ชีวิตการทำงานกินเวลาถึง 1 ใน 3 ในแต่ละวันของเรา การทำงานที่ดีในบริษัทที่ดีจึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสนใจมาก ๆ ซึ่งแน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากทำงานในองค์กรที่ดี ที่พร้อมสนับสนุนให้เราเติบโตไปพร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่ดี แต่ส่วนใหญ่ ผู้สมัครก็ยังไม่สามารถประเมินและตัดสินใจได้ว่าบริษัทนั้น ๆ ดีหรือไม่ดีอย่างไร และเหมาะกับเราหรือไม่
การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากมุมมองของคนที่ยังไม่ได้เข้าไปทำงานก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เมื่อวัฒนธรรมองค์กรและชีวิตการทำงานที่เราหาอ่านได้จากหน้าเว็บไซต์กับวัฒนธรรมองค์กรเมื่อเราเข้าไปทำงานจริง ๆ อาจไม่ตรงกันก็ได้ แล้วเราจะตัดสินใจอย่างไรดี?
ทำไมวัฒนธรรมองค์กรจึงสำคัญ?
เริ่มแรกเราควรเข้าใจก่อนว่าทำไมวัฒนธรรมในที่ทำงานถึงมีความสำคัญ
Tim Richmond หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทสินค้าด้านเวชกรรม AbbVie กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กรเป็นหนึ่งในสิ่งที่แยกความแตกต่างระหว่าง “บริษัทที่ดี” (good employer) และ “บริษัทที่ยอดเยี่ยม” (great employer)
วัฒนธรรมที่ทำงานทำให้เราได้รู้ว่าบริษัทมีจุดยืนอย่างไร และเชื่อมั่นในสิ่งไหนบ้าง ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจภาพรวมว่าเราจะเข้าไปทำงานอะไร กระบวนการทำงานเป็นอย่างไร และการทำงานของเรามีส่วนสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร
ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทหนึ่ง ๆ เป็นอย่างไร?
พูดง่าย ๆ คือ ถ้าเรายังไม่ได้เข้าไปเป็นพนักงานของบริษัท เราจะรู้ได้ยังไงว่าวัฒนธรรมองค์กรที่เผยแพร่หน้าเว็บไซต์ของบริษัทตรงกับสังคมในบริษัทจริง ๆ หรือไม่
Richmond แนะนำว่า เราควรคิดถึงเป้าหมายของบริษัทเป็นอย่างแรก ว่าบริษัทกำลังทำอะไรอยู่ พนักงานเป็นอย่างไร พนักงานมีความเป็นผู้นำหรือไม่
Richmond แนะนำให้ตั้งคำถามต่อไปนี้
- การทำงานเป็นไปในเชิงบวกไหม?
- บริษัทให้พนักงานมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ บ้างไหม?
- พนักงานร่วมมือกันดีไหม?
- มีการพูดคุยกันของคนในทีมหรือเปล่า?
- เราประสบความสำเร็จไปด้วยกันจริงไหม?
วิธีที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ก็คือ ต้องพูดคุยกับพนักงานในบริษัทโดยเฉพาะการใช้ช่วงที่บริษัทสัมภาษณ์เรา สัมภาษณ์พนักงานในบริษัทกลับไปด้วยเลย เราอาจถามคำถาม เช่น
- พนักงานคิดว่าการทำงานในแต่ละวันในบริษัทเป็นยังไง?
- แล้วทำไมพนักงานที่เคยอยู่ในตำแหน่งที่เรามาสมัครถึงลาออก?
- สิ่งที่พนักงานคิดว่าเป็นจุดอ่อนที่สุดของบริษัทคืออะไร?
อีกวิธีหนึ่งคือ การ เข้าไปดูบัญชีโซเชียลมีเดียของพนักงานผ่าน LinkedIn หรือ Instagramเพื่อดูว่าพนักงานโพสต์อะไรกันบ้างและดูมีความสุชกับงานกันหรือไม่ หรือสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานเป็นอย่างไรบ้าง
สิ่งที่บริษัทเป็นกับสิ่งที่เราต้องการ เป็นสิ่งเดียวกันไหม?
หลังจากที่เราได้ข้อมูลของบริษัทเรียบร้อยแล้ว ลองมาเปรียบเทียบดูว่าตรงกับสิ่งที่เราต้องการหรือสิ่งที่เราคิดว่าบริษัทที่เราอยากร่วมงานด้วยควรจะเป็นหรือไม่ จะทำขั้นตอนนี้ได้เราต้องรู้ก่อนว่าตัวเราอยากได้ชีวิตการทำงานแบบไหนและเราทำงานเพื่อเป้าหมายอะไร
เช่น บางคนอาจจะบอกว่าบริษัทเงียบ ๆ พนักงานไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์อะไรกับมากนัก แต่ถ้าเราต้องการงานแบบ 9-to-5 เข้าเช้าออกเย็น เราก็อาจจะโอเคกับบริษัทแบบนี้ก็ได้ กลับกันถ้าเราอยากทำงานแบบ 9-to-5 การทำงานในบริษัทที่ให้ความสำคัญความสัมพันธ์ของทีม (Team Building) และการร่วมมือกันก็อาจจะไม่เหมาะก็ได้
การหาข้อมูลวัฒนธรรมองค์กรเพื่อทำความเข้าใจบริษัทที่เราไปสมัครงานด้วยอาจจะต้องใช้เวลานาน รวมถึงเราก็อาจไม่สามารถหาบริษัทที่เหมาะกับเราได้ตั้งแต่ครั้งแรก แต่อย่าลืมว่าสังคมที่ทำงานและมุมมองของบริษัทมีส่วนทำให้เราทำงานได้ดีขึ้นและสนุกกับการทำงานมากขึ้น เพราะฉะนั้นการใช้เวลาเลือกที่ทำงานที่จะทำให้เรามีความสุขกับเวลา 8 ชั่วโมงในแต่ละวันก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน
สำหรับสายเทคและสายไอทีที่ยังมองหางานในองค์กรที่เหมาะกับเป้าหมายการทำงานของเรา สามารถเข้ามาดูงานได้ที่ Blognone Jobs
ที่มา: LinkedIn
Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ