มีรายงานหลังศาสสูงสุดสหรัฐได้ รับฟังคำโต้แย้งด้วยวาจา ตามที่ TikTok ได้ ยื่นอุทธรณ์ ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายสั่งแบนแอปในอเมริกาเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายนี้ระบุให้ ByteDance ต้องขายกิจการ TikTok ในอเมริกาออกมา หรือมิฉะนั้นแอปจะถูกแบนในประเทศ มีผลวันที่ 19 มกราคมนี้ ซึ่ง TikTok แย้งว่าคำสั่งนี้ขัดกับหลักเสรีภาพในการแสดงออกในรัฐธรรมนูญสหรัฐ
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ถูก Ann Altman น้องสาวของเขายื่นฟ้องต่อศาลตะวันออกของรัฐมิสซูรี โดยกล่าวหาว่าถูก Sam ล่วงละเมิดทางเพศหลายครั้งในแต่ละสัปดาห์ ตั้งแต่พวกเขาอยู่ที่บ้านในเมืองเคลย์ตัน รัฐมิสซูรี ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในวัยเด็กช่วงปี 1997-2006 และ Ann บอกว่าการกระทำนี้ของ Sam ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของตนมาถึงปัจจุบัน
แอปเปิลตกลงยอมความจ่ายเงิน 95 ล้านดอลลาร์ เพื่อยุติคดีฟ้องร้องแบบกลุ่มในศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเด็นระบบสั่งงานด้วยเสียง Siri มีการละเมิดความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งาน
เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่ปี 2019 ที่มี รายงาน เรื่องแอปเปิลใช้คนฟังบันทึกเสียงการใช้งาน Siri เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และหาการทำงานที่บกพร่อง ซึ่งแอปเปิล ออกแถลงการณ์ขอโทษ ในเวลาต่อมา และระงับการใช้คนในกระบวนการนี้ทันที อย่างไรก็ตามมีการยื่นฟ้องร้องแบบกลุ่มหลังจากนั้น โดยบอกว่าแอปเปิลไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดนี้ที่เพียงพอว่าอาจมีคนอยู่ในกระบวนการทำงานของ Siri
ศาลสูงสุดของเวเนซุเอลาสั่งปรับเงิน TikTok 10 ล้านดอลลาร์ โดยให้เหตุผลว่าแพลตฟอร์มปล่อยให้มีการทำชาเลนจ์ดมสารเคมีจนมีเยาวชนเข้าโรงพยาบาลมากกว่า 200 คน และมี 3 คน เสียชีวิต ทั้งนี้ศาลเวเนซุเอลาบอกว่า TikTok มีเวลา 8 วัน ในการจ่ายเงินค่าปรับ หากไม่จ่ายเงินจะมีมาตรการขั้นถัดไป แต่ไม่ได้บอกว่าคืออะไร
ทางการเวเนซุเอลาบอกว่าจะนำเงินค่าปรับนี้มาตั้งกองทุนเยียวยาเหยื่อจากกิจกรรมดังกล่าวทั้งร่างกายและจิตใจ และเรียกร้องให้ TikTok ตั้งสำนักงานสาขาในประเทศ เพื่อให้มีกระบวนการประสานงานที่รวดเร็วขึ้น
ก่อนหน้านี้เวเนซุเอลาเคยออกคำสั่งบล็อก X แต่เป็น เหตุผลที่ Elon Musk ร่วมผสมโรงตำหนิประธานาธิบดีของประเทศว่าโกงการเลือกตั้ง
มีความคืบหน้าคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิล เรื่องการผูกขาดธุรกิจระบบค้นหา (Search) และศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสิน ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง ซึ่งกูเกิลก็เตรียมอุทธรณ์ ขณะเดียวกันศาลก็สั่งให้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และ กูเกิล เสนอแผนเยียวยาที่เป็นผลจากการผูกขาด
ประเด็นหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้เป็นข้อมูลเพื่อแสดงว่ากูเกิลพยายามผูกขาดธุรกิจค้นหา คือการจ่ายเงินให้แอปเปิลจำนวนมากทุกปี แลกกับการเป็นระบบค้นหาค่าเริ่มต้น (default) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐบอกว่าถ้ากูเกิลต้องเลิกจ่ายเงินส่วนนี้ แอปเปิลก็จะพัฒนาระบบค้นหาของตนเองขึ้นมาแทน ( เคยมีข่าวลือด้วย )
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คดีความระหว่าง Arm กับ Qualcomm เรื่องไลเซนส์การใช้งานซีพียู Arm ของ Nuvia บริษัทลูกของ Qualcomm เข้าสู่กระบวนการไต่สวนในศาล ผลลัพธ์ในภาพรวมออกมาเป็นประโยชน์กับทาง Qualcomm มากกว่าทาง Arm
รายละเอียดของคดีนี้คือ Nuvia ซื้อไลเซนส์พิมพ์เขียวซีพียูจาก Arm เพื่อใช้กับซีพียูเซิร์ฟเวอร์ แต่หลังจากนั้น Nuvia โดน Qualcomm ซื้อกิจการ แล้วนำเทคโนโลยีของ Nuvia มาใช้กับซีพียูไคลเอนต์ Snapdragon X โดยจ่ายค่าตอบแทนให้ Arm ในราคาที่ Qualcomm จ่ายอยู่เดิม (ซึ่งถูกกว่าที่ Nuvia จ่าย) Arm มองว่าผิดเงื่อนไขใบอนุญาตและตัดสินใจฟ้อง Qualcomm
ศาลสูงสุดสหรัฐตกลงรับคำอุทธรณ์ของ TikTok เพื่อพิจารณาว่า กฎหมายแบนแอปในสหรัฐอเมริกา ละเมิดรัฐธรรมนูญเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่ ตามที่ TikTok ประกาศว่าจะ ยื่นต่อศาลสูงสุด หลังจากศาลอุทธรณ์มี คำสั่งเห็นด้วย กับกฎหมายนี้
กฎหมายแบนแอป TikTok จะมีผลในวันที่ 19 มกราคมปีหน้า โดยศาลสูงสุดสหรัฐได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 10 มกราคม จึงเป็นการไต่สวนก่อนที่กฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งคำร้องเรียนนี้มาจากทั้ง TikTok และกลุ่มผู้ใช้งาน TikTok ในอเมริกา
ความคืบหน้าของ คำสั่งแบนแอป TikTok ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีผลในวันที่ 19 มกราคม หลังจากที่ศาลอุทธรณ์สหรัฐ ปฏิเสธคำขอคุ้มครองฉุกเฉิน ของ TikTok ทำให้ TikTok ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีการัฐบาลกลางสหรัฐแล้ว เพื่อต่อสู้คดีนี้ในศาลสูงสุด รวมทั้งขอให้คุ้มครองฉุกเฉินเพื่อเลื่อนการบังคับใช้คำสั่งนี้ออกไปด้วย
มีรายงานว่าในวันเดียวกับที่ TikTok ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา Shou Zi Chew ซีอีโอ TikTok ก็เข้าพบว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ Donald Trump ที่บ้านพักตากอากาศ Mar-a-Lago ด้วย
ความคืบหน้าล่าสุดของ คำสั่งแบน TikTok ในสหรัฐอเมริกา หลังจาก TikTok ยื่นคำร้อง ต่อศาลสหรัฐเพื่อขอให้ออกคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้แอปถูกแบนตามกำหนดเวลา 19 มกราคม ปีหน้า ซึ่งอาจไม่ทันการพิจารณาคดีของฎีกา ซึ่งผลก็เป็นไปตามคาดนั่นคือศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางปฏิเสธคำขอนี้
ศาลอุทธรณ์รัฐบาลกลางลงมติเป็นเอกฉันท์ปฏิเสธคำขอนี้ โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องให้การคุ้มครองฉุกเฉิน ทำให้ TikTok ต้องเดินหน้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ซึ่งอาจใช้เวลาพิจารณาคดีอีกระยะหนึ่ง และไม่ทันวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปถูกแบนก่อน
ศึกระหว่าง OpenAI และอดีตผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Elon Musk ร้อนแรงขึ้นอีกครั้ง หลังจากเมื่อต้นเดือน Elon Musk ยื่นคำร้อง ขอให้ศาลระงับแผนการ แปลงสภาพ OpenAI จากบริษัทไม่แสวงหากำไร (Non-Profit) มาเป็นบริษัทแสวงหากำไร (For-Profit) เพิ่มเติมจาก คดีฟ้องร้องเรื่อง OpenAI ผิดสัญญาและละเมิดข้อตกลงในตอนก่อตั้ง
อภิมหาสงครามศักดิ์สิทธิ์โลก WordPress ระหว่าง Automattic กับ WP Engine มีความคืบหน้า หลัง WP Engine ยื่นฟ้องศาลในเดือนตุลาคม ขอให้ศาลสั่ง Automattic ให้เลิกบล็อคการเข้าถึงปลั๊กอินในระบบ WordPress.org กับลูกค้าของ WP Engine
ศาลเขตแคลิฟอร์เนีย มีคำสั่งคุ้มครองเบื้องต้น (preliminary injunction ) ให้ Automattic หยุดทำการบล็อคการเข้าถึงตามที่ WP Engine ร้องขอ โดยให้เหตุผลว่าการบล็อคปลั๊กอินเป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างสองบริษัท ส่วนเหตุผลของฝ่าย Automattic ที่บอกว่า WP Engine ไม่มีสัญญาใช้งาน WordPress.org (no contractual right) นั้นฟังไม่ขึ้น เพราะ Automattic ตั้งใจปิดกั้นเฉพาะ WP Engine เพียงรายเดียว
TikTok ยื่นคำร้องต่อศาลสหรัฐเพื่อขอให้ออกคำสั่งฉุกเฉิน ไม่ให้แอปถูกแบนในสหรัฐอเมริกาที่จะมี ผลบังคับใช้เดือนหน้า ซึ่งคำร้องนี้ออกมาหลังจาก ศาลอุทธรณ์รับรอง คำสั่งแบนนี้ ทำให้ TikTok ต้องอุทธรณ์ต่อที่ศาลฎีกาสูงสุด แต่การพิจารณาอาจไม่ทันกำหนดเวลาในวันที่ 19 มกราคมนี้
TikTok บอกว่าแพลตฟอร์มมีผู้ใช้งานชาวอเมริกามากกว่า 170 ล้านคน และประเมินผลกระทบจากการสั่งแบน ว่าธุรกิจขนาดเล็กที่ทำการตลาดบนแพลตฟอร์ม จะมีผลกระทบรายได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ ส่วนครีเอเตอร์สูญเสียรายได้ภายในเดือนเดียวถึง 300 ล้านดอลลาร์ โดยอ้างอิงจากตัวเลขรายได้โฆษณาบนแพลตฟอร์ม
ศาลอุทธรณ์แห่งรัฐบาลกลางสหรัฐออกคำสั่งรับรอง ว่า การสั่งแบน TikTok โดยรัฐสภาฯ นั้นชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ ตามที่ TikTok ฟ้องกลับ ทำให้กำหนดเวลาที่ TikTok ต้องขายกิจการในอเมริกา ยังคงเป็น 19 มกราคม 2025 เหมือนเดิม มิฉะนั้นแพลตฟอร์มจะถูกแบนในประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้พิพากษา Douglas Ginsburg อธิบายว่ารัฐธรรมนูญนั้นปกป้องสิทธีเสรีภาพการแสดงในสหรัฐอเมริกา คำสั่งของรัฐบาลสหรัฐที่ออกมานั้น ก็เพื่อปกป้องเสรีภาพจากการรุกรานของต่างชาติ และเพื่อจำกัดการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนในประเทศ
Elon Musk ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ เพื่อให้ออกคำสั่งระงับการ แปลงสภาพบริษัท OpenAI ไปเป็นบริษัทแบบแสวงหากำไร (For-Profit) โดยทนายความของ Musk บอกว่า OpenAI รับผลประโยชน์จากไมโครซอฟท์ และ ออกคำสั่ง ไม่ให้ผู้ลงทุนปัจจุบันไปลงทุนในบริษัท AI อื่น ซึ่งเป็นการขัดขวางการแข่งขัน
ก่อนหน้านี้ Elon Musk ก็มี คดีฟ้องร้อง OpenAI อยู่แล้วในประเด็นการผิดสัญญา ละเมิดข้อตกลง รวมทั้งประเด็นความสัมพันธ์ของ OpenAI กับไมโครซอฟท์
กลุ่มบริษัทสื่อ-สำนักข่าวรายใหญ่ในแคนาดา เช่น Toronto Star, Metroland Media, Postmedia, CBC และอีกหลายราย ได้ร่วมกันยื่นฟ้อง OpenAI โดยบอกว่า OpenAI นำเนื้อหาข่าวของพวกเขาเทรน AI อย่างไม่ถูกต้อง
ในรายละเอียดการฟ้องต่อศาลออนแทรีโอ กลุ่มบริษัทสื่อได้เรียกค่าเสียหายและผลประโยชน์ที่ OpenAI ได้รับจากการนำข้อมูลพวกเขาไปใช้เทรน โดยคิดความเสียหายต่อบทความ ทำให้มูลค่ารวมอาจสูงถึงระดับหลายพันล้านดอลลาร์ รวมทั้งต้องการให้ออกคำสั่งห้าม OpenAI เข้าถึงเนื้อหาข่าวสำหรับการเทรน AI อีกในอนาคต
Competition Bureau หน่วยงานการแข่งขันของประเทศแคนาดา ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหามีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันในตลาดโฆษณาออนไลน์ของแคนาดา
พฤติกรรมกีดกันการแข่งขันของกูเกิลคือ เป็นเจ้าของเครื่องมือทั้งฝั่งผู้ซื้อโฆษณา (Google Ads และ Display & Video 360), พื้นที่แสดงโฆษณา (DoubleClick for Publishers ที่เจ้าของเว็บใช้แสดงโฆษณา) และตลาดซื้อขายพื้นที่โฆษณา (Ad Exchange) ในคำฟ้องบอกว่ากูเกิลครองตลาดเกือบเบ็ดเสร็จ และใช้อำนาจตรงนี้กำหนดวิธี-ราคาในการแสดงผลโฆษณา จนไม่มีผู้เล่นรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งกับกูเกิลได้
กูเกิลได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ Ninth Circuit จากคดีที่ Epic Games ฟ้องเรื่องผูกขาด Play Store ในสหรัฐอเมริกา และศาลรัฐแคลิฟอร์เนียตัดสินให้ กูเกิลแพ้คดี พร้อมออกคำสั่งให้กูเกิลต้องเปิดสโตร์ Google Play ให้รองรับสโตร์ของคู่แข่ง ( รายละเอียด ) ซึ่งกูเกิลก็ บอกว่า จะยื่นอุทธรณ์ เบื้องต้นศาลก็ได้ ชะลอการบังคับใช้ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาออกไปก่อน
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษา สั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ใน คดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
มีเอกสารที่ถูกเผยแพร่จากส่วนหนึ่งของการไต่ส่วนคดีที่ Elon Musk ฟ้อง OpenAI ในประเด็นผิดข้อตกลงการก่อตั้งบริษัท มีการโฆษณาเกินจริง และประเด็นความสัมพันธ์กับไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นอีเมลที่โต้ตอบกันระหว่าง Elon Musk, Sam Altman ซีอีโอ OpenAI และผู้บริหารอีกหลายคน ทำให้เห็นความขัดแย้งภายใน OpenAI โดยเฉพาะความไว้ใจในผู้บริหาร
Pocketpair บริษัทผู้สร้างเกม Palworld เปิดเผยรายละเอียดของคำฟ้องที่นินเทนโดและ Pokemon Company ได้ฟ้องว่าบริษัทละเมิดสิทธิบัตรหลายรายการ มีข้อมูลดังนี้
สิทธิบัตรที่นินเทนโดบอกว่าถูกละเมิดมี 3 รายการคือหมายเลข 7545191, 7493117, 7528390 ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการเล่นคือ การขว้างลูกบอลเพื่อจับมอนสเตอร์, การขี่มอนสเตอร์เพื่อเดินทาง และระบบการต่อสู้ในเกม
นินเทนโดและ Pokemon Company เรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิบัตรนี้บริษัทละ 5 ล้านเยน รวมเป็นเงิน 10 ล้านเยน หรือประมาณ 2.2 ล้านบาท ซึ่ง Pocketpair บอกว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนในศาลต่อไป
ประเด็นระหว่างแอปเปิลกับบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ Masimo มีคดีที่แยกจากเรื่อง Masimo ฟ้องแอปเปิล โดยกรณีแยกคือแอปเปิลก็ฟ้อง Masimo เช่นกันเรื่องละเมิดสิทธิบัตร ว่าสมาร์ทวอทช์รุ่น W1 (รูปประกอบด้านล่าง) และ Freedom ของ Masimo ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบของแอปเปิล
คณะลูกขุนของรัฐบาลกลางออกคำตัดสินว่า Masimo ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบของแอปเปิลจริง โดยแอปเปิลจะได้เงินค่าเสียหาย 250 ดอลลาร์ (พิมพ์ถูกแล้ว) ซึ่งเป็นเงินต่ำที่สุดในการจ่ายค่าปรับคดีละเมิดสิทธิบัตร เพราะทนายของแอปเปิลบอกว่าคดีนี้บริษัทไม่ได้ต้องการเงิน แต่ต้องการให้สินค้านี้หยุดขาย
สายการบิน Delta ยื่นฟ้องบริษัทความปลอดภัย Crowdstrike ต่อศาลเขตฟุลตัน รัฐจอร์เจียแล้ว จากเหตุการณ์ อัปเดตซอฟต์แวร์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์จอฟ้าใช้งานไม่ได้ทั่วโลก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม
สายการบิน Delta บอกว่าเหตุการณ์นี้กระทบกับสายการบิน จนต้องยกเลิกเที่ยวบิน 7,000 เที่ยว มีผลกับผู้โดยสารถึง 1.3 ล้านคน เป็นระยะเวลา 5 วัน มูลค่า ความเสียหายมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์ ในเอกสารฟ้อง Delta ระบุว่าบริษัทได้ปล่อยอัปเดตที่ไม่ผ่านการทดสอบ เกิดข้อบกพร่องกับผู้ใช้งาน มีคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows เสียหายมากกว่า 8.5 ล้านเครื่องทั่วโลก
ความคืบหน้าของ คดีฟ้องร้องระหว่างบริษัท Arm Holding Plc กับ Qualcomm ที่ Arm มองว่า Qualcomm ทำผิดไลเซนส์การใช้งานสถาปัตยกรรม Arm โดยนำไลเซนส์ของบริษัทลูก Nuvia มาใช้กับบริษัทแม่ Qualcomm ด้วย ซึ่ง Arm มองว่าไม่สามารถทำแบบนั้นได้
สำนักพิมพ์ Wall Street Journal และ New York Post ยื่นฟ้องต่อบริษัท Perplexity ฐานใช้เนื้อหาโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังทำให้สื่อเสียชื่อเสียงเนื่องจากใส่เนื้อหาผิดๆ แล้วอ้่างว่ามาจากทางสำนักพิมพ์
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว New York Times เพิ่งส่งจดหมายทางการขอให้ Perplexity หยุดใช้เนื้อหาของทางสำนักพิมพ์ (แม้จะชื่อคล้ายๆ กันแต่ New York Times เป็นบริษัทอิสระ ขณะที่ Wall Street Journal และ New York Post นั้นเป็นสื่อในเครือบริษัท News Corp)
ข่าวสาร WordPress ประจำวันนี้ ถึงคราวตอบโต้จากฝั่ง WP Engine บ้าง โดยบริษัทได้ยื่นคำร้องต่อศาลแคลิฟอร์เนีย ขอให้ออกคำสั่งหยุดการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของ Automattic และซีอีโอ Matt Mullenweg ที่สร้างผลกระทบกับ WP Engine รวมทั้งการ บล็อกการเข้าถึงทรัพยากร WordPress และการ ยึดปลั๊กอิน ที่เกิดขึ้นล่าสุด
WP Engine บอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมากและมาในหลายทิศทาง ทำให้บริษัทเสียลูกค้า ส่วนแบ่งตลาด ตลอดจนมูลค่าแบรนด์ของบริษัท เฉพาะช่วง 5 วันระหว่าง 26-30 กันยายน บริษัทได้รับคำขอยกเลิกใช้บริการเพิ่มขึ้น 14%