สมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดน (The Royal Swedish Academy of Sciences) ประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2019 เป็นรางวัลร่วมของนักวิทยาศาสตร์ 3 รายจากการพัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออน (Li-on)
แบตเตอรีลีเธียมไอออนเริ่มจากข้อเสนอของ M. Stanley Whittingham นักวิทยาศาสตร์อังกฤษขณะทำงานในบริษัท Exxon เมื่อช่วงปี 1970 แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นไทเทเนียมและลิเธียมที่มีราคาแพงมาก จากนั้นกลุ่มของ John Goodenough สามารถสร้างแบตเตอรีจริงที่มีความต่างศักย์ 4V ในปี 1979 และ Akira Yoshino พัฒนาการใช้วัสดุคาร์บอนมาสร้างเซลล์แบตเตอรี ทำให้ตัวแบตเตอรีมีความปลอดภัยขึ้นอย่างมากในปี 1985
ระหว่างทางการพัฒนา ยังมีงานวิจัยของนักวิจัยอื่นๆ อีกมากที่ช่วยพัฒนาให้แบตเตอรีมีขนาดเล็กและปลอดภัยเช่นทุกวันนี้ และรางวัลต่างๆ ที่ให้กับกลุ่มนักวิจัยแบตเตอรีลิเธียมไอออนก็อาจจะมีกลุ่มต่างกันออกไป เช่น Rachid Yazami เคยได้รางวัลร่วมกับ John Goodenough และ Akira Yoshino จาก IEEE และ The National Academy of Engineering มาก่อนแล้ว แต่ไม่ได้รับรางวัลโบเบลครั้งนี้
ที่มา - @NobelPrize , Wikipedia: Lithium-ion battery
Comments
ยินดีด้วยครับ
อนาคตจะมีแบตแบบเคมีแบบไหนน้าาาาา
เห็นแบบนี้ ถ้าอย่างนั้นกว่าจะได้ใช้ Solid คงอีกนาน
ขอบคุณที่เหนื่อยยากครับ
I need healing.
แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าเป็นไทเทเนียมและลิเธียมที่มีราคาแพงมาก
เหตุผลที่โปรฯกู๊ดอีนาฟมาทำต่อไม่ใช่เพราะราคาแพงครับ เป็นเพราะความต่างศักย์ต่ำไป เขาเลยเปลี่ยนมาใช้ออกไซด์ทำให้ความต่างศักย์เป็น 4 V ถือว่าทำให้เข้าใกล้การใช้งานจริงมากขึ้นมาก ๆ แต่ก็ยังไม่ใช่แบตของจริง เพราะอีกขั้วยังเป็นลิเทียมเหมือนเดิม การระเบิดก็ยังคงอยุ่
จนโยชิโนะเซนเซย์มาปรับขั้วลิเทียมใหม่โดยใช้วัสดุนึง จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน
หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาออกมาขายจริงครับ
ขอบคุณทุกๆท่านจากใจจริง
..: เรื่อยไป