AIS ย้ำวางโครงข่ายภาคเหนือครอบคลุมหลากหลายภูมิศาสตร์ รับท่องเที่ยวช่วงพีกหน้าหนาว ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม
ภาคเหนือของประเทศไทยถือเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของผู้ใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริโภคทั่วไป Digital Nomad กลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ และภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารในพื้นที่สูงหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งใช้งานโครงข่ายด้วยหลากหลายจุดประสงค์
ทว่าภูมิภาคนี้ก็ยังมีความท้าทายสำคัญ นั่นคือภูมิศาสตร์ที่มีความท้าทายในการขยายสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่และประชากร ซึ่ง AIS ได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่อง เพื่อรองรับช่วงพีกการท่องเที่ยวของภาคเหนือในช่วงฤดูหนาว และผลักดัน Digital Inclusion เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว
Mark Gurman แห่ง Bloomberg มีรายงานเพิ่มเติมจากข่าว ชิปโมเด็ม 5G ที่แอปเปิลพัฒนาขึ้นเอง จะเริ่มใช้กับ iPhone SE ในปีหน้า โดยบอกว่าเมื่อแอปเปิลมีเทคโนโลยีนี้ของตนเอง ทำให้บริษัทกำลังศึกษาแนวทางนำชิปเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ไปใส่ในฮาร์ดแวร์อื่นที่ไม่เคยมีฟีเจอร์เชื่อมต่อเครือข่าย 5G มาก่อนเพิ่มเติม
สินค้าหลักที่แอปเปิลสนใจเพิ่มการเชื่อมต่อ 5G เข้าไปก็คือ Mac ซึ่งแม้การที่แล็ปท็อปจะต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะไม่ใช่ของใหม่ในอุตสาหกรรม แต่สำหรับ Mac นั้นเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามถ้ามี Mac ต่อ 5G ได้จริง เร็วที่สุดก็น่าจะเป็นปี 2026 ตามแผนการออกชิปโมเด็มรุ่นถัดมาที่จะใช้กับ iPhone 18 ด้วย
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาชิปโมเด็ม 5G ของแอปเปิล โดยชิปมีความพร้อมในการใช้งานและได้ แก้ไขปัญหาสำคัญ ที่เคยพบก่อนหน้านี้แล้ว ชิปจะผลิตโดย TSMC เช่นเคย สินค้าแรกที่จะใช้ชิป 5G ออกแบบเองคือ iPhone SE 4 ที่คาดว่าจะเริ่มขายต้นปีหน้า
หลังจากนั้นสินค้าถัดไปที่จะใช้ชิปโมเด็มของแอปเปิลคือ iPad รุ่น Entry-level ตัวใหม่ และ iPhone 17 รุ่นเครื่องบาง ที่เรียกว่า iPhone Air
Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สินค้าใหม่แอปเปิลสายซัพพลายเชน รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านชิป Wi-Fi ในอุปกรณ์ต่าง ๆ จากปัจจุบันที่ใช้ชิปจาก Broadcom มาเป็น ชิปที่แอปเปิลพัฒนาออกแบบขึ้นเอง คาดว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในครึ่งหลังของปี 2025
iPhone 17 คือสินค้าที่ Kuo บอกว่า แอปเปิลจะใช้ชิป Wi-Fi และบลูทูธของแอปเปิลเองเป็นตัวแรก ชิปจะ ผลิตโดย TSMC ด้วยกระบวนการ 7 นาโนเมตร รองรับมาตรฐาน Wi-Fi 7
Mark Gurman แห่ง Bloomberg รายงานข้อมูลแอปเปิลในจดหมายข่าวประจำสัปดาห์ Power On โดยคราวนี้ว่าด้วยแผนพัฒนาชิปโมเด็มของแอปเปิล
ประเด็นนี้ เคยมีรายงาน ว่าแอปเปิลตั้งทีมเพื่อพัฒนาชิปโมเด็มเอง นำโดย Johny Srouji หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชิป มาตั้งแต่ปี 2018 เป็นผลต่อเนื่องจากการมีคดีฟ้องร้องกับ Qualcomm ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปโมเด็มให้แอปเปิล ทำให้บริษัทพยายามลดการพึ่งพาลง
Qualcomm เปิดตัวชิปรุ่นเล็ก Snapdragon 4s Gen 2 เน้นจับตลาดสมาร์ทโฟน 5G ราคาถูก เน้นเป้าหมายหลักคือประเทศอินเดีย รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ
Qualcomm บอกว่าสมาร์ทโฟนระดับราคาไม่เกิน 100 ดอลลาร์ ยังถูกจำกัดการเชื่อมต่อที่ 4G/LTE ด้วยเหตุผลเรื่องราคาชิป การมาถึงของ Snapdragon 4s Gen 2 จะเปิดทางให้เกิดสมาร์ทโฟนราคาระดับนี้ แต่เปลี่ยนมาเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G ที่ส่งข้อมูลเร็วกว่ากันอย่างน้อย 7 เท่าได้
สเปกของ Snapdragon 4s Gen 2 ใช้ซีพียู Kryo แปดคอร์ สูตร 2+6, กระบวนการผลิต 4nm, ระบบชาร์จเร็ว Quick Charge 4+, โมเด็ม 5G ความเร็วดาวน์โหลด 1 Gbps, รองรับ Wi-Fi 5
เราเตอร์ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต ให้สามารถกระจายออกไป เพื่อการใช้งานแบบไร้สาย สะดวกสบายในการเชื่อมต่อโดยที่ตัวอุปกรณ์นั้นไม่ต้องพึ่งสาย LAN เลยแม้แต่น้อย และสำหรับ เราเตอร์ใส่ซิม ก็เป็นอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณเช่นเดียวกัน แต่ว่าสามารถพกพาไปใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ โดยใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตจากซิมที่ใส่เข้าไปนั่นเอง ใครที่อยากจะได้ไว้สำหรับใช้งานระหว่างการเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่สัญญาณมือถือเข้าไม่ถึง ก็ลองเข้ามาดู 10 เราเตอร์ใส่ซิม 4G-5G ยี่ห้อไหนดี 2024 ที่จะทำให้การสื่อสารและท่องอินเตอร์เน็ตสบายแบบหายห่วง
Pekka Lundmark ซีอีโอ Nokia สาธิตการโทรเสียงและวิดีโอคอลด้วยเทคโนโลยีเข้ารหัสเสียงใหม่ 3GPP Immersive Voice and Audio Services ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ 5G ซึ่งทำให้ได้เสียงรอบทิศทาง 3D Spatial แบบ Immersive ระบุตำแหน่งสมจริงมากยิ่งขึ้น
การโทรศัพท์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีนี้เป็นการโทรหากันระหว่าง Stefan Lindström ทูตด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของฟินแลนด์ ไปหา Lundmark และ Jenni Lukander ประธานบริษัท Nokia ซึ่งทำขึ้นในห้องที่ Nokia ใช้ทดสอบการโทรศัพท์บนเครือข่าย GSM 2G เป็นครั้งแรกในปี 1991 ด้วย
Lukander บอกว่าเทคโนโลยีการสนทนาเสียงนี้จะกลายเป็นมาตรฐาน ซึ่งองค์ประกอบทั้งผู้ให้บริการเครือข่าย, ผู้ผลิตชิปเซต, ผู้ผลิตโทรศัพท์ สามารถเริ่มใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้
บริษัท ไมเดีย ประเทศไทย ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ Midea เผยภาพภายในโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศที่ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นโรงงานอัจฉริยะแห่งแรกที่นำเทคโนโลยี 5G มาใช้ภายในโรงงาน
การใช้ 5G ของ Midea เป็นเครือข่ายภายในโรงงานเท่านั้น (private network) โดยใช้เทคโนโลยีของ Huawei, China Unicom และ AIS เพื่อให้บริการ 5G กับอุปกรณ์ในสายการผลิต เช่น แขนกลอัจฉริยะ, รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ, ระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าด้วยกล้อง AI, ห้องควบคุมการทดสอบสถานะของคอมเพรสเซอร์ โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G เพื่อตรวจสอบการผลิตแบบเรียลไทม์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้อุปกรณ์ และลดระยะเวลา down time ลง
บริษัทวิจัยตลาด Counterpoint Research รายงานข้อมูลว่าจำนวนการส่งมอบสมาร์ทโฟน 5G ตอนนี้ตัวเลขสะสมมากกว่า 2 พันล้านเครื่องแล้ว ในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ใช้เวลาน้อยกว่า 5 ปี นับจากสมาร์ทโฟน 5G เริ่มมีขายในตลาด
ตัวเลขนี้สะท้อนการเติบโตของสมาร์ทโฟน 5G และภาพรวมตลาด เพราะสมาร์ทโฟน 4G ใช้เวลาถึง 6 ปี จึงมียอดส่งมอบที่ 2 พันล้านเครื่องเท่ากัน
ผู้ผลิตรายสำคัญของสมาร์ทโฟน 5G ก็คือแอปเปิลและซัมซุง เฉพาะ 2 แบรนด์ จำนวนรวมกันก็มากกว่า 1 พันล้านเครื่องแล้ว
Ookla ออกรายงานสรุปภาพรวมความเร็วเน็ตทั่วโลกประจำปี 2023 (อิงจากข้อมูลไตรมาส 3/2023)
เน็ตมือถือ 5G
- มีความเร็วเฉลี่ยฝั่งดาวน์โหลด 203.04 Mbps เพิ่มขึ้น 20% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2022, ความเร็วฝั่งอัพโหลด 18.93 Mbps เพิ่มขึ้นเพียง 1%
- ประเทศที่ความเร็วเน็ต 5G สูงที่สุดในโลกคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่แซงหน้าแชมป์เก่าเกาหลีใต้ได้สำเร็จ แต่ปีนี้ประเทศที่มาแรงมากคือมาเลเซีย ที่ปีที่แล้วไม่ติด Top 10 แต่ปีนี้กระโดดมาที่อันดับสามเลย
- ความพึงพอใจในบริการ 5G ถึงขนาดแนะนำเพื่อน (net promoter score หรือ NPS) ตัวเลขของปี 2023 กลับลดลงทั่วโลก โดยประเทศส่วนใหญ่มีค่าติดลบ (พอใจลดลง) รวมถึงไทยด้วย เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่มีบางประเทศให้คะแนนเป็นบวกอยู่บ้าง ตรงนี้ Ookla ประเมินว่าน่าจะเป็นเพราะคนเริ่มคุ้นกับ 5G และมีความตื่นเต้นน้อยลง
Ericsson เปิดตัวชิปประมวลผลสัญญาณ Ericsson Silicon รุ่นใหม่ที่ใช้กับอุปกรณ์เครือข่าย 5G Advanced แบรนด์ RAN (Radio Access Networks) Compute จำนวนทั้งหมด 4 รุ่นย่อย ได้แก่รุ่นอินดอร์ (6678, 6672) และรุ่นเอาท์ดอร์ (6372, 6355)
จุดเด่นของชิป Ericsson Silicon รุ่นใหม่คือประสิทธิภาพการประมวลผลที่ดีขึ้น รองรับปริมาณทราฟฟิกได้เพิ่มขึ้น 4 เท่า และประหยัดพลังงานขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ชิปตัวนี้เป็นชิปแบบคัสตอมที่ Ericsson ออกแบบขึ้นเอง และประเด็นที่น่าสนใจคือใช้วิธีจ้างโรงงานอินเทล (Intel Foundry Service หรือ IFS) โดยใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ Intel 4 ด้วย
จากข่าวก่อนหน้าที่ Qualcomm ประกาศ ต่อสัญญา จัดส่งชิปโมเด็ม 5G ให้กับแอปเปิลต่อไปอีก 3 ปี ทำให้ความพยายามของแอปเปิลที่จะยกเลิกการพึ่งพาชิปโมเด็มของ Qualcomm ยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ แม้จะมีข่าวว่าแอปเปิล ตั้งทีมพัฒนา ชิปโมเด็มภายในมาหลายปี
AIS 5G ร่วมกับ ARV บริษัทในเครือของ ปตท.สผ สาธิตถึงการใช้งานโดรนตรวจการ Horrus กับเครือข่าย AIS 5G ในพื้นที่ Wangchan Valley ที่สามารถเปิดแนวทางการใช้งาน (use case) แบบใหม่ๆ มากกว่าโดรนปกติที่ใช้คลื่นวิทยุแบบไม่ต้องขออนุญาตเพื่อใช้งานกันตามบ้านโดยทั่วไปที่ต้องการคนบังคับตลอดเวลา
ระบบโดรน Horrus ของ ARV เป็นระบบโดรนที่ควบคุมจากระยะไกล ชุดโดรนมาพร้อมกับฐานจอดโดรนสำหรับชาร์จไฟและถ่ายโอนข้อมูล และซอฟต์แวร์ควบคุมระยะไกลที่เปิดให้ผู้ควบคุมกำหนดภารกิจไว้ล่วงหน้า เช่น การบินสำรวจพื้นที่เก็บข้อมูลการก่อสร้าง หรือการตรวจการความปลอดภัยหาสิ่งแปลกปลอมในพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมบังคับโดรนตลอดเวลา
Apple ประกาศความร่วมมือกับ Broadcom มูลค่าหลายพันล้าน กินระยะเวลาหลายปี เพื่อให้ Broadcom พัฒนาและผลิตชิ้่นส่วนสำหรับการใช้งาน 5G ทั้งหมดในสหรัฐ
ดีลนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนในสหรัฐของ Apple ที่ประกาศเมื่อ 2021 มูลค่าราว 4.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ กินระยะเวลา 5 ปี ซึ่งแนวคิดการผลักดันให้บริษัทสัญชาติอเมริกันหันมาลงทุนหรือตั้งโรงงานในประเทศเริ่มมาตั้งแต่สมัยทรัมป์ และในแต่ละปี Apple ก็ เปิดเผยรายชื่อซัพพลายเออร์ของตัวเองด้วย
ที่มา - Apple
Vivo เตรียมต้องหยุดทำธุรกิจสมาร์ทโฟนในประเทศเยอรมนี หลังจากตกลงต่อสัญญาไลเซนส์สิทธิบัตรจาก Nokia กันไม่ได้
เมื่อปี 2022 สมาร์ทโฟนของ Oppo และ OnePlus (ซึ่งอยู่ในเครือ BBK Electronics เหมือนกัน) ถูกศาลเยอรมนีสั่งห้ามขาย เพราะละเมิดสิทธิบัตร 5G ของ Nokia และไม่สามารถตกลงเรื่องค่าไลเซนส์กันได้
ส่วน Vivo มีสัญญาไลเซนส์กับ Nokia มาตั้งแต่ปี 2021 เลยรอด แต่เมื่อสัญญาหมด ก็ไม่สามารถตกลงสัญญาฉบับใหม่กันได้ ทำให้ศาลเยอรมนีตัดสินว่า Vivo ต้องยุติการขายโทรศัพท์ในเยอรมนีด้วยเช่นกัน
เทคโนโลยีการเชื่อมต่อดาวเทียมจากมือถือ กลายเป็นเทรนด์ใหญ่ของงาน Mobile World Congress 2023 นอกจาก ซัมซุงที่เปิดตัวโมเด็ม 5G NTN ค่ายคู่แข่งอื่นๆ เช่น MediaTek ก็โชว์เทคโนโลยี 5G NTN เช่นกัน
ตัวสเปกของ 5G NTN (5G Non-Terrestrial Network) ออกโดย 3GPP ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่พัฒนามาตรฐานของวงการโทรคมนาคมมาตั้งแต่ยุค 3G อยู่แล้ว ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถพัฒนาสินค้าโดยอิงจากสเปกกลางนี้ได้เลย
ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวมาตรฐานเทคโนโลยีของโมเด็ม 5G NTN (non-terrestrial networks) หรือเครือข่ายที่ไม่ได้ติดตั้งในภาคพื้น ช่วยให้อุปกรณ์สามารถสลับการเชื่อมต่อกับดาวเทียมทางอากาศได้ ในพื้นที่ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์แบบปกติได้
ซัมซุงบอกว่ามีแผนนำเทคโนโลยีใส่เข้ามาในโมเด็ม Exynos และเตรียมการเพื่อรองรับเทคโนโลยีมาตรฐาน 6G ในอนาคต
รูปแบบการสื่อสารของ NTN เป็นการเชื่อมต่อกับดาวเทียม ไปจนถึงอุปกรณ์รับส่งสัญญาณอื่นในอากาศ ช่วยแก้ปัญหากรณีไม่สามารถหาเครือข่ายภาคพื้นเชื่อมต่อได้ในพื้นที่เฉพาะ เช่น ภูเขา ทะเลทราย หรือกลางมหาสมุทร
Qualcomm เปิดตัวชิปโมเด็มรุ่นใหม่ Snapdragon X75 Modem-RF Systems ที่ชูจุดขายว่าเตรียมรองรับมาตรฐาน 5G Advanced เวอร์ชันใหม่ของการเชื่อมต่อ 5G
มาตรฐาน 5G Advanced มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ 3GPP Release 18 มีกำหนดออกสเปกสุดท้ายในช่วงไตรมาส 4/2023 โดยเพิ่มฟีเจอร์ระดับสูงเข้ามาจาก 5G ปัจจุบัน เช่น การใช้ machine-learning เข้ามาช่วยเรื่องการส่งข้อมูล
นอกจากการรองรับ 5G Advanced แล้ว โมเด็ม X75 ยังปรับสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์ระหว่างตัวโมเด็ม-เสาอากาศใหม่ ช่วยให้การรับส่งคลื่น mmWave sub-6GHz ทำได้ดีขึ้น ขนาดบอร์ดเล็กลง 25% และใช้พลังงานลดลงสูงสุด 20%
Snapdragon X75 จะเริ่มใช้งานกับสมาร์ทโฟนที่วางขายในครึ่งหลังของปี 2023 เป็นต้นไป
AIS Fibre ประกาศเริ่มให้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย (Fixed Wireless Access - FWA) ด้วยคลื่น 5G แบบ mmWave ความถี่ 26GHz ทำให้สามารถให้บริการได้แม้จะเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถเดินสายไฟเบอร์เข้าไปยังผู้ใช้ได้
คลื่น mmWave นับเป็นช่องทางการเชื่อมต่อของ 5G ที่ต่างจากเทคโนโลยีก่อนหน้านี้อย่างชัดเจน เพราะช่องสัญญาณที่กว้างมาก AIS เองประมูลใบอนุญาตในความถี่นี้มาถึง 12 ใบอนุญาต ทำให้สามารถให้บริการแบนวิดท์ได้สูงมาก ระดับกิกะบิตต่อวินาที แต่ข้อจำกัดคือระยะทางให้บริการจะสั้นมากหลักร้อยเมตรเท่านั้น เทียบกับเสาสัญญาณเดิมๆ ที่มักให้บริการได้ระดับกิโลเมตร
ซัมซุงประเทศไทยเปิดตัวมือถือ-แท็บเล็ต 5G ที่เป็น rugged devices มีความทนทานสูง ถือเป็นสินค้ากลุ่ม rugged ที่รองรับ 5G ชุดแรกที่วางขายในไทย
- Samsung Galaxy XCover 6 Pro 5Gกระจก Gorilla Glass Victus, รองรับ Wi-Fi 6E
- Samsung Galaxy TabActive 4 Pro 5Gกระจก Gorilla Glass 5, Wi-Fi 6
อุปกรณ์ทั้งสองรุ่นผ่านมาตรฐาน IP68 และ MIL-STD 810H มีแบตเตอรี่แบบถอดเปลี่ยนได้ รองรับการชาร์จเร็วด้วยพอร์ต POGO โดยกรณีของ Galaxy TabActive4 ยังทำงานได้ในโหมดไม่มีแบตเตอรี่ สามารถใช้ในยานพาหนะที่มีไฟเลี้ยงตลอดเวลา หรือใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงจนแบตเสื่อมได้ง่าย
ที่ผ่านมาเราเห็น AIS เอาจริงเอาจังค่อนข้างมากในแง่การพัฒนาโครงข่ายและระบบของ 5G ในไทย เพื่อผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการนำโครงข่าย 5G ไปสู่การใช้งานในรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชนหรือแม้แต่ภาคการศึกษา
แต่การผลักดันโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นระดับประเทศแบบนี้อาจจะง่ายกว่าถ้ามีพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญร่วมกันทำ AIS เลยไปจับมือกับ ZTE ผู้พัฒนาอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมของจีน ในการสร้างศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center เพื่อเป็นศูนย์วิจัย ค้นคว้า (R&D) และบ่มเพาะธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีโครงข่าย 5G สำหรับใช้งานในไทย
AIS ร่วมมือกับบริษัทผลิตสมาร์ทโฟนและโทรคมนาคมสัญชาติจีน ZTE เปิดตัวศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z Center ขึ้นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงข่าย 5G ยุคใหม่ในประเทศไทยให้ดีขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน
ศูนย์นวัตกรรม A-Z Center จะประกอบด้วย
- Read more about AIS จับมือ ZTE เปิด A-Z Center ศูนย์ R&D ด้าน 5G
- Log in or register to post comments
การมาถึงของเทคโนโลยี 5G ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของความเร็วการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถืออย่างเดียว แต่ยังเป็นใบเบิกทางที่เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อีกมากมาย อย่างไรก็ตามในแง่การใช้งานจริงของธุรกิจ ประโยชน์ของ 5G ยังต้องได้รับการพัฒนาและต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม
ดังนั้นทาง AIS จึงร่วมกับภาคการศึกษาอย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยโฉม AIS 5G PLAY GROUND และ AIS 5G GARAGE ที่นับว่าเป็น Sandbox เป็นแห่งแรกในพื้นที่การศึกษา ให้เป็นพื้นที่การทดลอง วิจัยและเรียนรู้ และพัฒนา use case บนเครือข่ายจริงสำหรับนิสิตและอาจารย์
สมาร์ทโฟนของ Oppo และ OnePlus ถูกศาลเยอรมนีสั่งแบนห้ามขาย หลังมีคดีความเรื่องสิทธิบัตร 5G กับ Nokia
ศาลชั้นต้นของเยอรมนีตัดสินว่า Oppo และ OnePlus ละเมิดสิทธิบัตร 5G ของ Nokia จริง และเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเจรจาค่าเสียหายกันได้ (Nokia เรียกค่าเสียหาย 2.5 ยูโรต่อเครื่อง) ทำให้ Oppo และ OnePlus ต้องถูกสั่งแบนห้ามขายมือถือไปก่อน
ตอนนี้ Oppo อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ และ หน้าเว็บของ Oppo เยอรมนี ถอดข้อมูลโทรศัพท์ออกทั้งหมดแล้ว ในเมนูหลักเหลือแค่เพียงหน้า About, ColorOS, Support เท่านั้น