จากมาตรการจัดเก็บภาษีบริการดิจิทัลใหม่ (Digital Services Tax หรือ DST) ที่รัฐบาลอังกฤษเสนอให้สหภาพยุโรปเก็บเพิ่ม บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง Google, Apple และ Amazon เริ่มสื่อสารกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ว่าจะขึ้นค่าธรรมเนียมเพิ่มเช่นกัน
มาตรการจัดเก็บภาษีดิจิทัลมาจากประเด็นว่าบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ เข้ามาสร้างรายได้จากประชาชนยุโรปได้มหาศาล แต่ยุโรปสามารถจัดเก็บภาษีน้อยนิด เพราะเก็บได้เฉพาะภาษีรายได้นิติบุคคลเท่านั้น (แถมบริษัทเหล่านี้ยังมีกลเม็ดในการเลี่ยงภาษีนี้อีกหลายทาง เช่น การตั้งบริษัทในประเทศที่ภาษีต่ำๆ อย่างไอร์แลนด์) ทำให้ในปี 2018 รัฐบาลอังกฤษ จึงได้เสนอให้จัดเก็บภาษีบริการดิจิทัลเพิ่ม โดยเป็นการเพิ่มภาษีจากรายได้ใดๆ ที่เกิดจากบริการดิจิทัลในยุโรป (เช่น ค้นหา, โซเชียลมีเดียและการค้าออนไลน์) และเป็นการเก็บเพิ่มเติมนอกเหนือจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียอยู่แล้ว
แต่ละประเทศมีมาตรการเก็บภาษีบริการดิจิทัลเพิ่มไม่เท่ากัน และบังคับใช้ในช่วงเวลาต่างกัน อย่างภาษีบริการดิจิทัลของฝรั่งเศสเก็บเพิ่ม 3% มีผลบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา, อิตาลีเก็บเพิ่ม 3% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม , ตุรกีเก็บเพิ่มที่ 7.5% บังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม, อังกฤษเก็บ 2% เริ่มในเดือนเมษายน
สิ่งที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นบริษัทเหล่านี้ประกาศเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้าหรือคู่ค้าเพิ่มเติม จึงอาจมองได้ว่าเป็นการผลักภาระภาษีไปที่ลูกค้าอีกที
Google แจ้งกับลูกค้าผู้ลงโฆษณาว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 เป็นต้นไป จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับโฆษณาที่แสดงบน Google และ YouTube เนื่องจากต้องจ่ายภาษีดิจิทัลในตุรกีและออสเตรีย 5% และในอังกฤษ 2%
Amazon ก็เพิ่มค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ขายในอังกฤษอีก 2% เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายใหม่ที่จะเพิ่มขึ้น โดยมีผลในวันที่ 1 กันยายน
Apple มี ประกาศ เปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์บน App Store ในบางประเทศที่เคาะจัดเก็บภาษีเพิ่ม อย่างอังกฤษ เพิ่ม 2%, อิตาลีกับฝรั่งเศส เพิ่ม 3%, ตุรกีเพิ่ม 7.5%
ที่มา - Business Insider , The Verge
Comments
ไม่แน่ใจว่าภาพการประชุมสภาคองเกรส เกี่ยวอะไรกับการเก็บภาษีของฝั่ง EU
น่าจะต้องปรับปรุงกฎหมายอีกนิดนะ มันผิดวัตถุประสงค์ คือแทนที่จะเก็บภาษีจาก google กลายเป็นลูกค้าจ่ายแพงขึ้น
หรือกลไกการแข่งขันมันจะช่วยหรือเปล่า แบบ google ขึ้นราคา แต่ facebook ไม่ขึ้นหรือการที่มีน้อยเจ้า มันเลยทำให้ฮั้วกันได้ (ขึ้นทุกเจ้า)
ผมมองว่ามันเป็น Sales Tax มากกว่า Income Tax ดังนั้นเลยถูกคิดจากผู้ใช้เป็นเรื่องปรกติน่ะครับ
+1 คิดแบบนั้นเหมือนกันครับ
เหมือน vat ขายได้เยอะก็ต้องจ่ายเยอะ (แม้จะขายขาดทุนก็ต้องเสีย มันจึงไม่ใช่หน้าที่ของผู้ขายที่ต้องมารับผิดชอบภาษีส่วนนี้)
เหมือนภาษี vat
บริษัทพวกนี้ได้กำไรเท่าเดิม ส่วนคนที่จ่ายเพิ่มคือ ประชาชน กาละแลนด์ คงออกมาไม่ต่างกัน
เหมือน ก็ยังได้เงินเข้ากระเป๋าเท่าเดิม แต่ลุกค้าจ่ายมากขึ้น
ต้นทุนนู่นนี่นั่นเพิ่ม คิดค่าบริการแพงขึ้น เหมือนอาหารตามสั่งเลยนะ 55555+
เออ สรุปประชาชนเปนคนจ่ายเพิ่มบริษัทเทคได้เท่าเดิม เวรกรรม
ที่ทำก็เพื่อให้ local แข่งได้ไม่เก็บเลย นี้ต้นทุนเขาต่ำกว่าบริษัทในประเทศเห็นๆ ไม่เกิดการแข่งขัน
ยังไงก็มีผล หนังสือราคา 500 ขายได้ หมื่นเล่มถ้าราคา 1000 ยังไงก็ไม่ถึงหมื่นเล่ม
Google ผลักภาระไปที่ลูกค้า พอแพงขึ้น ลูกค้าก็จะจ่ายน้อยลง
อ่านมาหลายคอมเม้น แปลกใจมากที่เรื่อง common sense แบบนี้ คนทั่วไปไม่เข้าใจที่เด็กออกมาประท้วงเรื่องการศึกษาที่ล้มเหลว thread นี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากกกก
+1 ครับ
นี่ยังไม่นับว่าถ้าบริษัทนอกประเทศคิดราคาแพงขึ้น บริษัทในประเทศก็มีสิทธิ์จะขยับตัวได้มากขึ้นด้วยราคาที่ถูกกว่าถ้าคอมโบกับรัฐให้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเพื่อส่งเสริม ก็ยิ่งมีโอกาสเติบโตสูงขึ้นอีก
ถ้าภาษี 100% ก็คงเป็นเช่นนั้นครับ แต่ถ้าขึ้นจาก 500 เป็น 515 บาท คงไม่แย่ขนาดนั้น แล้วบางอย่างเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ใช่ว่าจะไม่ซื้อก็ได้นะครับ เช่น ค่าธรรมเนียมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ขาย
รวมถึงพอลูกค้าหันไปหาเจ้าอื่นก็ขึ้น 2-5% เหมือนๆกัน ก็ต้องดูว่าผลกระทบไปตกกับใคร
การตั้งกำแพงภาษีก็น่าจะเป็นเรื่องปรกติของการทำการค้าระหว่างประเทศนะ เพื่อให้บริษัทในประเทศตัวเองสามารถแข่งขันได้ ส่วนลูกค้าก็เลือกเอาตามความเหมาะสมไป