UltraHaptics สตาร์ทอัพพัฒนาโซลูชันตรวจจับการเคลื่อนไหวด้วยมือประกาศการควบรวม Leap Motion ผู้พัฒนาโซลูชันเดียวกันและ AR, VR โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการ แต่มีรายงานว่ามูลค่าการซื้อครั้งนี้อยู่ที่ราว 30 ล้านเหรียญ
UltraHaptics จะได้ทั้งสิทธิบัตรและพนักงานของ Leap Motion ไปทั้งหมด ยกเว้น Michael Buckwald ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Leap Motion ที่จะไม่ตามไปอยู่กับ UltraHaptics ด้วย
ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า Apple สนใจเข้าซื้อ Leap Motion ถึงสองครั้ง แต่ดีลล่มเพราะผู้ก่อตั้งเกลียด Apple
Business Insider ออกรายงานพิเศษโดยอ้างแหล่งข่าวภายใน เกี่ยวกับการเจรจาระหว่างแอปเปิล กับ Leap Motion บริษัทผู้พัฒนาด้าน VR, AR และอุปกรณ์สั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยการตรวจจับความเคลื่อนไหวของมือ โดยแอปเปิลต้องการซื้อกิจการทั้งหมด แต่ดีลนี้ก็ไม่เกิดขึ้นและกลายเป็นปัญหากับ Leap Motion เอง
David Holz ซีทีโอของ Leap Motion เผยว่าบริษัทได้เผยโฉม Reference Design ของแว่น VR สำหรับสมาร์ทโฟน (Mobile VR Head-Mounted Display) ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ของ Leap Motion รุ่นที่ 2 โดยขณะนี้กำลังร่วมมือกับพาร์ทเนอร์หลายเจ้าอาทิ ซัมซุง ในการออกผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ Leap Motion ในปีหน้า
เซ็นเซอร์ในดีไซน์อ้างอิงแว่น VR ของ Leap Motion ได้เพิ่มมุมมองของตัวกล้องและพื้นที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวจาก 140x120 องศา เป็น 180x180 องศา พร้อมเพิ่ม Depth of View และกินพลังงานน้อยลง 50% และถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับสมาร์ทโฟนที่ใช้ซีพียู ARM โดย Leap Motion มีแผนที่จะทำแว่น VR และแว่น VR สำหรับสมาร์ทโฟน ที่มาพร้อมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่งงานด้วยมือของตัวเองด้วย
Leap Motion ผู้ผลิตอุปกรณ์สั่งงานคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือ (อ่าน รีวิว ) ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2012 และกระแสตอบรับดีมาก แต่แผ่วไปในช่วงหลังเพราะการทำงานร่วมกับพีซีไม่ได้ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีนัก
ล่าสุด Leap Motion ออกมาโชว์ผลงานใหม่ในชื่อ Orion ชุดซอฟต์แวร์สำหรับรับการสั่งงานด้วยมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับ VR โดยเฉพาะ ด้วยการปรับปรุงความหน่วง (latency) ให้สั้นลงมาก ตรวจจับมือได้รวดเร็วขึ้น และใช้งานได้ระยะไกลขึ้น
Engadget รายงานว่า มีผู้ใช้รายหนึ่งที่มีชื่อว่า "Tipatat" (ใน YouTube ชื่อ "misterbunbun") ทำการอัพโหลดคลิปวิดีโออันหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวอย่างเกม Pokemon ที่สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานแบบ Virtual Reality (VR) โดยเฉพาะ
ในรายละเอียดแล้ว ผู้ใช้คนดังกล่าวได้ทำการผนวกรวมระหว่าง Oculus Rift, Leap Motion และ VoiceAttack (ซอฟต์แวร์รับคำสั่งเสียงบน Windows ที่จะแปลงเสียงให้กลายเป็นการกดคำสั่งบนแป้นพิมพ์) ผลที่ได้คือการเล่นเกม Pokemon แบบ Virtual Reality ซึ่งผู้ใช้จะสามารถเขวี้ยงบอลเก็บตัวละครต่างๆ ได้เหมือนจริง
ทั้งนี้ ผู้ใช้คนดังกล่าวยังเปิดให้บุคคลทั่วไป สามารถดาวน์โหลดเอาไปทดลองใช้งานได้ด้วย
ที่มา - Engadget
อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของวงการแว่น VR เสมือนจริงคือสายตาของเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงแล้ว แต่การควบคุมในเกมยังต้องอิงกับระบบเดิมๆ อย่างคีย์บอร์ด เมาส์ หรือจอยเกมอยู่ ทำให้ประสบการณ์การเล่นยังไม่เป็นธรรมชาติมากนัก
ปัญหานี้อาจหมดไปเมื่อ Leap Motion ผู้พัฒนาระบบติดตามการเคลื่อนไหวของมือ ประกาศออก API ตัวใหม่ที่ส่งภาพอินฟราเรดจากเซ็นเซอร์ไปยังแว่น VR (เช่น Oculus Rift) เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็น "มือ" ของตัวเองจากแว่น VR ได้ด้วย (ดูวิดีโอเข้าใจง่ายกว่าครับ)
Leap Motion ยังออกแบบอุปกรณ์ยึดเกี่ยว (mount) ให้เราสามารถนำเซ็นเซอร์ Leap ไปแปะไว้กับด้านหน้าของแว่น VR ได้ เพื่อการันตีว่าเมื่อหันหัวขณะใส่แว่น VR จะเห็นมือของตัวเองเสมอ
ปลายปีที่แล้วเอชพีเปิดตัวพีซีที่มี Leap Motion ติดมาในตัวชุดใหญ่ แม้ว่าจะน่าสนใจแต่ตัวคีย์บอร์ดนั้นไม่สามารถซื้อแยกได้ ต้องซื้อพร้อมกับพีซี All-in-One บางรุ่นเท่านั้น ตอนนี้ทาง Leap Motion ก็ออกมาให้ข่าวว่าเอชพีจะขายคีย์บอร์ดตัวนี้เป็นสินค้าแยก ในราคา 99 ดอลลาร์
คีย์บอร์ดตัวนี้จะทำงานร่วมกับ Windows 7 และ Windows 8 ได้ทุกตัว ไม่จำเป็นต้องใช้กับเครื่องของเอชพีแต่อย่างใด
ทาง Leap Motion ระบุว่าจะเริ่มสั่งได้ภายในเดือนนี้
ที่มา - Engadget
Leap Motion ได้ออกอัพเดตเวอร์ชันเบต้า สำหรับนักพัฒนาแล้ว เพื่อแก้ปัญหาจากการใช้งาน ที่เกิดจากซอฟต์แวร์ในเวอร์ชันแรก เช่น อินฟราเรดจะส่งผลต่อเซ็นเซอร์ หรือปัญหาตรวจจับมือที่ซ้อนกันอยู่ไม่ได้ ซึ่งเปลี่ยนมาเป็น อาศัยการตรวจจับจากข้อต่อและกระดูกแทน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- สามารถแยกแยะนิ้วและมือได้แล้วว่าเป็นนิ้วไหน ข้างไหน
- สามารถตรวจจับนิ้วที่ทับซ้อนกันอยู่ได้ เช่น การไขว้นิ้ว หรือวางมือแนวตั้ง
- แก้ปัญหาเซ็นเซอร์ตรวจจับไม่ได้ เมื่อเจอแสงอินฟราเรด
ทาง Leap Motion ยังบอกอีกว่าอัพเดตนี้เป็นเพียงอัพเดตแรกๆ และจะมีออกมาอีก ก่อนที่จะปล่อยให้ผู้ใช้ทั่วไปได้อัพเดตต่อไปในอนาคต
หากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่งงานด้วยท่าทางอย่าง Leap Motion ฝังอยู่ภายใน การควบคุมและสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้นคงสะดวกและมีความน่าสนุกเพิ่มขึ้นอีกมาก ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นเรื่องในอนาคตอันใกล้ที่จะมาถึงในช่วงปีหน้าก็เป็นได้
Michael Buckwald ซีอีโอของ Leap Motion เปิดเผยว่าทีมงานประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาทางเทคนิคเรื่องฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตตัวเซ็นเซอร์ Leap Motion ที่มีขนาดเล็กลงได้ และนั่นหมายถึงการพัฒนาไปอีกขั้นของทีมงานที่ตอนนี้มองไปถึงความเป็นไปได้ในการผลักดันผลิตภัณฑ์ไปเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต
HP มาเหนือเมฆ เปิดตัว ENVY 17 Leap Motion Special Editionโน้ตบุ๊กที่ฝังเซ็นเซอร์ Leap Motion มาให้ในตัว สามารถสั่งการได้โดยไม่ต้องสัมผัสตัวเครื่องแม้แต่น้อย (ไม่รู้จัก Leap Motion? อ่าน รีวิวของคุณ inkirby )
สเปกอย่างอื่นๆ ก็มาตรฐานตัวแรง หน้าจอ 17.3" 1920x1080, ซีพียู Core i7 Haswell, แรม 8GB, ฮาร์ดดิสก์ 1TB 5400 rpm (อัพเป็น 7200 rpm ได้), การ์ดจอ NVIDIA GeForce ไม่ระบุรุ่น ส่วนของเด็ดอย่าง Leap Motion ดูกันเองในวิดีโอท้ายข่าว
ราคาเริ่มต้นที่ 1,049 ดอลลาร์ เริ่มวางขาย 16 ตุลาคมนี้
เริ่มขายไปได้ยังไม่ถึงหนึ่งเดือนดี Leap Motion อุปกรณ์เสริมสำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่ (ที่คุณ inkirby มารีวิวลง Blognone ไป ) ก็ประกาศยอดดาวน์โหลดแอพใน AirSpace Store ทะลุหนึ่งล้านครั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ตอนนี้ใน AirSpace Store มีแอพอยู่ทั้งหมด 87 ตัว กว่าสามในสี่เป็นแอพเสียเงินราคาตั้งแต่ 0.99-9.99 เหรียญ แอพในสโตรเป็นเกมเสียส่วนใหญ่ ที่น่าสนใจคือแอพทำเงินมากที่สุดกลับไม่ใช่เกม แต่เป็นแอพที่ชื่อว่า Geco MIDI สำหรับควบคุมการเล่นเพลงด้วยด้วยระบบท่าทาง (ดูข้อมูลแอพได้จาก ที่นี่ )
- Read more about ยอดดาวน์โหลดแอพบน Leap Motion ทะลุหนึ่งล้านครั้งแล้ว
- 4 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากผมได้มีโอกาสลองจับเจ้า Leap Motion Controller (ซึ่งผมขอเรียกสั้นๆ ว่า Leap นะครับ) ไปเมื่อหลายเดือนก่อน และได้เขียน[บทความเอาไว้](http://www.blognone.com/node/42237)ในช่วงที่ทาง [Leap Motion](http://www.leapmotion.com/) ยังให้แค่สั่งจองล่วงหน้านั้น ปัจจุบันก็ได้วางจำหน่ายเต็มรูปแบบแล้ว (ถึงแม้จะโดน[โรคเลื่อน](http://www.blognone.com/node/43805)ไปบ้าง) และผมก็สั่งซื้อมาอยู่ในครอบครองแล้วเช่นกัน จึงนำมาเขียนรีวิวให้ทุกๆ ท่านได้อ่านกันครับ
##Leap คืออะไร
- Read more about รีวิว Leap Motion Controller พร้อม Airspace
- 19 comments
- Log in or register to post comments
Leap Motion ผู้ผลิต อุปกรณ์สำหรับสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ด้วยวิธีการเคลื่อนไหวพร้อมจัดตำแหน่งและท่าทางของมือ ออกมาแจ้งข่าวเรื่องการเลื่อนกำหนดการส่งสินค้าให้แก่ผู้สั่งซื้อชุดแรก จากเดิมที่จะเริ่มส่งของตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม ออกไปเป็นวันที่ 22 กรกฎาคม
Google Earth ออกเวอร์ชันใหม่ 7.1 ต้อนรับ วันคุ้มครองโลก โดยมีฟีเจอร์ที่สำคัญคือรองรับการสั่งงานผ่าน Leap Motion Controller
การใช้งาน Leap Motion Controller ทำโดยเพียงการเคลื่อนที่และปรับทิศทางการวางมือเพื่อสั่งการ ก็สามารถควบคุมมุมมองภายใน Google Earth ได้ราวกับกำลังบินอยู่บนท้องฟ้า
นอกจากนี้ใน Google Earth 7.1 นี้ยังมีการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับดวงดาวและดาราจักรทางช้างเผือกให้มีความถูกต้องสมจริงยิ่งขึ้นด้วย
**Leap Motion Controller** คืออุปกรณ์จาก [Leap Motion](https://www.leapmotion.com/) สำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือ นิ้วมือ และเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก (อย่างเช่นปากกาหรือพู่กัน) โดยสามารถตรวจจับได้ด้วยอัตราการส่งข้อมูลที่สูง (สูงสุดถึง 120 fps) และมีความแม่นยำสูง ในระดับ 0.01 มิลลิเมตร (หน่วยที่ใช้ในข้อมูลจะเป็นมิลลิเมตร)
ถ้านึกภาพไม่ออก อุปกรณ์ตัวนี้จะมีลักษณะการตรวจจับคล้ายๆ กับ Kinect ของ Microsoft คือใช้อินฟราเรดในการตรวจจับ ซึ่งก็หมายความว่าถ้าหากนำไปใช้ในที่ๆ มีแสงจ้า ก็อาจจะไม่สามารถทำงานได้เลย
วิดีโอสำหรับใครที่ยังไม่รู้จักเจ้าตัวนี้ครับ
- Read more about ทดลองจับ Leap Motion Controller
- 39 comments
- Log in or register to post comments
หลังจากบริษัท Leap Motion เปิดตัว Leap อุปกรณ์เสริมให้ผู้ใช้สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์โดยการเคลื่อนไหวของร่างกาย คล้าย Kinect ของ Microsoft และผลิตขายตามยอดสั่งจองเท่านั้น ล่าสุดบริษัทฯ ประกาศว่าสามารถผลิตอุปกรณ์ได้เต็มกำลังการผลิตแล้ว และประกาศความร่วมมือกับ ASUS เพื่อใส่อุปกรณ์แบบต่อพ่วงผ่านสายยูเอสบีของตนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กบางรุ่น และติดตั้งแอพไคลเอนท์เพื่อเข้าถึงแอพสโตร์ของ Leap Motion กับคอมพิวเตอร์ดังกล่าว โดยการขายคอมพิวเตอร์พ่วงอุปกรณ์เสริมนี้จะมาในช่วงหลังของปีนี้
ทุกวันนี้ เราใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยเมาส์และคีย์บอร์ดกันเป็นปกติ ไม่ว่าจะเล่นเกมหรือทำงานก็ตาม แต่ก็มีนักพัฒนาบางกลุ่มที่คิดต่าง พัฒนาอุปกรณ์และวิธีสั่งการคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ขึ้นมาให้เห็นกันเป็นระยะ ยกตัวอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ เช่น ใช้ปากกา (อย่าง Wacom Bamboo series) ใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinect เป็นต้น) หรือใช้รีโมทหรือเมาส์ที่มีเซนเซอร์ต่างๆ นานา