เมื่อคืนนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope (JWST) เดินทางไปถึงจุดหมายคือจุด Lagrange Point 2 (L2) ที่ห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตร โดยหลังจากนี้ JWST จะโคจรอยู่รอบจุด L2 ไปเรื่อยๆ
การทำงานของ JWST หลังจากนี้จะใช้เวลาอีกราว 5 เดือนเพื่อ calibrate มุมของกระจกให้แม่นยำ (ระดับเกือบนาโนเมตร) และทดสอบอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่างๆ แล้วค่อยเริ่มถ่ายภาพอวกาศมาให้เราดูกัน
? Home, home on Lagrange! We successfully completed our burn to start #NASAWebb on its orbit of the 2nd Lagrange point (L2), about a million miles (1.5 million km) from Earth. It will orbit the Sun, in line with Earth, as it orbits L2. https://t.co/bsIU3vccAj #UnfoldTheUniverse pic.twitter.com/WDhuANEP5h
— NASA Webb Telescope (@NASAWebb) January 24, 2022
แผนภาพอธิบายวิถีวงโคจรของ JWST ที่จุด L2
So…you’ve heard that the Webb telescope will be orbiting Lagrange point 2. But what even is that, anyway? And how do you orbit something that isn’t an object?We’ve got you! Here’s a thread ⬇️ #UnfoldTheUniverse pic.twitter.com/7YTUeKh3Me
— NASA Webb Telescope (@NASAWebb) January 21, 2022
ที่มา - NASA
Comments
???
..: เรื่อยไป
เป็นคุณลุงที่ต้องคอยลุ้นกันตลอดเวลา 5555
เป็นของสิ่งแรกที่เดินทางอย่างโดดเดี่ยวยาวไกลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเลยมั้งเนี่ย
Voyager 1
Voyager 2
New Horizons
ก็ไปไกลแล้วนะครับ
https://voyager.jpl.nasa.gov/mission/status/
Nohttps://en.wikipedia.org/wiki/List_of_objects_at_Lagrange_points
Voyager 1, 2 ไปนอกระบบสุริยะแล้วครับ
นอกระบบสุริยะ ในบางนิยามนะครับ ?
แต่นั่นก็สุดยอดแล้ว
1.5 ล้าน km นี่ถือว่าใกล้นิดเดียวน่ะครับยานอวกาศสำรวจดาวเคราะห์ทุกลำไกลกว่านี้หมดเพราะระยะใกล้สุด (โลก-ดาวศุกร์) ก็เกือบ 50 ล้านกิโลเมตรแล้ว
คำคม twitter
ขอบคุณทุกท่านสำหรับความรู้และลิงค์ครับ ??♂️
โลก-ดาวอังคารก็ไกล 300 กว่าล้านกิโลเมตรครับยานวอยเอเจอร์นี่ forever alone ที่แท้ทรู เห็นว่าไปถึงออร์ตคลาวด์หรืออาจเลยไปแล้ว
ยังฮะ Oort Cloud อยู่ไกลอีกครับ ขอบใกล้สุดก็ประมาณว่าที่ราว 0.3 ปีแสง แต่ Voyage 1 ที่ว่าเป็นยานที่เดินทางเร็วที่สุดแล้ว ตอนก็ยังไม่ถึงระยะ 1 วันแสงดี
ก็น่าจะอีกราว 300-500 ปีครับกว่าจะแตะขอบ Oort Cloud เรียกว่าถ้าจะส่งไปสมัยอยุธยา ตอนนี้ก็กำลังจะถึงพอดี
อ่อ ครับ ขอบคุณครับ
ทำไมผมรู้สึกน้ำตาจะไหล
I need healing.
รอดูภาพประวิติศาสตร์
สุดยอดมากตั้งความแม่นได้ระดับเกือบ นาโนเมตร
+1
เป็นความอึ้งระดับวิศวกรรมเลยครับ สุดยอดมาก
เฉยๆนะครับ เครื่องฉายแสงที่ใช้ผลิตชิพก็ทำได้มาหลายสิบปีแล้ว
ต่างกันครับ
เครื่องฉายแสงลงชิพมันเป็นการโฟกัสแสงความยาวคลื่นสั้นลงไปในระดับนาโนเมตร
แต่ของ JWST มันเป็นการขยับเชิงกลในระดับนาโนเมตร ซึ่งทำได้ยากมากๆและไม่เคยมีการส่งอุปกรณ์เชิงกลที่ละเอียดก่อนขนาดนี้ขึ้นสู่อวกาศมาก่อน
+1
เย้
นั่งลุ้นอยู่เมื่อตีสามที่ผ่านมาถึงขั้นตอนยากสุดจะเป็นตอนกาง sun shield แต่ถึงยังไงทุกขั้นตอนก็ลุ้นอยู่ดี
จากนี้ไปเหลือแค่ทดสอบอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม คงไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่แล้ว ต่อให้แย่ที่สุดก็ยังทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้
ดีใจกับ NASA และดีใจกับวงการดาราศาสตร์-จักรวาลวิทยาของมนุษยชาติด้วย