มีความคืบหน้าคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ฟ้องกูเกิล เรื่องการผูกขาดธุรกิจระบบค้นหา (Search) และศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสิน ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดจริง ซึ่งกูเกิลก็เตรียมอุทธรณ์ ขณะเดียวกันศาลก็สั่งให้ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และ กูเกิล เสนอแผนเยียวยาที่เป็นผลจากการผูกขาด
ประเด็นหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้เป็นข้อมูลเพื่อแสดงว่ากูเกิลพยายามผูกขาดธุรกิจค้นหา คือการจ่ายเงินให้แอปเปิลจำนวนมากทุกปี แลกกับการเป็นระบบค้นหาค่าเริ่มต้น (default) โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐบอกว่าถ้ากูเกิลต้องเลิกจ่ายเงินส่วนนี้ แอปเปิลก็จะพัฒนาระบบค้นหาของตนเองขึ้นมาแทน ( เคยมีข่าวลือด้วย )
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ออกเอกสารเพื่อขอความเห็นจากสาธารณะ (public consultation) เรื่องฟีเจอร์ของ iOS ที่ควรเปิดให้อุปกรณ์ยี่ห้ออื่นเชื่อมต่อได้ด้วย
เอกสารนี้กล่าวถึงฟีเจอร์หลายอย่างของ iOS แต่ที่สำคัญคือ AirDrop และ AirPlay ที่มุมมองของคณะกรรมการยุโรปเห็นว่า แอปเปิลควรเปิด AirDrop และ AirPlay ให้แอพหรืออุปกรณ์ค่ายอื่นๆ เข้าถึงได้ (กรณีของ AirPlay นั้น แอปเปิลเคยเปิดบ้างแล้ว )
ในเอกสารฉบับเดียวกัน ยังมีประเด็นว่าแอปเปิลควรอนุญาตให้แอพ 3rd party จากผู้พัฒนารายอื่น สามารถรันในแบ็คกราวน์ได้แบบเดียวกับแอพ 1st party ของแอปเปิลเอง
กูเกิลยื่นข้อเสนอแผนเยียวยาตามขั้นตอนทางกฎหมาย หลังจากศาลรัฐบาลกลางสหรัฐ ตัดสินคดี ว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาดธุรกิจค้นหาข้อมูล (Search) จริง ตามที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเป็นฝ่ายฟ้องร้อง และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้เสนอ แผนเยียวยา เมื่อเดือนที่แล้ว ให้ศาลสั่งกูเกิลแยก Chrome ออกมาเป็นอีกบริษัท รวมทั้งให้กูเกิลเปิดไลเซนส์ข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งสามารถนำไปปรับปรุงบริการได้
ทางการจีนกล่าวว่าได้เริ่มดำเนินการสอบสวน NVIDIA ในประเด็นบริษัทอาจละเมิดกฎหมายผูกขาดธุรกิจของจีน โดยหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันยังไม่ได้ให้รายละเอียดว่า NVIDIA มีการผูกขาดทางธุรกิจอย่างไร
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า NVIDIA อาจละเมิดข้อตกลงเพิ่มเติมด้วยจากการ ซื้อกิจการ Mellanox ซึ่งดีลเสร็จสิ้นในปี 2020 โดยทางการจีนได้อนุมัติแบบมีเงื่อนไขหลายอย่าง และ NVIDIA ถูกระบุว่าไม่ได้ทำตามข้อตกลงทั้งหมด
NVIDIA ยังไม่ได้ออกมาให้ความเห็นต่อรายงานข่าวนี้
ที่มา: Reuters
- Read more about จีนเริ่มสอบสวน NVIDIA อาจละเมิดกฎหมายผูกขาดทางธุรกิจ
- 8 comments
- Log in or register to post comments
ก่อนหน้านี้หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของบราซิล ได้ ออกคำสั่ง ให้แอปเปิลต้องเปิด App Store ให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มวิธีจ่ายเงิน โดยไม่ต้องใช้ระบบ In-App ได้ รวมทั้งต้องเปิดให้นักพัฒนาสามารถเผยแพร่วิธีดาวน์โหลดแอปผ่านช่องทางอื่นได้ด้วย มีกำหนดเวลาใน 20 วัน มิฉะนั้นอาจถูกปรับสูงสุดวันละ 250,000 เรอัล (ประมาณ 1.5 ล้านบาท)
Competition Bureau หน่วยงานการแข่งขันของประเทศแคนาดา ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหามีพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันในตลาดโฆษณาออนไลน์ของแคนาดา
พฤติกรรมกีดกันการแข่งขันของกูเกิลคือ เป็นเจ้าของเครื่องมือทั้งฝั่งผู้ซื้อโฆษณา (Google Ads และ Display & Video 360), พื้นที่แสดงโฆษณา (DoubleClick for Publishers ที่เจ้าของเว็บใช้แสดงโฆษณา) และตลาดซื้อขายพื้นที่โฆษณา (Ad Exchange) ในคำฟ้องบอกว่ากูเกิลครองตลาดเกือบเบ็ดเสร็จ และใช้อำนาจตรงนี้กำหนดวิธี-ราคาในการแสดงผลโฆษณา จนไม่มีผู้เล่นรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งกับกูเกิลได้
กูเกิลได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ Ninth Circuit จากคดีที่ Epic Games ฟ้องเรื่องผูกขาด Play Store ในสหรัฐอเมริกา และศาลรัฐแคลิฟอร์เนียตัดสินให้ กูเกิลแพ้คดี พร้อมออกคำสั่งให้กูเกิลต้องเปิดสโตร์ Google Play ให้รองรับสโตร์ของคู่แข่ง ( รายละเอียด ) ซึ่งกูเกิลก็ บอกว่า จะยื่นอุทธรณ์ เบื้องต้นศาลก็ได้ ชะลอการบังคับใช้ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาออกไปก่อน
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันบราซิล ออกคำสั่งให้ Apple ต้องเปิด In-App สามารถจ่ายเงินผ่านเว็บภายนอกได้
บราซิลเป็นประเทศล่าสุดที่แจ้งความผิดแอปเปิลประเด็นการห้ามนักพัฒนาใช้ระบบจ่ายเงินภายนอก หรือเปิดให้เชื่อมต่อไปเว็บไซต์เพื่อชำระเงิน โดยหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของบราซิลบอกว่าแอปเปิลต้องยกเลิกข้อห้ามนี้กับนักพัฒนาสำหรับแอปของผู้ใช้งานในประเทศ
รายละเอียดคำสั่งบอกว่า แอปเปิลกำหนดให้นักพัฒนาที่ขายสินค้าดิจิทัลหรือคอนเทนต์ภายในแอป ต้องใช้ระบบ In-App ของ App Store ในการจ่ายเงินเท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบจ่ายเงินอื่น หรือไปยังเว็บไซต์ผู้พัฒนาได้ มิฉะนั้นแอปจะถูกแบน ซึ่งหน่วยงานระบุว่าเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน คำสั่งนี้กำหนดให้แอปเปิลต้องอนุญาตให้ผู้ใช้งานเลือกชำระเงินผ่านวิธีการอื่นภายนอกแอปได้ เช่น การแทรกลิงก์เพื่อออกไปยังภายนอก หรือเปิดให้ใช้ระบบจ่ายเงินในแอปแบบอื่นที่ไม่ต้องเป็น In-App ของแอปเปิล เป็นต้น
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ยื่นเรื่องไปยังศาลอย่างเป็นทางการ ให้มีคำสั่งแยก Chrome ออกจาก Google มาเป็นอีกบริษัท หลังศาลมีคำตัดสินว่า Google มีพฤติกรรมผูกขาด Search
กระทรวงยุติธรรมอ้างอิงคำอธิบายของผู้พิพากษา Amit Mehta ที่ระบุในคำตัดสินว่า เบราเซอร์ Chrome มีส่วนช่วยในการผูกขาด Search ซึ่งนอกจากการแยกบริษัทแล้ว กระทรวงยังเสนอให้ Google เปิดไลเซนส์เรื่องข้อมูล อัลกอริทึม การแสดงผลการค้นหา ให้คู่แข่งนำไปใช้ปรับปรุงบริการของตัวเอง ไปจนถึงเรื่องความโปร่งใสในการแสดงผลโฆษณาและต้อยอมให้เว็บไซต์ opt-out การนำข้อมูลไปใช้เทรน AI
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ว่าทางกระทรวงจะเดินหน้าขอให้ผู้พิพากษา สั่งให้กูเกิลขายธุรกิจ Chrome ออกไป ใน คดีที่ศาลตัดสินแล้วว่ากูเกิลมีพฤติกรรมผูกขาด search engine
คดีนี้เพิ่งตัดสินในศาลชั้นต้นไปเมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ว่ากูเกิลมีความผิดจริง ซึ่งกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้ฟ้องจะต้องเสนอมาตรการเยียวยาตลาดเพื่อลดผลจากการผูกขาดของกูเกิลลง ซึ่งขึ้นกับผู้พิพากษาในคดีว่าจะรับข้อเสนอนี้หรือไม่ แต่กูเกิลประกาศแล้วว่าจะยื่นอุทธรณ์
คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป (European Commission - EC) ออกคำสั่งปรับ Meta เป็นเงิน 797.72 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท ในประเด็นบริการ Facebook Marketplace มีพฤติกรรมเอาเปรียบคู่แข่งในการแข่งขันทางการค้า
EC เริ่มสอบสวน Meta ในประเด็นนี้มา ตั้งแต่ปี 2021 โดยบอกว่าบรรดาเว็บให้บริการประกาศซื้อขายสินค้าของบุคคลทั่วไป (classified ads) ต่างก็เป็นลูกค้าของ Facebook ที่ซื้อโฆษณาบนแพลตฟอร์ม แต่ Facebook เองก็มีบริการลงประกาศซื้อขายสินค้า Facebook Marketplace ด้วยเช่นกัน จึงตั้งข้อสังเกตว่า Facebook มีข้อมูลที่ได้เปรียบเหนือคู่แข่งหรือไม่ ซึ่ง EC ก็สรุปว่ามีการเอาเปรียบคู่แข่งจริง
กูเกิลประสบความสำเร็จจากการร้องขอต่อศาล หลังจากที่บริษัท แพ้คดีที่ Epic Games ฟ้อง เรื่องผูกขาด Play Store ซึ่งต่อมา ศาลออกคำสั่ง ให้ Play Store ต้องเปิดระบบสำหรับสโตร์ 3rd Party ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ แต่กูเกิล ได้ร้องขอ ให้ชะลอการบังคับใช้
โดยผู้พิพากษา James Donato ได้อนุมัติให้พักคำสั่งนี้ไปก่อน ไม่มีกำหนดว่าถึงเมื่อใด และให้ศาลอุทธรณ์ Ninth Circuit พิจารณาว่าจะให้มีผลบังคับใช้ใหม่เมื่อใด ซึ่งเป็นไปได้ทั้งให้มีผลทันที หรือชะลอออกไป
Donald Trump กล่าวในงานสัมมนาของ Bloomberg แสดงความเห็นต่อกรณี กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ เสนอให้แยกบริษัทกูเกิล เพื่อแก้ปัญหาการผูกขาดตลาด Search โดยเขาบอกว่าไม่เห็นด้วยกับแนวทางการแยกบริษัท เพราะจะเป็นผลดีต่อจีนในสงครามเทคโนโลยีกับสหรัฐ
Trump บอกว่าจีนนั้นเกรงกลัวกูเกิล หากสหรัฐตัดสินใจแยกกูเกิลออกเป็นหลายบริษัท ก็อาจทำลายกูเกิล และลดความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐลงด้วย
ความเห็นของ Trump อาจถือว่าไม่แปลกนัก เพราะพรรครีพับลิกันมักมีแนวโน้มเอื้อทุนใหญ่ให้ทำงาน ต่างจากพรรคเดโมแครตที่เน้นการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่า
ความคืบหน้าต่อจาก คดีศาลสหรัฐตัดสิน Google มีพฤติกรรมผูกขาดบริการ Search Engine เมื่อเดือนสิงหาคม 2024
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (Department of Justice หรือ DoJ) ในฐานะผู้ยื่นฟ้อง ได้ยื่นแนวทางบรรเทา (remedies proposal) พฤติกรรมการผูกขาดต่อศาล ทั้งหมด 4 ข้อ
กูเกิลออกแถลงการณ์หลัง ศาลแคลิฟอร์เนียออกคำตัดสินสุดท้าย ให้กูเกิลต้องเปิดระบบ Play Store รองรับสโตร์ภายนอก หลังแพ้คดีที่ Epic Games ฟ้องเรื่องการผูกขาดแอปสโตร์ โดยกูเกิลยืนยันว่าจะอุทธรณ์ผลการตัดสินนี้ เพื่อขอให้ศาลระงับการบังคับใช้ที่ต้องการให้มีผลใน 1 พฤศจิกายนนี้ไปก่อน
กูเกิลให้เหตุผลว่าคำสั่งศาลที่กำหนดมานั้น จะทำให้ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากขึ้น นักพัฒนาก็โปรโมตแอปยากขึ้น การแข่งขันลดลง แม้คำตัดสินนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อ Epic แต่ภาพรวมแล้วจะไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน
กูเกิลชี้แจง 3 เหตุผลที่ต้องการให้ศาลพิจารณาคำตัดสินใหม่ โดยเบื้องต้นขอให้ระงับการบังคับใช้คำสั่งนี้ไปก่อน ได้แก่
ผู้พิพากษา James Donato แห่งศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย ออกคำตัดสินสุดท้ายในคดีที่ Epic Games ชนะการฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดแอปสโตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลให้ Epic Games ระบุข้อเรียกร้อง แล้วให้กูเกิล คำนวณค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นหากทำตามข้อเรียกร้องนั้น ซึ่งท่าทีของศาลก่อนหน้านี้บอกว่าต้องการ ทลายกำแพงการผูกขาด
คำตัดสินของศาลกำหนดให้กูเกิลต้องเปิดให้สโตร์ Google Play รองรับแอปสโตร์ของคู่แข่ง (3rd Party) เป็นเวลา 3 ปี มีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2024 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2027, สโตร์นี้สามารถทำงานบนระบบ Google Play ได้ และสโตร์สามารถเข้าถึงแคตาลอกของแอปใน Google Play ได้
Epic Games ยื่นฟ้องกูเกิลและซัมซุง เนื่องจากพยายามบล็อคการติดตั้งแอพนอกสโตร์ จาก ฟีเจอร์ Auto Blocker ในรอม One UI ของซัมซุง ซึ่ง Epic มองว่ายิ่งช่วยทำให้กูเกิลผูกขาด Google Play Store บนฮาร์ดแวร์ของซัมซุงยิ่งกว่าเดิม
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ยื่นฟ้อง Visa ด้วยข้อหาผูกขาดเครือข่ายการชำระเงินของบัตรเดบิตในสหรัฐ
ในคำฟ้องของกระทรวงยุติธรรม ระบุว่าธุรกรรมบัตรเดบิต 60% ของสหรัฐอยู่บนเครือข่ายชำระเงินของ Visa สร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมปีละ 7 พันล้านดอลลาร์ ความผิดของ Visa คือกีดกันคู่แข่งรายที่เล็กกว่า เช่น PayPal, Square ผ่านสัญญากับธนาคารและร้านค้า ถ้าคู่ค้าเหล่านี้ไปใช้เครือข่ายเดบิตหรือระบบชำระเงินรายอื่น ก็จะถูกลงโทษจาก Visa ด้วยค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น
กระทรวงยุติธรรม สรุปว่าพฤติกรรมของ Visa กีดกันการแข่งขัน และสร้างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้ธนาคารหรือร้านค้า ซึ่งจะส่งต่อต้นทุนเหล่านี้มายังผู้บริโภคผ่านราคาสินค้าที่แพงขึ้น
NVIDIA ชี้แจงหลังมี รายงานข่าว ว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก เพื่อทำการสอบสวนประเด็นผูกขาดในธุรกิจเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ โดย NVIDIA บอกว่าบริษัทได้สอบถามไปยังกระทรวงยุติธรรมฯ แล้ว แต่ไม่มีการแจ้งหมายเรียกแต่อย่างใด
ตัวแทนของ NVIDIA บอกว่าบริษัทยินดีที่จะตอบทุกคำถามกับหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
ปัจจุบัน NVIDIA มีส่วนแบ่งตลาดในชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์มากกว่า 80% ซึ่ง NVIDIA ชี้แจงเรื่องนี้ว่าลูกค้าเลือก NVIDIA เพราะประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสำหรับพวกเขา ในมุมลูกค้าเองพวกเขาก็สามารถเลือกใช้งานชิปประมวลผลใดก็ได้ที่ดีที่สุดสำหรับตน
Bloomberg รายงานว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐได้ส่งหมายเรียก NVIDIA แจ้งการสอบสวนการผูกขาดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ตามที่มี รายงานออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว โดยมีบริษัทผู้ผลิตชิป AI รายอื่นได้รับหมายเรียกนี้เช่นกัน
ประเด็นที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐตั้งข้อสังเกตจนนำมาสู่การสอบสวน มีทั้งการออกแบบที่ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนค่ายผู้ผลิตชิปสำหรับงาน AI ได้ยาก รวมทั้งประเด็นที่บริษัทคู่แข่งร้องเรียนว่า NVIDIA ใช้อำนาจเหนือตลาดคิดราคาอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่แพงขึ้น หากใช้ชิปคู่แข่งในการประมวลผล
เรื่องนี้ต้องย้อนไป ตั้งแต่ปี 2021 ที่หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร หรือ CMA ประกาศว่ากำลังสอบสวนแอปเปิล จากข้อร้องเรียนว่ามีการกำหนดเงื่อนไขสำหรับนักพัฒนาแอป iOS และ iPadOS ลง App Store ที่ไม่เป็นธรรม และมีการสอบสวนเพิ่มเติมกับกูเกิลใน Play Store ด้วยประเด็นเดียวกันในปี 2022 ซึ่งล่าสุด CMA ประกาศยุติการสอบสวนแล้ว
CMA บอกไม่ได้ให้ข้อสรุปว่าที่ผ่านมาแอปเปิลและกูเกิลมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะระบบการจ่ายเงินในสโตร์ แต่บอกว่าเนื่องจากทั้งสองบริษัทได้ปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ ให้สามารถจ่ายเงินผ่านระบบภายนอกได้แล้ว จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการแข่งขัน ทำให้ประเด็นที่กำลังสอบสวนไม่มีผลอีกต่อไป
หลัง Google ถูกศาลตัดสินกรณีผูกขาด Search ล่าสุดแหล่งข่าวของ Bloomberg จากภายในกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (DoJ) เผยว่า ทางกระทรวงกำลังพิจารณามาตรการในการจัดการการผูกขาดดังกล่าว
มาตรการที่กำลังพิจารณา ไล่ไปตั้งแต่เบาที่สุด อาจจะเป็น Google ต้องแบ่งปันข้อมูลกับคู่แข่ง และมีมาตรการป้องกันไม่ให้ Google สร้างความได้เปรียบอย่างไม่เป็นธรรม (unfair advantage) ในผลิตภัณฑ์ AI, สั่งแบนการทำสัญญาเอ็กคลูซีฟ, สั่งขาย Adwords (Google Ads), ไปจนถึงหนักสุดคือสั่งแยก Chrome และ/หรือ Android ให้ออกมาเป็นอีกบริษัท
หลังคำตัดสิน แม้ Google จะยื่นอุทธรณ์ แต่ผู้พิพากษา Amit Mehta ได้สั่งให้ทั้ง Google และ DoJ เตรียมการเรื่องการฟื้นฟูการแข่งขันแล้ว
Patreon แพลตฟอร์มระดมทุนสำหรับงานศิลปะ ประกาศการเปลี่ยนแปลงบริการสำหรับแอป iOS หลังจากแอปเปิลบังคับให้ Patreon ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสินค้าดิจิทัล 30% บน App Store ผ่านระบบ In-App ทำให้ราคา Subscription ปรับเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมา Patreon มีระบบเก็บเงินรายเดือน ซึ่งมีเงื่อนไขการจ่ายหลายรูปแบบ และระบบ In-App ของ App Store ไม่รองรับ เช่น ระบุเงินสูงสุดที่จะจ่ายต่อเดือน, กำหนดวันตัดรอบบิลเป็นวันที่ 1 แม้จะเริ่มสมัครวันอื่น ทำให้ Patreon เป็นแพลตฟอร์มที่มีทางเลือกไม่ต้องจ่ายผ่าน App Store และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม 30% กับแอปเปิล ซึ่งจากประกาศของ Patreon นี้ระบุว่าแอปเปิลสั่งให้แพลตฟอร์ม ต้องใช้ธุรกรรมผ่าน In-App เท่านั้น มิฉะนั้นแอปอาจถูกถอดออกจากสโตร์ไปเลย
กลุ่ม Global Alliance for Responsible Media (GARM) ยุติการดำเนินงาน หลังโดน Twitter ฟ้อง ฐานละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการกีดกันทางการค้า เพราะต้องทุ่มทุนที่มีจำกัดไปกับการสู้คดี
GARM ก่อตั้งในปี 2019 โดย World Federation of Advertisers (WFA) เพื่อหยุดการลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ซึ่ง X มองว่าเป็นการจงใจบอยคอตตน
สมาชิกของ GARM ยังประกอบด้วยบริษัทเช่น CVS Health, Mars, Orsted, และ Unilever
อ้างอิง: The Verge
Linda Yaccarino ซีอีโอ X/Twitter ประกาศฟ้องกลุ่ม Global Alliance for Responsible Media (GARM), World Federation of Advertisers (WFA), และบริษัทสมาชิกของ GARM เช่น CVS Health, Mars, Orsted, และ Uniliver ฐานละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดและการกีดกัน. ทางการค้า
Yaccarino ระบุว่า X/Twitter มีปริมาณผู้ใช้เติบโตต่อเนื่อง และพยายามสร้างเครื่องมือเพื่อควบคุมการแสดงโฆษณาตามที่กลุ่มผู้ลงโฆษณาร้องขอ แต่ก็ยังถูกบอยคอดจากแบรนด์ต่างๆ จนเสียรายได้นับพันล้านดอลลาร์