ชารัด เมห์โรทรา (Sharad Mehrotra) ซีอีโอคนใหม่ของ dtac ที่เพิ่งมาเริ่มงาน 1 กุมภาพันธ์ แถลงข่าวครั้งแรก หลัง การประมูลคลื่นความถี่ 5G รอบล่าสุด เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งประเด็นการประมูลคลื่น และยุทธศาสตร์ของ dtac ในยุคของเขานับจากนี้ไป
คุ้นเคยกับเมืองไทยอยู่แล้ว ครอบครัวอยู่ที่ไทยมาตลอด
คุณชารัด บอกว่าแม้ล่าสุดจะไปทำงานที่ Telenor ประเทศพม่า แต่จริงๆ เขาอยู่เมืองไทยมา 6 ปีแล้ว ครอบครัวอยู่ที่เมืองไทย มีลูกสาวเรียนอยู่ที่ประเทศไทย
2 สัปดาห์แรกที่มาทำงานที่ dtac นอกจากการประมูลคลื่น 5G แล้ว ยังได้ลงสำรวจตลาด พบปะลูกค้า และให้กำลังใจพนักงานของ dtac ที่ประสบเหตุติดอยู่ในห้างสรรพสินค้า Terminal 21 ที่โคราชด้วย
ยุทธศาสตร์ dtac ไม่หยุดพัฒนา
ในแง่ยุทธศาสตร์ของ dtac หลังจากนี้ไป คุณชารัดให้ข้อมูลว่าลูกค้าใช้งาน mobile data มากขึ้นเรื่อยๆ จากปัจจัยเรื่องความนิยมของการดูวิดีโอออนไลน์ ลูกค้า dtac มีปริมาณใช้งานข้อมูลเฉลี่ย 11 GB ต่อคนต่อเดือนในปี 2019 ซึ่งตัวเลขนี้จะเพิ่มเป็น 16 GB ในปี 2020
คุณชารัดยังยืนยันคำสัญญาของ dtac ที่บอกกับลูกค้าว่า "เราจะไม่หยุดพัฒนา" (Never Stop) โดยสิ่งที่ dtac จะทำแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง
1. พัฒนาและปรับปรุงเพื่อประสบการณ์ของลูกค้า
dtac ยังยึดหลักเรียบง่าย ซื่อตรง จริงใจ (simple honest human) เช่นเดิม
- ลูกค้าบุคคลจะเน้นแพ็กเกจที่ personalized ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน แทนการใช้แพ็กเกจมาตรฐานทำตลาดอย่างที่แล้วๆ มา คุณชารัดใช้คำว่า "contextual offer" ที่ dtac ใช้เทคนิค machine learning ศึกษารูปแบบการใช้งานของลูกค้า เพื่อนำเสนอบริการให้ตรงใจกว่าเดิม
- ลูกค้ากลุ่มธุรกิจเน้นการพัฒนาโซลูชันให้ตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรมากขึ้น ซึ่งจะแถลงข่าวเรื่องนี้ในโอกาสต่อไป
2. เตรียมความพร้อมสู่อนาคต ปรับปรุงองค์กร
ยุทธศาสตรืนี้เกี่ยวกับการปรับปรุงองค์กรของ dtac เองให้พร้อมสู่อนาคต ประกอบด้วย
- เพิม่ความสามารถใหม่ๆ ให้องค์กร ผ่านการจ้างงานพนักงานที่มีทักษะใหม่ๆ (เช่น data scientist) และเพิ่มทักษะให้พนักงานเดิม (upskill)
- ปั้นวัฒนธรรม dtac DNA ให้แข็งแกร่ง เพื่อตอบสนองลูกค้าตามที่สัญญาไว้
- ปรับกระบวนการภายในเป็นแบบ agile เพื่อให้เข้าถึงตลาดได้รวดเร็ว จากเดิมออกแพ็กเกจใหม่ใช้เวลาหลายวันกว่าจะเปิดบริการได้จริง ก็ลดลงเหลือหลักชั่วโมง
3. เพิ่มความแข็งแกร่งให้โครงข่าย
คุณชารัด อ้างรายงานของ OpenSignal ในเดือน พ.ย. 2562 ว่า dtac มีความเร็วดาวน์โหลด 4G สูงสุดในไทย โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 10 Mbps
ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานโครงข่าย สิ่งที่ทำได้แล้วคือ virtualized ตัวอุปกรณ์โครงข่ายให้จัดการง่ายขึ้น, เชื่อมต่อสายไฟเบอร์ไปยังสถานีฐานเกือบครบทุกแห่งแล้ว, หลังการพัฒนาโครงข่าย เสียงร้องเรียนจากลูกค้าก็ลดลงไป 50%
เลือกประมูล 26GHz เพราะต้องการคลื่นย่านสูงมาใช้งานรูปแบบใหม่ๆ
คุณชารัดอธิบายเหตุผลที่ dtac ตั้งใจเข้าไปประมูลคลื่นย่าน 26GHz อย่างเจาะจง ว่าเป็นคลื่นย่านเดียวที่มีความกว้างของคลื่นสูงมาก ตอบโจทย์ทั้งด้านความเร็วสูง และความหน่วง (latency) โดยคุณชารัดใช้คำว่า "เหมือนใช้แทนไฟเบอร์" ได้เลย
การเลือกคลื่น 26GHz ที่เป็นความถี่ย่านสูง (high band หรือ mmWave) ช่วยให้ dtac เปิดรูปแบบการใช้งาน (use case) ใหม่ๆ ได้แตกต่างจากคลื่นย่านอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่างคลื่นความถี่ย่านต่ำ (700/900MHz) หรือย่านกลาง (1800/2100/2600MHz) ที่นำมาเปิดประมูล
นอกจากนี้ยังมีประเด็นว่าคลื่น 26GHz เป็นคลื่น 5G มาตรฐานเดียวกับเยอรมนี อังกฤษ สเปน และอีกหลายประเทศ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ด้วย
หลัง dtac ได้คลื่น 26GHz มาแล้ว ทำให้ dtac มีคลื่นครบ 3 ย่านความถี่ ตอบโจทย์การใช้งาน 3 รูปแบบ
- ย่านต่ำ700MHz ที่ได้มาในปีที่แล้ว เน้น coverage เน้นพื้นที่กว้างไกล
- ย่านกลางเน้นพัฒนาสถานีฐาน TDD ตั้งเป้า 20,000 สถานีในปี 2020, ใช้เทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อขยายการรับส่งข้อมูลให้ดีขึ้น 3 เท่า
- ย่านสูง26GHz ที่ได้มาในรอบล่าสุดนี้
นอกจากประเด็นเรื่องโครงข่ายแล้ว dtac ยังจะลงทุนด้านแอพพลิเคชันในยุค 5G ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะบนมือถือเท่านั้น เช่น dtac@Home ที่เป็น fixed wireless broadband เน้นลูกค้าตามบ้าน, การสร้างพันธมิตรด้านคอนเทนต์ และการสร้างเครือข่าย 5G ในองค์กร (Private Network) ซึง่จะแถลงข่าวความคืบหน้าของโครงการเหล่านี้ในระยะถัดๆ ไป
Comments
ปริมาณาณ ?
เพิม่ > เพิ่มซึง่ > ซึ่ง
สู้ ๆ ครับ DTAC พร้อมเมื่อไหร่ค่อยสอย 5G นะครับ ปีนี้ไม่เป็นไร iPhone ผมยังใช้ 5G ไม่ได้ ?
ถ้าเกิดเปิดวาร์ปลูกสาว อาจได้จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นนะครับ ???
รู้สึกไม่ดีกับความคิดเห็นนี้นะครับ
++
+1
แนวคิดแบบนี้คืออะไรเหรอครับ รู้สึกสะพรึง
ใช้พริตตี้ขายสินค้า จะทำให้สินค้าขายดีขึ้น ตัวอย่างรูปธรรมคือตอนเลือกตั้งนายกครั้งที่แล้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็มีลูกสาว พอรูปลูกสาวลงโซเชียลกระแสก็มา
พริตตี้กับนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ แต่ความคิดเห็นนี้จ้วงจาบส่วนเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นครับ
จากที่สอง เป็นที่สามแล้วหรือเปล่าตอนนี้
เราจะไม่หยุดพัฒนา เราจะไม่ทิ้งกัน
คุ้นๆนะประโยคนี้
แปลว่าภายในปีนี้ดีแทคไม่มีแผนสำหรับ 5G เชิงพาณิชย์จริง ๆ จัง ๆ เลย ตอนแรกที่คิดไว้ว่าอาจจะขออัพเกรดคลื่น 2300 มาเปิด 5G บางส่วนก็ไม่มีพูดถึงเลย คงรอ 3500 อย่างเดียวจริง ๆ
dtac@Home น่าสนใจ แต่ถ้าจะประมูลคลื่น 26GHz มาให้บริการ fixed wireless broadband ทำไมไม่กดมาเยอะ ๆ หน่อยเอามาแค่ 200MHz จะพอกินหรอ?
แบบนี้ Samsung Galaxy S20Ultra 5G ซื้อกับ dtac ก็ไม่สามารถใช้ 5G ได้นะสิอยากใช้ 5G ก็ต้องซื้อกับ ais หรือ true ถึงจะได้ใช้ 5G
dtac@Home fixed wireless broadband ก็จะแข่งกับ 3BB ที่เพิ่งเป็นพันธมิตรกันน่ะสิครับ
น่าจะจับลูกค้าคนละกลุ่มครับ เพราะตัว dtac@home มันความเร็วต่ำกว่าไฟเบอร์เยอะ น่าจะสำหรับลูกค้าที่ติดไฟเบอร์ไม่ได้ครับ
เขียนข้อมูลเฉลี่ยต่อเดือนผิดปะครับ เป็น Gbps อันนั้นมันความเร็วปะครับ
เผอิญในสไลด์ของ dtac เขียนแบบนี้เลยเขียนตามครับ เช็คกับ dtac แล้วผิดจริงๆ ครับ ต้องเป็น GB
อนาคตถ้าฝนตกแล้วบ่นว่า "ทำไมเน็ต Dtac ถึงช้า" ก็รู้เรื่องเลยครับ ?
ไม่พูดถึง 3BB เลยแฮะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
แบบนี้การใช้งานจะจำกัดมากๆหรือเปล่าครับเพราะสัญญาณไปได้ไม่ครอบคลุมเท่าความถี่ต่ำกว่า
ความถี่ต่ำเค้าก็มีแล้วไงครับ
สัญญาว่าจาม่ายหยุดค่ะ