Heise สื่อเยอรมันรายงานข่าวว่า คณะกรรมการยุโรป (European Commission) กำลังจะออกกฎให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต้องซัพพอร์ตสินค้านาน 5 ปี ทั้งในแง่การออกแพตช์ความปลอดภัยและการจัดหาอะไหล่เพื่อซ่อมแซม แต่รัฐบาลเยอรมันอาจไปไกลกว่านั้น โดยขยายระยะเวลานานถึง 7 ปี
แนวคิดของคณะกรรมการยุโรปเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ที่มองว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมีระยะเวลาใช้งานเฉลี่ย 2.5-3.5 ปี สั้นกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น จึงร่างกฎที่จะบังคับใช้ในปี 2023 คือ
- การันตีระยะเวลาออกแพตช์ความปลอดภัยอย่างน้อย 5 ปี และอัพเดตความสามารถ OS อย่างน้อย 3 ปี
- แบตเตอรี่ต้องมีความจุเหลืออย่างน้อย 80% หลังจากชาร์จไปแล้ว 500 รอบ และสามารถเปลี่ยนแบตโดยผู้ใช้ได้ หรือถ้าแบตเปลี่ยนไม่ได้ ต้องชาร์จได้อย่างน้อย 1,000 รอบ
- ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต้องจัดหาอะไหล่ของชิ้นส่วนต่างๆ เช่น กล้อง แบตเตอรี่ ไมโครโฟน ฯลฯ ให้กับร้านซ่อมอิสระ เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปีหลังวางขาย (ถ้าเป็นแท็บเล็ตต้อง 6 ปี เพราะอายุการใช้งานยาวนานกว่า)
- ราคาอะไหล่ต้องประกาศต่อสาธารณะ และไม่สามารถขึ้นราคาได้ในภายหลัง คู่มือการซ่อมเครื่องต้องหาซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม
- สมาร์ทโฟนจะต้องทนทานต่อการตก 1 เมตร 100 ครั้งแล้วยังไม่พัง และต้องกันน้ำกระเด็นใส่
Heise ยังรายงานว่ารัฐบาลเยอรมันต้องการไปไกลกว่านั้น โดยขยายระยะเวลาอัพเดตแพตช์และจัดหาอะไหล่เป็น 7 ปี
ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านโดย สมาคม DigitalEurope ซึ่งมีบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ 87 แห่งเป็นสมาชิก (รวมถึงผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ของโลกเกือบทุกราย เช่น Apple, Huawei, Samsung, Xiaomi, Oppo) ที่มองว่าควรการันตีอัพเดต OS แค่ 2 ปี และอัพเดตแพตช์ 3 ปี ส่วนเรื่องอะไหล่ควรมีแค่แบตเตอรี่และจอภาพเท่านั้น รวมถึงมองว่าการกำหนดแบตเตอรี่ชาร์จ 1,000 รอบเป็นเรื่องที่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ
ภาพจาก Samsung
Comments
ถ้าต้องทำตามนี้ คงมีแต่เรือธงที่วางขายได้
ผมว่าเรือธงยังขายไม่ได้เลยครับ แต่ละเงื่อนไขมันโหดเกิน
ผมว่าเอาแค่เปลี่ยนแบต เปลี่ยนจอง่ายๆ กับมีอะไหล่แท้ขายก็พอแล้ว
ส่วนเรื่องการอัพเดทซอฟแวร์ ถ้าเอาจริงๆ คงเหลือแต่แอปเปิ้ลที่ทำได้ เพราะGoogleยังต้องพึ่งฮาร์ดแวร์บริษัทภายนอกเยอะอยู่เลย
ว่าละต้องซ้ำ 555
ออกกฎมานี้กะไม่ให้รุ่นตัวถูกได้เกิดเลยมั้ง
ถ้ามัน 5 ปี 7 ปีได้ก็อาจจะดูว่ามันถูกนะ
ยอดเยี่ยม
ว่าแล้วว่าต้องเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม… แต่ส่วนตัวว่า 5-7ปีนานไปแต่คกก.สิ่งแวดล้อมของยุโรปก็ว่า 3.5ปี สั้นไป(ส่วนตัวมองว่า 3ปีกำลังดี)
เขามองว่าพอหมดระยะคือกลายเป็นขยะทันทีเลยน่ะสิครับ เอาจริงๆเขาอยากให้ไม่สร้างขยะเลยดีที่สุดนั่นล่ะ งบประมานกำจัดขยะคงสูงมากและทำลายไม่ทัน เลยกลายเป็นนโยบายแบบนี้
อย่างจีนไม่สนใจเลยผลิตเรื่อยอายุสั้นๆแล้วส่งออกขยะ ไปฝังกลบที่ประเทศอื่น เช่นที่ไทยโดนมาแล้วไงครับ
5 ปีก็พอไหวครับ แต่บอกลาเรื่องความบางเบา และต้องรีดีไซน์ใหม่หมด
ถ้าจะเข้าเค้าก็คงของแอปเปิ้ล กับ อุปกรณ์อินดัสเทรียลเกรด....ซึ่งราคามัน.....
ตามนั้นหละครับ
ปัญหาหลัก ๆ คือ แพจากผู้ผลิตชิป การที่มีกฎพวกนี้มันเลยกดดันผู้ผลิตชิปไปได้ ซึ่งสุดท้ายมันเป็นผลดีต่อผู้บริโภคล้วน ๆ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เคี่ยวเกิน EU มือถือคงไม่ต้องขายรุ่นถูกกันเลย
ถ้าสุดท้ายสิ่งที่คณะกรรมการวางเอาไว้ มันเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตทำได้จริง เพราะถ้าทำไม่ได้ก็ไม่มีสิทธิ์วางขาย
แล้วข้ออ้างที่ผ่านมาในอดีตมันคืออะไร
ส่วนตัวคิดว่า 4 ปี กำลังดี
5 ปี ส่วนใหญ่เครื่องไม่ค่อยไหวแล้วถ้าฝั่งแอนดรอยด์ตอนนี้คือ Galaxy S7 อย่างน้อยแบตน่าจะเสื่อม แล้วเทียบมูลค่าเครื่องตามสเปคกับค่าแกะเปลี่ยนแบตน่าจะไม่คุ้มเท่าไหร่
ปัญหาอีกอย่างคือออกแพชต์ 5 ปี ไม่ได้กำหนดว่าต้องออกถี่เท่าไหร่ ทุกเดือน ทุกไตรมาส ครึ่งปี หรือปีละครั้ง
A smooth sea never made a skillful sailor.
ส่วนตัวใช้มือถือนานขึ้นปัจจัยหลักเลยคือ ราคา ตามมาด้วย เทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ค่อยมีอะไรว้าวแล้ว
วางกติกาออกมาได้ดีและเห็นแก่ผู้บริโภค แต่นำไปปฏิบัติจริงน่าจะลำบากนะครับ สุดท้ายน่าจะกลายเป็นว่ามือถือที่เปิดตัวขายในEUลดลงจนเหลือแค่สองสามแบรนด์ แล้วที่เหลือคือกลายเป็นเครื่องหิ้วไปหมด
เยี่ยมครับ รีบ ๆ ออกมาเลย อยากใช้มือถือที่แบตเปลี่ยนง่าย ๆ แบบเมื่อก่อน ถอดฝาเปลี่ยนเองได้ อะไหล่หาง่ายๆ การออก patch ยาวนานแบบ OS ในคอมพิวเตอร์
เราเป็นลูกค้าไม่ต้องสงสารผู้ผลิตหรอก จริง ๆ เราควรสงสารตัวเองมากกว่า ทุกวันนี้เหมือนตามใจผู้ผลิต อยากจะตั้งราคายังไงก็ตั้ง อยากจะยัดอะไรใส่ก็ยัด ลูกค้าเหมือนเช่าเครื่องใช้
นานไปนะ
ในที่สุดความฝันของผมก็ได้เป็นจริงสักที
คิดว่าคงอยากให้ทุกเจ้าทำเหมือนที่ Fair Phone กำลังทำอยู่ แต่อาจจะเล็งไปถึงการบังคับให้ทำมือถือที่เหมือน dekstop PC ที่สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมชื้นส่วนได้เองโดยไม่ต้องพึ่งผู้ผลิตครับ
ปัจจุบันเจ้าใหม่ๆก็เกิดยากอยู่แล้ว เจอกฎแบบนี้เข้าไป ผู้เล่นใหม่พับแผนไปทำอย่างอื่นดีกว่า ผู้เล่นเก่ายังลำบากเล๊ย
ก็อาจจะต้องลองดู วางกฎไว้แบบนี้ ตอนนี้อาจจะไม่มีใครทำได้ แต่อาจจะเป็น พอผ่านไปซักพัก สรุป ทำได้ แต่เพราะไม่ได้คิดเรื่องนี้จริงจังเลยไม่ได้ทำตั้งแต่แรก
อ่านข่าวจบ เหมือน EU จะช่วย Apple ผูกขาดระยะยาวแทนเลย
แต่แลกกับการว่า"บังคับ"ให้เปลี่ยน port เป็น Type-C เพื่อรักโลกแทน ???
เจอ 2 ข้อนี้เข้าไป Apple ก็ค้านแล้ว
-ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต้องจัดหาอะไหล่ของชิ้นส่วนต่างๆ เช่น กล้อง แบตเตอรี่ ไมโครโฟน ฯลฯ ให้กับร้านซ่อมอิสระ-ราคาอะไหล่ต้องประกาศต่อสาธารณะ และไม่สามารถขึ้นราคาได้ในภายหลัง คู่มือการซ่อมเครื่องต้องหาซื้อได้ในราคาที่เหมาะสม
มีวิธีครับ ตั้งราคาให้มันแพงสิครับ มันก็พอชดเชยได้เหตุผลแฝง ผมว่ามีอีกเรื่องคือการตั้งโรงงาน ส่งเสริมภาคการจ้างงานด้วยส่วนนึง
มันก็เป็นการกดดันไปยังผู้ผลิต เพราะทุกวันนี้อยากจะซัพพอร์ตด้านความปลอดภัยกี่ปีก็ได้ จะแพตั้งแต่แกะกล่องก็ได้ รวมถึงกดดันไปจนถึงต้นน้ำอย่างผู้ผลิตชิปเช็ตให้ซัพพอร์ตดีกว่านี้ด้วย
ข้อที่ทำได้ยากที่สุด -> สมาร์ทโฟนจะต้องทนทานต่อการตก 1 เมตร 100 ครั้งแล้วยังไม่พัง.....
สุดท้ายก็ต้องมีการต่อรองกัน
ผมใช้ Pixel 1 มา 5 ปี ในแง่ซอร์ฟแวร์ยังใช้งานได้ดี (เหมือนซื้อรุ่นถูกปัจจุบัน) แต่ที่ต้องเปลี่ยนเพราะแบตเสื่อมและออพชั่นเดียวที่มีคือต้องส่งให้ร้านตาม Facebook ที่รับเปลี่ยนแบต Pixel
ถ้าเปลี่ยนแบตได้เองผมก็ยังใช้ต่อ 555
ราคามือถือจะแพงขึ้นอีกหรือเปล่าเพราะการบริหารอะไหล่คงคลัง
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
อาจจะต้องมาเจอกันตรงกลางแบบสลากประหยัดไฟเบอร์ 5 มันช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายจริงๆ
ให้อัพเดตได้ 5 ปี สำรองอะไหล่ 7 ปีEU กำลังขัดขวางนวัตกรรมแบบก้าวกระโดดอยู่รึเปล่า?
นวัตกรรมแบบก้าวกระโดด ก็ทำลายสิ่งแวดล้อมแบบก้าวกระโดด มนุษยชาติจะเลือกอะไรดีครับ
จริง ๆ ก็อยากเห็น Android ไม่ต้อง bundle มากับเครื่อง ให้ user ติดตั้งเองได้ แล้ว OS อัพเดตก็ให้ Google รับผิดชอบไป เหมือนกันนะครับ
โอ้ยยแทบเดินเข้าไปกราบ ทุกวันนี้เปลี่ยนมือถือใหม่ไม่ใช่เพราะมันพังหรอก เปลี่ยนเพราะระบบมันล้าสมัยกับหาซื้อแบตมาใส่ไม่ได้
ซ่อมอิสระ ซ่อมที่เสียเรียบร้อย แล้ววางยาไว้อีกจุด ไปอีกรอบ เสียหนักกว่าเดิม สงสัยไม่เคยเจอ
อัพเดทความปลอดภัยเห็นด้วย มันไม่น่าจะยากอะไรขนาดนั้น (รึเปล่า?) พวกรอมโมทั้งหลายทำหลายเครื่องยังออกมาได้ต่อเนื่องเลย ผมว่า 5 ปีไม่ใช่ตัวเลขเวอร์วังอะไร
ส่วนอัพเดทเวอร์ชั่นหรือเพิ่มความสามารถอันนี้ผมเฉยๆ ตอนผมซื้อผมพอใจกับความสามารถที่มีอยู่แล้ว มากกว่านั้นคือของแถม ไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้ามีแล้วมือถือราคาแพงขึ้นก็ไม่เอาดีกว่า
ที่เห็นด้วยที่สุดคือแบตเปลี่ยนเองได้ ไม่ต้องถึงขั้นเปลี่ยนมือเปล่าก็ได้ แต่ขอเปลี่ยนได้แบบไม่ใช้ฝีมือหรือเครื่องมือเฉพาะทางเกินไปก็พอ
คือผมมองว่าแบตเสื่อมก็เหมือนไข้หวัดอะ มันควรเป็นโรคสามัญประจำบ้านที่ซื้อยามากินเองได้ ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอจับฉีดยาทุกครั้ง การระบุอาการแบตเสื่อมก็ไม่ได้ยากอะไร software ก็สามารถช่วยระบุได้
แต่ถ้าเปลี่ยนแบตเองมันก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่วิธีจัดการกับแบตที่ใช้แล้ว ถ้าผิดวิธีอาจจะสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า (แต่ก็ดีกว่ามือถือทั้งเครื่องแหละ) ก็ต้องค่อยๆปรับกันไปแหละ
ปล. สมัยนี้มันมีแบตที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติไหมครับ?
องคาพยพ BBK คงต้องอัปเปหิออกจากตลาดเยอรมันเป็นแน่แท้
นึกถึงสมัยก่อน ไอพอดทัช มีเคสใส่ซิม ลงแอพโทรได้
ต่อไปอาจจะเป็นแนวนี้แทน อะไรสักอย่างที่ไม่ใช่โทรศัพท์
แต่มีโมดูลใส่ซิมขาย
ยังมีคนอ่านไม่เกิน 3 บรรทัดอยุ่มาก เค้าให้ update patch ซึ่งหลักๆก็เป็น security patch เหมือน os ที่เป็น LTS ไม่ได้บอกให้ update os ส่วนอะไหล่ มันก็สมเหตุสมผลอยุ่
ดีต่อใจ ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เปลี่ยนเครื่องเพราะแบตเสื่อม แกะก็ยาก ในขณะที่อย่างอื่นยังดีหมด เสียดายของตอนนี้ผมยังใช้ iphone 5 กับ SE อยู่เลย
ขำบางคนเป็นห่วงบริษัทพันล้านหมื่นล้านแสนล้าน พวกเรามาสงสารตัวเองก่อนดีไหม
หลายๆ อย่างที่เรามีคุณภาพชีวิตดีๆ ไม่ใช่ความเมตตาของบริษัทนะครับ มาจากการบังคับใช้กฎหมายทางการเมือง(ที่มีผู้แทน) ไม่ว่าจะวันหยุด สวัสดิการ มาตรฐานความปลอดภัยสินค้า อาหาร ยา การแพทย์ ฯลฯ เทคโนโลยีไม่งั้นเขาก็ขายของห่วยๆ ไปเรื่อยๆ สมคับกันตั้งราคาแพงๆ สบายกว่าเยอะ
และทุกครั้งที่จะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ บริษัทก็จะมาร้องแรกแหกกระเชอว่ากฎนั้นๆ ที่จะมีใหม่ส่งผลไม่ดีต่อผู้บริโภค ลูกจ้าง และนวัตกรรม บลาๆๆๆๆ
พอกฎออกมาก็ยอมทำตามได้ เออเว้ย ไม่ยักกะตายอย่างที่พูด
จริงๆ มันก็ไม่ตายหรอก แต่ว่าก็ต้องยอมรับถึงผลที่จะตามมา เปรียบเทียบกับเรื่องนโยบายต่างๆ เช่นนโยบายต่อเหรียญคริปโตของแต่ละประเทศที่ทำให้การพัฒนาและสภาพการแข่งขันแตกต่างกัน หรือเรื่องคลาสสิคอย่างนโยบายการศึกษาก็ได้ รัฐออกกฎอะไรมาเราก็ต้องอยู่กับมันให้ได้แหละ แต่ก็ต้องก้มหน้ายอมรับผลของมันไม่ว่ามันจะเป็นผลบวกหรือผลลบก็ตาม
ยุโรปเนี้ยแหละเป็นคนบังคับสายชาร์จยูเอสบี แต่ก่อนเป็น barel jack บ้างแถบบ้างยี่ห้อใครยี่ห้อมัน
เรื่องการลงทุน ยกตัวอย่าง สมัยโอบามาออกกฎให้ผู้ให้บริการเน็ทและมือถือต้องมีความเร็วความครอบคลุมตามเกณฑ์ บริษัทก็โวยว่าผู้บริโภคจะต้องรับกรรมต้นทุน บริษัทจะไม่มีการพัฒนาบลาๆ ความเป็นจริงตรงข้ามคือต้องแข่งขันกันมากขึ้น
พอสมัยทรัมป์ไปเอื้อพวกนี้ หย่อนเงื่อนไข และลดภาษีบริษัท ทันใดนั้นบริษัทพวกนี้ยกเลิกลงทุนหมด นั่งกระดิกเท้าแทน
เรื่องคริปโตนี่ก็ไม่เกี่ยว ผมก็เห็นยังเฟื่องฟูดี และก็ยังไม่เห็นการใช้งานที่เป็นประโยชน์จริงๆ เลย ถ้าพวกบิทคับจะเจ๊งผมก็ไม่เห็นว่าเป็นการสูญเสียอะไรนะ
ถ้าไม่มีนโยบายการศึกษา ไทยคงไม่มีโรงเรียนครับ คงนั่ง ก.กากับพระอยู่ ผู้หญิงก็ไม่ได้เรียน เลือกตั้งก็ไม่มี เพราะผู้มีอำนาจรอประเทศไทยคนมีการศึกษาก่อน ไปถามอภิรัฐมนตรีสภาสมัย ร.7ได้ครับ
คริปโตผมมองแบบกว้างๆ นะครับรวมถึงพวก defi ต่างๆ ซึ่งลองดูได้ว่าผมหมายถึงอะไร อย่างเช่นสถานการณ์ของเกาหลีเทียบกับไทย ส่วนถ้าจะโฟกัสพูดถึงคริปโตนโยบายต่างๆ มันกระทบกับราคาโดยตรง แต่สุดท้ายมันก็จะรอดด้วย mechanic ของมันที่ถูกสร้างมาให้ต่อต้านรัฐตั้งแต่แรก
ผมบอกตรงไหนว่าไม่มีนโยบายการศึกษา เรื่องนโยบายการศึกษานี่พูดยากเพราะมันมีหลายปัจจัย ทั้งคุณภาพของนโยบายและรวมไปถึงการคอรัปชั่น แต่จะบอกว่าตอนนี้มันดีแล้วผมว่ามันก็คงไม่ใช่ ไม่งั้นเราคงไปได้ไกลกว่านี้เมื่อเทียบกับงบประมาณที่หว่านลงไปในทุกปี
ผมไม่เคยสงสารบริษัทนะ แต่บริษัทเขาเป็นคนแบ่งเค้ก มีหรือที่เขาจะยอมเป็นฝ่ายเสีย ถ้าเขาแย่งเค้กจากบริษัทอื่นไม่ได้เขาก็จะมาแย่งเค้กจากเรานั่นแหละ
ผมสนับสนุนให้แต่ละบริษัทตีกันเองเพราะสุดท้ายเราได้ประโยชน์ แต่ถ้าบริษัทเลิกตีกันเมื่อไหร่ (ไม่ว่าจะฮั้วกันหรือเสียหายจนตีกันไม่ไหวหรือเหตุผลใดๆก็ตาม) ความซวยก็จะมาอยู่ที่เรานั่นแหละ
อย่างไรก็ดี กฏของ EU รอบนี้ผมเห็นด้วยนะ เพราะถึงจะมีกฏนี้บริษัทต่างๆก็ยังแข่งกันเองอยู่ได้ แต่ผมแค่จะบอกว่าคนที่คัดค้านบางคนเขาไม่ได้ห่วงบริษัทหรอกครับ เขาก็ห่วงตัวเองนั่นแหละ เพียงแค่ในมุมมองที่ต่างออกไปแค่นั้นเอง
คิดว่าถ้ากฎนี้ออกมาจริงๆ ที่ต้องเปลี่ยนคือโดเดลธุรกิจของผู้ผลิต ต่อไปอาจจะเป็นการเน้นในเรื่องของ software และการบริการแทนก็เป็นได้
ดีกว่าซอยย่อยสามพันรุ่นต่อปีมากครับ 555
เอ้า เบิ้ล
เงื่อนไขนี้สำหรับ Apple คงชิวอยู่
เพราะตัวถูกสุดอย่าง SE ไม่ใช่แค่ Security Update แต่ OS ก็คงได้เกิน 5 ปี
แต่บริษัทอื่นตัวถูกๆ มันน่าจะลากยากนะ ชิบน่าจะไม่ไหว
ไม่งั้นก็ต้องประกาศสัญญาไป พอของจริงอัพได้ แต่เครื่องอืดไปเลยงี้ แต่ก็ไม่สนเพราะตามกฎ
เพราะ EU ราคาเครื่องแพงมากเค้าคงไม่อยากเปลี่ยนบ่อยๆ แล้วอีกอย่างพวกสินค้าที่ออกมาช่วงหลังๆ มันแรงจนแม้กระทั่งตกรุ่นไปหลายปีแล้วก็ยังใช้งานได้ลื่นๆ อยู่เลย ยกเว้นคนเน้นเล่นเกมส์นะอันนี้คงต้องอัพเครื่องบ่อยๆ
นึกถึงยี่ห้อหนึ่ง eu แพงมาก พี่ไทยแพงกว่า ??
OP สินะ ที่ไม่ใช่ oppo
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
มันจะมีปัญหากับพวกบริษัทเกิดใหม่มั้ยหว่า แบบ Nextbit Robin อะไรแบบบนั้น ถ้าต้องทำตาม Regulator ขนาดนี้คงแทบไม่มีโอกาสเกิด กลัวจะผูกขาดเหมือนเบียร์ไทย
อัพ OS 3 ปี security patch 5 ปีก็โอเคนะ ซัมซุง แอปเปิลก็ทำอยู่แล้ว แต่ 7 ปีนี่นานไปหน่อยข้อที่ยากนี่น่าจะตกจากความสูง 1 เมตรไม่พังนี่แหละ ถ้าไม่ใส่เคส พื้นเป็นคอนกรีตก็พังได้
เป็นการเปิดทางให้ nokia กลับมา
ซึ่ง symbian ก็คล้าย ๆ ios นะที่รองรับมือถือ nokia แทบทุกรุ่นupdate นานเลย ตัวเดียวเป็น 10 ปี
และ nokia ตกไม่พังด้วย ส่วนแบตก็อึด