Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หากเราสังเกตคงเห็นว่าปัจจุบันมีเทรนด์ในการทำงานต่าง ๆ ที่พยายามหาสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักใหญ่ ๆ ที่คนทำงานจำนวนมากยังต้องเผชิญคือภาวะหมดไฟในการทำงาน

แม้จะเป็นอาการที่ใคร ๆ ก็เป็นได้แต่การหมดไฟ ไม่มีแรงทำงาน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเพราะเป็นตัวทำลายสุขภาพจิตของเรา และทำให้รู้สึกทรมานกับการต้องตื่นไปทำงานทุกวัน สาเหตุของการหมดไฟมีหลายอย่างซึ่งบางครั้งเราเองก็มองข้ามโดยที่ไม่รู้ตัว

Fast Company ได้สำรวจพนักงานระดับมืออาชีพที่มีงานยุ่ง (busy professionals) กว่า 700 คนในตำแหน่งต่าง ๆ โดยตั้งคำถาม 2 คำถามคือ อะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณรู้สึกหมดไฟในการทำงาน? และ อะไรที่ช่วยให้คุณไม่หมดไฟในการทำงาน?

อะไรทำให้หมดไฟ?

63% ของพนักงานตอบว่าการจัดการเวลาเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้หมดไฟเพราะพวกเขาไม่มีเวลาในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ตามมาด้วยสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ ความเหนื่อยล้าจากการเห็นแจ้งเตือนงาน (notification fatigue) การขาดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (work-life balance) การประชุมมากเกินไป และชั่วโมงการทำงานในแต่ละวันที่ยาวนานเกินไป มีเพียง 23.2% เท่านั้นที่ตอบว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นปัจจัยหลัก และมีเพียง 22.1% ที่กล่าวว่าค่าแรงที่ต่ำเกินไปทำให้หมดไฟ

อะไรที่จะช่วยให้ไม่หมดไฟ?

เมื่อถามพนักงานคนเดิมว่าอะไรที่จะช่วยให้บรรเทาอาการหมดไฟในการทำงานได้ 69.1% ตอบว่าเวลาในการทำงานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น ตามด้วยการมี work-life balance การลดการแจ้งเตือนจากงาน ชั่วโมงการทำงานสั้นลงและการลดการประชุมลง มีเพียง 24.5% ที่กล่าวว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะช่วยบรรเทาอาการหมดไฟ และ 30.5% กล่าวว่าการเพิ่มค่าแรงจะช่วยลดอาการหมดไฟ

จากผลการสำรวจสรุปได้ว่าคนส่วนใหญ่ต้องการการจัดการเวลาที่ดีขึ้น ประชุมน้อยลง มีความวุ่นวายในที่ทำงานน้อยลง และมีความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตมากขึ้น

No Description

แล้วจะแก้อาการหมดไฟยังไงดี?

  • กำหนดช่วงเวลาที่สามารถจัดการประชุมได้

ถ้าการประชุมที่มากเกินไปทำให้พนักงานเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน การกำหนดช่วงเวลาที่สามารถจัดประชุมได้ก็ช่วยลดจำนวนการประชุมในบริษัทไปในตัว เช่น การกำหนดช่วงเวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมงที่จะสามารถจัดการประชุมได้ นอกจากช่วงเวลาเหล่านั้น พนักงานจะได้กำหนดตารางเวลาของตัวเองได้และจัดลำดับความสำคัญของงานเองได้อย่างอิสระ

  • กำหนดช่วงเวลาพูดคุยเรื่องงาน

การเปลี่ยนมาทำงานที่บ้านทำให้ต้องใช้แอปพลิเคชันอย่าง Slack ในการพูดคุยงาน และเราสามารถส่งข้อความพูดคุยเรื่องงานกันได้ตลอดเวลา ซึ่งการแจ้งเตือนเรื่องงานบ่อย ๆ ก็ทำให้หมดไฟได้ ดังนั้น ควรจะมีการตั้งค่ากำหนดเวลาที่จะคุยงานเอาไว้ การตั้งค่าห้ามรบกวนเมื่ออยู่นอกชั่วโมงการทำงานเป็นวิธีที่ดีเพราะจะช่วยลดการแจ้งเตือนนอกเวลางาน

  • การจัดเวลาสำหรับการทำกิจวัตรประจำวันและการทำงานแบบครั้งเดียวเสร็จ (one-off task)

การไม่มีเวลาเพื่อโฟกัสกับงานที่ได้รับมอบหมายเป็นสาเหตุหลักของอาการหมดไฟ ดังนั้น การจัดเวลาซัก 2-3 ชั่วโมงต่อวันเพื่อให้พนักงานมีเวลาทำงานที่ทำครั้งเดียวเสร็จ (one-off task) หรือแม้แต่การมีเวลาให้พนักงานได้ทำกิจวัตรประจำวันที่เป็นเรื่องสำคัญกับชีวิต จะช่วยลดการหมดไฟและทำให้มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น

No Description

  • กันเวลาส่วนตัวในตารางการทำงานด้วย

พนักงานส่วนใหญ่จะมีตาราง 2 อย่าง คือ ตารางงานที่เต็มไปด้วยสิ่งที่จะต้องทำเต็มไปหมด และตารางส่วนตัวที่เต็มไปด้วยนัดหมายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลากับครอบครัว การไปเที่ยว การนัดหมอ และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น อย่าลืมจัดเวลาในตารางงานโดยระวังไม่ให้ทับซ้อนกับตารางชีวิตส่วนตัวด้วย เพื่อเราจะได้มีเวลาใช้ชีวิตด้วยอย่างแท้จริง

  • จัดสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ไว้ในปฏิทินทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว

บริษัทหลาย ๆ แห่งไม่ค่อยสนใจและไม่ค่อยลงทุนกับปฏิทินมากนัก แต่จริง ๆ แล้วปฏิทินเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดอาการหมดไฟได้ เราควรจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ ก่อนที่จะใส่ลงในปฏิทิน และข้อสำคัญคือปฏิทินควรเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าเราใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง เราทุ่มเทเวลาของตัวเองไปกับอะไร และเราต้องการอะไรทั้งในเรื่องชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ดังนั้น ปฏิทินไม่ควรจะสะท้อนแค่การทำงานเท่านั้น แต่ควรจะสะท้อนการใช้ชีวิตของเราออกมาด้วย จะได้มี work-life balance อย่างแท้จริง

เมื่อรู้วิธีรับมือกับอาการหมดไฟและเตรียมตัวพร้อมแล้ว เข้ามาหางานสายเทคโนโลยีและไอทีได้เลยที่ Blognone Jobs

ที่มา: Fast Company

Get latest news from Blognone

Comments

By: raindrop
Contributor iPhone Windows Phone Windows
on 4 November 2022 - 20:08 #1267647

90% อยู่ที่หัวเลย คนตัวเล็กๆ จะ manage เก่งยังไงก็มีผลแค่เล็กน้อย