ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกข่าว ธปท. ฉบับที่ 15/2564 เตือนว่า Stablecoin ที่อิงกับมูลค่าเงินบาทชนิด THT ที่ให้บริการบนแพลตฟอร์ม Terra และกำหนดให้มูลค่าของเหรียญ 1 เหรียญ มีค่าเท่ากับ 1 บาทนั้น หากถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนในวงกว้าง อาจ “ทำให้เกิดการแบ่งแยกระบบเงินตราของประเทศไทยออกไปมากกว่าหนึ่งระบบ และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและความมั่นคงของระบบเงินตราของประเทศ”
ทำให้การออกเหรียญ THT อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำผิดกฎหมาย เพราะเป็นการทำ จำหน่าย ใช้ หรือนำออกใช้ วัตถุหรือเครื่องหมายแทนเงินตรา ที่เป็นความผิดตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 และเตือนว่าประชาชนไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับ THT เพราะจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย เสี่ยงการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ และเสี่ยงตกเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย
Comments
ก็ต้องออกมาเตือนเพราะตัวเองควบคุมและตรวจสอบไม่ได้แน่ๆอยู่แล้วส่วนจะควบคุมไม่ให้ซื้อได้ไหม มันก็อีกเรื่องนึง ถ้าทำแบบอินเดียที่ไม่ใช้ถือ BTC เลยก็ต้องคอยดูว่าจะตรวจสอบกันยังไง
แต่ที่แน่ๆ ควรจะรีบดันเหรีญบาทดิจิตอลของตัวเองออกมาให้เร็วที่สุด
นั้นสิครับ ได้ข่าวมานานจนลืม จนงงเลยว่าทำไมช้ามากอย่างงี้ *- -
m-CBDC Bridge - 23 กุมภาพันธ์ 2564
ถ้าตามนี้น่าจะเริ่มจากตัวธนาคารใช้กันก่อนไรงีสินะ
อินทะนนท์ สรุปว่าโดนดองอีกแล้วใช่มั๊ยครับ
WE ARE THE 99%
พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 .... ครับ หมดคำพูดครับ
พรบ.เงินตรา 2501 มีการปรับปรุงกันหลายครั้งครับตั้งแต่ประกาศใช้ ล่าสุดปรับปรุงเมื่อปี 2545 ครับ แต่ก็ใช้ชื่อเดิม
ตามไม่ทันยุคสมัยแล้วครับ ระบบราชการไทย
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ผมที่เค้าเตือนมามันก็ฟังขึ้นอยู่นะ
แต่ในอีกมุมก็อยากรู้ว่าเค้าควรจะต้องทำยังไงครับ
สิ่งที่เขาทำ มันไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
มองอีกแง่ ที่เขาออกมาเตือนเพราะตามทันครับ เขาเตือนเพราะห่วงผลกระทบของมันครับ
มองความเป็นจริง ไม่มีประเทศใหนยอม ถ้าประเทศนั้นไม่ทำเอง แค่ออกค่าเงิน Digital มาใช้เองแบบ Facbook เมกายังไม่ยอมเลย อันนี้เอาค่าเงินมาผูกอีกต่างหาก ซื้อเงินมาร้อยล้าน แต่ให้แลก หมื่นล้าน ไม่มีคนถอนจนเงินสดหมดก็ไม่มีใครรู้
ถ้าปล่อยให้เกิดได้จนเติบโตใช้แทนค่าเงินบาทแล้วแยกตัวออกมากำกับไม่ได้ ไม่รู้เอาเงินที่แลกเปลี่ยนแอบเอาไปทำอะไรจากคนภายในแบบสหกรหรือบริษัทที่มีการธุจริตหรือเอาไปลงทุนจนเจ้งก็ไม่มีใครรู้ พอล่มก็ตัวใครตัวมันแบบคลองจั่น
ระบบเหลียญ Digital แบบเสกเงินเริ่มต้นได้ต่างจาก Bitcoin มาก ไม่มีความน่าเชื่อถือเลยเอาค่าเงินบาทมาผูกเพราะถ้าไม่ผูกก็จะเป็นแบบเหลียญเสกแบบหลายๆตระกูลที่ตอนนี้แทบไม่มีค่าตัวแล้ว
เพราะตามทันถึงออกมาเตือนมากกว่าครับ อันนี้ผมเห็นว่าแบงค์ชาติทำถูกแล้วนะ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มันคือการพิมพ์แบงค์เองครับแทบไม่ต่างอะไรกับแบงค์ปลอม
แบงค์ปลอมคือแบงค์ที่ทำเลียนแบบเพื่อให้มีค่าเหมือนแบงค์จริง ผมว่าความหมายมันต่างกันอยู่นะ
การมี Cashless Society แล้วมันก็ไม่จำเป็นต้องมี Crypto Currency ในสังคมเลย
แล้วเอาเข้าจริง ถ้าเริ่มใช้ Crypto Currency ซื้อ-ขายสินค้า ก็เข้าข่ายผิด มาตรา 9 หมดที่ผ่านมาเลยเลี่ยงว่าเป็น Crypto Asset แทน
แล้วหลักการเรื่องการใช้สิ่งอื่นนอกจากเงินตราที่รัฐตั้งขึ้น มาซื้อ-ขายสินค้า เนี่ยมันไม่มีตกยุคแน่ๆ
เพราะมันจะทำให้เงินตราที่รัฐตั้งขึ้น ด้อยค่าลง + รัฐจะควบคุมการกระตุ้น-ชะลอเศรษฐกิจ ไม่ได้
และจะสร้างปัญหาให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด
+1024
ถ้าปล่อยให้ THT เติบโตจนคนใช้ทั่วไปเป็นหลัก ต่อไป THT อาจตัดขาดจากเงินบาทได้ (คล้ายๆกับ USD ที่เลิกอ้างอิงทองคำ) แล้วแบงค์ชาติจะขาดเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะตอนนั้นคนไม่ใช้เงินบาท เผลอๆ Terra ทำตัวเป็นแบงค์ชาติใหม่ เพราะมีอำนาจกำหนดนโยบายการเงินบนแพลตฟอร์มได้
ที่พูดมาเป็นหลักการที่อยู่เบื้องหลังของ crypto currency เป๊ะเลย เพราะไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาแทรกแซงและควบคุมได้
+1 รอดูจะมีประเทศไหนให้ใช้โดยรัฐไม่สามารถควบคุมได้
เงินบาทของรัฐ ยังไงก็ยังรักษามูลค่าไว้ได้ถ้ารัฐไม่ปล่อยเงินเข้าตลาดมากเกินไป
ภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าสินค้าของหน่วยงานของรัฐ รับเงินเป็นเงินบาทเท่านั้น ยังไงประชาชนก็ต้องหาเงินบาทมาเพื่อจ่ายให้รัฐ ความต้องการเงินบาทแท้จึงไม่มีวันหมดคนที่ถือเงินเทียมที่ควบคุมโดนเอกชนมีความเสี่ยง ถ้าผู้ให้บริการหยุดให้บริการเมื่อไร เงินเทียมแลกกลับมาเป็นเงินบาทไม่ได้ก็เกิดความเสียหาย ซึ่งถ้าเป็นจำนวนน้อยก็เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ถ้าใช้กันในวงกว้างเมื่อเกิดปัญหาก็อาจเป็นเรื่องใหญ่ต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ถ้ามันไม่มีอะไรดี ประชาชนก็คงไม่เลือกใช้เงินเทียมแทนเงินบาท
มองหาช่องทางลงทุนก็อาจจะใช้ THT แต่ยังไงการใช้เงินในประจำวันทุกๆ อย่างก็ต้องใช้เงินจริง
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
เอาไว้ฟอกเงินจะดีไหมครับเนี่ยไม่ต้องคิดเยอะ
แสตมป์ 7-11 ก็อิงกับค่าเงินบาทนะ ฮา
อันนั้นมันใช้ได้แค่ใน 7-11 และมันแถมจากการซื้อสินค้าใน 7-11 แต่ร้านนอก 7-11 บางร้านดันรับด้วยนี่สิ:)
แม้ผมจะเห็นด้วยกับหลายๆคนว่า แบงค์ชาติออกมาแสดงท่าที่แบบนี้ ถูกต้องแล้ว
แต่หากมองอีกด้าน เอาเข้าจริง มูลค่าของ Cryptocurrency มันไม่ได้อยู่ที่แค่มูลค่าเหรียญ เหมือนกับที่คนมองเงินสดหรือเงินปัจจุบันว่า มูลค่าของเงิน มันก็คือ "เงิน"
เพราะ Cryptocurrency มันสามารถทำอย่างอื่นได้มากกว่าเงินจริง
เช่น ตัวมันเองถูกปลอมแปลงยากกว่า , ต้นทุนในการจัดเก็บน้อยกว่าเงินจริง , การตรวจนับ การทำธุรกรรมเทียบกับเงินสดๆแล้วทำได้ไวกว่า(เช่นโอนต่างประเทศ) , การปกปิดตัวตนในการทำธุรกรรม ฯ เป็นต้น
ซึ่งเงินจริงทำเรื่องพวกนี้ไม่ได้ กลับกัน มีแต่จะเทไปอีกด้าน
หากรัฐไม่ตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่าง สิ่งที่คนต้องการก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมันจะค่อยๆทำลายกำแพงของรัฐลง
มีเพื่อนสมาชิกบางท่าน ยังคอมเม้นเลยว่า กฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 แล้ว นี่คือผ่านมาเกือบ 60 ปี เงินแบบ Digital มันจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหรือ ?
หันไปดูกลไกของรัฐ ทีมงาน ที่จะมารับมือเรื่องพวกนี้ได้แต่ส่ายหัว อะไรจะเกิดก็คงต้องเกิดล่ะครับ
เมื่อวานมั้ง FED เพิ่งออกมาแถลงว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึงปี 2023 ก็แปลว่าจะหาทางพยุงเศรษฐกิจด้วยวิธีแบบเดิมไปก่อน พอ FED แถลงจบไม่นาน ราคา BTC พุ่งขึ้นฟั่บๆๆ
Cryptocurrency ยังไม่เสถียรพอจะเป็นเงินตราได้ และผมยังไม่เคยเห็นสินค้าหรือบริการที่ถูกกฎหมายที่รับ cryptocurrency แบบอัตราคงที่เป็นระยะเวลานานๆ เลย ที่เห็นคือรับ cryptocurrency แต่จำนวนที่รับก็แปลผันตามราคาของเงินตราที่ต้องการรับแต่แรกมากกว่า ส่วนเงิน digital มันเกิดขึ้นแล้ว (ผมว่าเกิดขึ้นมานานแล้วด้วย) เพียงแต่มันถูกใช้คู่กับเงิน physical มาตลอดครับ
"กฎหมายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 แล้ว " ปี พศ. ยิ่งเก่ายิ่งดีครับ
ผมตลกที่บางคนมองเลข พศ. ยิ่งเก่ายี่ล้าหลัง ทั่งๆ ที่มันหมายถึงเขาคิดมารอบด้านแล้วจนกระทั่งมันแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลยตลอด 100 ปี หรือ 200 ปี ก็ไม่ถือว่าผิด
(เงินก็คือเงินครับ ตราบใดที่คุณใช้หุ้นซื้อข้าวกินไม่ได้ Cryptocurrency ก็ไม่มีทางเป็นที่ยอมรับ)
มีคนมาอธิบายแล้วนะครับว่าแก้ไขล่าสุด 2545
มันก็เหมือนเงิน "กงเต๊ก" แบบที่รัฐพิมพ์ธนบัตรที่ละลึกนั่นแหละครับ(สร้างเงินปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกให้คนเอาเงินจริงๆ มาแลก แล้วสร้างความหวังว่ามันจะใช้ได้เหมือนเงินจริงทุกประการณ์)
ที่ว่าธนบัตรที่ระลึกเป็นแบงค์กงเต๊กนี่มันยังไงครับ มันก็เอามาใช้ชำระหนี้ทางกฎหมายได้นะครับ แค่คนไม่เอามาใช้เฉยๆ
ใช้งานได้เหมือนเงินปกตินั่นแหละครับ
ใช้ได้ แต่รัฐบาลไม่ได้เป็นประกันนะครับ
ทั่วๆ ไปก็ใช้ได้แหละ
อ่านความเห็นหลายๆคนแล้วแบบ faith in blognone restored
กฎหมายล้าหลังหรือไม่ควรพิจารณาที่เนื้อความครับ การที่ปี พ.ศ. ท้ายชื่อ พ.ร.บ. เก่าอาจไม่ได้หมายถึงเนื้อความในกฎหมายล้าสมัยเสมอไป
ส่วนพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 ก็ได้รับการแก้ไขมาแล้ว 7 ครั้ง ส่วนเนื้อหาภายในจะล้าสมัยหรือไม่ต้องพิจารณากันต่อไปครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.