เฟิร์มแวร์เมนบอร์ดที่คั่นกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฎิบัติการนั้นใช้ BIOS มาเป็นเวลานาน โดยเริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 1975 ทุกวันนี้เครื่องรุ่นใหม่ๆ แม้จะมี UEFI แล้ว ก็ยังคงใช้ BIOS เมื่อเปิดโหมดรองรับการทำงานแบบเดิม (Compatibility Support Module - CSM) แต่ที่งาน UEFI Plugfest เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Brian Richardson จากอินเทลก็ประกาศว่าอินเทลกำลังจะถอด CSM ออกไปทั้งหมดในปี 2020
UEFI และ Secure Boot ยังคงมีปัญหากับซอฟต์แวร์จำนวนมากในทุกวันนี้ เช่นการติดตั้งไดร์เวอร์กราฟิกบนลินุกซ์ที่่ทางแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือการเปิดใช้ CSM ในการบรรยายครั้งนี้ Brian เองก็ยอมรับปัญหานี้ และเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาให้หมดไป โดยไดร์เวอร์ต่างๆ ควรทำงานได้โดยไม่ต้องปิด Secure Boot (ซึ่งหลายเครื่องขั้นตอนการปิดก็ยุ่งยาก) หรือต้องเปิดใช้ CSM
ที่มา - Phoronix
Comments
ทุกวันนี้ยังงงกับระบบ boot UEFI กับ Legacy อยู่เลย เปลี่ยนไปเปลี่ยนมางงไปหมด
โห... 43 ปีแล้วเหรอเนี่ย ไม่น่าเชื่อว่าเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ยืดเยื้อนานขนาดนี้เลย
แต่ว่าตามตรง คอมผมซื้อมาไม่ถึง 6 เดือนก็ยังใช้ legacy อยู่นะ UEFI ปัญหามันเยอะจัดจริงๆ = =)
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
พอเปิด UEFI เวลาติดตั้งระบบปฏิบัติการ ก็ต้องรันในโหมด UEFI ซึ่งไม่ค่อยยอมให้เรา format partition เดี่ยวๆ อีก ต้อง format ยกลูกเลย
น่าจะเพราะว่ามันต้องการ Partition Table แบบ GPT ครับ
สมัยก่อนที่ใช้กันจะเป็น MBR กันหมด ตอนที่เปลี่ยนมาใช้ครั้งแรกเลยต้อง
เปลี่ยน Partition Table ใหม่ก่อน เลยต้อง Format ทั้งลูกครับ
โชคดีใช้ PC เป็นหลัก one dirve one partition
เครื่องสมัยนี้ ที่มันออกแบบมาจริง ๆ คือ เสียบ NVMe แล้ว boot เป็น UEFI + TPM 2.0
Format ด้วย BitLocker ทั้งก้อน แล้วลง windows สร้าง userด้วย Microsoft Account login จะพ่วง กล้องหรือสแกนนิ้วมือ ไปอีกรอบก็ดี
Data ส่วนตัวควรอยู่บน Physical Disk อีกอันหนึ่งที่ไม่ใช่ OS
ถ้าเป็น notebook มันไม่ได้เหมาะน่ะสิ