Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จบลงไปเรียบร้อยสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 5G ชุดสุดท้ายคือคลื่นความถี่ 26GHz ที่มีทั้งหมด 27 ใบอนุญาต เสนอได้สูงสุดรายละ 12 ชุด มีผู้ร่วมประมูลทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล (TrueMove H), แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ (AIS), ทีโอที (TOT) และ ดีแทค ไตรเน็ต (dtac)

โดยหลังผ่านการเคาะราคาไปเพียงรอบที่ 1 การประมูลก็จบลงทันที เนื่องจากมีการเสนอเข้ามารวมทั้งหมด 26 ชุด ไม่ครบจำนวนที่จัดสรร ทำให้มูลค่าใบอนุญาตอยู่ที่ใบละ 445 ล้านบาท

ทั้งนี้กสทช. จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลทั้งคลื่น 700MHz , 2600MHz และ 26GHz ในลำดับถัดไป

ที่มา: กสทช.

กสทช

Get latest news from Blognone

Comments

By: IDCET
Contributor
on 16 February 2020 - 15:47 #1147898

รู้แต่ว่า ค่าประมูลค่อนข้างสูงจริงๆ แต่ไม่เละเท่าตอนประมูล 3G และ 4G ก็ยังดี พอมองอีกด้านก็ดูเหมือนล็อคคลื่นไปซะงั้น

แต่ที่ไม่เข้าใจว่า ในเมื่อคลื่นความถี่เป็นของที่มีอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว และไม่มีใครเป็นเจ้าของตั้งแต่แรกแล้ว ทำไมต้องประมูล แทนที่จะทำเรื่องขออนุญาตขอใช้คลื่นตามพื้นที่หรือทั่วประเทศ แล้วค่อยออกราคาและออกใบอนุมัติตามคำร้องขอและช่วงคลื่นที่ได้รับอนุญาตของค่ายมือถือก็ได้นี่


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: maoIndie
Ubuntu
on 16 February 2020 - 16:05 #1147900 Reply to:1147898
maoIndie's picture

ทรัพยากรธรรมชาติทุกอย่างเป็นของรัฐ ไม่ว่าจะ ที่ดิน น้ำมัน ทอง อากาศ คลื่นความถี่ถ้าอยากเข้าไปใช้ประโยชน์ต้องจ่ายให้รัฐ

By: 25kannt
Android
on 16 February 2020 - 16:06 #1147901 Reply to:1147898

ก็คือระบบเก่าไงครับ สัมปทาน ส่วนตัวคิดว่าประมูลน่าจะดีกว่า แต่มากน้อยแค่ไหนคงต้องดูกันไปครับ

By: ravipon
iPhone Windows
on 16 February 2020 - 16:13 #1147903 Reply to:1147898
ravipon's picture

มันมีจำกัดไงครับ แบบนี้จะรู้ได้ยังไงว่าควรให้ใคร? หรือใครมาก่อนได้ก่อนไป?

By: IDCET
Contributor
on 16 February 2020 - 21:39 #1147936 Reply to:1147903

มาก่อนได้ก่อนก็ดีครับ เน้นกำหนดราคาเดียว แล้วให้ค่ายไหนที่ต้องการมาทำเรื่องขออนุญาตมาส่ง แล้วค่อยอนุมัติและจ่ายเงินไปตามที่ขอ แต่ถ้ามีการขอที่มาก ก็อาจมีการอนุญาตโดยปรับขนาดที่ขอตามคลื่นที่มีอยู่จำกัด ซึ่งผมมองว่าก็เหมือนการทำสัญญาเช่าซื้อในระยะเวลาจำกัดมากกว่า

ซึ่งมันเป็นมิตรกว่าประมูลนะครับ ที่ผู้ให้บริการรายใหม่หรือรายเล็กสามารถเข้ามาแข่งและเกิดในตลาดโครงข่ายมือถือได้ โดยที่ไม่ต้องมาประมูลในราคาที่สูง แย่งรายใหญ่ที่กำลังการเงินไร้จำกัด


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: maoIndie
Ubuntu
on 17 February 2020 - 10:05 #1147964 Reply to:1147936
maoIndie's picture

"การอนุญาตโดยปรับขนาดที่ขอตามคลื่นที่มีอยู่จำกัด" มันทำได้เหรอ การซอยย่อยเล็กเกินไปเพื่อให้ครบทุกคนที่ขอมามันก็เอาไปใช้งานไม่ได้ไม่ใช่เหรอ มันจึงต้องมีการประมูลไง ผมงงคุณมากกว่า

By: IDCET
Contributor
on 17 February 2020 - 10:33 #1147969 Reply to:1147964

ผมว่ามือถือในปัจจุบันก็มีการแบ่งช่วงคลื่นสัญญาณที่ครอบคลุมกับที่ให้อนุญาตอยู่แล้ว แค่ให้คลื่นที่แบ่งสล็อตอยู่ในช่วงที่มือถือรองรับ มันก็ใช้งานได้อยู่แล้วนี่ครับเหมือนตอนนี้ที่ทุกค่ายใช้ช่วงความถี่แบบเดียวกัน (850/900/2100 ฯลฯ) แต่ต่างสล็อตและต่างระดับคลื่นความถี่ โดยที่ใช้งานร่วมกันได้ไม่มีปัญหาอะไร


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: YF-01
Android Ubuntu
on 17 February 2020 - 14:48 #1148010 Reply to:1147969

ถ้าซอยย่อยแบบนั้นระบบหลังบ้านจะทำงานยากขึ้นมาก ต้นทุนการจัดการคลื่นความถี่(ทั้งอุปกรณ์และคนที่ชำนาญพอ)ก็จะสูงจนรายเล็กเข้าร่วมไม่ได้ แถมรายใหญ่ต้นทุนบวม ค่าบริการก็ต้องแพงขึ้น(ไม่ก็บริการห่วยลง) ไม่มีผลดีกับใครเลยครับ

By: maoIndie
Ubuntu
on 17 February 2020 - 16:18 #1148026 Reply to:1147969
maoIndie's picture

ถ้ามันใช้ร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหาและเพียงพอ บริษัทใหญ่ๆเขาก็ท้วงติงมาแล้วหล่ะ ไม่ใช่รัฐจะให้ประมูลอะไรมั่วๆก็ได้ เงินค่าประมูลเป็นหลักหมื่นล้าน เขายอมจ่ายเพราะต้องการแย่งทรัพยากรคลื่นที่มันมีอยู่จำกัด

By: maoIndie
Ubuntu
on 17 February 2020 - 16:19 #1148027 Reply to:1147969
maoIndie's picture

ทำไมรุ้สึกเหนื่อยที่จะคุยกับคนๆนี้

By: A4
iPhone Android Red HatSUSE
on 16 February 2020 - 16:22 #1147904 Reply to:1147898
A4's picture

แบบนั้นก็ยุค 2G ไงข้อเสียมันก็มี จึงให้มาประมูลกัน

By: kernelbase on 16 February 2020 - 19:23 #1147930 Reply to:1147898

ไปอยู่ไหนมา ถึงมีชุดความคิดแบบนี้

By: naja_return
Android Windows
on 17 February 2020 - 11:01 #1147972 Reply to:1147898

แบบที่ BTS ใช้ WiFi Band ทำ Signaling ไงครับไม่ต้องมีการควบคุม