ธนาคารกสิกรไทยคาดปี 2025 ยอดผู้ใช้ K PLUS เพิ่ม 1 ล้านราย เป็น 23.9 ล้านราย พร้อมตั้งเป้าว่าในปีดังกล่าวจะมี ROE (ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น) สูงถึง 2 หลัก
ปัจจุบัน K PLUS มีส่วนแบ่งตลาด 30% ของปริมาณธุรกรรมโมบายแบงก์กิ้งทั้งระบบ มีผู้ใช้งาน K PLUS จำนวน 22.8 ล้านราย นอกจากนี้ ยังได้รับคะแนนจากผู้บริโภคเป็นอันดับ 1 ด้านความพึงพอใจและความผูกพันกับแบรนด์ (Net Promoter Score: NPS) ในกลุ่มธุรกิจธนาคารในประเทศไทย จากผลสำรวจของบริษัท นีลเส็นไอคิว (NielsenIQ) บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลก
เช้าวันนี้ ลูกค้าธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ หลายรายไม่สามารถเข้าใช้งานบริการ LHB You App ได้ โดยขึ้นข้อความ "ระบบไม่สามารถทำรายการได้" ซึ่งพบปัญหาสำหรับผู้ใช้งานผ่าน Application LHB You โดยลูกค้าบางรายแจ้งว่าระบบเริ่มใช้งานไม่ได้ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนที่ผ่านมา รวมเวลากว่า 10 ชั่วโมงแล้ว
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เผยแพร่แนวทาง Shared Responsibility Framework กำหนดความรับผิดชอบของธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในกรณีที่ลูกค้าถูกหลอกลวง โดยมุ่งเป้าการหลอกลวงในกลุ่มการปลอมตัวแบบ phishing และแอปดูดเงินก่อน แต่การหลอกลวงที่เหยื่อตกลงโอนเงินด้วยตัวเอง เช่น การหลอกลงทุน ยังไม่เข้าข่ายประกาศนี้
แม้ประกาศจะครอบคลุมถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ แต่ก็มีความรับผิดชอบเพียงแค่คัดกรอง SMS, ตรวจสอบและบล็อคข้อควาามเสี่ยงสูงเท่านั้น ความรับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่กับธนาคาร โดยประกาศบังคับให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ต้องวางมาตรการเพิ่มเติม ได้แก่
หลังเลยเส้นตายช่วงยื่นขอไลเซนส์ Virtual Bank จากแบงค์ชาติไปเมื่อเดือนที่แล้ว รายชื่อกลุ่มทุนที่ยื่นขอไลเซนส์ส่วนใหญ่เราอาจคุ้นชื่อกันอยู่แล้ว แต่อาจจะยกเว้นกลุ่ม Lightnet Group ที่จับมือกับ WeLab ที่คนไทยอาจจะไม่ค่อยรู้จักมากนัก
Lightnet Group เป็นสตาร์ทอัพฟินเทคสัญชาติไทย แต่ไปโตในหลายประเทศ โดยให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ, Payment Service Provider, Virtual Account, บริการชำระเงิน
ธนาคารสิงคโปร์เตรียมเริ่มบังคับการสแกนใบหน้าในธุรกรรมความเสี่ยงสูงแบบเดียวกับที่แอปธนาคารไทยมักใช้งานกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีธนาคารจะยืนยันใบหน้าผ่านบริการ Singpass Face Verification (SFV) ที่พัฒนาโดยรัฐบาล
แนวทางนี้ต่างจากแอปธนาคารในไทยที่แต่ละธนาคารอิมพลีเมนต์ระบบยืนยันใบหน้าด้วยตัวเอง ขณะที่ Singpass Face Verification นั้นอาศัยบริการของรัฐบาลโดยตรง
เบื้องต้นธนาคารต่างๆ จะใช้ SFV เมื่อผู้ใช้สร้าง digital token (DT) ในแอปธนาคารที่กำลังมาแทน SMS แต่อาจจะมีธุรกรรมความเสี่ยงสูงอื่นๆ ต้องการ SFV เพิ่มเติมด้วย
ที่มา - MAS
สภาผู้บริโภครายงานถึงคดีระหว่างผู้บริโภครายหนึ่งที่ถูกธนาคารฟ้องร้อง หลังจากผู้บริโภครายนี้เป็นเหยื่อของแอปดูดเงิน ติดตั้งแอปจนกระทั่งถูกดูดเงินออกไป และคนร้ายยังเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตพร้อมกับถอนเงินจากบัตรเครดิตเป็นเงินสดออกไป
คดีนี้ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตฟ้องร้องเนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ชำระเงินตามรายการที่คนร้ายถอนเงินสดออกไปนั้น หลังจากถูกดำเนินดคี ทางสภาผู้บริโภคสภาผู้บริโภคแต่งตั้งทนายเข้าช่วยเหลือ และศาลแขวงระยองได้พิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าผู้บริโภคไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตัวเอง และเงินที่โอนออกไปไม่ใช่เงินของผู้บริโภค
ธนาคาร OCBC ในสิงคโปร์เปิดบริการ OCBC MyOwn Account ให้บริการเด็กอายุ 7-15 ปี เพื่อให้สามารถจ่ายเงินผ่านการสแกนหรือบัตรเดบิตได้
บัญชีธนาคารเป็นชื่อเด็กเหมือนบัญชีปกติ แต่จากเดิมที่ตัวเด็กจะเปิดบัญชีออนไลน์และทำบัตรเดบิตได้ต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป บริการใหม่นี้จะเปิดให้ผู้ปกครองอนุญาตให้เด็กทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งการสแกนจ่ายผ่าน QR และการจ่ายผ่านบัตรได้ด้วย โดยที่ฝั่งผู้ปกครองจะมีความสามารถดูรายการธุรกรรมทั้งหมด, จำกัดวงเงิน, ได้รับแจ้งเตือนเมื่อเด็กจ่ายเงิน, และสามารถรีเซ็ตรหัสบัตรหรือแจ้งบัตรหายได้จากฝั่งผู้ปกครองเอง
เมื่อถึงเวลาสิ้นเดือน นอกจากค่าโทรศัพท์ ค่าบ้าน หรือแม้แต่ค่าไฟต่างก็เข้ามารุมกันอย่างล้นหลาม ดังนั้นการจ่ายบิลต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่เรานั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่หากจะต้องเดินทางออกจากบ้านอากาศก็ร้อนซะเหลือเกิน แต่มีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำให้จ่ายค่าไฟ หรือแม้แต่ค่าอื่น ๆ ได้ง่ายดายด้วยแอปธนาคารที่คุณกำลังใช้อยู่นั่นเอง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว สามารถทำได้ทุกที่ไม่ว่าจะอยู่ในบ้านหรือว่านอกบ้านก็ตาม ซึ่งใครที่กำลังสงสัยว่า วิธีจ่ายค่าไฟ ผ่านแอปธนาคาร นั้นจะต้องทำยังไงบ้าง ก็มาดูกันเลย
มัลแวร์เข้ารหัสเรียกค่าไถ่ไม่ทราบชื่อโจมตีบริษัท C-Edge Technologies ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ระบบชำระสำหรับธนาคารในอินเดีย จนตอนนี้ศูนย์กลางรับชำระแห่งชาติ (National Payments Corporation of India - NCPI) ตัดธนาคารทุกแห่งที่ใช้ซอฟต์แวร์ของ C-Edge ออกจากระบบแล้ว
ธนาคารส่วนใหญ่ที่เป็นลูกค้าของ C-Edge เป็นธนาคารขนาดเล็ก โดยรวมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจึงมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับผู้ใช้ทั้งหมด แหล่งข่าวระบุกับ Reuters ว่าโดยรวมคาดว่ายอดชำระได้รับผลกระทบประมาณ 0.5% และตอนนี้กำลังตรวจสอบว่ามัลแวร์ไม่ได้แพร่ไปที่อืน
C-Edge เป็นบริษัทร่วมทุนกันระหว่าง Tata Consultancy Services ผู้ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ และ State Bank of India
สมาคมธนาคารสิงคโปร์ประกาศมาตรการเตรียมนำไปสู่การยกเลิกใช้งาน OTP ทั้งระบบ โดยเริ่มจากผู้ใช้ที่เปิดแอป digital token ไว้แล้วภายในสามเดือนข้างหน้าจะไม่สามารถใช้งาน OTP ได้อีก แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงแอปนั้นธนาคารจะพยายามผลักดันให้ติดตั้งแอปต่อไป
ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศเตรียมยกเครื่องระบบไอทีหลักของธนาคาร (Core Banking) ใหม่ โดยจับมือกับ Sunline บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีธนาคารจากจีน โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนา 4 ปี
โจทย์ของการพัฒนา Core Banking ขึ้นมาใหม่ เพื่อยกเครื่องโครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีใหม่ในรอบทศวรรษ ให้ทันสมัย เสถียร ปลอดภัยและรองรับธุรกรรมที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 24 ชม. ให้ดีมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์การทำธุรกรรมแบบดิจิทัลในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
ธนาคารกลางของไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และอินเดีย ลงนามข้อตกลงเข้าร่วมโครงการ Nexus ระยะที่ 4 ของ ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements - BIS) ที่จะจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อผลักดันการเชื่อมระบบชำระเงินแบบทันที (instant payment) เข้าด้วยกันแบบพหุภาคี (multilateral) จากเดิมที่เราได้ยินข่าวความร่วมมือการโอนเงินข้ามประเทศทีละประเทศเป็นครั้งๆ ไป
โครงการ Nexus เป็นการเชื่อมต่อธนาคารระหว่างประเทศด้วยกันด้วยข้อความตามมาตรฐาน ISO 20022 เพื่อเชื่อมต่อระบบโอนเงินทันที (instant payment systems - IPS) เข้าด้วยกัน เช่น PromptPay ของไทย, FAST ของสิงคโปร์, RPP ของมาเลเซีย
Bank of International Settlements (BIS) หรือธนาคารแห่งธนาคารกลาง ออกรายงานเศรษฐกิจประจำปี 2024 โดยระบุว่าเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวจาก COVID-19 และสงครามในยูเครน แต่ยังมีประเด็นน่ากังวลในอนาคตอีกหลายอย่าง โดยจุดสำคัญของรายงานนี้คือการปิดรายงานด้วยการพูดถึงกระแส AI ในตอนนี้ว่าจะกระทบการทำงานของธนาคารกลางต่อไปในอนาคต
รายงานระบุว่า AI จะกระทบต่อการควบคุมเศรษฐกิจ เริ่มจากภาคแรงงานที่ AI จะเข้าไปแทนแรงงานเดิมบางส่วน, เพิ่มผลิตภาพให้แรงงานบางส่วน, และสร้างงานใหม่ๆ เลย ทำให้การเติบโตเศรษฐกิจเปลี่ยนไป สิ่งหนึ่งที่น่ากังวลคือ AI ทำให้บริษัทต่างๆ มีความสามารถในการปรับราคาเพื่อตอบสนองต่อตลาดได้เร็วขึ้นมากในอนาคต กระทบต่อเงินเฟ้อที่เป็นเป้าหมายการทำงานของธนาคารกลางต่างๆ
แบงค์ชาติสิงคโปร์ (MAS) ปรับมาตรการลงโทษธนาคาร DBS ที่ ถูกสั่งล็อกระบบเพื่อให้แก้ปัญหาธนาคารออนไลน์ล่มเมื่อต้นปี 2023 โดยหลังจากนี้จะอนุญาตให้ DBS ปรับระบบและการทำธุรกิจได้ตามปกติ
มาตรการล็อกระบบที่ผ่านมาทำให้ DBS แทบเพิ่มฟีเจอร์อะไรไม่ได้ นอกจากการแก้ให้ระบบเสถียรขึ้นเท่านั้น และยังห้ามไม่ให้ลดสาขาหรือตู้เอทีเอ็มอีกด้วย
ที่งาน Money 20/20 Asia ที่กรุงเทพฯ สัปดาห์ที่ผ่านมา Tony Petrov ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของบริษัท Sumsub ผู้ให้บริการยืนยันตัวตนลูกค้า (know-your-customer - KYC) ระบุถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทุกวันนี้ว่าก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ แต่เทคโนโลยีการตรวจสอบก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน
Sumsub พยายามพัฒนาระบบตรวจจับภาพ Deepfake ของตัวเองโดยมีทีมสร้างภาพ Deepfake เพื่อมาหลอกระบบตรวจสอบไปพร้อมกัน โดยลูกค้าจำนวนมากเป็นกลุ่มบริการคริปโต เช่นตลาดคริปโตอย่าง Binance
ธนาคารกลางสิงคโปร์ร่วมมือกับธนาคาร 6 แห่ง ได้แก่ DBS, OCBC, UOB, Citibank, HSBC, และ Standard Chartered Bank เปิดแพลตฟอร์ม COSMIC สำหรับการแชร์ข้อมูลบัญชีต้องสงสัย
ธนาคารจะมีเงื่อนไขสำหรับผู้ใช้เอาไว้ล่วงหน้า (แถลงข่าวไม่บอกพารามิเตอร์ว่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง) และเมื่อบัญชีใดเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมุ่งแก้อาชญากรรม 3 กลุ่ม ได้แก่ การฟอกเงิน, การก่อการร้าย, และการหาทุนให้อาชญากรรม
COSMIC เปิดให้ธนาคารที่พบบัญชีต้องสงสัย สามารถขอข้อมูลลูกค้าจากธนาคารอื่นๆ, แชร์ข้อมูลให้ธนาคารอื่น, และแจ้งเตือนหน่วยงานรัฐว่ามีบุคคลต้องสงสัย
- Read more about สิงคโปร์เปิดแพลตฟอร์ม COSMIC แจ้งเตือนบัญชีอาชญากร
- Log in or register to post comments
ธนาคาร Westpac ในออสเตรเลียเพิ่มแบบสอบถามเมื่อผู้ใช้โอนเงินต้องสงสัย ช่วยป้องกันลูกค้าถูกหลอกโอนเงิน
ธนาคาร Westpac ในออสเตรเลียเปิดฟีเจอร์ SaferPay หน้าจอแสดงแบบสอบถามเมื่อผู้ใช้ทำธุรกรรมต้องสงสัย แอปของ Westpac จะแสดงคำถามขึ้นมาย้ำถึงเหตุผลของการโอนเงิน
เมื่อผู้ใช้ทำธุรกรรมที่เข้ารูปแบบต้องสงสัยแอปจะแสดงแบบสอบถาม และหากผู้ใช้ตอบคำถามแสดงให้เห็นว่ากำลังถูกหลอกก็จะบล็อครายการโอนเงินเอาไว้ รูปแบบนี้คล้ายกับพนักงานธนาคารที่อาจจะพบธุรกรรมต้องสงสัยเมื่อลูกค้ามาทำธุรกรรมที่สาขา แล้วตัวพนักงานแจ้งเตือนลูกค้า
ฟีเจอร์ SaferPay นี้จะเริ่มเปิดใช้งานในบริการธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือก่อน จากนั้นจะเปิดทุกช่องทางดิจิทัลภายในปี 2025
ธนาคารในออสเตรเลียมีแนวทางลดการถูกหลอกลวงด้วยแนวทางนี้เป็นส่วนใหญ่ ก่อนหน้านี้ NAB ธนาคารอีกแห่งหนึ่งในออสเตรเลียก็เปิดบริการแบบเดียวกันไปก่อนแล้ว
มีรายงานว่าเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา Commercial Bank of Ethiopia หรือ CBE ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเอธิโอเปีย เกิดปัญหาระบบทำงานผิดพลาด ลูกค้าสามารถกดถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม และได้เงินออกมามากกว่าที่กดคำสั่งไป
เหตุการณ์นี้ทำให้กลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่งบอกต่อกันอย่างรวดเร็ว แม้เป็นเวลาตี 1 ก็เกิดการต่อแถวยาวหน้าตู้เอทีเอ็มเพื่อถอนเงิน จนกระทั่งธนาคารพบความผิดพลาด จึงสั่งระงับรายการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ามาสั่งให้หยุดการถอนเงิน
Alvin Tan รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมสิงคโปร์ให้ข่าวว่าตัวเลขประชาชนที่ใช้ฟีเจอร์ล็อกเงินไม่ให้ถอนผ่านบริการออนไลน์ตอนนี้มีเกิน 61,000 บัญชี รวมมูลค่าเงินถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 140,000 ล้านบาท หลังจาก ธนาคารหลักๆ ในสิงคโปร์เปิดบริการนี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
Group-IB บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์รายงานถึงกลุ่มมัลแวร์ขโมยเงิน GoldDigger ว่ามุ่งเป้าเหยื่อในไทยและเวียดนาม ความพิเศษคือกลุ่มนี้โจมตีทั้งผู้ใช้ iOS และ Android
มัลแวร์ GoldPickaxe ของกลุ่ม GoldDigger นี้มีทั้งรุ่น iOS และ Android โดยผู้ใช้ iOS อาศัยการติดตั้งผ่าน TestFlight หรือการติดตั้ง MDM Profile ที่ปกติแล้วเป็นการเชื่อมอุปกรณ์เข้ากับระบบขององค์กรให้ผู้ดูแลขององค์กรเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ได้
ทาง Group-IB ระบุว่า GoldPickaxe ไม่ได้ขโมยเงินจากแอปธนาคารในเครื่องโดยตรงเหมือนแอปดูดเงินที่ระบาดก่อนหน้านี้ แต่อาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งหมายเลขโทรศัพท์, ดัก SMS, และพรอกซี่ข้อมูลเข้าออกจากโทรศัพท์ เพื่อไปติดตั้งแอปธนาคารบนแอนดรอยด์ของคนร้ายเองแล้วดูดเงินออไปจากบัญชีของเหยื่อ
ธนาคารหลักของสิงคโปร์ ได้แก่ DBS, OCBC, และ UOB ประกาศบริการล็อกเงินใบบัญชี เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกค้าจะถูกหลอกลวงรูปแบบต่างๆ รวมถึงการถูกหลอกให้ติดตั้งแอปดูดเงิน โดยแนวทางคล้ายกันคือลูกค้าจะกันเงินบางส่วนให้ถอนได้จากที่สาขาเท่านั้น ไม่สามารถใช้แอปได้
DBS ให้บริการในชื่อ digiVault สามารถใช้ได้กับบัญชีฝากประจำส่วนบุคคลเท่านั้น ลูกค้าสามารถสั่งล็อกบัญชีจากในแอปได้เอง แต่หลังจากล็อกไปแล้วไม่สามารถปลดล็อกจากในแอปได้อีกต่อไป ต้องไปถอนเงินที่สาขาเท่านั้น ความพิเศษคือ DBS ให้ดอกเบี้ยกับบัญชี digiVault เพิ่มเติมด้วย
Commonwealth Bank of Australia (CBA) ธนาคารรายใหญ่ในออสเตรเลียประกาศเตรียมเปิดตัวบริการแชตบอต CommBank Customer Copilot บริการผู้ช่วยผ่านแชตภายในปีหน้า โดยช่วงแรกยังไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ แต่เป็นการตอบคำถามทั่วไปเท่านั้น
CBA วางแผนการปล่อย Copilot ไว้สามขั้น ขั้นแรกนั้นจะเป็นการตอบคำถามทั่วๆ ไปเท่านั้น เช่น อัตราดอกเบี้ยต่างๆ ขั้นที่สองจะเปิดให้ Copilot ทำความเข้าใจข้อมูลทางการเงินของลูกค้าโดยตรง ทำให้สามารถถามคำถามต่างๆ เช่น ยอดค่าใช้จ่ายในทริปเดินทางล่าสุด หรือให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ประหยัดลงหากหาแหล่งเงินกู้ใหม่ ส่วนแผนระยะยาวคือการสร้าง full co-banker pilot ผู้ช่วยเต็มตัวที่สามารถช่วยลูกค้าทำธุรกรรมได้ด้วยตัวเอง
หลังจากแบงค์ชาติออก ประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กำหนดเกณฑ์การให้บริการผ่านช่องทาง Mobile Banking ห้ามไม่ให้หยุดชะงักเกิน 8 ชั่วโมงต่อปี และมีข่าวระบุว่าหากธนาคารทำไม่ได้ตามเกณฑ์นี้ก็จะถูกปรับสูงสุด 500,000 บาทและอีกวันละ 5,000 บาท ทาง Blognone ขอข้อมูลแบงค์ชาติเพิ่มเติม
สำหรับการกำหนดเกณฑ์ระยะเวลาล่มเฉพาะ Mobile Banking นั้นทางแบงค์ชาติระบุว่าตัวประกาศมีมาตรการสำหรับระบบไอทีด้านอื่นๆ ด้วย แต่กำหนดระยะเวลาขัดข้องสูงสุดเฉพาะ Mobile Banking เนื่องจากหากเกิดปัญหาขัดข้อง จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการวงกว้าง
เมื่อวานนี้หลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวถึงโครงการ Digital Wallet ช่วงหนึ่งในการแถลงระบุถึงเกณฑ์การรับเงินใน Digital Wallet 10,000 บาท ว่าจะตัดสิทธิ์ผู้ที่มีรายได้เกิน 70,000 บาทต่อเดือน และมีเงินในบัญชีทุกบัญชีรวมกันมากกว่า 500,000 บาท โดยแสดงข้อมูลว่ามีผู้มีเงินเดือนเกิน 70,000 บาท อยู่ที่ 1.3 ล้านคน และผู้ที่มีเงินในบัญชีรวมทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท อยู่ที่ 3.5 ล้านคน การตัดกลุ่มนี้ออกทำให้ใช้เงินเหลือ 500,000 ล้านบาท คำถามหนึ่งคือที่มาของข้อมูลชุดนี้จะมาจากไหน และรัฐบาลรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละคนมีเงินฝากรวมมากน้อยเพียงใด
แบงค์ชาติสิงคโปร์ (MAS) ออกมาตรการลงโทษธนาคาร DBS ที่ ระบบออนไลน์มีปัญหาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมาตรการใหม่เป็นการล็อกระบบแทบทั้งหมดของธนาคารจนกว่าจะแก้ปัญหาเสร็จ
มาตรการที่ออกมาสั่งห้ามทำธุรกิจใหม่ (acquire new business ventures), ห้ามลดจำนวนสาขาและตู้เอทีเอ็ม ตลอดจนห้ามเปลี่ยนระบบไอทียกเว้นส่วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัย, การทำตามมาตรการกำกับดูแลและการจัดการความเสี่ยง โดยมาตรการนี้มีระยะเวลา 6 เดือนและจะพิจารณาใหม่อีกครั้งหลังจบช่วงเวลาว่าทาง MAS พอใจกับการปรับปรุงหรือไม่