The Wall Street Journal รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยชื่อ ระบุอัยการสหรัฐเตรียมยื่นฟ้อง Huawei คดีขโมยเทคโนโลยีที่เป็นความลับทางการค้าจากจาก T-Mobile ที่เป็นพาร์ทเนอร์ในสหรัฐฯ ผู้สร้างเทคโนโลยีสำหรับทดสอบโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า Tappy โดยเตรียมฟ้องเป็นคดีอาญา
คดีนี้สอบสวนต่อจากคดีแพ่งระหว่าง T-Mobile และ Huawei เมื่อปี 2014 ที่ T-Mobile ยื่นฟ้องว่าพนักงานงาน Huawei ลักลอบเข้าไปในห้องปฏิบัติการเพื่อถ่ายภาพ Tappy โดยไม่ได้รับอนุญาต และยังพยายามนำปลายนิ้วของหุ่น Tappy ใส่ในกระเป๋าโน้ตบุ๊กและนำออกจากห้องปฏิบัติการ
ภายหลังพนักงานของ Huawei ยอมรับว่าต้องการส่วนประกอบของ Tappy เพราะสำนักงานวิจัยและพัฒนาของ Huawei เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงหุ่นยนต์ของบริษัทของตัวเองได้
คดีเมื่อปี 2014 จบในศาลปี 2017 โดย Huawei ชดเชยค่าเสียหายกับ T-Mobile เป็นจำนวน 4.8 ล้านดอลลาร์ จากค่าเสียหายที่ T-Mobile เรียกร้อง 500 ล้านดอลลาร์ ในข้อหาเดียวคือ ละเมิดสัญญา แต่ลูกขุนตัดสินว่า Huawei ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า
ที่มา : The Wall Street Journal , ภาพจาก @Huawei_ME
Comments
Say Hello to T-Mobile's Tap-Happy Device Testing Robothttps://www.youtube.com/watch?v=mv69ZxKOFSw
เอาแล้วๆๆๆๆๆๆๆ
ทางการค้าจากจาก ?
พนักงานงาน ?
จะมีคนถามหาหลักฐาน อีกไหมครับ
โจรกรรม แบบกรุบกริบ
ก็ยังถามอยู่ครับ ที่ว่าหลักฐานอุปกรณ์หัวเหวยโขมยข้อมูลสำหรับข่าวนี้ทำให้รู้ว่าแม้จะเป็นเรื่องเมื่อนานมาแล้วก็ยังเอามาเล่นหัวเหวยได้ ทั้งๆเรื่องปัจจุบันที่ร้ายแรงกว่ากลับหาหลักฐานมาแสดงไม่ได้
เพราะเรื่องสำคัญคือข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจว่าเราควรจะใช้มันหรือเปล่า ส่วนการโขมยก็เป็นเรื่องของกม มันไม่ได้ทำให้ข้อมูลผู้ใช้อุปกรณ์โดนโขมยเหมือนข่าวก่อนหน้า
เรื่องนี้คุณคิดผิดครับ เมื่อดูจากเนื้อข่าว เมื่อพิจารณาจากคำว่า "คดีเมื่อปี 2014 จบในศาลปี 2017 โดย Huawei ชดเชยค่าเสียหายกับ T-Mobile เป็นจำนวน 4.8 ล้านดอลลาร์" หมายความว่า T-Mobile ฟ้องเป็นคดีแพ่ง
ปกติแล้วการเข้าไปถ่ายภาพตามเนื้อข่าวเป็นความผิดต่อรัฐด้วย ซึ่งคดีอาญาจะมีอายุความอยู่ คดีอาญานี้อัยการเป็นผู้ฟ้องภายในอายุความถึงแม้ผู้เสียหายจะไม่เอาความ แต่เมื่อพนักงานสอบสวนหาหลักฐานได้ครบถ้วนและมากพอที่จะเอาผิดได้อัยการก็จะฟ้องครับ ต่างจากไทยที่หลายๆครั้งเอาแค่พอฟ้องได้แค่นั้นแล้วก็ไปยกฟ้องในศาล ซึ่งในสหรัฐการจะฟ้องอะไรสักทีนึงต้องมั่นใจก่อนครับจึงจะฟ้องดังนั้นจึงต้องรอการสอบสวนให้แล้วเสร็จแล้วจึงยื่นฟ้อง เมื่อดูระยะเวลาแล้วแม้ผ่านมา 4ปีแล้วมาฟ้องก็ไม่แปลกอะไรครับก็เพราะทำผิดจริงๆและเมื่อพิจารณาจากข่าวแสดงว่าเมื่อคดีจบปี 2017 เขาก็สอบสวนต่อแสดงว่า Time line จริงๆคือปีกว่าๆเอง ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า "เป็นเรื่องเมื่อนานมาแล้วก็ยังเอามาเล่นหัวเหวยได้" จึงคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงในข่าวไปมากเพราะจะเอาคำสารภาพในศาลมาใช้ได้ก็ต้องรอคดีเก่าเสร็จก่อนและเมื่อดูบริบทที่บอกว่าสอบสวนต่อจากคดีแพ่งหมายความว่าคดีแพ่งจบปี 2017 แล้วเขาสอบสวนต่อครับจึงต้องนับปีที่เริ่มสอบสวนเป็นปี 2017 หลังคดีแพ่งจบ ไม่ใช่ไปนับปี 2014 ที่ T-mobile ฟ้องคดีแพ่งซึ่งผิดหลักปฏิบัติ
ดังนั้นมาตรฐานอะไรแบบไทยๆที่เราคุ้นเคยในไทยจะเอามาชี้วัดกับคดีนี้ไม่ได้ครับ ระบบของเขาต่างจากเรา
ผมไม่มีความรู้เรื่องศาลแต่จากข่าวคือเอาเรื่องเดิมมาฟ้องเพิ่ม ทั้งที่ผลศาลออกแล้วฟ้องต่อได้เลย เพราะหลักฐานครบ และได้ผลชนะ ทำไมต้องรอเป็นปีกว่า แต่เป็นเวลานี้ ที่หัวเวยมีปีหา ไม่ฟ้องปีหน้า หรือปีที่แล้ว แต่เป็นช่วงเวลาของสงครามการค้า แล้วปีกว่าๆนี่ไม่นานเหอครับ งง ถ้าคุณเกิดมีคดีแล้วรอเป็นปีกว่าจะฟ้องศาลนี่ไม่นานใช่ใหม
ผิดครับ คุณคงไม่เข้าใจเรื่องคดีอาญากับคดีแพ่ง
มาตรฐานในการตัดสินไม่เหมือนกันการชั่งน้ำหนักก็ต่างกันด้วย
ถ้าอ่านข่าวดีๆจะเห็นว่า "ลูกขุนตัดสินว่า Huawei ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า"
แสดงว่ายังเอาผิดในคดีอาญาไม่ได้มันก็ต้องสอบสวนเพิ่มครับชัดเจนในข่าวครับ
ซึ่งถ้าจะเอาผิดทางอาญาจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า Huawei จงใจละเมิดความลับทางการค้าดังนั้นต้องสอบสวนหาหลักฐานเพิ่มอยู่แล้วครับ
เรื่องแบบนี้ใช้คอมมอนเซนส์ไม่ได้ คดีอาญาหลักสำคัญคือเจตนา คำว่า "ไม่จงใจ" หมายถึงไม่มีเจตนานะครับ
คดีเรื่องเดียวกันผลทางอาญาต่างกัน คดีอาญาเน้นหนักเรื่องการกระทำโดยเจตนา พยานหลักฐานใช้แค่คำสารภาพมันไม่มากพอ แล้วฟ้องสุ่มสี่สุ่มห้า ยกฟ้องขึ้นมารับผิดชอบไหม แล้วถ้ายกฟ้องโดนฟ้องกลับด้วยนะ
คดีแพ่งเนี่ยเรื่องการละเมิดแม้ไม่มีเจตนาก็เอาผิดได้แต่คดีอาญามันไม่ใช่
พื้นฐานคดีอาญาจะต้องนำสืบให้เห็นถึงเจตนา แรงจูงใจและหลักฐานต้องชัดเจน ไม่เหมือนคดีแพ่งที่พอฟังได้ว่ามีการละเมิดก็ให้ชดใช้ค่าเสียหายได้
ดังนั้นข้อคิดเห็นของคุณที่ว่า "ทั้งที่ผลศาลออกแล้วฟ้องต่อได้เลย" จึงเป็นข้อคิดเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและไม่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าองค์ประกอบภายในของคดีอาญาคือ "เจตนา" ข่าวก็ชัดเจนว่า "ลูกขุนตัดสินว่า Huawei ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า" ดังนั้นถ้าอัยการจะให้สั่งสอบสวนเพิ่มโดยใช้เวลาราวๆ 1 ปีก็ไม่ถือว่าผิดปกติครับในสหรัฐฟ้องคดีเป็นปีผมว่าเป็นเรื่องปกตินะคุณไม่เคยเจอคดีที่สอบสวนกันเป็นปีเหรอบอกเลยเพียบ แม้แต่ในเมืองไทยยังมีให้เห็นเลย
"ถ้าคุณเกิดมีคดีแล้วรอเป็นปีกว่าจะฟ้องศาลนี่ไม่นานใช่ใหม" ผมน่ะชินครับ ผมยกตัวอย่างคดีเงินกู้ เบี้ยวกันมา 5ปีเพิ่งมาฟ้องปีที่ 5 ผมก็เห็นมาแล้ว เพราะกฎหมายกำหนดอายุความการใช้สิทธิอยู่แล้ว
ส่วนคดีอาญาเขาจะมีกรอบเวลาเรื่องการสอบสวนอยู่ ซึ่งถ้าอยู่ในช่วง 1-2ปีผมมองว่าปกติครับมีให้เห็นออกจะบ่อย
ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าเอามาใช้เป็นสงครามการค้ายังออกแนวเลื่อนลอยและไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนเว้นเสียแต่เป็นทฤษฎีสมคบคิด ส่วนคดีแพ่งผมตอบไปแล้วว่าลูกขุนตัดสินว่า Huawei ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า ซึ่งหมายความว่ายังเอาผิดทางอาญาไม่ได้ดังนั้นจะมีการสอบสวนหาหลักฐานเพิ่มเพื่อเอาผิดก็ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใดครับ
ผมมองว่าเรื่องของ Time line หลายๆคนเข้าใจผิดนะ มีคนไปคิดว่าคดีนี้เริ่มปี 2014 จริงๆแล้วมันเริ่มปี 2017 ผ่านมาปีกว่าๆเองเพราะนี่เพิ่งต้นปี 2019 เพราะเนื้อหาข่าวระบุว่า "พนักงานของ Huawei ยอมรับว่าต้องการส่วนประกอบของ Tappy เพราะสำนักงานวิจัยและพัฒนาของ Huawei เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงหุ่นยนต์ของบริษัทของตัวเองได้"
ซึ่งเป็นคำสารภาพในศาล และกว่าจะนำมาใช้ได้ก็ต้องให้คดีแพ่งเสร็จก่อนในข่าวก็บอกว่า "คดีเมื่อปี 2014 จบในศาลปี 2017" แต่จะมีคนเข้าใจผิดตามเนื้อข่าวที่ว่า "คดีนี้สอบสวนต่อจากคดีแพ่งระหว่าง T-Mobile และ Huawei เมื่อปี 2014"
ดังนั้นการจะตั้งตรรกะว่าคดีอาญาเริ่มตอนไหนจะต้องทราบก่อนว่าคดีอาญาจะเริ่มได้เมื่อคดีแพ่งเสร็จสิ้นก็คือปี 2017 ไม่ใช่ปี 2014 ซึ่งเป็นปีที่ฟ้องคดีแพ่งและคดียังไม่มีการพิจารณาหรือมีคำสารภาพของพนักงานในศาลที่จะนำไปใช้ในคดีอาญาได้
ดังนั้นข้อคิดเห็นที่ว่า "แม้จะเป็นเรื่องเมื่อนานมาแล้ว" จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเพราะ 4-5 ปี กับ 1-2 ปี มันแตกต่างกันเป็นเท่าตัว ซึ่งคดีนี้สอบสวนต่อจากคดีแพ่งแค่ปีกว่าๆเองครับ (ตอนที่โพสต์คือเดือนมกราคม 2019)จากนี้ผู้ที่จะแสดงความเห็นในลักษณะที่ว่าเอาคดีที่ผ่านมานานมาแล้วมาเอาผิดอาจจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเสียใหม่นะครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ผมไม่ถนัดด้านกฏหมายมากนัก และไม่ได้ติดตามข่าวนี้มาก่อน แต่สนใจเรื่องHuaweiครับ มีคำถามอยากให้ช่วยวิเคราะห์นิดครับ จากบทความข้างต้น ผลการตัดสินของคดีแพ่งดูจะไม่รุนแรง ถ้าไปเป็นอาญาแล้วจะออกเป็นรูปใดได้บ้างครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ (พอดีใช้สิทธิcommentไปน่าจะหมดหรือใกล้หมดแล้ว)
ถ้าดูจากข่าว เมื่อพนักงานของ Huawei ยอมรับว่า "ต้องการส่วนประกอบของ Tappy เพราะสำนักงานวิจัยและพัฒนาของ Huawei เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงหุ่นยนต์ของบริษัทของตัวเองได้" ตรงนี้ก็จะถูกนำมาใช้ในคดีอาญา แต่ก็ต้องดูพยานหลักฐานอื่นๆประกอบและต้องดูว่าทนายความของ Huawei เก่งพอที่่จะจูงใจให้คณะลูกขุนเชื่อว่าไม่ได้กระทำผิดหรือไม่ แต่ถ้าคณะลูกขุนตัดสินว่ามีความผิด ขั้นต่ำพนักงานรายนี้มีโอกาสติดคุกครับ เพราะกฎหมายของสหรัฐในเรื่องความลับทางการค้าหากกระทำผิดต้องโทษ ปรับ 5แสน - 5ล้านเหรียญสหรัฐ และมีโทษจำคุกสูงสุดสิบปี ด้วย
ส่วนบริษัทถ้าไม่สามารถหักล้างได้ว่าตนเองไม่มีส่วนรู้เห็นกับพนักงาน ผู้บริหารซึ่งมีอำนาจก็อาจโดนโทษจำคุกไปด้วย
ซึ่งในส่วนของโทษค่าปรับนี่ไม่เกี่ยวกับค่าเสียหายในคดีแพ่งนะ ส่วนเรื่องการลดหย่อนโทษนั้นระบบบ้านเขาไม่เหมือนบ้านเราอันนี้ตอบไม่ได้จริงๆ
Economic Espionage Act of 1996 (EEA). The EEA gives the U.S. Attorney General sweeping powers to prosecute any person or company involved in trade secret misappropriation and punishes intentional stealing, copying or receiving of trade secrets. Penalties for violations are severe: Individuals may be fined up to $500,000 and corporations up to $5 million. A violator may also be sent to prison for up to ten years.
มายกนิ้วให้คุณ Khow เรื่องข้อกฎหมาย
Trade secret มันโหดตรงมีบทลงโทษทางอาญาฯ ด้วย ไม่เหมือนคดีละเมิดสิทธบัตรหรือลิขสิทธ์/การลักลอบนำข้อมูลทั่วไปออกมา ที่ถ้าเคลียร์ทางแพ่งได้ก็จบ สมัยทำงานกับเมกัน เรื่อง Trade secret เป็นสิ่งที่ต้อง train ให้พนักงานทุกระดับเข้าใจและระมัดระวังเป็นพิเศษเลย เพราะมันจะรุนแรงกว่าเรื่องขโมยข้อมูลที่เป็นแค่คดีแพ่งฯในไทย
ขอบคุณมากๆครับ ชื่นชมจริงๆครับ
งงอีกที่ว่าทำไมยอบรับว่าโขมยเพราะบริษัทเชื่อว่าจะช่วยปรับปรุงหุ่นยนต์ของบริษัท แต่ศาลยังตัดสินว่าแค่
ละเมิดสัญญาแต่ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า ไม่ละเมิดความลับได้ยังไงครับ คือเส้นแบ่งตรงนี้มีรายละเอียดอื่นๆอธิบายไว้บ้างไหมครับ
ยังมีคำถามอีกมากตามประสาคนไม่ลึกซึ้งกฏหมายและกระบวนการยุติธรรมของทั้งไทยทั้งอเมริกา
แต่คงไม่รบกวนมากไปกว่านี้ จะไปลองค้นหาเอง แต่เฉพาะข้อนี้คาดว่าคงจะไม่ได้เข้าใจละเอียดได้เท่าคุณKnow
ขอบคุณอีกทีครับ ถามเพราะชื่นชมครับ
เท่าที่ผมทราบก็คือคดีแรกนั้นเป็นการที่เอกชนฟ้องเองในคดีแพ่ง
ซึ่งในคดีแพ่งนั้นจะเน้นไปในเรื่องของการฟ้องความผิดฐานละเมิดเสียมากกว่าที่จะฟ้องเพื่อให้รับโทษทางอาญาดังนั้นพยานหลักฐานจะเน้นไปในด้านที่ว่ามีการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น แค่นั้นเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
ดังนั้นทางลูกขุนจะเชื่อว่า "ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า" ก็ไม่น่าจะแปลกเพราะคดีแพ่งแค่เพียงเสนอให้ลูกขุนทราบว่ามีการ ละเมิดเกิดขึ้นและทำให้ได้รับความเสียหายก็ชนะคดีแล้ว ไม่ต้องลงลึกแบบคดีอาญา
นอกจากนี้การที่จะให้ Huawei รับผิดว่า จงใจละเมิดความลับทางการค้า จะต้องแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่า Huawei รู้เห็นเป็นใจให้พนักงานไปทำเรื่องที่ว่าจริงๆ ถ้าไม่มีหลักฐาน การที่มีแค่คำปรักปรำจากตัวพนักงานเฉยๆระบบของที่นั่นศาลจะกรองเรื่องของพยานหลักฐานให้ ตัวลูกขุนมีหน้าที่แค่ตัดสินว่าธงจะออกมาแบบไหนตามพยานหลักฐานที่กำหนดไว้ตามกฎหมายของเขา (ถ้าบ้านเราก็เรียกว่ากฎหมายลักษณะพยาน) หรือพูดง่ายๆพยานหลักฐานไหนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็จะไม่ไปถึงตัวลูกขุนให้หยิบขึ้นมาพิจารณาได้ เพราะลูกขุนก็คือชาวบ้านธรรมดาแบบเราๆท่านๆนี่แหละ
เมื่อพิจารณาเรื่องเหล่านี้จนครบถ้วนข้ออ้างที่ว่าเป็นสงครามทางการค้าก็เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยที่ใช้แก้ตัวในกรณีที่ถูกฟ้องเท่านั้นซึ่งเลื่อนลอยและไม่มีหลักฐานมาสนับสนุนเพราะจำเลยจะแก้ตัวในคดีอาญา (ที่กำลังจะฟ้อง) ยังไงก็ได้
เหตุผลที่คดีมันช้าก็เพราะคดีแรกบริษัทฟ้องเองเพื่อเรียกค่าเสียหาย พอรัฐทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ต้องรอให้คดีจบแล้วทำการสอบสวนต่อเนื่องจากเป็นคดีอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหายด้วย
ดังนั้นข้อคิดเห็นที่อ้างว่า "เอาเรื่องเดิมมาฟ้องเพิ่ม ทั้งที่ผลศาลออกแล้วฟ้องต่อได้เลย" จึงไม่ได้เป็นข้อคิดเห็นที่วางอยู่บนพื้นฐานหลักของการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐเพราะคดีแรกเป็นการที่เอกชนฟ้องคดีเองคดีหลังรัฐเป็นผู้ฟ้องซึ่งถือว่าผู้เสียหายในคดีเป็นคนล่ะคน
เหมือนกับคดีอาญาทั่วไปที่พอเอกชนฟ้องในคดีส่วนแพ่งไปแล้วก็ไม่ห้ามพนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาหากเป็นคดีอาญาแผ่นดินที่รัฐเป็นผู้เสียหาย ในกรณีที่มีความปรากฎต่อพนักงานสอบสวนว่ามีการกระทำผิดดังกล่าว
เข้าใจเบื้องต้นแล้วครับ ขอบคุณสำหรับเวลาและความรู้มากๆครับ
อ่านไปๆภาพศาลลอยมาเลยครับ เคยไปศาลจ่ายค่าปรับspeed limit violationตอนอายุประมาณยี่สิบที่Arkansas เขาให้ไปศาลเลยนะไม่ใช่สถานีตำรวจ ถ้าจำไม่ผิดเขาบังคับให้ต้องไปเองห้ามฝาก ไม่เข้าใจระบบและกลัวระบบเขามากเลยครับ กลัวเขาเรียกไปขึ้นศาล เข้าไปไม่กล้าสบตาใครหรือมองดูใครเลย สุดท้ายรู้ได้ไงก็จำไม่ได้ คือเขามีช่องรับจ่ายค่าปรับโดยเฉพาะ(เขาเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ กลัวจนมึน) รีบเข้าแถวจ่ายค่าปรับ ไม่กล้าสบตาคนเก็บเงินด้วย(เรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่เหมือนไม่ใช่ขรก.) จนจ่ายเสร็จแล้วก็ยังไม่รู้ว่าจบมั้ยยังถามเขาว่ากลับบ้านได้ยัง จากนั้นไม่กล้าอีกเลยครับ T T นึกถึงแล้วยังขำตัวเอง
ขอบคุณอีกทีครับ
ขอแยกออกมาเป็นหัวข้อใหม่ระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่งนะครับ
คดีแพ่ง
T-Mobile โจทก์
Huawei และ พนักงาน จำเลย
การทำสำนวนคดี
รวบรวมหลักฐานว่า จำเลยมีการกระทำที่ก่อให้โจทก์เสียหายไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำโดยเจตนา ไม่เจตนา หรือ ประมาท
คดีอาญา
อัยการ โจทก์
Huawei และ พนักงาน จำเลย
การทำสำนวนคดี
รวบรวมหลักฐานว่า จำเลยมีการกระทำที่ก่อให้โจทก์เสียหายและต้องจะเป็นการกระทำโดยเจตนา พร้อมทั้งต้องหาพยานหลักฐานที่สอดคล้องว่าพนักงานของบริษัทและผู้บริหารนั้นร่วมหรือเป็นตัวการหรือมีการใช้ให้กระทำผิด
หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้บริหารรู้เห็นเป็นใจว่าพนักงานกระทำการดังกล่าวบริษัท(หมายถึงตัวกรรมการผู้มีอำนาจ)ไม่ต้องรับโทษทางอาญา
จะเห็นได้ว่าลำพังแค่ คำสารภาพของพนักงานของ Huawei ที่ยอมรับว่าต้องการส่วนประกอบของ Tappy เพราะสำนักงานวิจัยและพัฒนาของ Huawei เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงหุ่นยนต์ของบริษัทของตัวเองได้ ยังไม่มากพอที่จะเอาผิดบริษัทได้ และยังเป็นแค่พยานบอกเล่าไม่ได้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากพอที่จะเอาผิดกับบริษัทได้ดังนั้นการที่อัยการจะให้พนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่มซึ่งอาจใช้เวลานาน 1-2ปี ย่อมไม่ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งทางการค้าแต่เป็นกระบวนการสอบสวนเพื่อเอาผิดทางอาญาตามปกติอยู่แล้ว
ข้ออ้างที่ว่าเป็นเรื่องสงครามการค้า จึงมีน้ำหนักให้เชื่อถือน้อยมากและเมื่อพบว่า "ลูกขุนตัดสินว่า Huawei ไม่จงใจละเมิดความลับทางการค้า" ยิ่งแสดงให้เห็นว่าพยานหลักฐานในคดีแพ่งยังไม่มากพอจะเอาผิดบริษัทได้ดังนั้นหากจะมีการสอบสวนเพิ่มก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
สุดยอดครับ