Tags:
Node Thumbnail

Dina Katabi ศาสตราจารย์คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเชตส์ (MIT) และคณะ ได้พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถตรวจพบโรคพาร์กินสันได้ โดยอาศัยการหายใจช่วงกลางคืนหรือตอนนอน

ตัวอุปกรณ์ที่ใช้จะมีลักษณะคล้ายเราท์เตอร์ Wi-Fi ปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเมื่อคนไข้นอนหลับในเวลากลางคืน คลื่นวิทยุจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ รวมถึงร่างกายของคนไข้ และจับแพทเทิร์นการหายใจของคนไข้ ก่อนนำไปวิเคราะห์หาสิ่งบ่งชี้ ความร้ายแรงหรือติดตามอาการของโรคพาร์กินสันด้วยปัญญาประดิษฐ์

ข้อดีของวิธีนี้ คือ คนไข้และผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องทำอะไรในการตรวจโรคและเป็นผลดีกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแล ผู้ป่วยชนบท และผู้ที่มีปัญหาในการออกจากบ้าน แตกต่างจากวิธีเดิมๆ ที่ผู้ป่วยต้องไปโรงพยาบาลเพื่อสแกนสมองและเจาะน้ำไขกระดูกสันหลัง รวมทั้งการวิจัยนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนายาและการดูแลทางคลินิกต่อคนไข้พาร์กินสันด้วย เพราะโดยปกติแล้วโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่วินิจฉัยยากและสามารถวินิจฉัยได้เมื่อแสดงอาการรุนแรงแล้วเท่านั้นซึ่งจะแสดงอาการหลังจากเริ่มเป็นโรคมาหลายปี

การวิจัยของ MIT ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนด้านการเงินจากหลายฝ่าย เช่น วิทยาลัยโรเชสเตอร์ โรงพยาบาลหลายแห่ง และรวมถึงสถาบันสุขภาพของสหรัฐด้วย

การวิจัยได้รับการตีพิมพ์เมื่อวานนี้ สามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ Nature Medicine

ที่มา: MIT News

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: mementototem
Contributor Jusci's Writer Android Windows
on 23 August 2022 - 20:20 #1259131
mementototem's picture

โห แค่เอาเครื่องมาตั้งตอนนอน ไม่ต้องติดตัวเสียด้วยซ้ำ สะดวกมาก


Jusci - Google Plus - Twitter

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 23 August 2022 - 21:58 #1259139

โหดมาก ใช้แค่คลื่นวิทยุก็สามารถรับรู้การหายใจได้ แสดงว่าด้วยหลักการเดียวกัน ก็ทำให้สามารถรับรู้อย่างอื่นได้อีก ต่อยอดได้อีกเพียบเลย


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: carrot on 23 August 2022 - 23:59 #1259149 Reply to:1259139

มันก็มีมานานแล้ว ที่ใช้ในคอนซูมเมอร์ง่ายๆอย่างเช่น mesh router ของ Linksys Velop ใช้คลื่นวิทยุตรวจจับความเคลื่อนไหวในบ้าน ทำเป็นกันขโมยได้

อุปกรณ์คล้ายๆกัน เพิ่มจำนวนเสา บีมวงแคบหน่อย ใช้หลายความถี่ ก็จะได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น ที่เค้าอยากได้ก็แค่จังหวะการหายใจแค่นั้น ซึ่งไม่ยาก

คีย์ของงานวิจัยนี้จึงอยู่ที่การหาข้อมูลจำนวนมาก แล้วเอาไปให้ ai เทรน เพื่อวิเคราะห์หา pattern มากกว่า หลักการก็คล้ายการเทรน ai ดูฟิล์มน่ะแหละ

เพราะมันต้องใช้ตัวอย่างข้อมูลเยอะมาก จะวัดแบบเดิมไม่ทันกิน เอาเครื่องไปติดง่ายกว่า เจ้าตัวไม่ต้องทำอะไร เก็บข้อมูลง่ายกว่าเยอะ

By: -Rookies-
Contributor Android WindowsIn Love
on 26 August 2022 - 23:59 #1259543 Reply to:1259149

โห เพิ่งรู้ว่ามีงี้ด้วย ขอบคุณครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: carrot on 23 August 2022 - 23:58 #1259148

.

By: lingjaidee
Contributor iPhone Android
on 24 August 2022 - 10:28 #1259177
lingjaidee's picture

คลื่นวิทยุน่ากลัวขึ้นเยอะ 😑


my blog