NASA เปิดเผยว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ที่ปัจจุบันโคจรรอบจุด L2 และ อยู่ระหว่างเตรียมอุปกรณ์ตรวจวัด ถูกชนโดยอุกกาบาตขนาดเล็ก (micrometeoroid) ในช่วงวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา
จุดที่โดนชนคือกระจกหลักของกล้อง แต่หลังตรวจสอบเบื้องต้นแล้วพบว่ากล้องยังทำงานได้ตามปกติ ซึ่ง NASA จะตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป และ NASA ยอมรับว่าการชนรอบที่ผ่านมาก็ใหญ่กว่าที่เคยจำลองโมเดลกันไว้
NASA บอกว่ากล้อง JWST ถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อการชนกับอุกกาบาตขนาดเล็กมาตั้งแต่แรกแล้ว ตลอดอายุการใช้งานของ JWST ย่อมต้องเจอกับอุกกาบาตขนาดเล็กตลอดเวลา ตอนที่ออกแบบสร้างกล้อง วิศวกรของ NASA จึงทดสอบการชนทั้งผ่านซิมูเลเตอร์และการชนจริงๆ ก่อนยิงขึ้นอวกาศ รวมถึงการออกแบบให้กระจกสามารถปรับมุมได้ตลอดเวลา ช่วยให้ปรับแก้องศาได้หากโดนชน
กล้อง JWST จะปฏิบัติงานตามกำหนดเดิม และจะเผยแพร่ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการภาพแรก (ที่ไม่ใช่การทดสอบกระจก) ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2022
ที่มา - NASA
Comments
ใจหายเลยครับ
I need healing.
น่าว่าชนแล้วคือจบเลย แข็งแกร่งระดับหนึ่งสินะ
ไม่อยากนึกสภาพถ้าโดนแผ่นกันความร้อนแทนกระจกมีหวังจบเกมส์แน่ๆ
โปรเจคอวกาศแทบทุกโครงการนี่ท้าทายแบบสุดๆไปเลย ขอให้อย่าโดนลูกที่ใหญ่มากๆเลย
ว่าแต่ปู่ Hubble จัดการกับเรื่องนี้ยังไงนะ
..: เรื่อยไป
Hubble เป็นทรงกระบอก เหมือนเลนส์กล้องปกติ น่าจะกันได้ดีกว่าแบบที่เป็นระบบเปิดแบบ James Webb
ปู่มีฝาปิดกระจกครับไม่ต้องห่วง
thxs krub
..: เรื่อยไป
ใช้ศัพท์ผิดไปหน่อยน่ะครับ
อุกกาบาต (meteorite) ใช้กับพวกที่ตกลงมาถึงพื้นโลกแล้ว
พวกที่อยู่ในอวกาศหลักๆมีสองชื่อ
ดาวเคราะห์น้อย (asteroid) ใช้กับพวกชิ้นใหญ่ๆ-มีวงโคจรที่ค่อนข้างชัดเจน
สะเก็ดดาว (meteoroid) ใช้กับพวกชิ้นจิ๋วๆเล็กๆในอวกาศ
และพวกดาวตก-ผีพุ่งใต้ (meteor) คือพวกที่กำลังตกมา
ที่ต้องแยกคำตั้งหลายแบบเพราะสมัยก่อนคนยังไม่รู้ว่าแต่ละอย่างจริงๆมันมาจากสิ่งเดียวกัน
ดังนั้น micrometeoroid ควรแปลว่าสะเก็ดดาวขนาดเล็กมากกว่า
แต่เรื่องโดน micrometeoroid ชน ก็หวังว่าจะไม่น่ากังวลอย่างที่ NASA บอกแหละ เพราะจริงๆยานอวกาศก็โดนกันเรื่อยๆอยู่แล้ว ระบบสุริยะเรามีพวกนี้กระจัดกระจายเต็มไปหมด
อยากรู้ว่าเม็ดที่โดนนั่นใหญ่ขนาดไหนและความเร็วเท่าไหร่ อวกาศที่ว่าแทบจะว่างเปล่าก็เจอแจ็กพ็อตได้ง่ายกว่าที่คิดนะครับเนี่ย
เห็นบอกว่าช่วงนั้นมันเป็นช่วงที่แรงโน้มถ่วงดึงให้โคจรอย่างเสถียรได้ มันน่าจะดึงอย่างอื่นมาได้ด้วยไหมนะครับ 😅
NASA ไม่ได้บอกชัดๆน่ะครับว่าใหญ่เท่าไหร่แต่ยังใช้คำนี้อยู่ ก็คงขนาดไม่เกินเม็ดทราย ... เม็ดทรายที่เร็วหลายกิโลเมตรต่อวินาทีอ่ะนะ...
ในอวกาศมีพวกนี้เยอะแยะไปหมดครับภารกิจในอวกาศส่วนใหญ่ ถ้าอยู่นานๆหลายเดือน-หลายปี ยังไงก็มีโดนครับ
ยังไม่ทันใช้งานเลย 😮ก็หวังว่าไม่มีผลต่อภาพ
ของราคาพันล้านแพ้ภับทรายเม็ดเดียว
อยากให้มีระบบเปิด barrier ป้องกันได้แบบในหนังสงครามอวกาศ