ปัญหาที่รุมเร้า Sonos อยู่ในช่วงนี้คือแอพควบคุมลำโพงเวอร์ชันใหม่ที่เพิ่งปล่อยอัพเดตใหญ่ในเดือนพฤษภาคม เต็มไปด้วยปัญหา ทั้งเรื่องคุณภาพเสียง เสถียรภาพ และบั๊กอื่นๆ ทำให้ฐานลูกค้าดั้งเดิมของ Sonos ไม่พอใจมาก
ในช่วงที่ผ่านมา Sonos ถูกลูกค้าเดิมต่อว่าจำนวนมาก หลังจากออกอัปเดตแอปควบคุมลำโพงเวอร์ชันใหม่ ซึ่งมีปัญหา การควบคุมคุณภาพเสียง บั๊ก ซึ่ง Sonos เลือกไม่นำแอปเวอร์ชันเดิมกลับมา แต่เดินหน้าแก้ไขไปเรื่อย ๆ ซึ่งสถานการณ์ไม่ดีขึ้นจน Sonos ต้องออกแถลงการณ์เรื่องนี้เลย
Mark Gurman นักข่าวคนดังของ Bloomberg มีรายงานข้อมูลของบริษัทอื่นกับเขาบ้างเหมือนกัน (ไม่ได้ทำอยู่เรื่องเดียวนะ) ล่าสุดเขาเผยข้อมูลที่ไม่ยืนยันเป็นทางการว่า หูฟัง Sonos Ace ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม มียอดขายไม่เข้าเป้า และผิดจากเป้าไปไกลมากทีเดียว
Gurman รายงานว่าเดิมที Sonos ตั้งเป้ายอดขายหูฟังรุ่นนี้ในระดับ 9 แสน-1 ล้านตัวต่อปี (ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน 2,500 ตัว) แต่ความเป็นจริงแล้วขายได้ประมาณ 250 คู่ต่อวันเท่านั้น หรือตีเป็นยอดขายต่อปีคือ 9 หมื่น-1 แสนตัว (ลดลง 10 เท่า)
Sonos เปิดตัวเฮดโฟนตัวแรก Sonos Aceตามที่ประกาศก่อนหน้านี้ ว่าเป็นสินค้าที่ลูกค้าเรียกร้องให้ทำมากที่สุด โดย Patrick Spence ซีอีโอ Sonos บอกว่า Sonos Ace ได้นำเทคโนโลยีด้านเสียงที่บริษัทเชี่ยวชาญ มามอบประสบการณ์ให้กับเฮดโฟน ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่สำหรับลูกค้าทั่วโลก
ฟีเจอร์เด่นของ Sonos Ace รองรับเสียงคุณภาพสูงทั้ง Spatial Audio, Dolby Atmos และ Lossless Audio มีโหมดการฟังทั้ง ANC-Active Noise Cancellation และ Aware Mode ที่ทำให้ได้ยินเสียงภายนอกที่สำคัญ แบตเตอรีใช้งานต่อเนื่องนานสูงสุด 30 ชั่วโมง รองรับการชาร์จเร็ว USB-C เพียง 3 นาที สามารถใช้งานต่อได้ 3 ชั่วโมง น้ำหนัก 312 กรัม มีตัวเลือก 2 สี ขาวและดำ
Sonos ประกาศ เปิดตัวสินค้าใหม่ในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ โดยบอกว่าเป็นสินค้าที่มีการเรียกร้องให้ทำมากที่สุดที่เคยมีมาของ Sonos
ถึงแม้ Sonos ไม่ได้บอกว่าจะเปิดตัวอะไร แต่คำใบ้ที่ว่าเป็นสินค้าที่เรียกร้องมากที่สุด รวมกับ ข่าวลือ ก่อนหน้านี้ ทำให้มีโอกาสเป็นเฮดโฟน Sonos Ace ซึ่งมีข่าวหลุดออกมาก่อนหน้านี้นั่นเอง
ก่อนหน้านี้ Sonos เพิ่งประกาศยกเครื่องแอปครั้งใหญ่ ทำให้คาดเดาว่าแอปที่ปรับปรุงใหม่นี้ก็เพื่อรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมใหม่คือเฮดโฟน
Sonos ผู้ผลิตเครื่องเสียงจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลในรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสล่าสุด ว่าบริษัทเตรียมขยายไลน์สินค้าสู่กลุ่มใหม่ ที่มีขนาดตลาดระดับหลายพันล้านดอลลาร์ภายในครึ่งหลังของปีหน้า โดยบริษัทไม่ได้บอกว่าจะเป็นสินค้าประเภทใด อย่างไรก็ตามมีข่าวลือมาระยะหนึ่งแล้วว่า Sonos จะออกเฮดโฟนเป็นสินค้าตัวใหม่
Patrick Spence ซีอีโอ Sonos บอกว่าสินค้าใหม่นี้จะเข้ามาเติมเต็มไลน์สินค้าปัจจุบันที่บริษัทมีอยู่ ซึ่งจะเปิดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และบริษัทคาดว่าจะเป็นหนึ่งในสินค้าทำเงินหลักของบริษัทด้วย
ทั้งนี้ Sonos รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสล่าสุดสิ้นสุดเดือนกันยายน ยอดขายลดลง 3.5% อยู่ที่ 305.1 ล้านดอลลาร์ ขาดทุนตามบัญชี GAAP 31.2 ล้านดอลลาร์
คดีสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลกับ Sonos ในประเด็นฟีเจอร์ควบคุมเสียงของลำโพง Google Home มีความคืบหน้าเพิ่ม โดยกูเกิลยื่นต่อศาลว่าวิธีการฟ้องสิทธิบัตรของ Sonos เป็นการกลั่นแกล้งทางธุรกิจ ซึ่งศาลเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของกูเกิล
คำโต้แย้งของกูเกิลระบุว่า ทั้งสองบริษัทเคยหารือทำลำโพงร่วมกันในปี 2014 หลังจากนั้นดีลล่ม กูเกิลออกลำโพงเองในปี 2015 แต่ Sonos กลับรอจนถึงปี 2019 ค่อยยื่นฟ้องกูเกิลละเมิดสิทธิบัตร และเพิ่งนำฟีเจอร์ควบคุมเสียงตามสิทธิบัตรนี้มาใช้กับลำโพงของตัวเองในปี 2020 ด้วยซ้ำ
Sonos แจ้งข้อมูลกับ ก.ล.ต. สหรัฐ หรือ SEC ว่าบริษัทเตรียมปลดพนักงานทั้งหมด 7% ของพนักงานทั่วโลก คิดเป็นจำนวนราว 130 คน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ราว 14 ล้านดอลลาร์
Patrick Spence ซีอีโอ Sonos กล่าวว่าตอนนี้บริษัทเผชิญปัญหาเศรษฐกิจที่ท้าทาย จึงจำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องที่ยากบางอย่าง ซึ่งรวมทั้งการลดบางตำแหน่งงาน และประเมินการใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ
Sonos เคยปลดพนักงานมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2020 เป็นจำนวน 12% ซึ่งตอนนั้นบริษัทให้เหตุผลจากสถานการณ์โควิด 19 ที่กระทบกับบริษัท
ที่มา: CNBC
คณะลูกขุนแห่งศาลซานฟรานซิสโกมีคำตัดสิน ให้กูเกิลจ่ายค่าเสียหายให้ Sonos รวม 32.5 ล้านดอลลาร์ จากคดีที่ Sonos ฟ้องว่ากูเกิลละเมิดสิทธิบัตร เทคโนโลยีลำโพง ซึ่งมาจากที่ Sonos ร่วมมือกับกูเกิลพัฒนาลำโพงตั้งแต่ปี 2013 แล้วต่อมากูเกิลลงมาทำตลาดลำโพงอัจฉริยะแข่งเอง
ก่อนหน้านี้ Sonos ก็ ชนะคดีฟ้องร้อง ดังกล่าวที่คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้กูเกิลถูกสั่งห้ามนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับสิทธิบัตร และตัดฟีเจอร์จัดการลำโพงแบบกลุ่มออกจาก Google Home, Google Nest
Sonos ผู้ผลิตเครื่องเสียงพรีเมียมจากสหรัฐอเมริกาเปิดตัวลำโพงรุ่นใหม่พร้อมกัน 2 รุ่นคือ Era 100 ซึ่งมาแทน Sonos One ที่ขายมานาน และ Era 300 จะเป็นรุ่นใหม่เลย
Era 100อัพเกรดจาก Sonos One หลายอย่าง สิ่งสำคัญคือมันรองรับเสียงแบบสเตอริโอแท้ๆ แล้ว โดยให้ทวีตเตอร์มา 2 ตัว (เดิมมี 1 ตัว) ยิงเสียงออกตรงมุมซ้ายขวาของลำโพง (แม้ลำโพงตัวแค่นี้อาจแยกเสียงซ้ายขวายากหน่อย) ส่วนวูฟเฟอร์ก็ใหญ่ขึ้นอีก 25% จาก Sonos One ทำให้เสียงเบสอิ่มและลึกมากขึ้น
Sonos เปิดตัวลำโพงตัวใหม่ Roam SL ออกแบบมาเหมือนลำโพงพกพา Roam SL แต่ตัดไมโครโฟนออก และราคาถูกกว่าเล็กน้อย
Sonos Roam SL มีซีพียูควอดคอร์ 1.4GHZ ในตัว รองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi, รองรับ AirPlay และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเสียง multi-room ของ Sonos พร้อมแบตเตอรี่ 18WH ที่ใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมงกับ Bluetooth ในตัว นำไปใช้นอกสถานที่ได้ ซึ่งตัวลำโพงผ่านการทดสอบกันน้ำกันฝุ่นที่มาตรฐาน IP67 และชาร์จแบตเตอรี่ผ่านแท่นชาร์จไร้สายที่รองรับระบบ Qi
ผู้ผลิตเครื่องเสียง Sonos เข้าซื้อบริษัท T2 Software สตาร์ทอัพพัฒนาระบบเสียงผ่าน Bluetooth ท่ามกลางข่าวลือว่า Sonos อาจทำหูฟังของตัวเอง
เว็บไซต์ Protocol รายงานว่า Sonos ได้เข้าซื้อ T2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาแล้วอย่างเงียบ ๆ โดยบริษัท T2 เน้นอิมพลีเมนต์ระบบ Bluetooth LC3 ระบบโคเดคเสียงสำหรับมาตรฐานใหม่ Bluetooth LE Audio ที่เน้นเสียงคุณภาพสูงภายใต้อัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำลงมากกว่าโคเดคที่ใช้ใน Bluetooth ปัจจุบัน ทำให้อุปกรณ์กินพลังงานต่ำ ซึ่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ของโคเดคภายใต้การพัฒนาโดย T2 ยังไม่ได้อยู่ในสเปคของ Bluetooth ปัจจุบัน
กูเกิลมีคดีกับแบรนด์เครื่องเสียง Sonos มาตั้งแต่ปี 2020 โดย Sonos ฟ้องกูเกิลว่าขโมยทรัพย์สินทางปัญญาหลังพัฒนาลำโพงอัจฉริยะร่วมกัน แล้วภายหลังกูเกิลออกลำโพง Google Home/Nest Mini ของตัวเอง ซึ่งมีฟีเจอร์แบบเดียวกับของ Sonos
วันนี้คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐอเมริกา ตัดสินว่ากูเกิลละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Sonos เป็นสิทธิบัตร 5 รายการ และสั่งห้ามกูเกิลนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรชุดนี้เข้ามาขายในสหรัฐอเมริกา (อำนาจของ ITC เป็นเรื่องนำเข้าสินค้าเข้าประเทศ)
Sonos ผู้ผลิตเครื่องเสียงจากสหรัฐอเมริกาเปิดตัวซาวด์บาร์ Sonos Beam Gen 2 ภาคต่อจาก Sonos Beam รุ่นแรกที่ออกมาในปี 2018 โดยคราวนี้มาพร้อมกับการรองรับระบบเสียง Dolby Atmos และการเชื่อมต่อ HDMI แบบ eARC
หน้าตาของ Sonos Beam Gen 2 แทบจะเหมือนรุ่นแรกเกือบทุกจุด ต่างกันเพียงตะแกรงลำโพงด้านหน้าที่เปลี่ยนจากหุ้มด้วยผ้าเป็นพลาสติกเจาะรู ส่วนขนาดและน้ำหนักยังเท่าเดิมเป๊ะ รวมถึงปุ่มระบบสัมผัสด้านบนก็ยังมีเหมือนเดิม
Sonos เปิดตัวลำโพงไร้สายตัวใหม่ Roam รองรับทั้งการเล่นผ่าน Bluetooth, Wi-Fi และ AirPlay 2 ภายในมีแอมป์ Class-H สองตัว ทวีตเตอร์สำหรับเสียงแหลมและวูฟเฟอร์สำหรับเสียงทุ้มอย่างละหนึ่งตัว ขนาดลำโพงกว้าง 168 มิลลิเมตร ยาว 62 มิลลิเมตร สูง 60 มิลลิเมตร และหนักเพียง 0.43 กิโลกรัมเท่านั้น
แบตเตอรี่ใช้งานได้ 10 ชั่วโมง มาพร้อมแท่นชาร์จไร้สายและรองรับชาร์จไร้สายแบบ Qi ทั่วไป กันน้ำกันฝุ่นมาตรฐาน IP67 กันกระแทก (drop resistant) สามารถวางได้ทั้งแนวตั้ง แนวนอน มีไมค์รองรับคำสั่งเสียงทั้ง Google Assisant และ Alexa
Roam มีสีดำ และสีเทาอ่อน เปิดให้สั่งจองแล้วบน หน้าเว็บไซต์ Sonos ในราคา 169 ดอลลาร์ หรือราว 5,200 บาท
จากข่าวเมื่อต้นปีที่ Sonos ฟ้องกูเกิล ข้อหาละเมิดสิทธิบัตรด้านลำโพงที่ใช้ใน Google Home เวลาผ่านมาสักพักใหญ่ๆ กูเกิลออกมาฟ้องกลับ Sonos แล้ว
รายละเอียดในคำฟ้องของกูเกิลบอกว่า กูเกิลไม่ค่อยได้ฟ้องใครเรื่องสิทธิบัตร แต่รอบนี้จำเป็นต้องออกมาคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเอง เพราะกูเกิลช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีด้าน voice assistant และบริการเพลงออนไลน์ Play Music ให้ Sonos อย่างมาก ตั้งแต่ระดับการออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้าง และทดสอบ
ในยุคที่อุปกรณ์สมาร์ทโฮมต้องพึ่งพาการอัพเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ วิธ๊คิดว่าต้องใช้อุปกรณ์บางชิ้นอย่างยาวนาน (จนกว่าจะเสีย) อาจไม่เป็นจริงอีกแล้ว
ล่าสุด Sonos ผู้ผลิตลำโพงเชื่อมต่อเครือข่าย ประกาศว่าจะหยุดอัพเดตซอฟต์แวร์ให้สินค้ารุ่นเก่าๆ บางตัว ที่ออกขายระหว่างปี 2006-2009 (แต่บางชิ้นก็ขายต่อเนื่องมาจนถึงปี 2015) ในเดือนพฤษภาคม 2020
อุปกรณ์เหล่านี้จะยังใช้งานต่อได้ แต่ "ระบบเสียง" ที่วางไว้ในบ้านจะไม่ได้อัพเดตซอฟต์แวร์หรือฟีเจอร์ใหม่อีกแล้ว (เพราะมีอุปกรณ์เก่าบางชิ้นที่ทำงานร่วมกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ไม่ได้) ซึ่ง Sonos ก็นำเสนอทางออกว่าสามารถนำสินค้าเก่าไปแลกซื้อสินค้าใหม่ในราคาลดพิเศษ
Sonos แบรนด์เครื่องเสียงและลำโพงชื่อดัง ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหาขโมยทรัพย์สินทางปัญญาด้านลำโพงอัจฉริยะ หลังทำงานร่วมกับกูเกิล แล้วกูเกิลทำลำโพง Google Home ออกมาแข่งในภายหลัง
ความสัมพันธ์ของ Sonos กับกูเกิลเริ่มต้นในปี 2013 จากการที่กูเกิลนำบริการ Google Play Music มาอยู่บนลำโพงของ Sonos โดย Sonos แชร์เทคโนโลยีด้านลำโพงให้กูเกิลรับรู้ด้วย เพราะไม่คิดว่ากูเกิลจะลงมาทำลำโพงแข่งกับตัวเอง
แต่หลังจากกูเกิลนำ Google Home เข้าสู่ตลาด Sonos พบว่ากูเกิลละเมิดสิทธิบัตรของตัวเองหลายอย่าง เช่น การซิงก์ลำโพงไร้สาย และหลังจากพยายามเจรจาเรียกค่าเสียหายไม่เป็นผล จึงตัดสินใจยื่นฟ้องกูเกิลในที่สุด
ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ก็ถือว่าราคาแรง แต่ถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเป็นลำโพงไปด้วยในตัวก็อาจชวนให้ซื้อได้ ล่าสุด IKEA ทำ SYMFONISK เป็นโคมไฟและชั้นวางหนังสือขนาดเล็กเข้าชุดกัน และเป็นลำโพงอัจฉริยะไปด้วยในตัว โดยใช้พลังลำโพงจาก Sonos ผู้ผลิตลำโพงไร้สาย
SYMFONISK มีเข้าชุดสีขาว และดำมีทองแซม ทำงานร่วมกับแอพ Sonos ได้ ซึ่งในแอพก็สามารถเปิดเพลงฟังจากช่องทางอื่นได้ เช่น Spotify, iHeartRadio โดย SYMFONISK ที่เป็นโคมไฟราคา 179 ดอลลาร์ ส่วนชั้นวางหนังสือราคา 99 ดอลลาร์
Sonos ผู้ผลิตลำโพงไร้สาย ที่ตอนนี้หันมาโฟกัสตลาดลำโพงอัจฉริยะมากขึ้น ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น Nasdaq แล้ว โดยบริษัทบอกว่าต้องการระดมทุนอีกประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ แต่ยังไม่ได้ระบุจำนวนหุ้นที่จะเสนอขายเพิ่มเติม
บริษัทก่อตั้งในปี 2002 และเติบโตดีในฐานะผู้ผลิตลำโพงไร้สาย แต่ปัจจุบันมาเน้นสินค้าลำโพงอัจฉริยะมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ รองรับการทำงานกับผู้ช่วยส่วนตัวของทุกค่าย อย่างไรก็ตาม Sonos ระบุในไฟลิ่งชัดเจนว่าการต้องพึ่งพาบริการภายนอก ก็ถือเป็นความเสี่ยงสำคัญของบริษัท
- Read more about Sonos ยื่นไฟลิ่งเตรียมเข้าตลาดหุ้นแล้ว
- Log in or register to post comments
ตลาดลำโพงอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียงเริ่มบูมจากผลิตภัณฑ์อย่าง Amazon Echo, Google Home, Apple HomePod แต่ก็เกิดคำถามตามมาว่า ลำโพงเหล่านี้ผูกกับผู้ช่วยส่วนตัวของแต่ละค่ายเพียงอย่างเดียว ทำให้เรา "ต้องเลือก" ว่าจะอยู่ใน ecosystem ของค่ายใดค่ายหนึ่งเท่านั้นหรือไม่
Sonos ในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ไม่อิงกับค่ายใดค่ายหนึ่ง แก้เกมนี้ด้วย การรองรับผู้ช่วยส่วนตัวหลายค่าย (ปัจจุบันคือ Alexa ในอนาคตจะรองรับ Google Assistant) เรื่องนี้ ซีอีโอ Patrick Spence ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ The Verge เอาไว้
ตลาดลำโพงอัจฉริยะ smart speaker มีความคึกคักมากในช่วงนี้ Sonos ผู้ผลิตลำโพงชื่อดังก็ออกสินค้าใหม่ชื่อว่า Sonos Beam มาชิงส่วนแบ่งตลาดกับเขาอีกหนึ่งตัว
Sonos Beam เป็นซาวนด์บาร์ (soundbar) ขนาดเล็กไม่เกะกะ (ยาว 25.6 นิ้ว) ที่รองรับทั้งการฟังเพลงและเล่นเสียงจากทีวี จุดเด่นของมันคือรองรับบริการเพลงสตรีมมิ่งกว่า 80 ค่าย, มีไมโครโฟนจับเสียงจากระยะไกล 5 ตัว รองรับคำสั่งเสียงจากผู้ช่วยส่วนตัวหลายค่าย (เริ่มจาก Alexa ก่อนและ Google Assistant จะตามมาในภายหลัง), ต่อเชื่อมกับทีวีผ่านพอร์ต HDMI-ARC ควบคุมจากทีวีได้, แถมยังรองรับ Apple AirPlay 2 ที่จะอัพเดตตามมาในเดือนกรกฎาคม
นิตยสาร Consumer Reports ที่ได้รับความน่าเชื่อถือสูงในแง่รีวิวที่เป็นกลางได้เปิดเผยการทดสอบคุณภาพเสียงในแล็บ โดยเปิดเผยผลการทดสอบ เบื้องต้นว่า Google Home Max และ Sonos One มีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า HomePod สวนทางกับรีวิวหลายเจ้า (รวมถึงที่อ้างว่าเป็น Audiophile) ด้วยว่า เสียง HomePod ดีเหนือคู่แข่งตอนนี้
ทาง CR แจกแจงว่าเสียงเบสของ HomePod นั้นดังและถูกเน้นเกินไป (a bit boomy and overemphasized) ส่วนช่วงเสียงกลางก็แอบๆ มีหายไปบ้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่พบในลำโพงที่ได้คะแนนสูงๆ ขณะที่ช่วงเสียงสูงไม่ค่อยชัดมากนัก (underemphasized)
ในวันเดียวกันกับที่ Google ขนฮาร์ดแวร์มาเปิดตัวเป็นขบวนพาเหรด บริษัท Sonos บริษัททำลำโพงไร้สายก็เปิดตัวลำโพงอัจฉริยะด้วยคือ Sonos One ใช้มันสมองรับการสั่งการจาก Amazon Alexa
Sonos One มาพร้อมไมโครโฟนติดตั้งภายในถึง 6 ตัว ให้เสียงดังกว่าเมื่อเทียบกับขนาดลำโพง รองรับคำสั่งเสียงใช้งานคอนเทนต์ต่างๆ เช่น ฟังเพลง เปิดหนังสือเสียง จากบริการสตรีมมิ่งกว่า 80 แห่ง ถือเป็นหนึ่งในความโดดเด่นของ Sonos
Sonos บริษัทผู้นำด้านลำโพงไร้สายร่อนจดหมายเชิญให้กับสื่อในสหรัฐ ให้ไปร่วมงานแถลงข่าวในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ ซึ่งสื่อก็คาดว่าน่าจะเป็นลำโพงอัจฉริยะ ที่เพิ่งได้รับการรับรองจาก FCC ของสหรัฐ
หนึ่งในความโดดเด่นของ Sonos คือการรองรับบริการสตรีมมิงเพลงที่ค่อนข้างหลากหลาย ขณะที่ลำโพงอัจฉริยะของ Sonos ภายใต้โค้ดเนม S13 ก็ถูกระบุไว้ในเอกสารรับรองว่ารองรับแพลตฟอร์มเสียง (เอกสารใช้คำว่า voice ซึ่งก็น่าจะหมายถึง Smart Assistant อย่าง Alexa, Google Assistant) ที่หลากหลายด้วย
ก็ต้องรอติดตามงานเปิดตัวว่าสุดท้ายแล้ว ลำโพงอัจฉริยะของ Sonos จะเป็นเจ้าแรกที่รองรับแพลตฟอร์มและระบบนิเวศน์บนลำโพงอัจฉริยะมากกว่า 1 เจ้าตามที่คาดกันไว้หรือไม่
จากการเปิดตัว HomePod ของแอปเปิลในงาน WWDC ที่ผ่านมา ทำให้บริษัทไอทีหลักๆ ต่างเป็นเจ้าของและลงมาเล่นตลาดลำโพงอัจฉริยะกันถ้วนหน้า (ยกเว้นไมโครซอฟท์ที่เอา Cortana ไปแจมกับ Harmann Kardon )
ถึงแม้จะยังไม่วางขายจริง แต่เมื่อเปิดตัว HomePod ก็ไม่พ้นที่จะโดนเปรียบเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่นที่มีอยู่แล้วในตลาดทั้ง Amazon Echo ที่บุกเบิกตลาดนี้, Google Home และ Sonos เจ้าพ่อลำโพงไร้สาย ถึงแม้จะเป็นการเปรียบเทียบกันบนกระดาษอย่างเดียวก็ตาม