AIS เป็นโอเปอเรเตอร์รายแรกๆ ที่ลงทุนกับเครือข่าย 5G เริ่มต้นเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ เพื่อการใช้งานมือถือที่เร็วและลื่นไหล และชู 5G ว่าเป็นโอกาสสำคัญของเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง AR/VR, IoT, Smart City, Smart Transportation
แต่ในระยะหลังเราเห็นแล้วว่า 5G สามารถนำมาใช้กับกลุ่มธุรกิจองค์กรได้ด้วย Blognone ได้พูดคุยกับคุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ถึงประเด็นโลกหลังจากนี้ว่า 5G จะมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อไป รวมถึงทิศทางของ AIS ในอนาคต
เทรนด์อนาคตของ 5G
จากภาพด้านล่าง เราสามารถแบ่งการใช้งาน 5G ออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตอนนี้เราผ่านการใช้งาน 5G Mobile กันมาแล้ว กำลังเริ่มเข้าสู่ 5G Infrastructure สำหรับกลุ่มองค์กร และในระยะถัดไป เราจะเห็น 5G เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคธุรกิจ 2 ด้าน คือ 5G Horizontal Solutions กับ 5G Vertical Solutions
5G Horizontal Solutions หรือการใช้งานโซลูชันที่สามารถปรับใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม เป็นรูปแบบการใช้งานที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่นการใช้งาน AR/VR ที่AIS ร่วมกับบริษัท NTT Docomo ของญี่ปุ่น ทำ Remote Supervisor โดยให้คนที่อยู่คนละประเทศ สามารถทำงานร่วมกันโดยผู้เชี่ยวชาญสามารถเห็นภาพและข้อมูลเพื่อให้คำปรึกษากับพนักงานที่ทำงานอยู่ในโรงงานได้ผ่านเครือข่าย 5G และอีกกรณีคือ AIS ร่วมมือกับ Mitsubishi Electric และ TKK Corporation ยกระดับระบบ FA Remote (การทำงานระยะไกลในโรงงาน) เป็นต้น
สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตคือ 5G Vertical Solutions หรือการพัฒนา 5G ในแนวดิ่ง เป็นการใช้ 5G เจาะลงลึกเฉพาะอุตสาหกรรมนั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการทำ Digitization โดยเฉพาะ โดยโซลูชันที่เราจะได้เห็นในอนาคตจะอยู่ในรูปแบบ 5G สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต, อสังหาริมทรัพย์และค้าปลีกหรือกลุ่มโลจิสติกส์ เป็นต้น
5G กับการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing)
อุตสาหกรรมการผลิต หรือ Manufacturing เป็นอุตสาหกรรมที่ยังไม่เห็นเทรนด์การทำ Digitization ชัดเท่ากับอุตสาหกรรมอื่น แต่เมื่อใด 5G เข้ามามีบทบาท เราก็จะมองเห็นการพัฒนาสายการผลิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น สามารถซ่อมบำรุงได้ล่วงหน้า เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุง และป้องกันความเสียหายจากเครื่องจักรล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญ
ด้วยประสิทธิภาพเครือข่าย 5G ของ AIS ที่วางรากฐานไว้แล้ว 77 จังหวัด รวมถึงเขตเศรษฐกิจอีอีซี ครอบคลุมการใช้งานหลากหลายย่านความถี่ ทำให้สามารถปรับใช้งานตามความต้องการของโรงงานได้
- Low Band 700 MHz เน้นการใช้งานครอบคลุมพื้นที่กว้างแต่อาจไม่โดดเด่นเรื่อง low latency มากนัก
- Mid Band 2600 MHz ที่ขยับความเร็วการใช้งานขึ้นมาจาก Low Band
- High Band 26 GHz เหมาะกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการลด Delay TIme และ ต้องการความแม่นยำของเครื่องจักรและหุ่นยนต์ช่วยการผลิต
โซลูชัน 5G จาก AIS ช่วยให้อุตสาหกรรมปรับตัวได้เร็วขึ้น ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์
AIS เป็นเจ้าของเครือข่ายก็จริง แต่ลำพัง AIS คนเดียวไม่สามารถนำ 5G มายกระดับอุตสาหกรรมการผลิตได้ เราจึงเห็นความเคลื่อนไหวของ AIS Business ในการสร้างพันธมิตรกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมการผลิต มาพัฒนาโซลูชัน 5G ที่ใช้ในโรงงานร่วมกัน ได้แก่
- ร่วมมือกับ Bosch นำโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันด้าน 5G "Private Network" และ "Edge Computing" มาร่วมพัฒนา Use Case ใหม่ๆ ในพื้นที่โรงงานโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อยอดการใช้โซลูชัน ActiveCockpit ของ Bosch ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ร่วมมือกับ SNC Former ผู้ผลิตกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่อีอีซี ตั้งเสา 5G ที่โรงงานในระยอง เปิดทางนำเทคโนโลยีใหม่อย่างหุ่นยนต์และอุปกรณ์ IoT เข้ามาเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย 5G ในโรงงาน เพื่อเป็น Smart Manufacturing อย่างสมบูรณ์ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
- ร่วมกับ OMRON ผู้ให้บริการระบบควบคุมอัตโนมัติ เทคโนโลยีเซนเซอร์ กล้องอุตสาหกรรม และระบบหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมรายใหญ่ โดยใช้ 5G มายกระดับ พัฒนาโซลูชัน Layout-free Production Line เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับการผลิต ผสานกับระบบ Autonomous Mobile Robot (AMR), IoT, และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
- ร่วมกับ Mitsubishi Electric และ TKK Corporation เสนอโซลูชัน e-F@ctory บนเครือข่าย AIS 5G นำระบบ FA Remote (การทำงานระยะไกลในโรงงาน) ให้สอดคล้องกับการทำงานในภาวะโรคระบาด ลดความเสี่ยงการติดเชื้อและคลัสเตอร์ใหม่จากโรงงาน ยกระดับการทำงาน FA Remote ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น
จากความร่วมมือทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ AIS สามารถใช้กำลังเครือข่าย 5G ผสานกับโซลูชันของพาร์ทเนอร์ และเทคโนโลยีเมกะเทรนด์ที่ AIS มีได้แก่ คลาวด์, ระบบความปลอดภัยไซเบอร์, IoT มาสร้าง End-to-End Solution ให้ลูกค้าโรงงาน และ AIS ยังพัฒนาบุคลากรมาเรียนรู้ระบบร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญ สามารถซัพพอร์ตลูกค้า ทำให้เกิดกระบวนการ Digitization ให้เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม โดยลูกค้าไม่ต้องทำเองทุกอย่างตั้งแต่ต้น หรือลงทุนใหม่ทั้งหมดทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร
ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง สำคัญที่สุด
การยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็น Smart Factory ยังมีเรื่องต้องทำอีกมาก แต่ละโรงงานก็มีข้อจำกัดของตัวเอง ทั้งเรื่องเงินทุน การขาดแคลนบุคลากร แต่คุณธนพงษ์บอกว่า สิ่งที่สำคัญไม่แพ้เงินทุนและคนคือ วิสัยทัศน์ผู้บริหารที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
โรงงานบางแห่งอาจติดกับความคิดที่ว่าการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ยังเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป ยังไม่จำเป็นตอนนี้ ทำให้ยังยึดติดการผลิตแบบเดิม เสี่ยงต่อการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคต
การเปลี่ยนแปลง ทำ Digitization ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากสเกลใหญ่ โรงงานสามารถเข้ามาร่วมมือกับ AIS เพื่อหาโซลูชันเริ่มจากสายการผลิตเล็ก แล้วค่อยๆ ขยายการใช้งานไปเรื่อยๆ ซึ่ง AIS และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจมี End-to-End Solution ให้ลูกค้าโรงงานได้
ผู้ที่สนใจบริการธุรกิจจาก AIS เพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ได้ที่หน้า เว็บไซต์ของ AIS Business ได้ทันที หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลท่านอยู่
Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ