ประเด็นการหลอกลวงโอนเงินรูปแบบต่างๆ จนเกินความเสียหายต่อประชาชนเป็นวงกว้างเป็นปัญหาในหลายประเทศ โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ออก แนวทางให้ธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือร่วมรับผิดชอบ (Shared Responsibility Framework - SRF) แม้จะเป็นแนวทางที่ดูจะช่วยให้ธนาคารต้องมารับผิดชอบมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงประกาศนี้ไม่ได้ทำให้เหยื่อสามารถเรียกร้องจากธนาคารได้ไปหมด รวมถึงกรณีส่วนใหญ่ก็น่าจะไม่สามารถเรียกร้องได้ด้วย
เอกสารของ MAS ยกตัวอย่าง 15 กรณีที่ลูกค้าถูกหลอก และอธิบายถึงความรับผิดชอบเอาไว้
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เผยแพร่แนวทาง Shared Responsibility Framework กำหนดความรับผิดชอบของธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในกรณีที่ลูกค้าถูกหลอกลวง โดยมุ่งเป้าการหลอกลวงในกลุ่มการปลอมตัวแบบ phishing และแอปดูดเงินก่อน แต่การหลอกลวงที่เหยื่อตกลงโอนเงินด้วยตัวเอง เช่น การหลอกลงทุน ยังไม่เข้าข่ายประกาศนี้
แม้ประกาศจะครอบคลุมถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ แต่ก็มีความรับผิดชอบเพียงแค่คัดกรอง SMS, ตรวจสอบและบล็อคข้อควาามเสี่ยงสูงเท่านั้น ความรับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่กับธนาคาร โดยประกาศบังคับให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ต้องวางมาตรการเพิ่มเติม ได้แก่
Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall เปิดรายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในประเทศไทย (State of Scams in Thailand) ประจำปี 2567 ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) และ ScamAdviser
จุดมุ่งหมายของรายงานนี้คือการเผยถึงรูปแบบการหลอกลวงที่เปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อคนไทย ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยกว่า 9,360 คนจากหลากหลายกลุ่มประชากรตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลที่น่าสนใจจากรายงาน เช่น กว่า 1 ใน 4 หรือ 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 58% รับมือกับมิจฉาชีพบ่อยขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 โดย 89% ต้องรับมือกับมิจฉาชีพอย่างน้อยเดือนละครั้ง
สภาผู้บริโภครายงานถึงคดีระหว่างผู้บริโภครายหนึ่งที่ถูกธนาคารฟ้องร้อง หลังจากผู้บริโภครายนี้เป็นเหยื่อของแอปดูดเงิน ติดตั้งแอปจนกระทั่งถูกดูดเงินออกไป และคนร้ายยังเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตพร้อมกับถอนเงินจากบัตรเครดิตเป็นเงินสดออกไป
คดีนี้ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตฟ้องร้องเนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ชำระเงินตามรายการที่คนร้ายถอนเงินสดออกไปนั้น หลังจากถูกดำเนินดคี ทางสภาผู้บริโภคสภาผู้บริโภคแต่งตั้งทนายเข้าช่วยเหลือ และศาลแขวงระยองได้พิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าผู้บริโภคไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตัวเอง และเงินที่โอนออกไปไม่ใช่เงินของผู้บริโภค
Whoscall ร่วมกับกับภาคีภาครัฐและเอกชน 11 ราย เปิดตัว Scam Alert ฟีเจอร์ใหม่บน Whoscall ซึ่งเป็นฐานข้อมูลรวมศูนย์ ที่จะเตือนภัยมิจฉาชีพจากหน่วยงานรัฐ รวมถึงข้อมูลเตือนภัยกลโกง สามารถใช้งานได้ทั้งลูกค้าฟรีและพรีเมี่ยม โดยแบ่งเป็น 2 ฟีเจอร์หลักๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารรายงานถึงความคืบหน้าในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีม้าระหว่างธนาคาร Central Fraud Registry (CFR) ว่าเริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา และจนถึงตอนนี้มีรายชื่อในฐานข้อมูล CFR รวม 15,000 รายชื่อแล้ว โดยนับรวมรายชื่อที่ถูกรายงานเข้ามาตั้งแต่ปลายปี 2023 โดยจำนวนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรายงานโดยตรง 34,000 บัญชี และน่าจะมีบัญชีที่ถูกจำกัดการใช้งานมากกว่านั้น
มาตรการใหม่นี้ทำให้บุคคลที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล CFR จะถูกระงับการใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ทุกธนาคาร จากเดิมที่มีการระงับเฉพาะบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางที่ถูกใช้เป็นบัญชีม้าเท่านั้น และหลังนั้นจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการเปิดบัญชีใหม่ต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
Bloomberg รายงานว่าประเทศสวีเดน ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้าเรื่องสังคมไร้เงินสดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก กำลังประสบปัญหาการฉ้อโกงออนไลน์สูงขึ้นอย่างมากในช่วงปีหลังๆ
สถิติอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสวีเดนคือ ความเสียหายจากการฉ้อโกงออนไลน์ในปี 2023 มีมูลค่ารวม 1.2 พันล้านโครนา (4.2 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปี 2021
สวีเดนมีระบบจ่ายเงินออนไลน์ที่เรียกว่า BankID (ลักษณะคล้ายๆ พร้อมเพย์ของบ้านเรา) เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2001 และกลายเป็นช่องทางจ่ายเงินในชีวิตประจำวันของชาวสวีเดน อย่างไรก็ตาม มันกลายเป็นช่องทางของอาชญากรด้วยเช่นกัน เพราะการจ่ายเงิน-โอนเงินทำได้เร็วขึ้นมาก
รัฐบาลอินเดียแถลงถึงความสำเร็จในการช่วยเหลือชาวอินเดียที่ถูกหลอกให้ไปทำงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในกัมพูชา โดยรวมแล้วสามารถช่วยเหลือได้ 250 คน โดย 75 นี้ช่วยออกมาได้ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีมีตัวเลขรายงานว่ายอดรวมผู้ที่ถูกหลอกให้ไปทำงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เป็นชาวอินเดียมีจำนวนถึง 5,000 คน และสามารถหลอกลวงเงินไปได้ถึง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,000 ล้านบาทในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา
Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปมสำหรับสมาร์ทโฟน เผยรายงานประจำปี 2566 เพื่อศึกษาพฤติการณ์มิจฉาชีพหลอกลวงผ่านสายโทรเข้า ข้อความ และลิงก์จากข้อความ พบมิจฉาชีพก่อกวนคนไทยเพิ่มขึ้น 12.2 ล้านครั้ง คนไทยรับข้อความหลอกลวงมากที่สุดในเอเชียถึง 58 ล้านข้อความ ซึ่งแนบลิงก์ปลอม, ลิงก์ขอล็อกอินปลอม, การดาวน์โหลดมัลแวร์อันตราย และเพจปลอมหลอกขายของหลอกลวง
จากรายงานประจำปี 2566 พบว่าคนไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะได้รับข้อความหลอกลวงมากถึง 58.3 ล้านข้อความ ด้วยกลโกงต่างๆ เกี่ยวกับเงินกู้และเว็บพนันมากที่สุด เตือนระวังมุขใหม่ แอบอ้างผู้ให้บริการส่งสินค้า หน่วยงานรัฐ เช่น การไฟฟ้า เพื่อหลอกเหยื่อ
บริษัท Gogolook เจ้าของแอพ Whoscall ออกรายงานประจำปี 2566 สรุปสถิติว่ามิจฉาชีพหลอกลวงคนไทยผ่านทางโทรศัพท์และข้อความ SMS รวมทั้งหมด 79 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 18% จากยอดรวม 66.7 ล้านครั้ง ในปี 2565
หากแยกตามชนิดของการหลอกลวง
- โทรศัพท์จำนวนสายโทรเข้า 20.8 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 22% จาก 17 ล้านครั้ง ในปี 2565
- SMSข้อความหลอกลวง 58.3 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้น 17% จาก 49.7 ล้านข้อความ ในปี 2565
กรณีของข้อความหลอกลวง คนไทย 1 คน ต้องรับ SMS ที่น่าสงสัยเฉลี่ย 20.3 ข้อความ มากที่สุดในเอเชีย โดยอันดับสองคือ ฟิลิปปินส์ จำนวน 19.3 ข้อความ และฮ่องกง จำนวน 16.2 ข้อความ
Mastercard ประกาศความร่วมมือกับธนาคาร 9 แห่งในสหราชอาณาจักร เปิดตัวโซลูชั่นประเมินความเสี่ยงการฉ้อโกง (Consumer Fraud Risk) เพื่อบล็อคการโอนเงินออกหากรายการโอนเงินมีความเสี่ยงสูง
ระบบนี้เป็น AI ที่พัฒนาจากชุดข้อมูลบัญชีม้าในสหราชอาณาจักรย้อนหลัง 5 ปี หลังจากที่มีการตามรอยบัญชีและปิดบัญชีไปแล้ว ระบบจะให้คะแนนความเสี่ยงการทำธุรกรรม จาก ชื่อบัญชี, จำนวนเงินที่โอน, ประวัติการรับเงินเข้าออกของทั้งผู้โอนและผู้รับ, และความเชื่อมโยงของบัญชีรับเงินกับเครือข่ายอาชญากร
TrueMoney ประกาศช่วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง (Pool Database) เก็บข้อมูลของบุคคลที่กระทำความผิดด้านการเงิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรมได้เร็วขึ้น ช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมการเงินออนไลน์จากแก๊งมิจฉาชีพ
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าฐานข้อมูลกลางนี้มีกำหนดพัฒนาเสร็จเมื่อไร และจะถูกนำไปใช้อย่างไรบ้าง ส่วนระบบของ TrueMoney เองได้เพิ่มการตรวจสอบตัวตนด้วยใบหน้าสำหรับธุรกรรมเกิน 10,000 บาท ไปตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566
กองทัพอังกฤษโดนแฮกบัญชี Twitter และ YouTube และแฮกเกอร์ได้ใช้บัญชีที่แฮกมาโปรโมตลิงก์ที่ส่งไปยังหน้าเว็บที่จะหลอกเหยื่อให้ลงทุนคริปโตและ NFT
เว็บไซต์ Web3 is Going Great เป็นผู้รายงานข่าวนี้ครั้งแรก โดยในรายละเอียดระบุว่าบัญชี Twitter @BritishArmy โดยเปลี่ยนเป็นเพจที่หน้าตาคล้ายกับ The Possessed โครงการที่เกี่ยวกับ NFT ภาพเคลื่อนไหว และทวีตข้อมูลพร้อมลิงก์ไปยังเว็บไซต์มิ้นท์ปลอม ซึ่งก่อนหน้านี้ The Possessed ก็เพิ่ง รายงาน ให้ระวังบัญชี Twitter ที่จะหลอกเอา NFT โดยใช้แบรนด์ของตัวเองมาแล้วเหมือนกัน
ธนาคาร OCBC ของสิงคโปร์เปิดตัวระบบ kill switch เป็นระบบสำหรับสั่งฟรีซบัญชีทุกอย่างของลูกค้า หากลูกค้าสงสัยว่าบัญชีอาจถูกฉ้อโกงด้วยวิธีใดก็ตาม
วิธีเปิด kill switch ของ OCBC ในสิงคโปร์ ลูกค้าจะต้องโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ของธนาคาร และกดหมายเลข 8 หรือทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็มของ OCBC เท่านั้น
เมื่อ kill switch เปิดใช้งานแล้ว บัญชีทั้งหมดของลูกค้า ทั้งบัญชีเดินสะพัดหรือบัญชีออมทรัพย์ ทั้งบัญชีในนามของตนเองหรือบัญชีร่วมจะถูกฟรีซทั้งหมด ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ทั้งช่องทางสาขา, เอทีเอ็ม, บัตรเดบิต, บัตรเครดิต ไปจนถึงช่องทางดิจิทัลและแอป OCBC Pay Anyone แม้กระทั่งระบบตัดชำระเงินรายเดือนหรือตั้งโอนเงินล่วงหน้าก็จะถูกระงับเช่นกัน (อธิบายง่าย ๆ คือจะไม่มีธุรกรรมใด ๆ วิ่งผ่านบัญชีเลย)
กรรมการการค้ารัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Trade Comission - FTC) ออกมาเตือนว่าการหลอกลวงออนไลน์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งหลายยังคงระบาดหนัก ปริมาณผู้เสียหายและมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปีล่าสุดมีผู้เสียหายถึง 95,000 คน รวมยอดความเสียหายกว่า 770 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 25,000 ล้านบาท
การหลอกลวงที่สร้างความเสียหายอันดับหนึ่งคือการหลอกลวงไปลงทุน คนร้ายอาจจะสร้างตัวตนปลอม หรือแฮกเข้าบัญชีคนอื่นเพื่อเข้าไปพูดคุยกับเหยื่อ หลอกให้ลงทุนที่ได้กำไรดีจนเหยื่อยอมโอนเงินให้ โดยมักให้โอนเป็นเงินคริปโตแล้วก็หายตัวไป รองลงมาคือการหลอกเป็นแฟน (romance scam) จากการพูดคุยด้วยคำหวานต่างๆ แล้วขอเงินจากเหยื่อ อันดับสามคือการหลอกขายสินค้าด้วยการยิงโฆษณาบนโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ แต่เหยื่อไม่ได้สินค้า
เกิดคดีฉ้อโกงขึ้นในวงการ NFT (อีกแล้ว) รอบนี้ชื่อโครงการว่า Blockverse เป็นการทำระบบ play-to-earn (P2E) อย่างไม่เป็นทางการบน Minecraft โดยผู้เล่นต้องซื้อ token เพื่อเข้าไปเล่นบนเซิร์ฟเวอร์ Minecraft PvP แบบคัสตอมเป็นตัวละครพิเศษตามงาน NFT ที่สร้างขึ้น
วิธีการเข้าร่วมคือต้องซื้อตัวละครเป็น NFT ในราคา 0.05 ETH (ประมาณ 4,400 บาท) ซึ่งมีขายจำนวน 10,000 ชิ้น ตามข่าวบอกว่าขายหมดภายใน 8 นาที ทำเงินไปได้ 500 ETH (ประมาณ 44 ล้านบาท) แต่หลังจากนั้นไม่ทันพ้นวัน ผู้สร้างโครงการก็ลบเซิร์ฟเวอร์เกม ลบหน้าเว็บ ลบห้องสนทนาใน Discord แล้วก็หายสาบสูญไป
จากเว็บธนาคารปลอม, SMS ปลอมไปจนถึงเพจเฟซบุ๊กปลอม วันนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาแจ้งเตือนว่ามีการใช้งาน LINE ธนาคารไทยพาณิชย์ปลอมที่ตั้งชื่อเหมือนของจริงและจะทักไปหาเหยื่อก่อนและหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว
บัญชี LINE ปลอมมี 2 บัญชี อันแรกใช้ชื่อว่า SCB Connect เหมือนกับบัญชีจริง เพียงแต่เป็นบัญชีทั่วไปที่สามารถเพิ่มเพื่อนได้ และบัญชีคือ SCB EASY ที่เป็น LINE Official Account ทว่าเป็นแบบบัญชีฟรี ไม่ใช่บัญชีพรีเมียม
กลต.สหรัฐฯ (SEC) แจ้งข้อหา Janardhan Nellore อดีตผู้ดูแลระบบไอทีของบริษัท Palo Alto Networks โดยระบุว่าเขาใช้สิทธิ์ผู้ดูแลระบบเข้าถึงรายงานทางการเงินจากระบบฐานข้อมูลและระบบ SAP ก่อนจะเอาเนื้อหาไปบอกเพื่อนของเขาอีก 4 คนเพื่อให้ซื้อขายหุ้น
รายงานของ SEC ระบุว่า Janardhan ส่งอีเมลแจ้งเพื่อนโดยใช้คำว่า "baby" แทนหุ้นบริษัท เช่น "exit baby" แปลว่าให้ขายหุ้นทิ้ง หรือ "enter few baby" แปลว่าให้ซื้อหุ้นเล็กน้อย กลุ่มเพื่อนของ Janardhan จะโอนเงินก้อนเล็กๆ ต่ำกว่าหมื่นดอลลาร์หลายครั้งเป็นค่าตอบแทนข้อมูล และหลบเลี่ยงการรายงานการโอนเงินขนาดใหญ่
SEC ระบุว่าโดยรวมแล้ว Janardhan และพวกทำเงินได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ แม้ช่วงหลังจะไม่ประสบความสำเร็จนักก็ตาม
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานจากผู้ใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพจำนวนหนึ่งได้รับแจ้งเตือนว่ามีรายการใช้บัตรโดยที่เจ้าของบัตรไม่ได้ใช้แต่อย่างใด โดย กระทู้พันทิปจากคุณ MrsSky รายงานเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมาเมื่อวานนี้ก็ยังมีรายงานคนพบเหตุแบบเดียวกันอยู่
ผมติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ธนาคารกรุงเทพ ทางธนาคารระบุว่ากรณีนี้ธนาคารที่เกี่ยวข้องและร้านค้ากำลังสอบสวนต้นเหตุที่ข้อมูลหมายเลขบัตรหลุดออกไป สำหรับรายการที่เกิดขึ้นแล้วขอให้ติดต่อ call center เพื่อปฎิเสธรายการ ทางธนาคารจะปรับปรุงยอดออกจากรายการทันทีและออกบัตรใหม่ให้
มีรายงานว่าวิศวกรจากบริษัท PMI Industries ถูกจับหลังปลอมรายงานตรวจสอบคุณภาพชิ้นส่วนจรวดที่จะส่งไปให้ SpaceX ใช้งาน
วิศวกรรายนี้ชื่อ James Smalley เป็นพนักงานประกันคุณภาพของบริษัท PMI Industries ที่รับงานผลิตชิ้นส่วนจรวดส่งให้ SpaceX โดยตามปกติจะต้องให้ผู้ตรวจสอบของบริษัท SQA Services เซ็นรับรองคุณภาพชิ้นส่วนที่ผลิตอีกที ตามรายงานระบุว่า James ปลอมลายเซ็นรายงานตรวจสอบคุณภาพของ SQA 38 ชิ้น และหน่วยสืบสวนระบุว่ามีชิ้นส่วนที่ตกคุณภาพหรือไม่ถูกตรวจสอบโดย SQA ถึง 76 ชิ้น ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้ได้ถูกส่งไปยัง SpaceX เพื่อใช้ในจรวด Falcon 9 และ Falcon Heavy
DJI บริษัทผู้ผลิตโดรนจากจีนรายงานพบการฉ้อโกงภายในโดยพนักงานของบริษัทเอง ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความเสียหายเกิดขึ้นมูลค่าสูงสุดราว 1 พันล้านหยวน หรือ 150 ล้านดอลลาร์
DJI ระบุว่า พนักงานที่ฉ้อโกงเหล่านี้ใช้วิธีที่ทำให้ชิ้นส่วนซึ่งบริษัทจะต้องจัดซื้อมาทำธุรกิจมีราคาที่สูงเกินจริง และนำส่วนต่างเข้ากระเป๋าของตนเอง ซึ่งทางบริษัทพบการโกงครั้งนี้จากการสอบสวนภายใน และได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย พร้อมกับไล่พนักงานออกเรียบร้อยแล้ว
หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว DJI ระบุว่าทางบริษัทได้เปิดช่องทางใหม่สำหรับการแจ้งทุจริตภายใน ซึ่ง DJI ไม่ได้ระบุว่ามีจำนวนพนักงานที่ถูกไล่ออกจำนวนเท่าไร แต่รายงานจาก Financial Times เผยว่าจำนวนพนักงานที่โดนไล่ออกคราวนี้มีราว 29 คน
ศาลเขตแคลิฟอร์เนีย ตัดสินโทษจำคุก Renato Libric ซีอีโอของสตาร์ตอัพ Bouxtie (อ่านว่า "โบไท) เป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากฉ้อโกงนักลงทุน
บริษัท Bouxtie ทำธุรกิจบัตรของขวัญเสมือน (virtual gift card) ที่สามารถซื้อได้ผ่านแอพ บริษัทนี้ได้เงินลงทุนตั้งต้นมาจำนวนหนึ่งเหมือนกับสตาร์ตอัพทั่วไป ซึ่งธุรกิจก็ไปได้ไม่ดีนักจนเงินหมด ไม่สามารถหานักลงทุนรายใหม่ได้ ทำให้ Libric ตัดสินใจปลอมประวัติของตัวเองขึ้นมา
PayPal ประกาศซื้อกิจการบริษัท Simility ผู้พัฒนาระบบ fraud prevention ในราคา 120 ล้านดอลลาร์
Simility เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยอดีตวิศวกรจากกูเกิล (ส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อชาติอินเดีย) มีสำนักงานอยู่ที่เมือง Palo Alto โดยซอฟต์แวร์ของบริษัทถูกเรียกว่าเป็น adaptive fraud detection สามารถตรวจจับพฤติกรรมของการฉ้อโกงได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลและ machine learning
ที่ผ่านมา Simility หาเงินด้วยการเปิด API และ SDK ให้ธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และอีคอมเมิร์ซ เชื่อมข้อมูลของตัวเองเข้ามาให้ Simility ช่วยวิเคราะห์ ส่วนการซื้อกิจการของ PayPal ก็ชัดเจนว่าต้องการเทคโนโลยีของ Simility เข้ามาช่วยวิเคราะห์ fraud ในระบบจ่ายเงินของตัวเองนั่นเอง
SEC หรือ ก.ล.ต.สหรัฐฯ ได้เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลใหม่ HoweyCoin ซึ่งชูว่าเป็นมาตรฐานสกุลเงินคริปโตสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขายโทเคนแบบ pre-ICO (มี whitepaper ด้วย ) โดยในเว็บไซต์มีทางเลือกให้ผู้ใช้ซื้อเหรียญและจะมีส่วนลดเมื่อลงทุนเป็นปริมาณมาก ๆ แต่ว่าเมื่อคลิกปุ่ม Buy Coins Now! ก็จะรีไดเรกไปที่เว็บไซต์ SEC เกี่ยวกับคำเตือนเกี่ยวกับวิธีที่ผู้หลอกลวงผ่าน ICO มักจะใช้กัน
Epic Games ผู้พัฒนาเกม Fortnite ประกาศเตือนว่าอีเมลเชิญเล่น Fortnite Beta บน Android เป็นของปลอม เพื่อดักข้อมูลผู้ใช้
ตอนนี้ Fortnite บนมือถือยังมีเฉพาะเวอร์ชัน iOs เท่านั้น ส่วน Android กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา ทำให้กลายเป็นช่องว่างให้แฮ็กเกอร์อาศัยความอยากเล่นของชาว Android มาหลอกข้อมูล
Fornite : Battle Royale เป็นเกมส์แนว Battle Royale ต่อสู้เอาชีวิตรอดในสนามรบ ผู้ที่เหลือรอดเป็นคนสุดท้ายจะชนะ แนวเดียวกับเกมรุ่นพี่อย่าง H1z1 และ PUBG แต่กระแสดีกว่าเพราะเปิดเป็น Free-To-Play และมีสไตล์การเล่นที่ไม่เหมือนเกม Battle Royale เกมอื่นๆ โดยสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างได้และเกมค่อนข้างจบเร็วกว่า