กูเกิลเปิดเผยเอกสารคู่มือการซ่อมของมือถือตระกูล Pixel 9 ทั้งหมด (Pixel 9, 9 Pro, 9 Pro XL, 9 Pro Fold) ตามนโยบาย "มือถือซ่อมเองได้" ที่ บริษัทประกาศความร่วมมือกับ iFixit เมื่อปี 2022
Steven Nickel ผู้บริหารฝ่ายฮาร์ดแวร์ของกูเกิล เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า Pixel ถูกออกแบบมาโดยยึดหลักการซ่อมเองได้ (repairability) มาตั้งแต่แรก และเป้าหมายปลายทางคือให้ลูกค้าทุกคนสามารถซ่อมมือถือได้เองทั้งหมดจากที่บ้าน
เอกสารการซ่อม Pixel มีความหนาเกิน 140 หน้า มีรายละเอียดการถอดชิ้นส่วนทุกชิ้น มีภาพประกอบเกือบทุกหน้า และมีคำอธิบายที่ชัดเจนว่าขั้นตอนการถอดชิ้นส่วนมีลำดับอย่างไรบ้าง
สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็บท็อปที่คุณกำลังใช้อ่านโพสต์นี้อยู่ คุณคิดว่าคุณเป็นเจ้าของมันจริงๆ “มีสิทธิเต็มรูปแบบ” กับมันอยู่ใช่ไหม ถ้าผมบอกว่า คุณไม่ได้เป็นเจ้าของมัน 100% โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรืออาจจะรู้แต่ยังไม่เดือดร้อนกับมันล่ะ
ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แนวคิดในการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงจนทำให้ความอิสระหรือสิทธิ์ต่างๆ ที่เรามีกับอุปกรณือิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ น้อยลงไปเรื่อยๆ จนเราถูกห้าม หรือแม้กระทั่งถูกลงโทษ เพียงแค่ต้องการบำรุงรักษาหรือซ่อมอุปกรณ์เหล่านั้น ใกล้ตัวเราที่สุดอาจจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือแล็บท็อปนี่แหละ
หลายประเทศทั่วโลกทั้งฝั่งผู้บริโภคและภาครัฐ มีความพยายามผลักดันและสู้กลับเรื่องนี้ หลายๆ ประเทศมีกฎหมาย Rights to Repair ออกมาแล้ว เช่นอังกฤษ สหรัฐ และสหภาพยุโรป
แล้วประเทศไทย ควรผลักดันเรื่องนี้เป็นประเด็นสาธารณะ จนนำไปสู่กระบวนการออกกฎหมายได้หรือยัง?
HMD เปิดตัวมือถือรุ่นใหม่ HMD Skyline ใช้ดีไซน์แนวเดียวกับ Lumia ในอดีต ตรงกับข่าวหลุดก่อนหน้านี้ แต่เพิ่มฟีเจอร์ถอดฝาหลังและเปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้
HMD ชูฟีเจอร์เรื่องผู้ใช้ทั่วไปสามารถซ่อมเองได้ (repairability) โดยใช้เครื่องมือแค่ไขควงและปิ๊กกีตาร์เท่านั้น อัพเกรดขึ้นจาก Nokia G22 ที่ออกช่วงต้นปี 2023 ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ iFixit ให้คะแนนซ่อมง่ายของ HMD Skyline ที่ 9/10 คะแนน
ฟีเจอร์ด้านซอฟต์แวร์คือ Detox Mode เป็นการปรับรอม Android ให้ปิดการทำงานของแอพโซเชียลทั้งหมดชั่วคราว (กดเข้าแอพไม่ได้เลย) สำหรับผู้ใช้ที่รู้สึกว่าติดโซเชียลเกินไปจนควบคุมตัวเองไม่ไหว ฟีเจอร์นี้จะตามอัพเดตให้ใช้งานในเดือนสิงหาคม
แอปเปิลประกาศเพิ่มเติมการให้บริการใช้งาน Apple Diagnostics หรือเครื่องมือสำหรับวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้น สำหรับลูกค้าที่ต้องการซ่อมแซมอุปกรณ์เอง เพิ่มเติมในยุโรป 32 ประเทศ หลังจากเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว
Apple Diagnostics นี้ รองรับการใช้งานตรวจสอบทั้ง iPhone, Mac และ Studio Display ด้วยตนเอง ว่าจำเป็นต้องซ่อมแซมอุปกรณ์หรือไม่ ผ่านคำแนะนำต่าง ๆ บนหน้าจอ ซึ่งจะให้ข้อมูลหากมีชิ้นส่วนที่มีปัญหาและต้องเปลี่ยน
iFixit ประกาศยุติความร่วมมือกับซัมซุง ในการช่วยขายและกระจายชิ้นส่วน-อุปกรณ์สำหรับซ่อมแซมอุปกรณ์ ซึ่งทั้งสองบริษัท เคยประกาศความร่วมมือ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
iFixit บอกว่าตลอดช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ประกาศความร่วมมือ บริษัทพบปัญหาหลายอย่างที่อาจส่งผลกับเป้าหมายใหญ่ คือการทำให้ลูกค้าเข้าถึงการซ่อมแซมเอง เช่น ราคาอะไหล่ที่สูงมากจนไม่คุ้มในการตัดสินซ่อม การจำกัดจำนวนสั่งอะไหล่ของร้านซ่อมภายนอก จนถึงการออกแบบชิ้นส่วนที่ทำให้ซ่อมยาก กรณีที่ iFixit ยกมาคือจอกับแบตเตอรีของสมาร์ทโฟน Galaxy ใช้กาวติดกัน ต้องซื้ออะไหล่แบบยกชุดนี้ เป็นต้น
รัฐสภายุโรปลงมติให้รับรองแนวทางสิทธิของลูกค้าในการซ่อมสินค้าหรือ right to repair ด้วยคะแนน 584-3-14 โดยมีประเด็นสำคัญคือ ผู้ผลิตสินค้าต้องมีแผนรองรับการซ่อมแซม และผลักดันให้ลูกค้าเลือกแนวทางซ่อมมากกว่าเปลี่ยนสินค้า
กฎระเบียบใหม่นี้กำหนดกรอบกว้าง ๆ สำหรับผู้ผลิตสินค้า ว่าต้องรองรับการซ่อมแซมภายในระยะเวลาที่เหมาะสม มีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล และสินค้าที่ผ่านการซ่อมแซมแล้ว ต้องได้ขยายเวลารับประกันออกไป 1 ปีตามกฎหมาย ทั้งหมดเพื่อให้ลูกค้าเลือกซ่อมมากกว่าเปลี่ยนสินค้าใหม่
กฎระเบียบนี้ครอบคลุมถึงระดับที่ว่า หากสินค้าหมดระยะรับประกันแล้ว ผู้ผลิตต้องมีช่องทางให้ซ่อมแซมได้ มีผลกับสินค้าใช้งานทั่วไป เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น จนถึงสมาร์ทโฟน
แอปเปิลประกาศแนวทางใหม่ของการซ่อมแซมอุปกรณ์ โดยลูกค้าและผู้ให้บริการซ่อมอิสระ สามารถใช้ชิ้นส่วนแอปเปิลจากอุปกรณ์อื่นที่เคยใช้งานแล้ว มาซ่อมแซมได้ เป็นการเพิ่มทางเลือกและยืดอายุผลิตภัณฑ์
ในด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน แอปเปิลจะปรับปรุงกระบวนการจับคู่ชิ้นส่วน ให้รองรับแม้ชิ้นส่วนนั้นเคยถูกใช้งานแล้วก็ตาม นอกจากนี้ในการซ่อมแซมก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งหมายเลขเครื่อง หากจะสั่งชิ้นส่วนผ่าน Self Service Repair Store เป็นการลดความยุ่งยาก ยกเว้นเมนบอร์ดที่ยังต้องยืนยันหมายเลขเครื่อง ส่วนปัญหาการขโมย iPhone ไปแยกชิ้นส่วน จะออกแบบระบบให้รองรับการล็อกเครื่องครอบคลุมถึงชิ้นส่วนจากอุปกรณ์ที่มีการแจ้งโหมดสูญหาย โดยจำกัดการทำงานของขั้นต่อจับคู่ทันที
ผู้ว่ารัฐโอเรกอนเซ็นกฎหมาย Oregon’s Right to Repair Act (SB 1596) กฎหมายสนับสนุนให้ผู้ใช้มีสิทธิ์ที่จะซ่อมอุปกรณ์ของตัวเองได้มากขึ้น จุดสำคัญของกฎหมายนี้คือห้ามไม่ให้ผู้ผลิตล็อกชิ้นส่วนไม่ให้ใช้ข้ามอุปกรณ์ (part pairing) จนร้านซ่อมอิสระไม่สามารถซ่อมกันเองได้
กฎหมายนี้เปิดช่องให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดเงื่อนไขว่าร้านซ่อมอิสระจะต้องได้รับใบรับรองตามที่ระบุ จึงสามารถซ่อมอุปกรณ์ได้ แต่ห้ามล็อกชิ้นส่วนที่จะมาซ่อม เช่น ไอโฟนที่ล็อกหมายเลขประจำตัวแบตเตอรี่ว่าต้องเป็นหมายเลขที่แอปเปิลรู้ว่ากำลังใช้งานกับโทรศัพท์เครื่องใด แม้ว่าแบตเตอรี่ที่นำมาเปลี่ยนจะเป็นแบตเตอรี่ของแอปเปิลเองที่นำมาจากไอโฟนเครื่องอื่นก็ตามที แนวทางนี้ทำให้แอปเปิลพยายามต่อสู้กับกฎหมายนี้อย่างหนัก
กูเกิลอัพเดตให้มือถือตระกูล Pixel ทุกรุ่นมีแอพช่วยตรวจสภาพเครื่อง (Pixel Diagnostic App) และโหมดส่งซ่อม (Pixel Repair Mode)
Pixel Diagnostic Appเป็นฟีเจอร์ที่มีมาก่อนแล้วในมือถือยี่ห้ออื่นๆ (แต่ Pixel เพิ่งมี) วิธีการคือกดหมายเลข # #7287# # ในหน้าจอโทรศัพท์ สามารถตรวจสภาพเซ็นเซอร์ จอภาพ กล้อง เสียง การเชื่อมต่อเครือข่าย ฯลฯ เป็นการตรวจสภาพเครื่องแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง เวลาไม่มั่นใจว่าฮาร์ดแวร์บางชิ้นยังทำงานได้ดีหรือไม่
Pixel Repair Modeเป็นโหมดส่งซ่อมเครื่องเพื่อรักษาข้อมูลส่วนตัวไม่ให้ช่างมองเห็น เพื่อไม่จำเป็นต้องล้างเครื่องก่อนส่งซ่อม หรือยอมให้รหัสผ่านเข้าเครื่องแก่ช่างซ่อม
แอปเปิลอัพเดตรายละเอียดโครงการ Self Service Repair ที่เปิดให้ลูกค้าสั่งซื้ออะไหล่แท้ และเช่าอุปกรณ์ซ่อมแซม เพื่อซ่อมสินค้าของแอปเปิลได้เอง โดยรอบนี้เพิ่มเติมสินค้ากลุ่ม iPhone 15 และ Mac ทุกรุ่นที่เป็น M2
แอปเปิลยังประกาศขยายพื้นที่ครอบคลุมของบริการ Self Service Repair ในยุโรปอีก 24 ประเทศ เช่น โครเอเชีย เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ตอนนี้บริการครอบคลุมสินค้า 35 รายการ ใน 33 ประเทศ
นอกจากนี้แอปเปิลยังเปิดให้ใช้งาน Apple Diagnostics สำหรับลูกค้าที่มีความชำนาญในการซ่อมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวกับที่ศูนย์บริการ AASP ใช้ ในการทดสอบอุปกรณ์ ว่าชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถทำงานได้ถูกต้องหรือไม่ เพื่อตรวจหาชิ้นส่วนที่อาจต้องซ่อม
มีรายงานจากผู้ใช้ Google Pixel Watch หลายคนที่หน้าจอแตก และนำนาฬิกาไปรับการซ่อม แล้วพบว่ากูเกิลไม่มีบริการซ่อมหน้าจอที่แตกนี้
Bridget Starkey ตัวแทนของกูเกิลยืนยันข้อมูลนี้ โดยบอกว่า Pixel Watch ยังไม่มีตัวเลือกซ่อมอุปกรณ์ในตอนนี้ หากนาฬิกาเสียหายจากเหตุใด ๆ ให้ติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตเพื่อดูเงื่อนไขรับประกัน เพื่อพิจารณาเปลี่ยนนาฬิกาใหม่
ก่อนหน้านี้ iFixit เคยแกะ Pixel Watch และพบว่าส่วนหน้าจอนั้นถอดแยกออกมาได้ยากมาก จึงอาจเป็นสาเหตุที่แม้แต่กูเกิลเองก็ไม่มีบริการซ่อมแซมหน้าจอนี้ ซึ่งต้องรอดูว่า Pixel Watch 2 จะปรับปรุงขั้นตอนการซ่อมแซมให้ดีขึ้นหรือไม่
iFixit เว็บแนะนำการซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาผลักดันแนวทาง Right to Repair หรือสิทธิที่ลูกค้าต้องสามารถเลือกซ่อมแซมอุปกรณ์ได้เอง เปิดเผยว่าแอปเปิลได้ส่งจดหมายเปิดผนึก เพื่อสนับสนุนวุฒิสมาชิก Susan Talamantes Eggman ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้ผลักดันการออกกฎหมาย SB 244 Right to Repair Act ซึ่ง iFixit มองว่าเป็นก้าวสำคัญ เพราะบริษัทที่มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ในช่วงที่ผ่านมาอย่างแอปเปิล ก็ลงมาร่วมสนับสนุนแล้ว
ร่างกฎหมายนี้มีข้อกำหนดหลายอย่าง เช่น สินค้าที่ราคามากกว่า 99.99 ดอลลาร์ ผู้ผลิตต้องมีอะไหล่ขายอย่างน้อย 7 ปี แม้หมดระยะประกันไปแล้ว รวมทั้งศูนย์ซ่อมแซมที่ไม่ใช่ของผู้ผลิต ต้องเปิดเผยข้อมูลกับลูกค้าว่าใช้อะไหล่จากผู้ผลิตหรือเป็นอะไหล่ 3rd Party
ไมโครซอฟท์เริ่มขายชิ้นส่วนอะไหล่ของ Xbox ผ่านหน้าเว็บออนไลน์ของตัวเองแล้ว โดยเริ่มจากจอย Xbox Wireless Controller และ Xbox Wireless Controller (ยังไม่มีชิ้นส่วนของตัวเครื่องวางขาย)
การขายอะไหล่ครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ นโยบายไมโครซอฟท์ที่หันมาสนับสนุน "สิทธิในการซ่อม" (right-to-repair) อย่างจริงจังในปี 2021 โดยทยอยนำชิ้นส่วนมาขายผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การขายชิ้นส่วน Surface บนหน้าเว็บของ iFixit และ บนหน้าเว็บของไมโครซอฟท์เอง ล่าสุดคือขยายมายังฮาร์ดแวร์ตระกูล Xbox แล้ว
แอปเปิลประกาศอัพเดตโครงการ Self Service Repair ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออะไหล่แท้ และเช่าอุปกรณ์ซ่อมแซม ไปซ่อมอุปกรณ์แอปเปิลได้เอง โดยขยายกลุ่มสินค้าที่รองรับเพิ่มเติม ได้แก่ กลุ่ม iPhone 14, MacBook Air จอ 13 นิ้ว ชิป M2, MacBook Pro ชิป M2 Pro และ M2 Max
แอปเปิลยังเปิดให้ผู้ซื้ออะไหล่ซ่อมแซมของ iPhone สามารถรันคำสั่ง System Configuration ได้เอง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำหรับตรวจสอบยืนยันอะไหล่แท้ของแอปเปิล ตลอดจนอัพเดตเฟิร์มแวร์ โดยเฉพาะส่วนฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันตัวตน ว่าสามารถทำต่อได้อย่างถูกต้อง จากเดิมขั้นตอนนี้ลูกค้ายังต้องติดต่อศูนย์ Self Service Repair เพื่อรันคำสั่ง
ไมโครซอฟท์ประกาศขายอะไหล่ชิ้นส่วนสำหรับซ่อมแซมหรือเปลี่ยนในอุปกรณ์ Surface ผ่าน ช่องทาง Microsoft Store ตามแนวทาง Right to Repair ให้ลูกค้าสามารถซ่อมแซมได้เองอย่างปลอดภัย สำหรับลูกค้าในอเมริกา แคนาดา และฝรั่งเศส โดยจะขยายประเทศที่รองรับในอนาคต
ไมโครซอฟท์บอกว่าโครงการนี้เน้นขยายการรองรับ ไปยังกลุ่มสินค้าที่หมดระยะเวลารับประกันแล้ว ทำให้ลูกค้าสามารถซื้ออะไหล่เพื่อนำไปซ่อมแซมหรือเปลี่ยนได้เอง ส่วนเครื่องมือสำหรับแกะ-ซ่อม-เปลี่ยน สามารถสั่งซื้อได้ผ่าน iFixit ซึ่ง ไมโครซอฟท์ประกาศความร่วมมือไปก่อนหน้านี้
Samsung ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ Self-Repair หรือ บริการที่ผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้ออะไหล่และเครื่องมือสำหรับการซ่อมอุปกรณ์ด้วยตนเอง ในประเทศเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการเปิดตัวในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว
โครงการ Self-repair นี้จะครอบคลุมอุปกรณ์ทั้ง สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป และทีวี ทั้ง Galaxy S20, Galaxy S21 และ Galaxy S22 โน้ตบุ๊ก Galaxy Book Pro ขนาด 15.6 นิ้ว รวมถึงทีวีทั้ง 3 รุ่นในซีรีส์ UN32N4000
Logitech เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์รายล่าสุดที่ออกมาผลักดันเรื่อง "ซ่อมง่าย" (Right to Repair) โดยจับมือกับ iFixit เป็นช่องทางขายอะไหล่สินค้า เพื่อให้ผู้ใช้สั่งซื้อไปซ่อมเองแบบไม่ต้องผ่านศูนย์บริการ
ในเบื้องต้น สินค้ากลุ่มแรกที่ Logitech ร่วมมือกับ iFixit คือเมาส์ตระกูล MX โดยจะเปิดเอกสารคู่มือการซ่อม เทคนิคการแก้ปัญหาที่พบบ่อย และเปิดให้สั่งอะไหล่จากเว็บ iFixit ได้โดยตรง ส่วนสินค้าอิ่นๆ เช่น คีย์บอร์ด หูฟัง ลำโพง เว็บแคม ตอนนี้เปิดเฉพาะเอกสารคู่มือการซ่อม แต่ยังไม่มีอะไหล่ขาย ใครสนใจตามไปดูที่ หน้าเพจ Logitech บน iFixit
Fairphone ผู้ผลิตโทรศัพท์แบบซ่อมง่าย เปิดตัวหูฟังแบบครอบหู Fairbuds XL ที่เน้นความยั่งยืน โดยฟีเจอร์สำคัญคือการซ่อมได้ง่าย สามารถถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ ได้เอง รวมถึงบริษัทมีแนวทางจะขายอะไหล่แยกชิ้นภายหลัง
นอกจากการออกแบบที่ซ่อมง่ายแล้ว วัสดุทุกชิ้นยังเน้นความยั่งยืน เช่น ทองคำที่ใช้เป็นทองคำที่ได้รับการรับรอง Fairtrade, อลูมิเนียมรีไซเคิล, ตะกัวรีไซเคิล, และพลาสติกที่ใช้รีไซเคิลมา 80%
HMD Global เปิดตัว Nokia G22 โทรศัพท์เน้นจุดขายซ่อมด้วยตัวเองได้ โดยขายอะไหล่ชิ้นสำคัญผ่าน iFixit ได้แก่ หน้าจอ, ฝาหลัง, แบตเตอรี่, และพอร์ตชาร์จ นับเป็นจุดใหญ่ๆ ที่โทรศัพท์จะเสียได้บ่อยๆ จากอาการจอแตก, แบตเตอรี่เสื่อม, หรือพอร์ตชาร์จหลวม
ตัวโทรศัพท์เป็นเครื่องหน้าจอ 6.52 นิ้วความละเอียด 720x1200 พิกเซล ซีพียู Unisoc T606 (Cortex A75 2 คอร์ และ Cortex A55 2 คอร์) แรม 4GB สตอเรจ 64GB กล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 3 ตัว กล้องหลัก 50 ล้านพิกเซล รองรับ NFC มีช่องหูฟัง ใส่ microSD ได้ กันน้ำระดับ IP52 น้ำหนักเครื่อง 195 กรัม
ซอฟต์แวร์เป็น Android 12 ออกแพตช์ความปลอดภัยให้ 3 ปีกับอีก 2 เวอร์ชั่น
ประเด็นสิทธิในการซ่อมอุปกรณ์ที่เป็นข่าวมักพูดถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, หรือโน้ตบุ๊ก แต่ในสหรัฐฯ ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่เกษตรกรด้วย เพราะผู้ผลิตเครื่องจักรทางการเกษตรมักล็อกไม่ให้ช่างซ่อมอิสระไปซ่อมเครื่องจักรเช่นเดียวกัน ล่าสุด John Deere ผู้ผลิตเครื่องจักรการเกษตรรายใหญ่ทำข้อตกลงกับสมาพันธ์ฟาร์มสหรัฐฯ (American Farm Bureau Federation - AFBF) ว่าจะเปิดให้ช่างอิสระสามารถซ่อมเครื่องจักรของ John Deere ได้
หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งรัฐนิวยอร์ก ผ่านร่างกฎหมาย Digital Fair Repair Act (หรือที่มักจะเรียกกันว่า Right to Repair) มานานกว่า 6 เดือน เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา นาง Kathy Hochul ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กก็ลงนามให้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคย กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจำหน่ายอะไหล่ รวมทั้งเปิดเผยคู่มือการซ่อมอุปกรณ์และซอพต์แวร์ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้บริโภคและร้านซ่อมอิสระ ในระดับเดียวกับศูนย์บริการของผู้ผลิต ทำให้ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกร้านซ่อม ช่วยให้การซ่อมอุปกรณ์มีราคาจับต้องได้มากขึ้น ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
แอปเปิลประกาศเพิ่มประเทศที่รองรับ โปรแกรมซ่อมแบบบริการตนเอง (Self Service Repair) จากเดิมมี เฉพาะในอเมริกา โดยเพิ่มเติมอีก 8 ประเทศ ในทวีปยุโรป
8 ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร
โครงการซ่อมแบบบริการตนเองนี้ เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้ออะไหล่แท้ และเช่าอุปกรณ์ซ่อมแซม แบบนำไปทำเอง ไม่ต้องเข้าศูนย์บริการของแอปเปิล โดยตอนนี้รองรับ iPhone 12, iPhone 13 และ Mac ที่ใช้ซีพียู Apple Silicon
ประชาชนชาวไทยน่าจะคุ้นเคยกับ "ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5" กันดี ซึ่งเป็นฉลากที่ใช้ติดกำกับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า โดยฉลากที่ว่านี้เป็นโครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเองก็มีฉลากคล้ายๆ กัน เรียกว่า "ฉลาก Energy Guide" โดยผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยการมองหาฉลากเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจด้วย
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ได้ เผยแพร่ร่างข้อเสนอ กำหนดให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ขายในยุโรป ต้องมีอะไหล่ขายสำหรับซ่อมแซม 15 ชิ้นส่วนหลัก เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มขาย ซึ่งเคยมี รายงาน เกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวตั้งแต่ปีที่แล้ว
15 ชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ในร่างข้อเสนอ อาทิ แบตเตอรี่, ฝาหลัง, กล้องหน้า-หลัง, ส่วนเชื่อมต่อเสียง, พอร์ตชาร์จไฟ, ลำโพง เป็นต้น
จากที่แอปเปิลประกาศโครงการ Self Service Repair ที่ให้ลูกค้าสามารถซื้ออะไหล่พร้อมเช่าอุปกรณ์ เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ได้เอง โดยล่าสุดขยายมา รองรับ MacBook ตระกูล M1 ด้วย ล่าสุด iFixit ผู้ขายอุปกรณ์ซ่อมแซมทุกสิ่งอย่าง ได้ดูรายละเอียดการซ่อมแล้ว ก็แสดงความกังวลผ่าน บล็อกของบริษัท