วันที่ 19 เมษายน 1965 กอร์ดอน มัวร์ ที่ยังเป็นพนักงานของบริษัท FairChild เขียนบทความลงในวารสาร Electronics ระบุว่าจำนวนอุปกรณ์ในไอซีจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุกๆ หนึ่งปี นับเป็นจุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์นับแต่วันนั้น ต่อมาในปี 1975 เขาปรับการคาดการณ์ไว้ว่าจำนวนอุปกรณ์จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ สองปี และจนวันนี้ กฎนี้จะคงใช้คาดการณ์ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนสูงได้อย่างต่อเนื่อง
สามปีหลังตีพิมพ์บทความนี้ตีพิมพ์ มัวร์ก็ร่วมกับ Robert Noyce และ Andrew Grove ก่อตั้งบริษัทอินเทล
- Read more about ครบรอบ 50 ปี กฎของมัวร์ แม่นกว่าที่มัวร์คาดไว้
- 12 comments
- Log in or register to post comments
กฏของ Moore ทำนายว่าจำนวนทรานซิสเตอร์ในวงจรรวมจะเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ สองปี แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์แบบเดิมใกล้ถึงขีดจำกัดเนื่องจากขนาดทรานซิสเตอร์ที่เล็กลงส่งผลให้การควบคุมกระแสไฟฟ้ายากขึ้นและเกิดความร้อนสูง ทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัย Colorado Boulder, Massachusetts Institute of Technology และบริษัท Micron Technology นำทีมโดย Milos Popovic ค้นพบทางออกของปัญหานี้โดยการสร้างตัวกล้ำสัญญาณแสง (optical modulator) ซึ่งสามารถแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณแสงได้ โดยตัวแปลงสัญญาณนี้สามารถรวมเข้าไปในวงจรรวมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้เลย การใช้แสงสื่อสัญญาณ (Photonic) แทนอิเล็กตรอนนั้นมีข้อดีหลายประการเช่น
กฎของ Moore กล่าวว่า ประสิทธิภาพของวงจรรวม (IC - Integrated Circuit) จะพัฒนาขึ้นจากการเพิ่มทรานซิสเตอร์ขึ้นเท่าตัวในทุกๆ 18 เดือน หากว่ากฎของ Moore นั้นจะถึงจุดสิ้นสุดเมื่อขนาดของทรานซิสเตอร์เล็กจนเหลือเพียง 1 อะตอม (คือไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้) ซึ่งถ้าตามกฎของ Moore แล้วเวลานั้นควรจะมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)