PC Gamer รายงานว่าผู้ผลิตเมนบอร์ดบางราย เช่น MSI และ Asus เริ่มปล่อยอัพเดต BIOS ที่มี microcode แก้ปัญหาซีพียู Intel Core 13th/14th Gen ให้ลูกค้าแล้ว
เมนบอร์ดเหล่านี้ใช้ชิปเซ็ต Intel ซีรีส์ 600 และ 700 โดยเป็น BIOS เวอร์ชัน 0x129 ที่ใหม่กว่าเวอร์ชัน 0x125 ที่เคยออกมาก่อนหน้านี้
รายชื่อเมนบอร์ดที่ประกาศบนหน้าเว็บของ MSI แล้วคือ
ช่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน วงการฮาร์ดแวร์พีซีพบปัญหาซีพียู AMD Ryzen 7000 ร้อนจนไหม้กันไปหลายเครื่อง หลังสอบสวนหาสาเหตุกันไปมาพบว่าศักย์ไฟฟ้าของซีพียูตอนโหลดสูงๆ พุ่งไปถึง 1.4V ทำให้เกิดปัญหาความร้อนจนไหม้ ทำให้ AMD ต้องออกแพตช์ควบคุมปริมาณศักย์ไฟฟ้าของชิปไม่ให้เกิน 1.3V และทยอยอัพเดตผ่านเฟิร์มแวร์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดยี่ห้อต่างๆ ซึ่งดูเหมือนเคลียร์กันจบแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัญหากลับซับซ้อนขึ้นไปอีก เพราะมีคนพบว่า ASUS ออกเฟิร์มแวร์ BIOS รุ่นใหม่ที่ยังมีสถานะเป็น Beta กลับไม่ทำหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น ไม่จำกัดศักย์ไฟฟ้าชิปที่ 1.3V และเมื่อซีพียูโหลดสูงๆ วัดค่าศักย์ไฟฟ้าได้ 1.34V แถมการใช้เฟิร์มแวร์ Beta ยังมีผลต่อการรับประกันสินค้าด้วย
ก่อนหน้านี้ไม่นานมีคนอ้างว่าได้ซอร์สโค้ด BIOS/UEFI ของซีพียู Alder Lake (12th Gen) หลุดออกมาเผยแพร่ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ล่าสุดอินเทลยืนยันแล้วว่าเป็นซอร์สโค้ดที่หลุดมาจริงๆ
อินเทลบอกว่าการหลุดของซอร์สโค้ดรอบนี้จะไม่กระทบกับช่องโหว่ความปลอดภัยใดๆ และบอกว่าซอร์สโค้ดอยู่ภายใต้โครงการ Bug Bounty อยู่แล้ว ดังนั้นถ้านักวิจัยความปลอดภัยมาอ่านซอร์สโค้ดแล้วเจอช่องโหว่ใหม่ ก็มารับรางวัลได้เลย (สูงสุด 100,000 ดอลลาร์ต่อช่องโหว่)
Valve ออกอัพเดต BIOS ของเครื่องเล่นเกม Steam Deck มีของใหม่ที่สำคัญคือรองรับ Firmware Trusted Platform Module (fTPM) ทำให้สามารถติดตั้ง Windows 11 ได้แล้ว
เมื่อเดือนที่แล้ว Valve ออกไดรเวอร์ของ Windows ให้ Steam Deck แต่ยังไม่สมบูรณ์ และรองรับเฉพาะ Windows 10 เพราะ Windows 11 จำเป็นต้องมี TPM ด้วย
อัพเดตตัวนี้ยังมีสถานะเป็น Beta ทดสอบอยู่ในวงจำกัด ก่อนปล่อยให้ผู้ใช้ทั่วไปในภายหลัง
AMD ยืนยันปัญหาประสิทธิภาพซีพียูตระกูล Ryzen บางรุ่น หากใช้คู่กับ Firmware Trusted Platform Module (fTPM) ซึ่งมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งรายงานเข้ามาว่าพบปัญหาทั้งบน Windows 10/11 (ดูคลิปตัวอย่างได้ท้ายข่าว จะเห็นการกระตุกระหว่างเล่นเกม)
เราอาจคุ้นชื่อของ TPM จากข้อกำหนดของ Windows 11 ที่บังคับว่าพีซีต้องมี TPM ด้วย โดย Firmware Trusted Platform Module (fTPM) เป็นรูปแบบหนึ่งของ TPM ที่ใช้ระบบของเฟิร์มแวร์ ต่างจากการใช้ชิปแยกเฉพาะ (Discrete TPM หรือตัวย่อ dTPM)
AMD บอกว่ากำลังทำงานกับผู้ผลิตเมนบอร์ดออกไฟล์ system BIOS (sBIOS) มาแก้ไข ซึ่งจะเริ่มออกได้ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2022 ระหว่างนี้ขอให้เปลี่ยนไปใช้ dTPM แทน (ถ้ามี) หรือปิดการทำงานของ fTPM ไปเลยถ้าไม่จำเป็นต้องใช้งาน
จากปัญหา Ubuntu 17.10 ทำให้ BIOS ของโน้ตบุ๊ก Lenovo, Acer และ Toshiba บางรุ่นเสียหาย ล่าสุดทาง Ubuntu กำลังจะออกอิมเมจ ISO ของ Ubuntu 17.10 ใหม่ทั้งหมด ที่แก้บั๊กนี้แล้ว
เป้าหมายของทีมงานคือออกในวันพฤหัสนี้ (11 มกราคม) แต่อาจเลื่อนออกไปได้ถ้าทดสอบแล้วยังเจอปัญหา
อย่างไรก็ตาม อิมเมจตัวใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นก่อนข่าว Spectre/Meltdown ทำให้มันไม่รวมแพตช์ป้องกันมาด้วย ผู้ที่ดาวน์โหลดอิมเมจไปใช้งานต้องอัพเดตแพตช์กันเองหลังติดตั้งเสร็จแล้ว
เฟิร์มแวร์เมนบอร์ดที่คั่นกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และระบบปฎิบัติการนั้นใช้ BIOS มาเป็นเวลานาน โดยเริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 1975 ทุกวันนี้เครื่องรุ่นใหม่ๆ แม้จะมี UEFI แล้ว ก็ยังคงใช้ BIOS เมื่อเปิดโหมดรองรับการทำงานแบบเดิม (Compatibility Support Module - CSM) แต่ที่งาน UEFI Plugfest เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Brian Richardson จากอินเทลก็ประกาศว่าอินเทลกำลังจะถอด CSM ออกไปทั้งหมดในปี 2020
- Read more about เตรียมลา BIOS อินเทลเตรียมหยุดซัพพอร์ตในปี 2020
- 7 comments
- Log in or register to post comments
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2015 นักวิจัยด้านความปลอดภัย Pedro Vilaca ได้โพสต์เปิดเผยช่องโหว่ของ Mac OS X ที่ปล่อยให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาแฟลช BIOS และฝัง rootkit ได้ผ่านการโจมตีระยะไกล
McAfee ตรวจพบมัลแวร์ "Bioskits" ที่ซ่อนตัวและแพร่กระจายผ่านทาง BIOS โดยจะทำการเรียกตัวเองทุกครั้งที่ผู้ใช้งานมีการบูทอุปกรณ์นั้นๆ ใหม่ ซึ่งนี่ก็เป็นมัลแวร์ตัวที่สองแล้วที่มีลักษณะการทำงานเกี่ยวข้องกับ BIOS โดยตัวแรกชื่อ "MyBios" ถูกตรวจพบเมื่อช่วงปลายปี 2011 โดยบริษัทด้านความปลอดภัยสัญชาติจีน ( กรณีการตรวจสอบ MyBios )
บริษัทด้านความปลอดภัยในประเทศจีน ค้นพบมัลแวร์ชนิดใหม่ชื่อ Mebromiซึ่งกำลังระบาดในประเทศจีน ที่น่าสนใจคือมันเล่นงานคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับ BIOS ขึ้นมาเลยทีเดียว
กระบวนการทำงานของมันจะซับซ้อนหน่อย เริ่มจากมันจะหาทางติดตั้งไดรเวอร์ปลอมๆ ที่ทำงานในระดับเคอร์เนล (kernel mode driver) เพื่อเข้าถึง physical memory ในเครื่อง เมื่อติดตั้งไดรเวอร์และเข้าถึง physical memory ได้แล้ว มันจะตรวจสอบที่ตำแหน่ง 0xF0000 ว่ามี BIOS อยู่หรือไม่ (ซึ่งส่วนมากมักจะใช่) และเรียกโปรแกรมเขียน BIOS (ซึ่งเป็นของแท้จากบริษัทผลิต BIOS เสียด้วย) มาเขียนโค้ด rootkit ลงไปที่ BIOS
BIOS เป็นเทคโนโลยีที่อยู่กับเรามาตั้งแต่ปี 1979 ปัญหาคือพีซีทุกวันนี้ต่างจากพีซีสมัยก่อนมาก แต่ยังต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของ BIOS ที่สร้างขึ้นมาคนละสมัยกันอยู่ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น ไม่รองรับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่เกิน 2TB ที่กำลังจะกลายเป็นมาตรฐาน เป็นต้น
ผู้ผลิตพีซีบางราย เช่น แอปเปิล ได้ทิ้ง BIOS และเปลี่ยนมาใช้ EFI ของอินเทล ตั้งแต่ปี 2005 ส่วนผู้ผลิตพีซีรายอื่นๆ กำลังมีแผนจะเปลี่ยนจาก BIOS มาใช้ UEFI (มันคือ EFI ที่อินเทลยกให้องค์กรกลางดูแล เลยเปลี่ยนชื่อเป็น UEFI) ในปีหน้า 2011 ตัวอย่างตามข่าวเก่าคือ MSI จะเลิกใช้งาน BIOS ภายใน 3 ปี
- Read more about ผู้ผลิตพีซีเตรียมดัน UEFI แทน BIOS ในปีหน้า
- 22 comments
- Log in or register to post comments
หนึ่งในเทคโนโลยีที่อยู่ค้ำฟ้าในโลกคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คือ BIOS ที่มีการใช้งานมาตั้งแต่ช่วงต้นยุค 1990 หรือเกือบ 20 ปีแล้ว และทาง MSI ก็เตรียมย้ายเมนบอร์ดของตัวเองไปใช้งานระบบ UEFI ภายในสามปีข้างหน้า เริ่มต้นด้วยเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต Sandy Bridge ของอินเทล
จุดต่างในเชิงเทคนิคของ UEFI นอกจากมาตรฐานที่ต่างกันแล้ว UEFI ยังพัฒนาด้วยภาษา C แทนที่ภาษา Assembly ที่ใช้ใน BIOS
- Read more about MSI เตรียมบอกลา BIOS ในสามปี
- 11 comments
- Log in or register to post comments
แทบจะ copy paste ได้เลยสำหรับหัวข้อข่าวนี้ หลังจากที่ฝั่ง Linux อย่าง Ubuntu 9.10 สามารถบูตได้เร็วที่สุด 5 วินาที Windows 7 เองก็มีมาอวดกับเขาเหมือนกันถึงแม้จะไม่เร็วเท่าก็เถอะ
ปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งคือฟีเจอร์ Instant Boot BIOS ที่ทาง Phoenix เอามาแสดงในงาน IDF ที่เพิ่งจบไปครับ โดยปกติแล้ว การโหลด BIOS จะใช้เวลาราวๆ 5-10 วินาที แต่ด้วยฟีเจอร์นี้จะกินเวลาเพียงวินาทีเดียวเองเท่านั้น
- Read more about ขอบ้าง! Windows 7 ใช้เวลาบูต 10 วินาทีบน SSD
- 44 comments
- Log in or register to post comments
Phoenix Technologies ได้เปิดตัวเทคโนโลยี ที่เรียกว่า HyperSpace ซึ่งจะทำงานผ่านเทคโนโลยีเวอร์ชวลแมชชีนอีกชั้นนึง ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีตัวนี้ จะทำให้เราใช้งานเบราเซอร์ได้แทบจะทันทีหลังจากการเปิดเครื่อง (ในข่าวบอก 4 วินาที) นอกจากเบราว์เซอร์์แล้ว ยังมีโปรแกรมอื่น ๆ อีก เช่น โปรแกรมดูดีวีดี, โปรแกรมเล่นเอ็มพีสาม หรือแม้กระทั่ง Skype ลักษณะการทำงานก็คือ ชุดโปรแกรมพร้อมใช้งาน (มีชื่อเรียกว่า Hyperspace Appliance) จะถูกเรียกขึ้นมา หลังการตรวจเช็คฮาร์ดแวร์ทันทีที่เปิดเครื่อง ในขณะที่ชุดโปรแกรมพร้อมใช้งานถูกเรียกใช้แล้ว ระบบปฏิบัติการอื่น ๆ อย่างเช่น วินโดวส์เอ็กซ์พี หรือ วินโดวส์วิสต้า ก็ทำการบูทตามปกติ เมื่อระบบปฏิบัติการถูกบูทเรียบร้อย ผู้ใช้งานสามารถสลับไปยัง
- Read more about เปิดคอมพิวเตอร์พร้อมใช้งานใน 4 วินาที
- 6 comments
- Log in or register to post comments