เมื่อกลางปี 2011 อินเทลได้ประกาศความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์แบบสามมิติ ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นจากเดิม (รายละเอียดเต็มๆ อ่านได้จาก ข่าวเก่า ) ตามสัญญาแล้วอินเทลวางแผนจะใช้การผลิตแบบดังกล่าวกับซีพียูรุ่น Ivy Bridge ที่การผลิตขนาด 22 นาโนเมตร
ข่าวดีคืออินเทลได้เริ่มใช้เทคโนโลยีดังกล่าวกับซีพียู Ivy Bridge ที่เพิ่งเปิดตัวมาทั้ง 13 รุ่นแล้ว แต่ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคลมไว้ว่าสูงขึ้น 37% กินไฟน้อยลง 50% นั้นเมื่อทดสอบจริงยังไปไม่ถึงจุดนั้น แต่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นราว 20% และกินไฟน้อยลง 20% จากชิปรุ่นก่อนหน้าก็ไม่แย่เสียทีเดียว
- Read more about อินเทลเริ่มใช้ทรานซิสเตอร์สามมิติกับ Ivy Bridge แล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
กฎของ Moore กล่าวว่า ประสิทธิภาพของวงจรรวม (IC - Integrated Circuit) จะพัฒนาขึ้นจากการเพิ่มทรานซิสเตอร์ขึ้นเท่าตัวในทุกๆ 18 เดือน หากว่ากฎของ Moore นั้นจะถึงจุดสิ้นสุดเมื่อขนาดของทรานซิสเตอร์เล็กจนเหลือเพียง 1 อะตอม (คือไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้) ซึ่งถ้าตามกฎของ Moore แล้วเวลานั้นควรจะมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)
หน่วยย่อยที่สุดของการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ยังเป็น "ทรานซิสเตอร์" ที่ทำหน้าที่ปล่อย/ปิดกั้นการไหลของอิเล็กตรอน ซึ่งจะกลายมาเป็นสถานะ 0 หรือ 1 ในโลกของคอมพิวเตอร์
ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ (ดังที่เราได้ยินข่าวว่าผลิตที่ระดับกี่นาโนเมตร) แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่มีการสร้างทรานซิสเตอร์ขึ้นมาก็คือ "ทิศทาง" การไหลของอิเล็กตรอนที่จะไหลในแนวระนาบ (2D) เท่านั้น สิ่งที่อินเทลประกาศในวันนี้คือความสำเร็จในการสร้างทรานซิสเตอร์แบบใหม่ที่เรียกว่า Tri-Gate ซึ่งส่งกระแสอิเล็กตรอนในแนวบน-ล่างได้ด้วย (เพิ่มมาอีกมิติเป็น 3D)
อธิบายเป็นตัวหนังสือก็เข้าใจยาก ดูภาพดีกว่าครับ