Massachusetts Institute of Technology
หน่วยงาน Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) ของ MIT เผยแพร่งานวิจัยด้านหุ่นยนต์เรียกชื่อว่า RoboGroceryซึ่งมีความสามารถในการแยกแยะ จับสิ่งของ และจัดเรียงลงในกล่องอย่างเหมาะสม
เทคโนโลยีที่ใช้มีทั้งส่วนการมองเห็นเพื่อแยกแยะวัตถุ ระบบแขนกลจับแบบอ่อนที่ส่งข้อมูลกลับ เพื่อประเมินว่าเป็นวัตถุที่บอบบางหรือไม่ (ในการทดสอบนี้ใช้พวงองุ่น) และอัลกอริทึมจัดเรียง เช่น ถ้าเป็นพวงองุ่น ให้แยกรอไว้ก่อน เพื่อวางของมีน้ำหนัก เช่น ซุปกระป๋อง ลงกล่องด้านล่างก่อน
การทดสอบนั้นยังเป็นระบบปิด สินค้าจะไหลมาตามสายพาน จากนั้นหุ่นยนต์หยิบวัตถุและแยกแยะเพื่อจัดเรียงลงกล่องอย่างเหมาะสม
Lauren Ren Ramlan นักวิจัย และนักศึกษาปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีชีวภาพของ MIT พัฒนาจอแสดงผล 1-bit ความละเอียด 32x48 พิกเซล โดยใช้เซลล์ E.coli ทำหน้าที่แทนเม็ดพิกเซล และควบคุมให้เซลล์เรืองแสงตามต้องการ ด้วยโปรตีนเรืองแสง ก่อนจะนำเกม Doom ไปแสดงผลยนกำแพงเซลล์
อย่างไรก็ตามการเล่น Doom เวอร์ชันนี้แบบจริงจังนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเซลล์ E.coli นั้นมีขีดจำกัด เนื่องจากเซลล์ต่าง ๆ จะใช้เวลา 70 นาทีในการส่องสว่าง และ 8 ชั่วโมง 20 นาที เพื่อให้เซลล์กลับสู่สถานะเริ่มต้น เท่ากับว่าเกม Doom เวอร์ชันนี้แสดงผล 1 เฟรมต่อ 8 ชั่วโมงโดยประมาณ
ทีมวิจัยของ MIT ประกาศความสำเร็จในการออกแบบยาต้านแบคทีเรีย methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) ในจานเพาะเชื้อได้สำเร็จโดยอาศัยการออกแบบและทำนายประสิทธิภาพจากโมเดลปัญญาประดิษฐ์
โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เป็น deep learning ฝึกจากฐานข้อมูลสาร 39,000 แบบพร้อมโครงสร้างทางเคมีเพื่อสร้างโมเดลนำนายว่าสารใดควรมีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค นอกจากนี้ทีมงานยังสร้างโมเดลอีก 3 ชุดเพื่อทำนายว่าสารใดเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หลังจากนั้นรันโมเดลกับสารประกอบ 12 ล้านแบบเพื่อหาว่าสารใดน่าจะเป็นยาได้
ผลการทำนายพบว่ามีสาร 5 กลุ่มที่น่าจะใช้งานได้ ทีมวิจัยจึงซื้อสารมาทดลองทั้งหมด 280 แบบ ทดลองในจานเพาะเชื้อ พบว่ามีสองแบบที่น่าจะใช้เป็นยาได้จริงๆ
MIT ประกาศความสำเร็จในการทดลองโครงการ TeraByte InfraRed Delivery (TBIRD) เชื่อมต่อระหว่างสถานีภาคพื้นดินกับดาวเทียมขนาดเล็กบนวงโคจรระดับต่ำที่แบนวิดท์ระดับ 100Gbps
TBIRD เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสาธิตเทคโนโลยี Pathfinder Technology Demonstrator (PTD) และ TBIRD ก็ติดตั้งไปกับดาวเทียม PTD-3 ในทางทฤษฎี TBIRD สามารถส่งข้อมูลได้แบนวิดท์สูงสุดถึง 200Gbps สูงกว่าการใช้คลื่นวิทยุนับสิบนับร้อยเท่า ทีมงานมีแผนจะทดสอบแบนวิดท์สูงสุดต่อไปหลังจากทดสอบที่ 100Gbps สำเร็จไปแล้วในครั้งนี้
ทีมวิจัยจาก MIT สร้างอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของคนในห้องด้วยสัญญาณวิทยุเพื่อติดตามอาการของโรคพาร์กินสัน โดยตรวจจับทั้งความเคลื่อนไหวและความเร็วในการเดิน
ระบบอาศัยการยิงคลื่นวิทยุพลังงานต่ำจากอุปกรณ์รูปร่างคล้าย access point ในบ้าน แล้ววัดการสะท้อนคลื่นจากตัวคนที่อยู่ในบ้านจากนั้นนำข้อมูลผ่านระบบ machine learning เพื่อแปลค่าเป็นความเคลื่อนไหว ทีมวิจัยติดตั้งเครื่องในกลุ่มทดลองจำนวน 50 คนเป็นเวลา 1 ปี สามารถเก็บข้อมูลรวม 200,000 รายการ ใช้ติดตามอาการโรคพาร์กินสันว่าหนักขึ้นหรือไม่
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่อาการค่อยๆ ทรุดลงนั้นเดินช้าลงเรื่อยๆ ในอัตราสองเท่าตัวของผู้ที่ไม่ได้ป่วย
ทีมนักวิจัยจาก MIT พัฒนากล้องถ่ายภาพใต้น้ำเพื่องานสำรวจและเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดเด่นตรงที่กล้องสามารถส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ได้แบบไร้สายและอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่มันสร้างขึ้นเองโดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ในการจ่ายพลังงานให้กับเซ็นเซอร์และชิ้นส่วนกลไกต่างๆ
ภาพถ่ายที่ได้จากกล้องเป็นภาพสีขนาด 324*244 พิกเซล ตัวกล้องมีแหล่งกำเนิดแสงในตัวทำให้สามารถใช้งานถ่ายภาพใต้น้ำในจุดที่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงได้ เช่น การถ่ายภาพในแหล่งน้ำที่มีความขุ่นมาก โดยใช้การส่งสัญญาณมายังเครื่องรับด้วยคลื่นเสียง
Dina Katabi ศาสตราจารย์คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเชตส์ (MIT) และคณะ ได้พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถตรวจพบโรคพาร์กินสันได้ โดยอาศัยการหายใจช่วงกลางคืนหรือตอนนอน
ตัวอุปกรณ์ที่ใช้จะมีลักษณะคล้ายเราท์เตอร์ Wi-Fi ปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเมื่อคนไข้นอนหลับในเวลากลางคืน คลื่นวิทยุจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ รวมถึงร่างกายของคนไข้ และจับแพทเทิร์นการหายใจของคนไข้ ก่อนนำไปวิเคราะห์หาสิ่งบ่งชี้ ความร้ายแรงหรือติดตามอาการของโรคพาร์กินสันด้วยปัญญาประดิษฐ์
นักวิจัย MIT พัฒนาชุดทดสอบภูมิคุ้มกัน COVID-19 สำหรับให้คนใช้งานทดสอบด้วยตนเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน
ชุดทดสอบนี้เป็นชุดทดสอบแบบ lateral flow test หรืออธิบายอย่างง่ายก็คือมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับชุดทดสอบการติดเชื้อ COVID-19 ที่จะต้องหยดของเหลวที่ผสมกับส่วนผสมทางเคมีลงบนแผ่นทดสอบแล้วรอให้สารละลายซึมไปตามแผ่นทดสอบก่อนจะตรวจดูว่ามีแถบสีปรากฎขึ้นหรือไม่ สิ่งที่แตกต่างกันมีแค่เพียงของเหลวที่ใช้ในการทดสอบภูมิคุ้มกันนี้จะใช้หยดเลือดในการทดสอบ
นักวิจัยจาก MIT ได้พัฒนาแผ่นสติ๊กเกอร์แปะผิวหนังเพื่อใช้สำหรับบันทึกภาพอัลตร้าซาวด์ของอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ได้ต่อเนื่องนาน 48 ชั่วโมง
แผ่นสติ๊กเกอร์ดังกล่าวถูกเรียกว่า BAUS (bioadhesive ultrasound)เป็นแผงรับภาพอัลตร้าซาวด์ขนาดเล็กใกล้เคียงกับสแตมป์ (ขนาด 2*3 เซนติเมตร) ในการใช้งานก็เพียงแค่แปะแผ่น BAUS ลงบนผิวหนังในตำแหน่งที่ต้องการบันทึกภาพอัลตร้าซาวด์ของอวัยวะที่อยู่ภายใน และทำการเชื่อมต่อแผ่น BAUS เข้ากับอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อการบันทึกและวิเคราะห์ผล
KBTG กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย วางเป็าหมายสู่ The Best Tech Organization แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี 2025 ซึ่งการจะไปถึงจุดนั้นได้ หนึ่งในตัวแปรสำคัญคือทีมงานที่มีคุณภาพ
จุดนี้เองในเดือน มี.ค. 2022 KBTG จึงเข้าร่วม MIT Media Lab Research Consortium เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยด้านบริการทางการเงินยุคอนาคต และเตรียมให้พนักงาน KBTG เข้าไปมีส่วนร่วมกับงานวิจัยดังกล่าว
มากกว่านั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงจังในการสร้างทีมงาน และองค์กรอันดับ 1 ของอาเซียน KBTG มีการให้ทุนแบบ Fellowship กับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ MIT Media Lab ถือเป็นการสนับสนุนการศึกษาอีกระดับ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MIT โชว์นวัตกรรมลำโพงที่มีความบางเหมือนกระดาษ แต่สามารถปล่อยเสียงได้ดังไม่แตกต่างจากลำโพงทั่วไป
ตัวลำโพงกระดาษนี้ทำจากวัสดุที่เรียกว่า Piezoelectric พื้นผิวมีลักษณะเหมือนโดมขนาดเล็กๆ ทำหน้าที่คอยสั่นเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้า และสั่นไหวอากาศที่อยู่ด้านบนโดมลักษณะเดียวกับการปล่อยเสียงของลำโพง
ตัวแผ่น Piezoelectric มีความหนาเพียง 8 ไมครอน และมีแผ่นฟิล์มพลาสติก PET ประกบหน้าหลัง โดยฟิล์มด้านหน้าจะมีรูเล็กๆ ให้โดมที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงสั่นไหวได้อิสระ ส่วนฟิล์มด้านหลังมีหน้าที่เป็นพื้นผิวป้องกันแผ่น Piezoelectric กับพื้นผิวอื้นๆ เช่นกำแพง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประจำบอสตัน (The Federal Reserve Bank of Boston) ร่วมกับศูนย์เงินดิจิทัลของ MIT เปิดรายงานการวิจัยเงินดิจิทัลธนาคารกลาง โดยนำเสนอสถาปัตยกรรมเงินดิจิทัลที่เป็นไปได้ 2 รูปแบบ พร้อมปล่อยซอร์สโค้ดเป็นโครงการ OpenCBDC ให้ทดสอบได้
OpenCBDC ทดสอบรูปแบบของเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางที่เป็นระบบรวมศูนย์ ธนาคารกลางเป็นผู้ดูแลระบบทั้งหมด แต่ระบบต้องกระจายตัว (distributed) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ล่ม สามารถรันระบบกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ และหากมีศูนย์ข้อมูลใดล่มไปก็กู้กลับมาได้ภายในเวลาต่ำกว่า 10 วินาที
สถาปัตยกรรมที่ OpenCBDC นำเสนอมี 2 แบบ ได้แก่
edX แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์แบบไม่แสวงผลกำไร ที่ก่อตั้งโดย MIT และมหาวิทยาลัย Harvard ประกาศขายกิจการให้กับ 2U แพลตฟอร์มบริการจัดการคอร์สเรียนออนไลน์ มูลค่าดีล 800 ล้านดอลลาร์ โดยเงินจากการขายนี้จะนำไปจ่ายคืนเงินกู้ยืมที่ได้จาก MIT และ Harvard ส่วนที่เหลือจะเข้าไปยังหน่วยงานไม่แสวงหากำไรของทั้งสองมหาวิทยาลัย
ในข้อตกลงของการขายนี้ 2U ให้คำรับรองว่าคอร์สเรียนทั้งหมดบน edX จะยังเข้าถึงได้ฟรีอย่างน้อย 5 ปี รวมทั้งคุ้มครองสิทธิในเนื้อหาของผู้ผลิต ส่วนแพลตฟอร์ม Open edX ที่เป็นโอเพนซอร์สให้มหาวิทยาลัยทั่วโลกนำไปใช้พัฒนาระบบเรียนออนไลน์นั้น ไม่อยู่ในการซื้อขายของดีลนี้
ทีมวิจัยจาก MIT นำเสนอโมเดลปัญญาประดิษฐ์คัดกรองโรคโควิดด้วยเสียงไอ สามารถสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่แยกแยะผู้ติดเชื้อโควิดได้ที่อัตราสูง ระดับอัตราตรวจพบผู้ติดเชื้อ (sensitivity) ที่ 98.5% และอัตราการตรวจพบอย่างเจาะจง (specificity - ค่านี้ต่ำลงหากระบุว่าผู้ไม่ติดเชื้อเป็นผู้ติดเชื้อ) 94.2% รวมคิดเป็น AUC ที่ 0.97 หากนับเฉพาะผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการ ระดับการตรวจพบผู้ติดเชื้อจะกลายเป็น 100% แต่อัตราการตรวจพบอย่างเจาะจงเหลือ 83.2%
ทีมวิจัยเปิดเว็บให้อาสาสมัครไอลงโทรศัพท์แล้วกรอกแบบสอบถามเกี่ยวกับการติดเชื้อโควิดด้วยตัวเอง ข้อมูลขั้นต้นจึงอาจจะยังไม่น่าเชื่อถือ ชุดข้อมูลทั้งหมดก็มีจำนวน 5,320 ตัวอย่าง ใช้ฝึก 4,256 ตัวอย่างและใช้ทดสอบอีก 1,064 ตัวอย่าง
MIT ถอนชุดข้อมูล Tiny Images ออกจากเว็บหลังจาก มีรายงาน ว่าภาพหลายพันภาพถูกบรรยายด้วยคำหยาบและดูถูก เช่น โสเภณี, พวกล่อลวงเด็ก (child molester), ไอ้มืด (nigger) รวมถึงมีภาพไม่เหมาะสม จนทำให้ให้วิจัย Computer Science and Artificial Intelligence Lab (CSAIL) ตัดสินใจถอดชุดข้อมูลออกจากเว็บ และขอให้นักวิจัยกลุ่มอื่นเลิกใช้ชุดข้อมูลนี้และลบออกจากเว็บเช่นกัน
Tiny Images เป็นชุดข้อมูลภาพ 80 ล้านภาพที่มีขนาดเพียง 32x32 พิกเซล โดยเป็นภาพที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตแล้วย่อลงมา โดยชุดข้อมูลสร้างจากการใช้คำค้นใน WordNet นำคำในรายการไปค้นจาก search engine หาภาพแล้วนำมาจับคู่กับคำค้น
สหรัฐอเมริกากำลังประสบปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 อย่างหนัก ซึ่งนอกจากการป้องกันการแพร่ระบาดจากคนสู่คนโดยตรงแล้ว การฆ่าเชื้อที่ตกค้างอยู่บนพื้นผิววัตถุก็สำคัญเช่นกัน
ล่าสุดห้องแล็บวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory) หรือ CSAIL ของมหาวิทยาลัย MIT ได้สร้างหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ พร้อมกับฆ่าเชื้อโรครวมไปถึงเชื้อ SARS-CoV-2 ที่เป็นไวรัสต้นกำเนิดของโรค COVID-19 ด้วยรังสี UV ไปพร้อมกัน
ทีมวิจัยจาก MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) และ Qatar Computing Research Institute (QCRI) รายงานความสำเร็จในการสร้างปัญญาประดิษฐ์สร้างข้อมูลแผนที่จากดาวเทียม โดยสามารถอ่านข้อมูลได้แม่นยำแม้ภาพถ่ายดาวเทียมจะมีสิ่งก่อสร้างหรือต้นไม้บังถนนอยู่ก็ตาม
ปัญญาประดิษฐ์ RoadTagger รวมเอาเครือข่ายนิวรอนสองชุด ชุดหนึ่งเป็น Graph Neural Network (GNN) สำหรับการคาดเดาข้อมูลถนนจากเส้นทางที่เชื่อมโยงกัน ส่วน Convolutional Neural Network (CNN) นั้นเป็นตัวอ่านภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อดึงข้อมูลถนนออกมา
ผลวิจัยแสดงความสามารถของ RoadTagger ที่ทนทานต่อสภาพถนนแบบต่างๆ เช่น เส้นแบ่งเลนหายไป, จำนวนเลนบนถนนเปลี่ยน, ภาพเลนถนนถูกบังโดยต้นไม้หรืออาคาร
รถอัตโนมัติหรือรถไร้คนขับมีความพร้อมออกสู่ถนนแล้วในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีคามท้าทายอีกมาก เช่นพฤติกรรมคนขับรถแบบเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะในเวลาเร่งด่วน รถติด
Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) ภายใต้หน่วยงาน MIT กำลังวิจัยใหม่ พยายามสอน AI ในรถอัตโนมัติให้สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการขับรถที่เห็นแก่ตัวได้
ซึ่งการจะเรียนรู้ได้ต้องอาศัยการตระหนักและการเรียนรูัทางสังคมซึ่งยากสำหรับ AI นักวิจัยจึงใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาสังคมเข้ามาช่วยในการวิจัยด้วย เพื่อช่วยให้ระบบเรียนรู้และแยกความแตกต่างระหว่างการขับรถเห็นแก่ตัว กับแบบมีความเสียสละในการใช้รถใช้ถนนได้
หนึ่งในวัสดุสำคัญสำหรับงานก่อสร้างในยุคปัจจุบันคือปูนซีเมนต์ที่ใช้สำหรับผสมเป็นคอนกรีต ด้วยคุณสมบัติที่แข็งแรง, ทนทาน และความยืดหยุ่นที่รองรับงานออกแบบการขึ้นรูปโครงสร้างหลากหลายรูปทรง ทำให้ปูนซีเมนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับงานก่อสร้างทั่วทุกมุมโลก ทว่ากระบวนการผลิตให้ได้มาซึ่งปูนซีเมนต์นั้นจำเป็นต้องอาศัยการให้ความร้อนเพื่อเผาปูน และกระบวนการดังกล่าวเป็นที่มาของก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 8% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
นักวิจัยจาก MIT ได้คิดค้นหาวิธีกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์แบบใหม่ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้โดยการใช้พลังงานไฟฟ้ามา สร้างกระบวนการทางเคมีเพื่อผลิตปูนซีเมนต์แทนการให้พลังงานความร้อนเพื่อเผาปูนตามปกติ
Richard Stallman นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการซอฟต์แวร์เสรีประกาศลาออกจากมหาวิทยาลัย MIT และ Free Software Foundation หลังจากส่งอีเมลเข้าเมลกลางของห้องวิจัย CSAIL (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory)
อีเมลของ Stallman ปกป้อง Marvin Minsky หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกระบุว่ามีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ผ่านการจัดหาของ Jeffrey Epstein นักการเงินที่ถูกดำเนินคดีฐานล่วงละเมิดเด็ก โดย Stallman ระบุต่อให้ Marvin มีเพศสัมพันธ์จริงก็เป็นไปโดยความสมัครใจของเด็กเอง และไม่มีการใช้กำลัง
สองปีก่อนกูเกิลเคยเสนองาน วิจัย AutoML ที่สามารถ "ออกแบบ" โมเดล deep learning สำหรับงานเฉพาะทางได้โดยไม่ต้องอาศัยนักวิจัยมานั่งปรับโมเดล แต่ระบบเหล่านี้มักใช้พลังประมวลผลสูงมาก จนคนทั่วไปไม่สามารถลงทุนได้ ล่าสุดทีมวิจัยจาก MIT เสนอแนวทางใหม่ที่สร้างระบบออกแบบโมเดลโดยใช้พลังประมวลผลระดับเดียวกับการฝึกโมเดล deep learning ไม่ได้ต่างกันเป็นร้อยเท่าพันเท่าเหมือนแต่ก่อน
ระบบ neural architecture search (NAS) ที่ใช้ระบบอัตโนมัติออกแบบสถาปัตยกรรม deep learning แต่ระบบนี้อาศัยการปรับปรุงโมเดลไปเรื่อยๆ และฝึกโมเดลใหม่ทุกครั้ง ทำให้กินระยะเวลาประมวลผลสูงมาก
MIT เปิดตัวหุ่นยนต์เล่นเกม Jenga ซึ่งประกอบด้วยแขนกลสำหรับจับแท่งไม้, ส่วนสำหรับดันแท่งไม้ และกล้องภายนอกเพื่อประเมินสถานการณ์ของตัวต่อทั้งหมดที่วางอยู่
อธิบายแบบรวดเร็วสำหรับคนที่ไม่รู้จักเกม Jenga หรืออาจเคยเล่นแต่ไม่รู้ว่าเรียก Jenga มันคือเกมที่มีชิ้นท่อนไม้ 54 ชิ้น ต่อเรียงกันเป็นตึก ผู้เล่นผลัดกันดึงแท่งไม้ออกหนึ่งชิ้น แล้วไปวางไว้ด้านบนสุด โดยไม่ทำให้ตึกถล่มลงมา ใครทำถล่มคนนั้นแพ้
ขั้นตอนการทำงานของหุ่นยนต์นี้ จะประเมินว่าแท่งไม้ไหนที่ควรดึงออกมา โดยใช้แขนดันออกมาก่อน แล้วใช้แขนหนีบดึงชิ้นไม้ออกมา และสุดท้ายหามุมวางที่เหมาะสมไม่ให้ตึกถล่ม หุ่นยนต์มีการเรียนรู้ โดยหากไม้ชิ้นใดที่ดันแล้วรู้สึกว่าฝืดเกินไป ก็จะเลี่ยงไม่ดันชิ้นนั้น
ภาษา Scratch เป็นภาษาเขียนโปรแกรมแบบ drag-and-drop ที่ได้รับความนิยมมาระยะหนึ่งแล้ว หลังปีใหม่ปีนี้ทางโครงการก็เปิดตัวเวอร์ชั่น 3.0 ที่แก้ไขหลายอย่าง ที่สำคัญคือมีความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ทั้ง Google ที่ให้บริการแปลภาษาและ AWS ที่ให้บริการแปลงข้อความเป็นเสียงเชื่อมบริการเข้ามา และสามารถเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ได้ รองรับ micro:bit และ LEGO Mindstorms EV3
ตัวเว็บสามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องล็อกอินใดๆ และมีบทเรียนให้ฝึกเขียนโปรแกรมอีกนับสิบรายการ
ตัวภาษารองรับการประมวลผลข้อความดีกว่าเดิม, เพิ่มบล็อคเกี่ยวกับเสียง, และตัวบล็อคใหญ่ขึ้นเพื่อให้ใช้งานบนจอสัมผัสได้โดยง่าย
โดรนสามารถช่วยชีวิตคนได้ เช่น ปล่อยทุ่นลอยน้ำให้คนที่กำลังจมน้ำ แต่ถ้าในสภาพแวดล้อมที่เป็นป่านั้นยังคงเป็นอุปสรรคต่อสัญญาณ GPS ล่าสุดนักวิจัย MIT สร้างโดรนสำรวจได้โดยไม่ต้องใช้ GPS แต่ใช้ LIDAR (light detection and ranging) หรือเซนเซอร์ที่ใช้ในรถไร้คนขับแทน
นักวิจัย MIT ใช้ LIDAR ในการสร้างแผนที่ของป่าแบบ 2D รวมทั้งการวางแนวต้นไม้ ช่วยให้ผู้ควบคุมเห็นว่าโดรนของตัวเองอยู่ในตำแหน่งใดของป่าโดยไม่ต้องใช้ GPS นอกจากนี้จะช่วยให้สามารถสำรวจพื้นี่ป่าที่ยังไม่เคยได้รับการสำรวจได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาหรือทำภารกิจกู้ภัยที่ทุกนาทีมีค่า
อย่างไรก็ตามยังต้องอาศัยสถานีภาคพื้นดินในการกำหนดและสร้างแผนที่ในป่า และยังต้องมีระบบจดจำวัตถุเพื่อระบุตัวคนในภารกิจกู้ภัย
MIT ประกาศเตรียมลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 32,000 ล้านบาท ก่อตั้ง MIT Stephen A. Schwarzman College of Computing โดยมีทุนประเดิมจาก Stephen A. Schwarzman ซีอีโอของบริษัทลงทุน Blackstone Group จำนวน 350 ล้านดอลลาร์
วิทยาลัยใหม่นี้ จะมีตำแหน่งงานรวม 50 ตำแหน่งทั้งที่ประจำอยู่ในวิทยาลัยเองและร่วมกับสาขาวิชาอื่นทั่ว MIT อย่างละครึ่ง โดยวิทยาลัยนี้จะเป็นจุดรวมสำหรับการให้การศึกษา, วิจัย, และสร้างนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
ตัววิทยาลัยจะเปิดทำการปี 2019 ส่วนอาคารสำหรับวิทยาลัยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2022