ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2566 ได้เห็นชอบโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4G/5G บนคลื่น 700 MHz ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT มูลค่าเกือบ 6.2 หมื่นล้านบาท
โครงการนี้จะใช้ คลื่นย่าน 700MHz ที่ CAT Telecom (ชื่อก่อนควบรวมเป็น NT) ประมูลได้ในปี 2563 จำนวน 2 ใบอนุญาต ซึ่งจะนำมาใช้แทนคลื่นย่าน 850MHz, 2100MHz และ 2300MHz ที่ได้ใบอนุญาตมาในปี 2553 และจะหมดอายุในวันที่ 3 สิงหาคม 2568 (ใบอนุญาตอายุ 15 ปี)
บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 700MHz ของ NT มีบริการหลัก 2 รูปแบบ ดังนี้
- บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายย่อย (Retail)ภายใต้แบรนด์ my และ NT Mobile (TOT Mobile เดิม) ตั้งเป้ามีลูกค้าจำนวน 3.6 ล้านราย เพิ่มจากฐานลูกค้าเดิมของ NT ที่ตอนนี้มี 2 ล้านราย
- บริการดิจิทัล (Digital)โดยเน้นกลุ่มลูกค้าภาครัฐและองค์กรที่ต้องการใช้งานเซนเซอร์ (Smart Meter เช่น การประปา การไฟฟ้า) หรือระบบติดตามยานพาหนะ (Smart Tracking) รวมถึงบริการสาธารณะที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการบริการสาธารณะและเมือง (เช่น ป้าย Traffic Board ของตำรวจจราจร และกลุ่ม Smart Traffic Light สี่แยกไฟแดง)
นอกจากนี้ยังมีประเด็นว่า NT ต้องการใช้คลื่น 700MHz ให้บริการกับกลุ่มลูกค้าทดแทนโทรศัพท์พื้นฐาน (Fixed Line Replacement) จำนวน 900,000 หมายเลข ซึ่งคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ไปหารือกับ กสทช. ว่าเข้าข่ายบริการโทรคมนาคมขึ้นพื้นฐานหรือไม่ หากเข้าข่ายอาจจะพิจารณารูปแบบการสนับสนุนเงินลงทุนและค่าบำรุงรักษาโครงข่าย (บางส่วน) ให้แก่ผู้ให้บริการจัดให้มีบริการดังกล่าวโดยใช้จ่ายจากเงินค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่
NT ระบุว่าการให้บริการคลื่น 700MHz จะมีสถานีฐานไม่น้อยกว่า 13,500 สถานีฐานตลอดอายุโครงการ แผนการของ NT ในปี 2566 จัดสร้างสถานีฐาน (ติดตั้งอุปกรณ์บนโครงสร้างพื้นฐานของพันธมิตร) จำนวน 5,500 สถานี และเริ่มให้บริการภายในปี 2566 เช่นกัน ส่วนปี 2567 จัดสร้างสถานีฐานเพิ่มเติม จำนวน 8,000 สถานี
โครงการนี้มีกรอบวงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 61,628 ล้านบาท ประกอบด้วย
- ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX)จำนวน 30,608 ล้านบาท ได้แก่ ค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 20,584 ล้านบาท5 ค่าใช้จ่ายการจัดหาโครงข่ายร่วมกับพันธมิตร จำนวน 9,300 ล้านบาท และค่าอุปกรณ์โครงข่าย (Network Equipment) จำนวน 718 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX)จำนวน 31,026 ล้านบาท ได้แก่ ค่าดำเนินการโครงข่าย Network Cost จำนวน 29,236 ล้านบาท ค่าบุคลากร จำนวน 1,615 ล้านบาท และค่าดำเนินการอื่น ๆ จำนวน 175 ล้านบาท
ที่มา - มติคณะรัฐมนตรี
Comments
จะสร้างโครงข่ายเอง หรือจะให้อีกสองเจ้าทำให้เหมือนตอน 850/2100/2300 ละ?
ลูกค้าโทรศัพท์มือถืออีก 2 ล้านรายจะหามาจากไหน โตมากกว่า 2 เท่า 🤔
-- ^_^ --
ไม่รู้จะทำให้เปลืองเงินทำไม
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
มันมีตลาดในหน่วยงานราชการนั่นแหล่ะ รวมถึงยังคงเรื่องการจ้างงาน ในภาพเศรษฐกิจรวม การที่ปล่อยให้องค์กรขนาดใหญ่ล้มมันอาจสร้างมูลค่าความเสียหายได้มากกว่า 6.2 หมื่นล้าน เพราะถึงจะจ่ายไป 6.2 หมื่นล้าน รัฐก็ยังได้กลับมาในรูปแบบภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมของหน่วยงานกับส่วนงานอื่นๆ ถึงแม้จะขาดทุนไปบ้าง แต่น่าจะอยู่ในกรอบที่ควบคุมได้ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงรัฐก็ต้องอุ้มเพื่อประคองภาพรวมไว้นั่นแหล่ะ เพราะหากมีคนตกงานจำนวนมาก วงจรของธุรกิจมันจะรวนทันทีอาจก่อให้เกิดโดมิโนทางเศรษฐกิจแล้วพากิจการที่ยังอยู่ได้ล้มไปด้วย
กรมศุลกากรเก็บภาษีทั้งปียังได้ 5.3 หมื่นล้านบาท เองนะครับ
การมองธุรกิจภาพรวมไม่ได้มองเพียงแค่รายได้ที่หน่วยงานได้รับและส่งกลับนะครับ มันมองรวมไปถึงการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายที่หน่วยงานเกิดโครงการขึ้นมา และมีผู้มาประมูลโครงการซึ่งเมื่อชนะได้โครงการไป รายได้ก็จะไปใช้จ่ายภายในบริษัทเป็นเงินเดือนพนักงานซึ่งก็จะมีการใช้จ่ายลงไปในภาคธุรกิจอื่น รวมไปถึงการกระจายไปยัง supplier ที่ต้องส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ให้กับโครงการ ยิ่งธูรกิจไหนมีห่วงโซ่อุปทานยาวมันก็ยิ่งก่อให้เกิดรายได้ทางอ้อมย้อนกลับมายังรัฐ แต่ยังไงมันก็ไม่คุ้มทุนอยู่ดี ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะสร้างดอกผลจากโครงการเป็นรายได้ส่งกลับในแต่ละปีซึ่งก็ต้องไปมันก็จะวนอยู่ในกระแสห่วงโซรายได้ ยังไงรัฐก็ไม่เสียเปรียบหรอกครับ ถ้าจะปิด่หน่วยงานมันไม่ยากอะไรสินทรัพย์ที่หน่วยงานมีขายทอดตลาดก็พอที่จะเอามาชดเชยพนักงานได้ แต่การทำให้ห่วงโซ่อุปทานสะดุดมันก่อให้เกิดผลมากกว่านั่นคือสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ
มันถึงได้มีหมวดรายได้ที่เกิดโครงการภาครัฐ และทำไมต้องมีสำนักงานเศรษฐกิจการคลังนั่นแหล่ะครับ รัฐเขามอนิเตอร์ตลอดเวลาอยู่แล้วว่ามันจะคุ้มทุนในภาพรวมหรือไม่
อันนี้ก็ไม่น่าจะถูกนะครับ
มันก็อยู่ในหมวดรายจ่าย หนี้ค้างชำระนั่นแหล่ะครับ ขายทอดตลาดในนามบริษัทซึ่งกระทรวงการคลังเป็นเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐในการจัดการทรัพย์สินของรัฐในฐานะผู้ถือหุ้นก็ต้องจ่ายหนี้ค้างชำระตามสัดส่วนไป ในส่วนพนักงานก็เป็นสิทธิที่พนักงานจะต้องได้รับตามกฎหมาย อันนี้มองในมุมหากบริษัทไม่มีรายได้เพียงพอต่อการชำระนะครับ ถ้าเพียงพอเงินรายได้หลังชำระหนี้ก็เข้ารัฐอยู่ดี
มันก็ช่วยกันอีก 2 เจ้าผูกตลาดได้ระดับนึงแหละครับ
ผมไปจ่ายเงินค่าเน็ตที่ศูนย์บริการทีไรมีแต่คนมาขอคืนซิมอยู่เรื่อย 😐
ก็เพราะว่า จะทำอะไรก็ต้องรอขออนุมัติ ครม. นี่แหละมันถึงไม่ไปไหน... กว่าจะติดตั้งเสร็จโลกคงมี 6G ไปแล้วม้างงงงงงงงง....
ถ้าตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าแล้ว ช่วยปรับปรุงระบบการให้บริการและให้ข้อมูลลูกค้าด้วยนะ เราเคยคิดจะย้ายไปใช้ NT เพราะเห็นโปรถูกดี แต่งงกับระบบ Self-Service เหมือนจะยังให้เข้าไปแจ้งใช้บริการหรือปรับเปลี่ยนนู่นนี่นั่นกับทางศูนย์บริการผ่านเจ้าหน้าที่อยู่ กับเรื่องการ Roaming ว่าอยู่ต่างประเทศแล้วจะใช้อะไรได้บ้าง คิดค่าบริการอย่างไร มีโปรเสริม Roaming ไหม หรือว่าอยู่ต่างประเทศแล้วใช้แอปโทรกลับได้อย่างเดียว (เห็นว่าต้องแจ้งเพื่อรับเบอร์พิเศษสำหรับแอปอีก) แล้วใช้เน็ตเน็ตที่ไหนต่อ ฯลฯ
สรุปคืออยากย้ายไปใช้ NT แต่เรางงกับการให้ข้อมูลว่าอะไรอย่างไร 😵
สมัยที่ผมเร่ิมใช้ my by CAT รายเดือนยุคแรก ๆ อ่ะ เปลี่ยนโปรด้วยการใช้สำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาถูกต้อง เขียนความต้องการเปลี่ยนโปร แล้วส่งเมล์ อืม คิดถึงบรรยากาศนั้นเหมือนกันนะ 5555
\facepalm 🤦♀️🤦♂️🤦
เป็นผู้ให้บริการที่ถูกหลายคนลืม ตึงตรากับความคิดเห็นในช่วงมีประเด็นผูกขาดเครือข่ายว่า "รัฐควรตั้งบริษัทมาแข่งขัน" ...โดนลืมสมบูรณ์จริง ๆ สินะ
แปลว่าความสามารถในการแข่งขันยังไม่ดีพอ -*-บอร์ดบริหารได้เงินเดือนกันสูงลิ่วแม้ผลประกอบการจะเป็นยังไง
ตอนนี้ใช้เน็ตบ้านค่อนข้างถูกและดี สู้เอกชนได้ แต่เรื่อง 4G ตามหลังเยอะมากๆ
ควบรวม CAT กับ TOT แต่ my กับ nt mobile / C internet กับ nt broadband ยังแยกแบรนด์กันอยู่นะ เป็นงง
ในอนาคต SIM ต่าง ๆ ที่ผูกติดกับอุปกรณ์ภาครัฐ อาจเปลี่ยนจาก AIS และ TRUE ที่เคยเป็นคู่สัญญาของ TOT และ CAT เดิม มาใช้ของ nt แทน
คือถ้าปล่อยให้สู้กับเอกชนแบบตรงๆไม่ได้ (เพราะอาจจะขาดทุนจนต้องเลิกกิจการ) ก็ต้องกึ่งบังคับให้หน่วยงานภาครัฐนี่ล่ะใช้งานก่อน ในขณะเดียวกัน กสทช ก็ต้องควบคุมมาตรฐานการให้บริการจาก NT ด้วย
..: เรื่อยไป
ข้างในยัง NT CAT / NT TOT อยู่ไหมนะ
พนักงานทั้งสองค่ายรวมกันไม่นานนี้เองครับ ของจังหวัดผมเขาปิดสนง.TOT แล้วย้ายไปอยู่ สนง. CAT เก่ากันหมด แล้วเพิ่งได้เปลี่ยนป้ายหน้าสนง.เป็น NT ครับ
แต่ถ้าตัวระบบเน็ตและ NOC ตอนนี้ยังแยกเหมือนเดิมครับ
บาท5 ?
คลื่น 700 คงจะหวังความเร็วไม่ได้ แต่เรื่องครอบคลุมคงทำได้ดี แม้สถานีจะน้อย เอาเป็นว่าราคาขอให้ถูกละกัน เพราะถ้าแพงเท่าค่ายหลัก จะถูกเปรียบเทียบเรื่องความเร็วทันที
รอใช้เลยครับ เท่าที่ใช้ NT Mobile มาชอบเลยนะครับ ตอนนี้ใช้เป็นเน็ตหลัก ที่อยากให้ปรับปรุงด่วนมีอย่างเดียวคือระบบจ่ายเงิน คือเอาให้ได้เท่า My หรือใช้ระบบของ My เลยก็พอครับ
my by NT กับ NT Mobile มันก็ของ NT เดียวกัน ไม่ใช่เหรอ?
หรือจะใช้เทคนิคเดียวกับค่ายอื่น อย่าง AIS ก็มี GOMO ส่วน dtac ก็มี FINN แบบนี้?
แล้วตัวไหนคือ Premium ตัวไหนคือ Low-cost อ่ะ???