อคเพียงพอ จึงมีสิทธิแหกกฏมัวร์ คือ ทำไม่ได้ตามที่บอก
สงสัยเหมือนกันว่ากฎของมัวร์เป็นแค่กลยุทธ์ทางการตลาดหรือเปล่า? (ที่หลายบริษัทบังเอิญเห็นตรงกันว่ามันควรทำตามนี้ แถมอินเทลก็เป็นเจ้าตลาดระดับนึงด้วย)
:-)
ผมมองว่ากฏของมัวล์ มีเหตุผล เพราะการจะวิจัยจดสิทธิบัตร ผลิต ทดลอง ทำการตลาดมันใช้เวลาก็ ประมาณ 2 ปี มันไม่ใช่วิจัยเสร็จปุ๊บทั้งโลกได้ใช้ทันที ต้องเก็บบัค หาความผิดพลาดอีก ออกแบบมันง่ายมาก แต่มาจัดการความผิดพลาดมันยากมาก