คดีความระหว่าง Epic Games กับแอปเปิลในประเด็นการผูกขาดวิธีจ่ายเงินบน App Store มีคำตัดสินจากศาลชั้นต้นเมื่อเดือนกันยายน 2021 สั่งให้แอปเปิลต้องเปิดกว้างมากขึ้นในการรองรับระบบจ่ายเงินเจ้าอื่น ซึ่ง Epic มองว่ายังไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ (ศาลไม่ได้มองว่าแอปเปิล "ผูกขาด") และขอยื่นอุทธรณ์ ทำให้กระบวนการทางคดีลากยาวต่อไป ( Fortnite จึงยังถูกแอปเปิลแบนต่อ )
สัปดาห์ที่แล้ว อัยการประจำรัฐจำนวน 35 รัฐในสหรัฐอเมริกา ได้เข้าชื่อกันส่งจดหมายถึงศาลอุทธรณ์ แสดงความเห็นว่าศาลอุทธรณ์ควรกลับคำตัดสินของศาลชั้นต้น เพราะกลุ่มอัยการมองว่าแอปเปิลเข้าข่ายผูกขาดจริง
รายละเอียดของเรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเทคนิคทางกฎหมายอยู่บ้าง เพราะศาลชั้นต้นตัดสินตามนิยามของการผูกขาด ใต้กฎหมาย Sherman Antitrust Act of 1890 ซึ่งเป็นกฎหมายพื้นฐานหลักของคดีผูกขาดในสหรัฐอเมริกา
กลุ่มอัยการชี้ว่า ศาลชั้นต้นตัดสินว่าพฤติกรรมของแอปเปิลเป็นสัญญาฝ่ายเดียว (unilateral contract) ไม่ได้ร่วมผูกขาดกับบริษัทอื่น ซึ่งไม่เข้าข่ายนิยามในหมวด 1 ของกฎหมาย Serman Act ที่เขียนมาตั้งแต่ปี 1890 การตัดสินแบบนี้เป็นการตีความในเชิงแคบ และเอาจริงๆ แล้วกฎหมายเองไม่ได้มีคำว่า contract ด้วยซ้ำ (เพราะเก่ามาก) ควรมองที่เจตนาของกฎหมายดีกว่า และในอดีต ศาลสูงสุดของสหรัฐก็เคยตัดสิน (ในคดีผูกขาดอื่น) ในลักษณะตีความเข้าข่ายกฎหมายมาแล้ว
กลุ่มอัยการยังสนับสนุนข้อเสนอของ Epic Games ว่าแอปเปิลมีกำไรมหาศาลจาก iPhone เพราะไม่เกิดการแข่งขัน และเป็นหน้าที่ของศาลที่ต้องเข้ามาสร้างสมดุลตรงนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในระยะยาว
ที่มา - Ars Technica
Comments
IMHO ผมก็ว่าเข้าข่ายผูกขาดนะ
เอาใจช่วย epic อยากให้ apple โดนหนักๆ
เกม ก็เอาไปลงที่เขา เขาไม่ได้ขอ อ้อนวอนให้ epic จ๋า เอาเกมมาลงที่ฉันเถอะ
อยากให้เกมตัวเองเล่นได้ทุกที่ ทุกเครื่อง แต่ไม่ทำตามกฏของคนอื่น จะเอากฏตัวเองเป็นใหญ่
สู้กันด้วยกฎหมายล่ะนะ แต่ถ้า Apple แพ้มีโอกาสที่ Apple เจ็บหนักมาก ถึงแม้ว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิดก็ตาม คือเก่งมาก ยิ่งใหญ่ขึ้นมากจนผูกขาดได้เอง คราวนี้ iPhone ที่เป็นสิ่งที่พิมพ์เงินของ Apple จะถูกลดทอนกำไรลงอย่างมาก (กำไร iPhone สูงมาก) และสัดส่วนของรายได้จาก Apple ก็มาจาก iPhone นี่แหละ
อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นอะไรบางอย่างของ Apple แน่นอน ฟันธง!
/มองดู Epic Exclusive game
กระแสมาทา อีปีคนะ
ISP ในประเทศ USA เองที่วางสายไม่ทับที่กัน ก็แนวๆผูกขาดแต่เพราะเงินอุดปากเลยไม่พูดอะไรกัน ราคา เนตบ้านขึ้นเอาขึ้นเอา (เห็น ยูทูปอเมริกาบ่นอยู่)
แอปเปิลมีกำไรมหาศาลจาก iPhone เพราะไม่เกิดการแข่งขันจะฟังอัยการกลุ่มนี้ดีมั้ยเนี่ย
บ้านเขามี สคบ. ไหมนะ
เป็นคดีความที่น่าสนใจจริง ๆ สำหรับผม
That is the way things are.
อย่าอินมาก มันไม่เกิดที่ไทยแน่ๆ
ผมก็แซวไปงั้นแหละ ผมเองก็อินพอควรด้วยว่าช่วงนี้ในไทยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นถี่ๆ แบบชัดเจน
ที่ผมมองว่าน่าสนใจเพราะส่วนตัวผมคิดว่า Apple ไม่น่าจะผิดครับ 55
ด้วยเกณฑ์ส่วนแบ่งทางการตลาด ผมมอง iPhone ก็ทำเหมือน Playstation, Nintendo Switch, XBOX อะไรประมาณนั้น เป็น practice ที่กระทำได้ครับ
That is the way things are.
เรื่องการผูกขาด มันมองที่ผลกระทบมากกว่าการกระทำครับ
ต่อให้กระทำเหมือนกัน แต่ถ้ามันไม่ได้กระทบตลาดก็ไม่โดนเล่นอะไร กลับกัน ถ้ามันกระทบตลาดมากก็จะโดนเพ่งเล็งขึ้นมาทันที (เพราะงั้นคำอ้างที่ว่าบ.นู้นบ.นี้ก็ทำเหมือนกัน มันจึงใช้อ้างไม่ได้)
ลองสมมติง่ายๆ ถ้าหากว่า Apple ขึ้นค่าส่วนแบ่งเป็น 50% ขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น? ในทำนองเดียวกัน ถ้า PS ขึ้นค่าส่วนแบ่งเป็น 50% เหมือนกันจะเกิดอะไรขึ้น? คิดว่าผลกระทบจะเหมือนกันไหม?
ปล. แต่ถึงจะเข้าข่ายผูกขาดก็ไม่ได้แปลว่าผิดเสมอไปนะครับ ถ้าเข้าข่ายผูกขาดแต่ไม่ได้ทำอะไรผิด ก็จะโดนสั่งเฉยๆ แต่ถ้าทำอะไรผิดด้วยก็จะโดนปรับด้วย ซึ่งกรณี Apple ถ้าจะมีประเด็นที่อาจจะโดนตัดสินว่าผิดแล้วโดนปรับก็คงมีแค่ประเด็นที่ไปปิด account นักพัฒนาแค่นั้นแหละครับ
ผมเข้าใจในมุมมองนี้เลยครับ ไม่ได้ยืนพื้นว่าที่ผมคิดต้องถูกต้องครบทุกด้าน แค่มันมีบางด้านที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่านั้นเอง
ผมถึงได้บอกว่าคดีนี้มันน่าสนใจ อย่างน้อยผมก็ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มครับ
That is the way things are.
ผมว่าด้วยหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและส่วนแบ่งการตลาดไม่น่าจะผิดครับ แต่ความต้องการควบคุมธุรกิจไม่ให้มีอำนาจมากการจะทำให้มีการใช้เกณฑ์ใหม่ๆ ในการพิจารณาแน่นอน
ไม่มีคอมเมนต์เกี่ยวกับตลาด / ตลาดนัด / แผงขายของเหรอครับ
น่าจะจบที่ จ่ายค่าปรับ และ ปรับค่าธรรมเนียมบางอย่างถูกลง
ไม่ผิดก็โดนได้ อัยการถึงกับเข้าชื่อกันส่งจดหมายถึงศาล แสดงว่ามือล็อบบี้ยิสต์ทำงาน