หนึ่งในมุกที่เรามักจะนึกถึงเวลาเห็นภาพยนตร์เกี่ยวกับหายนะที่จะมีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงมาที่โลกคือการส่งอะไรสักอย่างพุ่งเข้าชนมันเพื่อให้มันเบี่ยงวิถีการเคลื่อนที่ไม่พุ่งตรงมาชนโลก ซึ่งที่ว่ามานี้คือไอเดียของโครงการ Double Asteroid Redirection Test (DART) เทคโนโลยีปกป้องโลกที่ NASA กำลังจะทดสอบจริงเดือนหน้า
ยาน DART มีน้ำหนัก 610 กิโลกรัม ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์เพื่อการนำทางสำหรับเคลื่อนที่พุ่งเข้าชนเป้าหมาย พร้อมกล้องถ่ายภาพเพื่อช่วยในการสังเกตการณ์และการนำทาง มันมีแผงโซลาร์เซลล์ที่เมื่อกางออกเต็มที่จะมีความยาว 8.5 เมตรทำหน้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงระบบต่างๆ
จุดประสงค์ของภารกิจทดสอบยาน DART นี้ก็ตรงไปตรงมา คือเพื่อทดสอบดูว่าแนวคิดการส่งยานเข้าชนวัตถุในอวกาศเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวการเคลื่อนที่ของมันสามารถทำได้จริงหรือไม่? ถ้าวันหนึ่งมีการค้นพบเทหวัตถุที่มุ่งหน้าเข้ามาหาโลก จะสามารถใช้ระบบนี้เพื่อหลีกเลี่ยงมหันตภัยได้จริงหรือไม่?
ภาพจำลองยาน DART ก่อนการชนดาวเคราะห์น้อย
สำหรับภารกิจการทดสอบนี้ตัวยาน DART ถูกวางแผนให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 24,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พุ่งเข้าชนดาวเคราะห์น้อยที่ชื่อ Dimorphosซึ่งกำลังโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยอีกดวงที่มีชื่อว่า Didymosทั้งนี้ดาวเคราะห์น้อยทั้งคู่แท้จริงแล้วไม่ได้อยู่ในแนววิถีที่จะพุ่งเข้าชนหรือเข้าใกล้โลกแต่อย่างใด
ในระหว่างการชนจะมีการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทัศน์ภาคพื้นดินที่ศูนย์สังเกตการณ์บนโลก ควบคู่ไปกับสัญญาณจากยานสังเกตการณ์อีกลำหนึ่งที่มีชื่อว่า LICIACubeซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศไปพร้อมกัน ทั้งนี้ยาน LICIACube จะแยกตัวออกจากยาน DART ก่อนถึงกำหนดการชนและคอยทำหน้าที่เก็บข้อมูลการทดสอบ โดยยานทั้ง 2 ลำถูกส่งขึ้นสู่อวกาศพร้อมกันด้วยจรวด Falcon 9 ของ SpaceX เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2021
สิ่งที่ NASA คาดหวังจะเห็นจากการทดสอบนี้ก็คือยาน DART ขนาด 610 กิโลกรัม จะพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos ที่มีน้ำหนักมากถึง 4.8 พันล้านกิโลกรัม (มากกว่า 7.8 ล้านเท่าของน้ำหนักยาน) และทำให้ดาวเคราะห์น้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 160 เมตร ดวงนี้เคลื่อนที่เบี่ยงวงโคจรต่างไปจากเดิมได้สำเร็จ
ภาพอธิบายการทดสอบยาน DART พุ่งชนดาวเคราะห์น้อย Dimorphos
สำหรับใครที่สนใจโปรดรอติดตามชมการทดสอบ DART พร้อมกันได้แบบสดๆ ในวันที่ 26 กันยายน เริ่มถ่ายทอดสดเวลา 18.00 น. (ตรงกับเวลา 5.00 น. ของวันที่ 27 กันยายน ตามเวลาประเทศไทย) และจากการคำนวณนาทีการชนของยาน DART กับดาวเคราะห์น้อย Dimorphos จะเกิดขึ้นในนาทีที่ 74 ของการถ่ายทอดสด สามารถรับชมได้ผ่านทาง เว็บไซต์ , Twitter , Facebook และ ช่อง YouTube ของ NASA
ที่มา - NASA ผ่าน Interesting Engineering
Comments
“ I don’t wanna close my eyes”ลอยมาเลย
นึกว่าจะใช้หัวรบนิวเคลียร์ หรือไม่ก็หัวรบแบบรุนแรงสูงใส่ลงไปในยานแล้วค่อยปล่อยสู่อวกาศแล้วเดินทางไปถึงดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศ ยิ่งมีน้ำหนักมาก ค่าใช้จ่ายในการส่งออกจากวงโคจรก็จะยิ่งสูง ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงต้องเลือกวิธีการที่ไม่เพิ่มอุปกรณ์พิเศษอะไรที่ตัวยานไปมากกว่าอุปกรณ์มาตรฐาน
ระเบิดและหัวรบที่ว่าอาจจะทำอะไรได้ไม่มากนะครับ ยิ่งในอวกาศที่ไม่มีพาหะความร้อนและคลื่นกระแทกอย่างอากาศด้วย
คำว่านิวเคลียร์นี่ก็ทำให้ยากตั้งแต่ปล่อยจรวจละครับ ถ้าขนแบบที่ระเบิดได้คงเป็นประเด็นใหญ่
เรื่องน้ำหนักอีก อันนี้แค่เทส คงกะเอาแค่ผลเล็กๆ ไม่ต้องผลยิ่งใหญ่ไรมาก ถ้าระเบิดจริงปล่อยไป วงโคจรเปลี่ยนเยอะเดี่ยวมีปัญหาอีก
ถ้ามีโครงการแบบนั้นเกิดขึ้นในช่วงนี้ ผมว่าได้มีประเด็นการเมือง การทหารเข้ามาเกี่ยวข้องแน่ ๆ
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
ลองอ่านประโยคนี้ดูนะครับ
"อเมริกาทดลองส่งอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นสู่อวกาศ เพื่อทดลองยิงใส่ดาวเคราะห์น้อย"
คนอเมริกันเห็น
"อเมริกาส่งอาวุธขึ้นอวกาศ เพื่อยิงใส่ดาวเคราะห์น้อย"
รัสเซีย + จีนเห็น
"อเมริกาส่งอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นอวกาศ"
แต่จริง ๆ คือ กฎหมายอวกาศ หรือ Outer Space Treaty ได้แบนการส่งอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง (weapons of mass destruction (WMD)) ขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ปี 1967 ครับ เพราะงั้นการทดลองแบบนั้นน่าจะทำไม่ได้
คลิปนี้มีรายละเอียดที่น่าจะตอบคำถามนี้ได้ดีเลยครับ
Jusci - Google Plus - Twitter
บางทีเขาอาจจะกังวลว่าถ้าใช้ระเบิดอานุภาพรุนแรงสูง ดาวเคราะห์น้อยมันจะกลายเป็นชิ้นย่อยๆที่ควบคุมยากกว่าเดิมหรือเปล่า ไหนจะอุปกรณ์อวกาศที่ลอยอยู่รอบโลกที่อาจได้รับผลกระทบอีก
"What could go wrong"
ในความรู้สึก คงยากมากๆที่จะทำได้กรณีที่เจอดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ที่มีมวลมหาศาล ไม่รู้จะต้านไงไหว
..: เรื่อยไป
ใช้ปืนใหญ่นีโออาร์มสตรองไซโคลนเจ็ทอาร์มสตรองยิงทิ้งน่าจะไม่เกิดอะไรขึ้น
พูดอาร์มสตรองมาสองครั้งแล้วนะครับ แล้วปืนใหญ่อุบาว์ทแบบนี้จะมีได้ยังไงกันเล่า!
ไม่มีเป็นปืน แต่มีเป็นปลอกลดเสียงครับ
นายคิดเหมือนฉันไหม B1
ร่างประกอบปืนใหญ่นีโออาร์มสตรองไซโคลนเจ็ทอาร์มสตรอง
ไอ้เราก็นึกว่าส่งเตาปฏิกรณ์ไปแหมะแล้วค่อยๆ ดันให้มันเปลี่ยนทาง
เตาปฏิกรณ์จะค่อยๆ ดันให้เปลี่ยนทางได้ยังไงนะครับ 😅
คิดว่าไม่น่าจะไหวนะ... คนละขนาดกัน
อ่านนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องนึงที่อยู่ดี ๆ วันนึงโลกก็โดนโจมตีด้วยการขว้างก้อนหินใส่ มีคนถามว่าทำไมเอเลี่ยนที่ก้าวหน้าขนาดจะมาโจมตีโลกคนอื่นถึงใช้วิธีโบราณแบบนี้ มันน่าจะมีอาวุธที่ทันสมัยกว่านี้สิ คำตอบที่ได้คือ "Momentum is a bitch" เป็นสิ่งที่พอสะสมได้เยอะพอแล้วกำจัดยากมาก ๆ เลเซอร์หรือรังสีอื่น ๆ มันสะท้อนได้ ขว้างก้อนหินใส่เนี่ยต่อให้ทำให้ก้อนหินแตกได้ก็ได้เป็นหลายก้อนเล็กที่รวมแล้วก็ momentum เท่าเดิมอยู่ดี
กลับนึกถึง "จันทราปฏิวัติ" เลยครับ ชาวจันทรานครรบกับราหูที่อาวุธครบมือด้วย "การขว้างก้อนหินใส่!"
ผมว่ายากนะ มวลมันต่างกันเกินไป
ในอวกาศที่ไม่มีแรงเสียดทาน และถึงแม้มวลจะต่างกันมาก แต่โมเมนตัมของยานจะเบี่ยงเบนวิถีโคจรได้
jump
หวังว่าคงจะทำสำเร็จนะ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แล้วแผนการส่งทีมขุดเจาะขึ้นไปละครับ
ผมเปิดช่อง nasa แล้วเห็น live เริ่มเมื่อ 3 ปีที่แล้วผมสงสัยเขา live นานขนาดนี้ยูทูปเอาความจำไปเก็บที่ไหนครับ