KBTG บริษัทเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย เผยวิสัยทัศน์ด้านธนาคารดิจิทัล เปิดตัว "เกด" KADE (K PLUS AI-Driven Experience)นวัตกรรมของการให้บริการบนแพลตฟอร์ม K PLUS ที่ใช้พลัง AI เป็นตัวขับเคลื่อน
นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน KBTGระบุว่าตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยมีธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเกิน 80% ของธุรกรรมทั้งหมดแล้ว แอพ K PLUS มีผู้ใช้มากกว่า 8 ล้านคน แต่ก็ยังมีคนไทยอีกมากที่เข้าไม่ถึงบริการธนาคารในแบบดั้งเดิม หรือที่เรียกว่า unbanked ซึ่งเป็นเป้าหมายของธนาคารกสิกรไทยที่จะขยายไปยังคนกลุ่มนี้ ตัวอย่างบริการที่เปิดตัวไปแล้วคือ K PLUS Beacon สำหรับผู้บกพร่องทางการเห็น
ส่วน KADE เป็นพัฒนาการอีกขั้นของ K PLUS ภายใต้แนวคิด From Digital to Intelligence คือถัดจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ก็จะเข้าสู่ความฉลาดของ AI เป็นตัวขับเคลื่อน โดย KADE จะคอยทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าคนนั้นๆ และนำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้ามากที่สุด เจาะความต้องการลูกค้าเป็นรายคน (segment of one) ไม่ใช่การแยกเซกเมนต์ลูกค้าตามกลุ่มประชากรอีกต่อไป
KADE ไม่ใช่ชื่อบริการ แต่เป็นวิสัยทัศน์ด้าน AI ที่ประกอบด้วยแนวคิด 3 ส่วนคือ
- Design Intelligenceการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการด้วยหลักการ Human-Centric Design ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
- Service Intelligenceออกแบบบริการให้สะดวก รวดเร็ว ตรงใจ ทุกที่ ทุกเวลา
- Machine Intelligenceการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาเป็นตัวสร้างความฉลาดให้บริการต่างๆ ใน K PLUS
KADE ยังไม่เริ่มเปิดให้ใช้งานในตอนนี้ แต่ทีมพัฒนาของ K PLUS กำลังเตรียมงานกันอย่างเต็มที่ และน่าจะได้เห็นบริการชุดแรกภายใต้วิสัยทัศน์ KADE ภายในปี 2018
นายสมคิดยังบอกว่า KADE จะเป็นจิ๊กซอส่วนสำคัญที่จะทำให้ธนาคารกสิกรไทย กลายเป็น Digital Banking เต็มรูปแบบในอีก 3 ปีข้างหน้า
ตัวอย่างบริการที่ขับเคลื่อนด้วย KADE ที่ได้เริ่มให้บริการแล้วคือ machine lending หรือการนำเสนอเงินกู้ขนาดเล็ก (micro finance) ให้อัตโนมัติ โดยใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงจากพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้าแต่ละราย จากนั้นแอพ K PLUS จะขึ้นข้อความแจ้งเตือนลูกค้าว่าต้องการกู้หรือไม่ ถ้าลูกค้าต้องการก็จะได้เงินในเวลาอันรวดเร็ว
ธนาคารกสิกรไทยทดลองให้บริการ machine lending มาตั้งแต่ปลายปี 2560 และพบว่ามีลูกค้าตอบรับบริการในอัตราที่เพิ่มขึ้น 300% เมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม
KBTG ยังเปิดตัว 3 ขุนพล ทีมงานแกนหลักที่อยู่เบื้องหลัง KADE ที่รับผิดชอบงานทั้ง 3 ด้านข้างต้น (จากภาพ ซ้ายไปขวา)
- นายสมคิด จิรานันตรัตน์ประธานกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)
- นายอภิรัตน์ หวานชะเอมPrincipal Visionary Architect
- นายเชษฐ์พันธุ์ ศิริดานุภัทรPrincipal Visionary Architect
- ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมลPrincipal Visionary Architect
Comments
ธนาคารยังคงเอกลักษณ์ ประเพณีการใส่รองเท้าหนัง เข็มขัดหนัง เสื้อยัดกางเกง ไว้ได้อย่างเหนียวแน่นเลยนะครับ
เรื่องพื้นฐานอย่างเช่น ใช้กับมือถือเครื่องอื่นได้ เมื่อไหร่จะพัฒนาครับ (เจ้าอื่นเค้าใช้กันได้หมดแต่แรกแล้ว)
โอ้ แม่การะเกด
หวังว่า App คงไม่ก้าวร้าว พิกลพิการ นะครับ แม่มณีจะได้มีคู่แข่ง
คนบนเวที เขียน code เป็นกี่คนครับอยากรู้ว
CEO 1 ท่าน กับ Architecture 3 ท่าน ก็เขียนเป็นกันทุกคนหล่ะครับ -_-"
คนที่ 2 จากซ้ายพี่อาร์ต เป็นคนนึงที่ผมมองว่ามี Vision มากๆ คนนึงที่ผมเคยรู้จักในเรื่องเทคโนโลยีครับ เป็น Ex. Reauter และ IBMคนที่ 4 จากซ้าย พี่ทิม เป็น Ex. Google ทำงานสาย Machine Learning ครับ น่าจะอยู่ Google มา 6-7 ปีครับ ก่อนกลับมาไทย
ทั้ง 2 ท่านที่เอ่ยถึงผมมีโอกาสได้ไปเมกา trip เดียวกันครับ เลยได้คุยกันหลายเรื่อง :)
คนที่ 3 ชื่อ โจ; ตรี โท computer science Todai (Tokyo University)ทำงานทางด้านเทคโนโลยี แบงก์ต่างชาติมาหลายปีครับ
เราอยากให้ AI ช่วยบอกเครื่อง ATM หน่อย ว่าใส่บัตรเข้าไปแล้วอยากทำธุรกรรมเร็วๆ ไม่ใช่ต้องดูโฆษณาต่ออีก 5 วิ...
me: ควักกระดาษคูปองส่วนลดของโลตัสมา แล้วก็อ่านข่าวอีกที
ใจจริง อยากรู้จังทำไหม app kbank ทำธุรกรรมไวไฟ ไม่ได้ แถมบางครั้งก็ไม่ได้ใช้ไวไฟ ก็ยังฟ้องว่าไวไฟ สรุป app รู้จักแต่ ไวไฟ
ทำได้นานแล้วครับ คุณต้องเข้าใช้ด้วย 3G/4G ก่อนแล้วเข้าไปเปิดในตั้งค่าครับ มีให้เปิดใช้ด้วย WiFi ได้ จากนั้นก็ออกจากแอพ แล้วลองเปิด WiFi เข้าใช้ดูครับคุณ
ใช้ได้แค่ 90 วัน
ธุรกรรม เก่าๆที่ทำบ่อยๆ สามารถทำได้เลยนะครับ ผ่าน Wifi แต่ถ้าเป็น ปลายทางใหม่ ต้องทำผ่าน 3/4G
โอ้ มีฟังก์ชั่นนี้ ด้วย ขอบคุณมากครับ
เหตุผลเริ่มต้นคงเกี่ยวกับการยืนยันว่า เป็นเครื่องที่เจ้าของบัญชีถืออยู่จริง โดยตรวจสอบกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้เปิดใช้บริการ (มั้งครับ)
ทำให้ feature ที่ปล่อยให้ใช้ผ่าน wifi ได้แค่ 90 วันคงมีเหตุผลด้านความปลอดภัย ด้วยการจำ key อะไรสักอย่างที่ใช้ได้แบบจำกัดระยะเวลา
* ถ้าผมเดากลไกถูกต้องก็หมายความว่า การอนุญาตให้ใช้ผ่าน wifi ได้ก็ระวังโดน hack กันเองนะครับ
จริงๆผมอยากรู้ว่า KPlus รู้เบอร์ที่ใช้ได้ยังไง เพราะเวลาที่ต่อผ่าน pocket wifi จะถามตลอดว่าเปลี่ยนเครื่องไหม
ผมว่าอาจจะไม่รู้เลยก็ได้ หลักๆมันก็พื้นฐานการเช็คการเชื่อมต่อว่าเป็นอะไร เพียงเพื่อป้องกันปัญหา MITM ถ้าการมโนของผมถูกก็จะเกิดคำถามว่าฝั่งค่ายมือถือก็อาจโดนฝัง MITM ได้เหมือนกัน
คำถามต่อไปคือ ทำไมไม่แก้ปัญหาด้วยการเช็ค X.509 Chain? หรือเพื่อต้องการเข้ารหัสทับอีกชั้น?
version Android มันขอสิทธิ์ "โทรศัพท์", "รายชื่อติดต่อ" ด้วยครับ ไม่รู้ใช้ช่องทางนี้หรือเปล่า
แต่ที่แน่ๆ connection ที่ออกจากเครื่องวิ่งไปเสาของเครือข่ายโทรศัพท์คงมี ID อะไรบอกได้แน่ๆ เพราะพอตัดไปก็จะไม่รู้กรณีที่ผ่าน pocket wifi ตัวโทรศัพท์มองว่าเป็น wifi ก็ส่งแค่ข้อมูลที่เกี่ยวกับ wifi หรือถ้ามันจับได้ว่า pocket wifi ใช้ number อะไรแล้วไม่ตรงกับที่เคยใช้ในโทรศัพท์มันก็เลยถามว่าได้เปลี่ยนหรือเปล่า
ผมเคยใช้ K-MOBILE BANKING PLUS Version 1มันสามารถเรียกใช้ Code อะไรสักอย่าง ให้ทางเครือข่ายส่งหมายเลขโทรศัพท์กลับมากในรูปแบบ HTML
AI นั้นยากไป ขอ API เชคยอดเงินก่อนได้ไหมครับ
+100 ?